Monday, December 30, 2013

จุรินทร์ ยกรัฐธรรมนูญ ถาม"ปู" เหตุดื้อเดินหน้าเลือกตั้ง

- 0 comments
เมื่อวันที่ 30 ธ.ค. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้เขียนข้อความในเฟซบุ๊ก ระบุว่า มีรัฐธรรมนูญบางมาตราที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ.2557 และเกี่ยวข้องกับผลที่จะตามมา ดังนี้

 1.มาตรา 93 วรรค 7 ระบุว่าในกรณีที่มีเหตุการณ์ใดๆ ทำให้การเลือกตั้งทั่วไปครั้งใด  มีจำนวนส.ส.ไม่ถึง 500 คน แต่มีจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 ของจำนวนส.ส.ทั้งหมด ซึ่งก็คือ 475 คน ให้ถือว่าส.ส.จำนวนนั้นประกอบเป็นสภาผู้แทนราษฎร แต่ต้องดำเนินการให้มีครบตามจำนวนที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ คือ 500 คน ภายใน 180 วัน และให้อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่าอายุของสภาผู้แทนราษฎรที่เหลืออยู่

2.มาตรา 127 วรรค 1 บัญญัติว่าภายใน 30 วันนับแต่วันเลือกตั้งส.ส. ให้มีการเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมเป็นครั้งแรก  3.มาตรา 88 วรรค 1 กำหนดว่ารัฐสภาประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ดังนั้นคำถามคือหากหลังเลือกตั้งทั่วไปวันที่ 2 ก.พ.2557 มีส.ส.ที่ได้รับเลือกตั้งมีจำนวนน้อยกว่าร้อยละ 95 คือน้อยกว่า 475 คน จะถือว่าประกอบเป็นสภาผู้แทนราษฎรได้หรือไม่ และถ้ายังไม่มีสภาผู้แทนราษฎร จะเรียกประชุมรัฐสภาครั้งแรกได้หรือไม่

นายจุรินทร์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ มาตรา 171 วรรค 1-2 บัญญัติว่าพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนหนึ่งและรัฐมนตรีอื่นอีก ไม่เกิน 35 คน ประกอบเป็นคณะรัฐมนตรี มีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินตามหลักความรับผิดชอบร่วมกัน นายกรัฐมนตรีต้องเป็น ส.ส. ที่ได้รับแต่งตั้งตามมาตรา 172 ซึ่งกำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่ง ตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีการเรียกประชุมรัฐสภาเป็นครั้งแรก แต่ถ้าเรียกประชุมรัฐสภาครั้งแรกไม่ได้ เพราะยังไม่มีสภาผู้แทนราษฎร แล้วจะเอานายกรัฐมนตรีมาจากไหน จึงมีคำถามนี้ที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ต้องตอบ เพราะประกาศจะเดินหน้าเลือกตั้งในวันที่ 2 ก.พ.2557 ให้ได้ หรือคิดว่าก็ไม่เป็นไร ไม่เดือดร้อน เพราะตราบเท่าที่ยังไม่มีนายกรัฐมนตรีคนใหม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์จะได้อยู่รักษาการไปเรื่อย ๆ.

ที่มา : เดลินิวส์ออนไลน์
[Continue reading...]

"สุเทพ" อ้อนชวนตำรวจเป็นพวก ขู่ฟ้อง "ธาริต" ลั่นหลังปีใหม่นัดชัตดาวน์กรุงเทพฯ

- 0 comments
เมื่อเวลา 20.00 น. วันที่ 30 ธ.ค. ที่เวทีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนินกลาง นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตย ที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (กปปส.) ขึ้นปราศัยตอนหนึ่งว่า "วันนี้มีตำรวจมาชุมนุมที่ลานพระบรมรูปทรงม้า ซึ่งมีการพูดว่า กปปส.ไปพูดให้คนเกลียดตำรวจ ซึ่งเรื่องนี้ต้องขอชี้แจงว่า กปปส.ทั้งที่ราชดำเนิน และทั่วประเทศ ไม่มีความโกรธแค้น เกลียดชังตำรวจในภาพรวม แต่ไม่พอใจตำรวจเลว ๆ บางคนเท่านั้น ตำรวจทำถูกต้องที่จะปกป้องศักดิ์ศรีตำรวจ แต่ไม่ต้องไปปกป้องตำรวจที่เป็นขี้ข้าระบอบทักษิณ

“ผมยืนยันอีกครั้งว่าการลุกขึ้นต่อสู้ของประชาชนไม่ต้องการทำร้ายใคร ไม่ต้องการให้มีคนบาดเจ็บ เราถึงยืนหยัดว่าจะสู้ตามหลักกฎหมาย ตามสิทธิที่รัฐธรรมนูญรับรอง และประกาศชัดเจนว่าจะเลือกวิธีสู้แบบสงบ สันติ อหิงสา และเรายืนยันจะสู้ตามแนวทางนี้จนจบเกม ฉะนั้นที่มีคนบาดเจ็บ เสียชีวิตไม่ใช่การกระทำของประชาชน และเราเองก็เสียใจที่มีผู้เสียชีวิตไม่ว่าตำรวจ หรือผู้ชุมนุม เพราะคนที่ตายเป็นเหยื่อของสถานการณ์ และระบอบทักษิณ”นายสุเทพ กล่าว

นายสุเทพ กล่าวอีกว่า ในปี 2553 นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ, นายจตุพร พรหมพันธุ์, นายก่อแก้ว พิกุลทอง ได้จัดการณ์ชุมนุมจนเป็นเหตุให้มีทหาร และตำรวจเสียชีวิต และมีการเผาบ้านเผาเมือง ซึ่งกรณีดังกล่าวนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ได้ตั้งข้อหานายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และตน ว่าฆ่าคนตายโดยเจตนาเล็งเห็นผล ซึ่งตนและนายอภิสิทธิ์ ก็ได้ไปมอบตัวกับดีเอสไอ ดีเอสไอส่งสำนวนไปอัยการ ก่อนจะส่งคดีขึ้นศาล

และวันนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการนายกฯ ประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง และแต่งตั้งนายสุรพงษ์ โตวิจักรชัยกุล รองนายกฯ และรมว.ต่างประเทศ เป็น ผอ.ศอ.รส. ซึ่งนายสุรพงษ์ก็ได้ตำรวจ 3 นายนี้มาทำงาน แต่การปฏิบัติตามคำสั่ง น.ส.ยิ่งลักษณ์ และสุรพงษ์ ก็ทำให้มีคนตายแล้ว ตนจะคอยดูว่านายธาริต จะตั้งข้อหาสองคนนี้ว่าฆ่าคนตายโดยเจตนาเล็งเห็นผลหรือไม่ หากไม่ตั้งก็แสดงว่าสองมาตรฐาน ตนจะเตรียมดำเนินคดีกับธาริต อีกคดีหนึ่งในข้อหาปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ

นายสุเทพ ยังกล่าวถึงการที่นายบรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา บอกกับสื่อว่าไม่รู้ว่าจะปิดกรุงเทพฯ ทำไม ว่า แสดงว่านักการเมืองไม่เข้าใจประชาชน เพราะที่ประชาชนสั่งให้ตนปิดกรุงเทพฯ เพราะไม่ต้องการเห็นการเมืองแบบเดิม ต้องการเห็นการเมืองเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ ต้องการเห็นการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ และไม่ต้องการเห็นนักการเมืองและข้าราชการผู้ใหญ่การสมคบกันทุจริต คอร์รัปชั่น

ทั้งนี้หลังปีใหม่จะมีการนัดหมายกันปฏิบัติการณ์ใหญ่ปฏิวัติประชาชนปิด กรุงเทพฯ ด้วยสันติและมือเปล่า เพื่อยึดอำนาจในการปกครองประเทศมาเป็นของประชาชน โดยต้องรวมพลังของประชาชนทั้งประเทศ เพื่อทำให้ข้าราชการเห็นชัด และต่างประเทศเห็นว่ารัฐบาลไม่ได้เป็นที่ต้องการของประชาชน และประชาชนจะไม่ยอมให้รัฐบาลบริหารประเทศต่อไปอีกแล้ว โดยจะยึดถนนทุกสายเพื่อไม่ให้รถยนต์ของข้าราชการออกไปทำงานได้ และตั้งเวทีตามแยกต่าง ๆ ทั่วกรุงเทพฯ ประชาชน หรือองค์กรใดอยากจัดเวทีที่แยกไหนแจ้งมาที่เวทีของเราได้เลยตั้งแต่ตอนนี้ ใครอยากทำกิจกรรมอะไรที่สร้างสรรค์บนถนนก็ทำได้เลย และเมื่อถึงเวลานั้นข้าราชการ ตำรวจ ทหาร ควรตัดใจจากระบอบทักษิณแล้วมาเข้ากับประชาชน.
[Continue reading...]

Thursday, December 26, 2013

ชูชาติ ศรีแสง "อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะศาลฎีกา" ชี้สภาปฏิรูปประเทศไม่สามารถเกิดขึ้นได้

- 0 comments
อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะศาลฎีกา ชี้สภาปฏิรูปประเทศที่นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ประกาศว่าจะจัดตั้งขึ้นไม่สามารถทำได้ เนื่องจากขัดบทบัญญัติรัฐธรรมนูญมาตรา 181(2) และ (3)
 
นายชูชาติ ศรีแสง อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะศาลฎีกา โพสต์เฟซบุ๊ก Chuchart Srisaeng ระบุว่าสภาปฏิรูปประเทศที่นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ประกาศว่าจะจัดตั้งขึ้นไม่สามารถทำได้เนื่องจากรัฐธรรมนูญมาตรา 181(3) และ (2)
 
โดยระบุว่า วันนี้ที่ 25 ธันวาคม 2556 เวลา 11.30 นาฬิกา นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผู้ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ออกแถลงการณ์หลังจากการประชุมคณะรัฐมนตรี โดยเสนอให้มีการตั้งสภาปฏิรูปประเทศ โดยคณะกรรมการจะไม่มีคนของรัฐบาลเกี่ยวข้อง แต่จะเป็นเพียงคนคอยประสานเท่านั้น โดยเริ่มจากการสรรหาตัวแทนจากภาคประชาชนจากสาขาอาชีพต่างๆ จำนวน 2,000 คน แล้วคัดเลือกมา 499 คน และสรรหาคณะกรรมการคัดเลือกจำนวน 11 คนจาก หน่วยงานทหาร,หัวหน้าส่วนราชการ,ผบ.เหล่าทัพ ,ปลัดกระทรวง ,เลขาธิการสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ,อธิการบดี มหาวิทยาลัย,ประธานหอการค้า ,ประธานอุตฯ,ประธานสมาคมธนาคาร ซึ่งจะทำควบคู่ไปกับการเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2556 เพื่อแก้การเมืองขัดแย้ง
.....ผู้ที่เขียนคำแถลงการณ์ให้นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อ่าน น่าจะไม่ได้อ่านรัฐธรรมนูญ หรืออ่านแล้วแต่ไม่ได้สนใจที่จะยึดถือปฏิบัติ
 
.....รัฐธรรมนูญ มาตรา 181 บัญญัติว่า คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตําแหน่ง ต้องอยู่ในตําแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่ แต่ในกรณีพ้นจากตําแหน่งตามมาตรา 180 (2) คืออายุสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงหรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐมนตรีและรัฐมนตรีจะปฏิบัติหน้าที่ได้เท่าที่จําเป็น ภายใต้เงื่อนไขที่กําหนด ดังต่อไปนี้
.......(1) ฯลฯ
.......(2) ไม่กระทําการอันมีผลเป็นการอนุมัติให้ใช้จ่ายงบประมาณสํารองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือ จําเป็น เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้งก่อน
.......(3) ไม่กระทําการอันมีผลเป็นการอนุมัติงานหรือโครงการ หรือมีผลเป็นการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไป
.......(4) ฯลฯ
 
.....การจะตั้งสภาปฏิรูปประเทศตามที่นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แถลง เมื่อตั้งขึ้นแล้วจะต้องใช้เวลาปฏิบัติหน้าที่ไม่น้อยกว่า 1 ปี ย่อมมีผลเป็นการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไป ทั้งต้องมีผลให้ต้องอนุมัติงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการดำเนินงานของสภาปฏิรูปประเทศด้วย
.....ดังนั้นจึงเป็นการฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญมาตรา 181(2) และ (3)
.....เมื่อเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ จึงไม่สามารถกระทำได้
 
ที่มา :  VoiceTV
[Continue reading...]

Wednesday, December 25, 2013

ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจวินิจฉัยร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญทั้งๆ ที่ผ่านวาระ 3 ไปแล้ว

- 0 comments
สมลักษณ์ จัดกระบวนพล อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกาและกรรมการ ป.ป.ช. อาจารย์พิเศษผู้บรรยายวิชาระบบศาล และการพิจารณาคดี (พระธรรมนูญศาลยุติธรรม) คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โต้แย้งต่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ดังนี้

"ผู้เขียนได้พิจารณาบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ประกอบเจตนารมณ์ของ ส.ส.ร.ผู้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้แล้ว มีความเห็นโดยสุจริตใจว่า

1.ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจวินิจฉัยร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเพิ่มเติม ที่มีการแก้ไขที่มาของสมาชิกวุฒิสภา เพราะว่า เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มีบทบัญญัติไว้เป็นเฉพาะในหมวด 15 มาตรา 291 สรุปได้ว่า การพิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติมจะต้องมีการพิจารณาโดยที่ประชุมร่วมของทั้ง 2 สภา ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 136 (16) และไม่มีบทบัญญัติมาตราใดในหมวดนี้ที่บัญญัติให้ทำร่างที่แก้ไขเพิ่มเติมไปให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบก่อน ก่อนจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ

หากเป็นร่างกฎหมายอื่นที่มิใช่ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ หากกฎหมายรัฐธรรมนูญต้องการให้มีการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เช่น ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ กฎหมายรัฐธรรมนูญจะบัญญัติไว้ชัดเจนว่า ก่อนนำขึ้นทูลเกล้าฯให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาความชอบเสียก่อนภายใน 30 วัน ตามมาตรา 141 หรือกรณีที่เป็นร่าง พรบ.อื่นๆ ในกรณีที่สมาชิกของทั้ง 2 สภาจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจำนวนทั้งหมดเห็นว่าร่าง พรบ.ดังกล่าวมีความขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญ สามารถเสนอความเห็นต่อประธานรัฐสภา เพื่อส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความร่าง พ.ร.บ.นั้น ได้ตามมาตรา 154 วรรค 2

จะเห็นได้ว่ากรณีที่รัฐธรรมนูญต้องการให้ส่งไปให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ รัฐธรรมนูญจะบัญญัติไว้ชัดเจน ส่วนเรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญนั้น เนื่องจากรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด การออกแบบกฎหมายรัฐธรรมนูญให้มีรูปร่าง สาระสำคัญ อย่างไร จึงเป็นอำนาจหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจที่จะวินิจฉัยร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญได้ กรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องของ 40 ส.ว. และ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ จึงเป็นกรณีที่ฝ่ายตุลาการก้าวล่วงเข้ามาในอำนาจนิติบัญญัติ ขัดกับหลักการแบ่งแยกอำนาจ เป็นการกระทำผิดรัฐธรรมนูญอย่างเห็นได้ชัด

2.กระบวนการที่ยื่นคำร้องตามมาตรา 68 ไม่ถูกต้อง เพราะไม่ผ่านการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยอัยการสูงสุดก่อนตามมาตรา 68 วรรค 2 เรื่องนี้เป็นประเด็นที่รัฐสภากำลังดำเนินการแก้ไขมาตรา 68 ให้มีความชัดเจนไม่คลุมเครือ เพราะตามเจตนารมณ์ของ ส.ส.ร. ผู้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ได้บัญญัติเรื่องการใช้สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญไว้ตามมาตรา 68 วรรค 1 ซึ่งเป็นเรื่องการกระทำของบุคคลหรือพรรคการเมือง มิใช่การกระทำของรัฐสภา แต่เมื่อมีบุคคลธรรมดายื่นคำร้องไปยังศาลรัฐธรรมนูญโดยไม่ผ่านการตรวจสอบของอัยการสูงสุด

ศาลรัฐธรรมนูญก็ตีความแบบขยายความ รับคำร้องจากบุคคลธรรมดา โดยตนเองไม่มีอำนาจ ซึ่งผิดไปจากเจตนารมณ์เดิมของการร่างกฎหมายฉบับนี้เพราะเป็นการนำอำนาจนิติบัญญัติไปให้ฝ่ายตุลาการวินิจฉัย โดยไม่มีบทบัญญํติกำหนดให้อำนาจไว้ในรัฐธรรมนูญ และไม่กระทำตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดโดยไม่ผ่านอัยการสูงสุดตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 วรรค 2 เท่ากับศาลรัฐธรรมนูญกระทำผิดรัฐธรรมนูญเสียเอง

3.ขณะที่ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องของ 40 ส.ว. และ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์นั้น เกินกำหนดเวลาที่ศาลจะรับไว้พิจารณาแล้ว เพราะนายกรัฐมนตรีได้นำร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญดังกล่าวขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว เพราะการนำร่างกฎหมายส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความว่าขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือไม่นั้น บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญตามมาตรา 141 และ 154 เขียนไว้โดยชัดแจ้งว่า จะต้องดำเนินการ ก่อนนำขึ้นทูลเกล้าฯ ในกรณีร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับนี้ นายกรัฐมนตรีได้นำร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยภายใน 120 วันนับแต่ได้รับร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจากรัฐสภา ซึ่งเป็นการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 150 ครบถ้วนแล้ว ฉะนั้น นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันจึงเป็นผู้ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญโดยเคร่งครัดตามมาตรา 281 (7) ประกอบมาตรา 150

4.เป็นคำวินิจฉัยที่คลุมเครือ คือ การที่ศาลรัฐธรรมนูญ ได้มีคำวินิจฉัยว่าผู้ถูกกระทำ กระทำผิดมาตรา 68 วรรค 1 แต่ไม่สั่งให้ผู้ถูกร้องกระทำการแก้ไขอย่างไรตามวรรค 2 เป็นเหตุให้ผู้เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นรัฐสภา, นายกรัฐมนตรี ก็ไม่ทราบจะปฏิบัติอย่างไรต่อไป ซึ่งโดยหลักแล้วเมื่อมีการล้มล้างการปกครองตามวรรค 1 หากศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่ามีการกระทำดังกล่าวจริง ต้องมีคำสั่งให้เลิกดำเนินการตามวรรค 2 แต่คำวินิจฉัยในเรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ ปรากฏว่าศาลมิได้สั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ได้แก่ รัฐสภา หรือนายกรัฐมนตรีจะต้องปฏิบัติอย่างไร

5.ไม่มีผลบังคับตามมาตรา 216 วรรค 5 กล่าวคือ เมื่อเป็นการวินิจฉัยโดยศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจที่จะรับคำร้อง จึงเป็นคำวินิจฉัยที่มิชอบด้วยกฎหมาย ถือเป็นโมฆะ ไม่มีผลผูกพันต่อรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาลและองค์กรของรัฐอื่นๆ ตามมาตรา 136 วรรค 5

การวินิจฉัยที่ผิดพลาดของศาลรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ ส่งผลกระทบต่อสังคมอย่างกว้างขวาง เช่น มีผู้นำคำวินิจฉัยนี้อ้างเพื่อปลุกเร้าอารมณ์ของมวลชน ว่ารัฐบาลหมดความชอบธรรม เพราะไม่ยอมรับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ทั้งๆ ที่เป็นกรณีที่ฝ่ายตุลาการเข้าไปก้าวล่วงนิติบัญญัติ เพราะถ้าศาลมีอำนาจเข้าไปวินิจฉัยเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ทั้งๆ ที่ผ่านวาระ 3 ไปแล้ว บุคคลที่ไม่ต้องการให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไม่ว่าฉบับใดๆ ก็จะยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบทุกระยะไป ไม่ว่าในวาระ 1 วาระ 2 วาระ 3 ผลแห่งการนี้จึงดูเสมือนว่าศาลรัฐธรรมนูญคุมอำนาจในการร่างหรือการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นอำนาจของรัฐสภาไว้อย่างเบ็ดเสร็จ"

ที่มา : มติชนออนไลน์
[Continue reading...]

Sunday, December 22, 2013

"ชูวิทย์" ตัดสินใจลงเลือกตั้งรักษากติกา จวกมาร์ค-เทือก ต้องรับผิดชอบ !

- 0 comments
ช่วงค่ำวันที่ 22 ธ.ค. นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ หัวหน้าพรรครักประเทศไทย โพสต์ข้อความล่าสุด ระบุตัดสินใจลงรับสมัครเลือกตั้งส.ส. มีเนื้อหาดังนี้

ผมได้ไตร่ตรองถึงการลงเลือกตั้งครั้งนี้อย่างถี่ถ้วน ว่าจะลงหรือไม่ลง?

หากผมไม่ลงเลือกตั้งครั้งนี้ ไม่ได้หมายความว่าผมอยู่ฝั่งคุณอภิสิทธิ์ หรือ กปปส. หรือไปสนับสนุนให้คุณอภิสิทธิ์กระทำการนอกกติกา เพราะผมไม่เห็นด้วยกับวิธีการแบบนี้

การที่พรรคประชาธิปัตย์ไม่ลงเลือกตั้ง และคุณอภิสิทธิ์บอกว่า "พรรคที่ลงเลือกตั้งกลายเป็นผู้ต่ออายุให้ระบอบทักษิณ" ถือเป็นคำพูดที่เห็นแก่ตัว ยกตนข่มท่าน แบ่งแยกประชาชน ยกตัวเองเป็นเทพ และให้พรรคอื่นเป็นมาร พรรคการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ไม่ควรมีวิสัยมองผู้ที่คิดต่างจากตัวเองเป็นศัตรูเสียหมด เพราะในระบอบประชาธิปไตย ย่อมต้องรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง ไม่นำเอาความคิดเห็นของตัวเองมาตัดสินว่าถูกต้องแต่เพียงผู้เดียว สามารถทำงานร่วมกับผู้คนหลากความคิด หลายอุดมการณ์ เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน ไม่ใช่นำเอาความคิดเห็น หรืออุดมการณ์ของตัวเองเป็นใหญ่ บดบังเหยียดหยามผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับตัวเองไปเสียหมด

แต่หากผมลงเลือกตั้งครั้งนี้ ไม่ได้หมายความว่าผมไปต่ออายุให้ระบอบทักษิณแต่อย่างใด แม้ว่าผมเห็นว่าพรรคเพื่อไทยกระทำการโดยใช้เสียงส่วนมากหาประโยชน์ให้กับตัวเอง มองข้ามศรัทธาของประชาชน ใช้อำนาจของฝ่ายบริหารที่มีมากเกินไป สร้างความเสื่อมศรัทธาของประชาชนต่อระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน รวมทั้งพรรคร่วมรัฐบาลที่ไม่โต้แย้ง กลับเข้าข้างเห็นดีเห็นงาม คาดหวังผลประโยชน์ต่างตอบแทน ช่วยหนุนรัฐบาลให้กระทำการหยามต่อความเชื่อมั่นของประชาชนให้ลดน้อยถอยลง

แต่ผมเห็นว่าบ้านเมืองต้องมีกฎกติกาใช้ยึดถือ เพื่อให้ทุกคนในสังคมปฏิบัติตาม ไม่อย่างนั้นจะถือว่าการเลือกตั้งเป็นหน้าที่ได้อย่างไร? แม้ว่าการเลือกตั้งไม่ได้ตอบโจทย์ทั้งหมด แต่อย่างน้อยยังได้ฟังเสียงของประชาชนซึ่งเป็นเสียงส่วนมากที่มีอำนาจอย่างแท้จริง เราไปคิดแทนประชาชนทั้งหมดไม่ได้ เพราะท้ายสุดนักการเมืองเป็นเพียงตัวแทน ไม่ใช่เจ้านายที่จะไปสั่งการ เราจึงต้องรับฟังความคิดเห็นของประชาชนผ่านคะแนนเสียงในวันเลือกตั้ง และนำไปปฏิบัติ

ผมจึงตัดสินใจว่าควรลงเลือกตั้ง แม้จะรู้ดีว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะไม่มีพรรคประชาธิปัตย์ อาจเกิดความวุ่นวายตั้งแต่วันรับสมัครไปจนถึงวันลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง แต่ผมจำเป็นต้องรักษากฎกติกาของบ้านเมืองเอาไว้ จะทำตามอำเภอใจฝั่งใดฝั่งหนึ่งไม่ได้

หากท้ายสุด ผลการเลือกตั้งออกมาว่าประชาชนโหวตโนมากกว่า คุณสุเทพและคุณอภิสิทธิ์สามารถนำเอาความชอบธรรมจากคะแนนนี้ ไปอ้างอิงว่าเป็นเสียงส่วนมากอย่างแท้จริง ที่ต้องการให้คุณอภิสิทธิ์กับคุณสุเทพนำการปฏิรูปตามที่เสนอ

แต่หากคนมาลงคะแนนเสียงมากกว่า โดยเลือกพรรคการเมืองที่ลงเลือกตั้งในครั้งนี้ คุณอภิสิทธิ์จะต้องรับผิดชอบต่อการตัดสินใจไม่ลงเลือกตั้ง และคุณสุเทพสมควรเลิกม็อบกลับบ้าน

มันเป็นวิถีทางเดียว ที่จะหาทางออกให้กับเรื่องนี้ได้


 
ที่มา : เดลินิวส์
[Continue reading...]

Thursday, December 19, 2013

กกต.ต้อง เดินหน้าจัดการเลือกตั้ง 2 ก.พ.2557 เพื่อธำรงไว้ซึ่งหลักของกฏหมาย

- 0 comments
การเมืองอึมครึมในห้วงเวลาหลังจากนายกรัฐมนตรีประกาศยุบสภา ภายใต้คำถามที่ว่า ประเทศไทยจะมีการเลือกตั้งใหม่หรือไม่

1 ในองค์กรที่จะตอบคำถามนี้ได้คือคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ 5 เสือ กกต. เนื่องจากเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่โดยตรงในการจัดการเลือกตั้ง

นอกจากนี้ยังเป็นอีก 1 เป้าหมายกดดันของ กปปส. ซึ่งประกาศชัดว่าถึงอย่างไรก็จะล้มเลือกตั้ง 2 ก.พ.2557 ให้จงได้

แต่ปรากฏว่าในวันพิธีรับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งและถวายสัตย์ปฏิญาณ

หลังเสร็จสิ้นพิธี กกต.ใหม่ 5 คนยืนยันตรงกัน โดยเฉพาะนายศุภชัย สมเจริญ ประธาน กกต. ที่กล่าวมอบหมายนโยบายต่อเจ้าหน้าที่

ให้เตรียมพร้อมจัดการเลือกตั้งทั่วไป 2 ก.พ.2557 ตามพระราชกฤษฎีกา ด้วยความสุจริต โปร่งใส เที่ยงธรรม ปราศจากอคติ

ตามหลักนิติรัฐ นิติธรรม หลักกฎหมาย และหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

เนื่องจากสถานการณ์บ้านเมืองปัจจุบัน ประชาชนในสังคมมีความแตกต่างทางความคิดความเชื่อ

กกต.จึงเป็นกลไกหนึ่งที่จะช่วยประคับประคองให้บ้านเมืองเกิดความสงบเรียบร้อย ปรองดอง ประสานสามัคคีของคนในชาติ

ทั้งนี้ หากย้อนกลับไปมองวิกฤตการเมืองในรอบเกือบ 10 ปีที่ผ่านมา จะเห็นว่า กกต.คือองค์กรหนึ่งที่เข้าไปมีส่วนในวิกฤตหลายครั้งหลายหน

อาจจะไม่มากเท่าศาลรัฐธรรมนูญ แต่ก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์ไม่น้อย

โดยเฉพาะคดียุบพรรค การเมืองบางพรรค ที่ประธาน กกต.ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองยุคนั้น ถูกสังคมตั้งข้อสงสัยว่า มีเจตนาปล่อยให้คดีขาดอายุความหรือไม่

จากนี้ไปเมื่อคนเก่าลาโรง คนใหม่เข้ามาแทน จึงถือเป็นโอกาสดีที่ทั้ง 5 เสือจะเร่งกอบกู้เกียรติภูมิองค์กรที่ผุกร่อนในสายตาคนทั้งประเทศกลับคืนมาโดยเร็ว

ด่านแรกที่จะพิสูจน์ตัวเองคือ การเดินหน้าจัดการเลือกตั้ง 2 ก.พ.2557 ให้ผ่านไปได้ด้วยความบริสุทธิ์โปร่งใส

โดยไม่สนใจต่อแรงกดดันใดๆ ที่นำไปสู่การ ไม่ยอมรับในพระราชอำนาจ และขัดต่อรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ 
ที่มา : ทิ้งหมัดเข้ามุม นสพ.ข่าวสด












[Continue reading...]

Monday, December 16, 2013

"สดศรี สัตยธรรม" เผย ผู้สมัคร ส.ส.ไม่ครบ 500 คน ก่อนเลือกตั้ง 30 วัน กกต.ส่งศาล รธน.ตีความ ขอเลื่อนวันได้

- 0 comments
"สดศรี สัตยธรรม" เผย หากมีการล้มเลือกตั้ง หรือเกิดการบอยคอต ผู้สมัคร ส.ส.ไม่ครบ 500 คน ก่อนเลือกตั้ง 30 วัน กกต.ส่งศาล รธน.ตีความ ขอเลื่อนวันได้
 
นางสดศรี สัตยธรรม อดีตคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้เปิดเผยกับ สำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น.ว่า ตามข้อกฎหมาย กกต. ไม่สามารถเลื่อนวันเลือกตั้งออกไปได้ ยกเว้นต้องมีเหตุทำให้ไม่สามารถเลือกตั้งได้ ขณะเดียวกันหากเกิดการบอยคอต หรือผู้สมัครรับเลือกตั้งไม่ครบจำนวน 500 คน ในช่วงเวลา 30 วัน ก่อนจะมีการเลือกตั้ง ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ทาง กกต.สามารถส่งศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาตีความขอให้เลื่อนวันเลือกตั้งออกไปได้ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณา ทั้งนี้ หากเกิดกรณี ส.ส.ไม่ครบจำนวน 500 คน จะทำให้สภาขาดองค์ประกอบ ไม่สามารถเปิดประชุมนัดแรกได้
 
นอกจากนี้ อดีต กกต. ระบุด้วยว่า หากมีการขัดขวางไม่ให้จัดเลือกตั้งเกิดขึ้น หรือมีกลุ่มบุคคลกระทำการล้มการเลือกตั้ง ยอมรับว่า เป็นช่วงอันตรายที่สุด ซึ่งน่าเป็นห่วง กกต.ชุดใหม่ อาจลำบากในการปฏิบัติหน้าที่ และกังวลว่าการเลือกตั้งอาจจะไม่ราบรื่นและไม่สามารถเกิดขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม หากเกิดกรณีดังกล่าวขึ้นจริงจะส่งผลต่ออำนาจของ กกต. เพราะจะไม่สามารถหาทางออกได้เนื่องจากเกิดช่องโหว่ทางกฎหมาย ซึ่งวิธีแก้ไขนั้น กกต.จะต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาตีความอีกเช่นกัน ว่าจะสามารถวินิจฉัย มีคำสั่งให้เลื่อนเลือกตั้งออกไปได้หรือไม่
 
 
ที่มา : สำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น.
[Continue reading...]

Sunday, December 15, 2013

นิพิฏฐ์ ถามง่าย ๆ ว่า "เราจะเลื่อนการเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ..57ได้หรือไม่ และ ทำอย่างไร"

- 0 comments
เมื่อวันที่ 15 ธ.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ อดีต ส.ส.พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ โพสต์เฟซบุ๊คส่วน ชื่อ “ส.ส.นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ” ว่า “คำถามถึงประชาชน มีคนบอกว่า ปชป.อย่าลงเลือกตั้งเลย ผมยังไม่ตอบคำถามนี้ แต่ขอถามกลับก่อนว่า 1.ถ้าปชป.ไม่ลงเลือกตั้ง การเลือกตั้ง 2 ก.พ.จะมีพรรคเล็ก ๆ เข้าไปแทนที่ ปชป. แล้ว ปชป.จะหายไปจากรัฐสภา 4 ปี รัฐสภาจะไม่มีฝ่ายค้าน เรารับสภาพการเมืองแบบนี้ได้หรือไม่ และก่อนถึงคำถามยากว่าด้วยการ"ปฏิรูป" ถามง่ายๆว่า เราจะเลื่อนการเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ..57ได้หรือไม่ และ ทำอย่างไร
ทั้งนี้ ปรากฎว่ามีประชาชนที่ติดตามเฟซบุ๊คของนายนิพิฏฐ์ แสดงความเห็นอย่างกว้างขวาง โดยส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับการที่พรรคประชาธิปัตย์ ลงเลือกตั้ง เนื่องจากเห็นว่า หากจะเป็นทรยศประชาชนที่ออกมาร่วมต่อสู้กับ กปปส.
นายนิพิฏฐ์ ให้สัมภาษณ์ว่าตนเห็นด้วยกับการปฏิรูปเพื่อให้ประเทศดีขึ้น แต่ปัญหาเฉพาะหน้าคือการเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ.57 ซึ่งเห็นด้วยถ้ามีคนเสนอวิธีที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบ้านเมืองก่อนเลือกตั้งได้ แต่ตอนนี้อยากให้ผู้มีความรู้ช่วยปลดล็อกจะทำอย่างไรไม่ให้มีการเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ.57 ได้อย่างไร โดยจะเลื่อนการเลือกตั้งออกไป 1-2 ปี ก็ยินดีเพื่อให้บ้านเมืองดีขึ้น แต่ใครจะปลดล็อก เพราะการเลือกตั้งกำหนดโดยรัฐธรรมนูญ ถ้ากำหนดโดยพ.ร.บ. รัฐบาลก็สามารถออกพ.ร.ก.ยกเลิก พ.ร.บ.ได้ แต่เมื่อถูกกำหนดโดยรัฐธรรมนูญ มาตรา 108 ถ้าจะให้ไม่มีการเลือกตั้งภายใน 60 วัน ก็มี 2 วิธีคือ 1.แก้ไขในระบบรัฐสภาและ2.การรัฐประหาร โดยต้องทำให้เสร็จก่อนวันที่ 2ก.พ.57 แต่ถือว่าเป็นเรื่องยาก ทางที่ดีควรบอกความจริงกับประชาชนไม่ควรปล่อยให้เดินไปด้วยอารมณ์ และการเป็นพรรคการเมืองไม่ควรคิดว่าลงเลือกตั้งแล้วต้องชนะ แต่ควรคิดว่าทำอย่างให้บ้านเมืองโปร่งใส หลักคิดเช่นนี้แม้จะทำให้เกิดกระแสโหวตโน ก็ต้องยอมรับให้ได้ แต่อยากให้คนที่คิดจะโหวตโนกลับไปคิดถึงการเลือกตั้งที่ผ่านมาว่าเสียงของโหวตโนทำให้รัฐบาลชุดนี้ได้เสียงข้างมากในที่สุด.     
ที่มา : เดลินิวส์
[Continue reading...]

Saturday, December 14, 2013

สดศรี "แนะ" สุเทพ "ปฏิรูปนักการเมือง" ก่อนเพราะเป็นต้นตอของการซื้อสิทธิ์ขายเสียง

- 0 comments
"สดศรี" แนะ "สุเทพ" ปฏิรูปนักการเมืองก่อน ชี้เวทีเสวนากองทัพไม่ได้สร้างทางออกประเทศ เลือกตั้ง 2 ก.พ.เกิดแน่นอน
 
นางสดศรี สัตยธรรม อดีตกรรมการการเลือกการตั้ง เปิดเผยว่า นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. ควรไปปฏิรูปที่นักการเมืองเป็นหลักไม่ใช่มาปฏิรูปที่ระบบการเลือกตั้ง เนื่องจากการซื้อสิทธิ์ขายเสียงหรือการทุจริตเลือกตั้งนั้น ต้นตอเกิดจากนักการเมือง โดยเสนอแนะ ให้ทางกลุ่ม กปปส นั้น คอยจับตาและร่วมมือกันในการตรวจสอบการเลือกตั้งที่กำลังจะมีขึ้นด้วย เพื่อให้การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นไปด้วยความโปร่งใส
 
ส่วนแนวทางที่จะให้มีการทำประชามติทางออกประเทศ พร้อมกับลงคะแนนเลือกตั้ง ตามกฏหมายแล้ว ไม่สามารถทำได้เนื่องจากกระบวนการและขั้นตอนต่างๆตลอดจนกรอบระยะเวลาตามกฏหมายนั้นไม่เท่ากัน ระหว่างการทำประชามติและการเลือกตั้ง ขณะเดียวกันการจะทำประชามติได้จะต้องทำขณะที่มีรัฐบาลที่แท้จริงไม่ใช่รัฐบาลรักษาการด้วยอย่างไรก็ตาม ส่วนตัวยังรู้สึกเป็นกังวล ต่อท่าทีของทาง กปปส. ที่ค่อยข้างมั่นใจว่าการเลือกตั้งครั้งนี้จะไม่เกิดขึ้นหากการปฏิรูปประเทศนั้นไม่สำเร็จด้วย พร้อมมองว่า สภาประชาชนไม่น่าจะสามารถเกิดขึ้นได้ เนื่องจากขณะนี้ยังไม่เห็นแนวทางที่ชัดเจนส่วนการเข้าร่วม ในเวทีเสวนาสาธารณะเพื่อความสงบสุข และประโยชน์สูงสุดของประเทศไทย ที่จัดขึ้น ณ กองบัญชาการกองทัพไทย ที่ผ่านมาว่า ส่วนตัวในฐานะผู้เข้าร่วมนั้นมองไม่เห็นว่าเวทีดังกล่าวนั้นจะเป็นการสร้างทางออกให้กับประเทศได้อย่างไร เนื่องจากแต่ล่ะฝ่ายในเวทีเสวนานั้นพูดถึงแต่เรื่องของตัวเองเป็นหลัก โดยที่ไม่มีการพูดถึงแนวทางที่ควรจะนำไปสู่ทางออกของวิกฤตบ้านเมืองได้ทั้งนี้ มองว่าทางออกที่ดีที่สุดในขณะนี้คือทุกฝ่ายกลับเข้ามาสู่กระบวนการของการเลือกตั้ง เพื่อวัดกันที่นโยบายว่า ประชาชนเห็นด้วยกับรูปแบบใด หากต้องการให้มีการจัดตั้งสภาประชาชนขึ้นนั้น ก็ควรไปเสนอกันตามนโยบายของพรรคการเมือง ซึ่งก็ถือได้ว่าเป็นทำประทำประชามติไปในตัวด้วยว่าประชาชนต้องสภาประชาชนหรือไม่ ยืนยันว่าการเลือกตั้งทั่วไปที่จะมีขึ้นในวันที่ 2 กุมพาพันธ์ 2557 ที่จะถึงนี้ จะต้องมีขึ้นตาม พระราชกฤษฎีกา อย่างแน่นอนโดยไม่สามารถยกเลิกได้
 
ที่มา :VoiceTV

[Continue reading...]

Thursday, December 12, 2013

พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2556 - เลือกตั้ง 2 ก.พ. 57

- 0 comments
 
พระราชกฤษฎีกา

      
ยุบสภาผู้แทนราษฎร

      
พ.ศ. ๒๕๕๖

      
      
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖

      
เป็นปีที่ ๖๘ ในรัชกาลปัจจุบัน

      
       พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
      
       โดยที่นายกรัฐมนตรีได้นําความกราบบังคมทูลฯ ว่า ตามที่รัฐบาลได้เข้ารับหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดิน ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๕๔ รัฐบาลได้มีความมุ่งมั่นที่จะเสริมสร้างความเท่าเทียมกันของประชาชนทั้งประเทศ นอกจากนั้น รัฐบาลได้ดําเนินนโยบายและมาตรการต่างๆ ตามที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา ซึ่งครอบคลุมทั้งภาคการเกษตร ภาคเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวมไปถึงการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยเพิ่มกําลังซื้อภายในประเทศ สร้างสมดุลและความเข้มแข็ง อย่างมีคุณภาพให้แก่ระบบเศรษฐกิจมหภาค เพื่อรองรับสภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว เร่งฟื้นฟูความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือ กับประเทศเพื่อนบ้านและนานาประเทศ
      
       รัฐบาลได้ให้ความสําคัญในการปฏิรูปการเมืองโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างกว้างขวาง แต่เนื่องจากปัจจุบันได้เกิดปัญหาความขัดแย้งและความแตกแยกของชนในชาติ ส่งผลกระทบต่อการบริหารราชการแผ่นดิน ตลอดจนชื่อเสียงของประเทศชาติ ทั้งนี้ รัฐบาลได้พยายามคลี่คลายปัญหาด้วยสันติวิธีและดําเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายและวิถีทางของรัฐธรรมนูญแล้วก็ตาม แต่ไม่อาจยุติปัญหาดังกล่าวได้ จึงเห็นสมควรยุบสภาผู้แทนราษฎร และจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไป ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เพื่อคืนอํานาจการตัดสินใจทางการเมืองให้แก่ประชาชนทั้งประเทศและให้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขดําเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง
      
       อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๑๐๘ และมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
      
       มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๕๖”
      
       มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
      
       มาตรา ๓ ให้ยุบสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่
      
       มาตรา ๔ ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้งทั่วไปในวันอาทิตย์ที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๗
      
       มาตรา ๕ ให้นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการการเลือกตั้งรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
      
       ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
       ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
       นายกรัฐมนตรี
[Continue reading...]

ศาลอนุญาตเลื่อนนัดส่งฟ้อง "สุเทพ" หวั่น "ม็อบ" กปปส.ก่อความวุ่นวาย

- 0 comments
ศาลอาญาให้ประกันตัว "อภิสิทธิ์”"  ในคดีสลายการชุมนุมกลุ่ม นปช. ส่วน "สุเทพ”" ศาลยอมเลื่อนนัดการนำตัวส่งฟ้องคดีตามคำร้องขอ หวั่นมวลชนกลุ่มกปปส.ก่อความวุ่นวายทางการเมืองจนยากแก่การควบคุม
    
นายนันทศักดิ์ พูลสุข อธิบดีอัยการสำนักงานคดีพิเศษ และโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด เปิดเผยภายหลังจากที่วันนี้ศาลอาญาได้นัดส่งฟ้องนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์และอดีตนายกรัฐมนตรี และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตผู้อำนวการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ ศอฉ. ในคดีร่วมกันก่อ หรือใช้ ให้ผู้อื่นฆ่าและพยายามฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาเล็งเห็นผล จากกรณีที่มีคำสั่งให้ ศอฉ.ใช้กำลังเจ้าหน้าที่กระชับพื้นที่การชุมนุมกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อ ต้านเผด็จการแห่งชิ หรือ นปช. จนมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ เมื่อปี 2553

อธิบดีอัยการสำนักงานคดีพิเศษ และโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด ระบุว่าในวันที่ 16 ธ.ค.นี้ อัยการจะกำหนดวันนัดนายสุเทพ ครั้งต่อไป ตามที่นายสุเทพ ได้ส่งทนายความมาขอเลื่อน เนื่องจากวันนี้เอกสารที่ทนายความของนายสุเทพนำมามอบให้ไม่ครบถ้วนทำให้ไม่ สามารถกำหนดวันนัดครั้งต่อไปได้ นอกจากนี้ หากไม่เลื่อนมวลชนกลุ่ม กปปส. ที่มีนายสุเทพเป็นแกนนำ อาจก่อความวุ่นวายและความไม่สงบจนยากแก่การควบคุมได้
อธิบดีอัยการสำนักงานคดีพิเศษ และโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด ย้ำว่า การเลื่อนนัดศาลนี้ไม่กำหนดว่าเลื่อนได้กี่ครั้ง แต่ศาลจะพิจารณาตามสถานการณ์ และหากประเมินแล้วสถานการณ์การชุมนุมแย่ลงและไม่สามารถขอถอนการประกันตัว ชั่วคราวนายสุเทพได้ เนื่องจากที่ผ่านมาไม่มีการควบคุมตัวและศาลอนุญาตให้ประกันตัวนายสุเทพได้ โดยไม่ต้องวางหลักทรัพย์ แต่เนื่องจากนายสุเทพมีหมายจับของสถานีตำรวจนครบาลทุ่งสองห้อง ในข้อหากบฏอยู่แล้ว ดังนั้นอาจประสานขอให้ตำรวจสถานีตำรวจนครบาลทุ่งสองห้อง ขออายัดตัวนายสุเทพตามหมายจับ เพื่อนำมาส่งฟ้องดำเนินคดีในคดีสลายการชุมนุม ปี 2553 ได้เช่นกัน

ขณะที่นายอภิสิทธิ์ ได้วางหลักทรัพย์โฉนดที่ดินอาคารชุดที่จังหวัดชลบุรี ราคา 1.8 ล้าน เพื่อขอประกันตัว และศาลพิเคราะห์แล้วเห็นควรอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว โดยตีราคาประกันตัวที่ 600,000 บาท พร้อมกำหนดเงื่อนไขห้ามเดินทางออกนอกประเทศ และนัดตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 24 มี.ค. 2557


ที่มา : Spring News
[Continue reading...]

แถลงการณ์นายกรัฐมนตรีวันที่ 12 ธันวาคม 2556

- 0 comments

ตามที่ได้เกิดสถานการณ์ความขัดแย้งและการชุมนุมทางการเมืองต่อเนื่องมาระยะหนึ่ง  เป็นเหตุให้ทุกฝ่ายมีความกังวลใจและห่วงใยในอนาคตของบ้านเมืองร่วมกัน หรือการหาทางออกในอนาคต 
 
รัฐบาลในฐานะที่เป็นผู้รับผิดชอบการบริหารราชการแผ่นดิน  ได้พยายามอย่างเต็มที่ที่จะรักษาความสงบเรียบร้อยให้เป็นไปอย่างสันติ  ยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 
 
รัฐบาลพร้อมที่จะเปิดใจกว้างรับฟังความคิดเห็น  หรือร่วมเวทีหารือเพื่อแสวงหาทางออกที่ดีที่สุดสำหรับประเทศไทย จากการติดตามข่าวสารที่ปรากฏต่อสาธารณชน  เป็นที่เห็นได้ชัดว่ามีความพยายามขององค์กรต่างๆที่จะเปิดพื้นที่หรือเวทีสำหรับการพูดคุยตามแนวทางสันติวิธี  เพื่อให้ได้แนวทางการปฏิรูปประเทศไทยในวันข้างหน้า   
 
ซึ่งเมื่อได้มีการตราพระราชกฤษฎีกายุบสภาและกำหนดวันเลือกตั้งในวันที่  2 กุมภาพันธ์ 2557 แล้วควรจะได้มีการหารือร่วมกันระหว่างทุกฝ่ายบนพื้นฐานของสันติวิธีที่จะดำเนินการคู่ขนานกันไปในระหว่างรอการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์และเห็นว่าควรมีการแสวงหาข้อตกลงร่วมกันว่าในอนาคตหลังจากการเลือกตั้งแล้วจะมีแนวทางการปฏิรูปประเทศไทยที่เป็นรูปธรรมอย่างไรเพื่อแก้ปัญหาให้เกิดความสบายใจของทุกภาคส่วน
 
รัฐบาลได้พิจารณาความเห็นดังกล่าว  ประกอบกับข้อมูลข่าวสารและข้อเสนอที่หลายฝ่ายในสังคมไทยกำลังช่วยกันระดมความคิดเพื่อให้เราสามารถก้าวเดินต่อไปได้  
 
ขอเรียนว่ารัฐบาลยินดีที่จะช่วยอำนวยความสะดวกเพื่อให้เกิดเวทีดังกล่าว ทั้งนี้ได้ขอให้นายธงทอง  จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี รับไปดำเนินการเบื้องต้นเพื่อเชิญชวนภาคส่วนต่างๆที่เป็นตัวแทนของพรรคการเมือง  ภาคเอกชนและภาคธุรกิจ  ภาคราชการ สถาบันการศึกษา ภาคสังคม ภาคประชาชน ทุกกลุ่มการเมือง องค์กรต่างๆ  และนักกฎหมาย นักวิชาการที่มีความหลากหลายรวมถึงสื่อมวลชน  เข้ามาร่วมหารือทางออกตามแนวทางที่เป็นไปได้ ซึ่งรัฐบาลพร้อมอำนวยความสะดวกในการเปิดเวทีนี้ เพื่อให้ประเทศไทยของเราก้าวไปข้างหน้า
โดยขอเชิญประชุมหารือร่วมกันในวันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม 2556 เวลา 9.00 น. ณ  ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ซึ่งสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการหารือ
 
รัฐบาลหวังว่าหลังจากการประชุมร่วมหารือกันในลักษณะที่เปิดใจกว้างเช่นนี้  เชื่อว่าจะมีข้อเสนอที่ชัดเจนเพื่อให้ทุกฝ่ายในสังคมไทยได้มองเห็นแนวทางในการแก้ปัญหาประเทศและเห็นชอบร่วมกันต่อไป 

[Continue reading...]

Wednesday, December 11, 2013

สุเทพ ขอเลื่อนอัยการ "ส่งฟ้อง" เพราะติดภารกิจสำคัญ

- 0 comments

ถาวร เผย ขอเลื่อนส่งตัว "สุเทพ - อภิสิทธิ์" ให้อัยการ คดีสั่งฆ่าเมื่อปี2553 ในวันพรุ่งนี้ เพราะติดภารกิจในการชุมนุมของ กลุ่ม กปปส.  ด้าน อธิบดีอัยการ เผย ยังไม่ได้รับการประสานเลื่อนการนัดส่งตัว ปกติจะให้เลื่อนได้ 30 วัน
นายถาวร เสนเนียม แกนนำกลุ่ม กปปส. เปิดเผยว่า ในวันพรุ่งนี้ ที่อัยการ นัดส่งตัว นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. เพื่อ นำตัวไปส่งฟ้องต่อศาล ในคดีสั่งสลายการชุมนุม กลุ่มคนเสื้อแดง เมื่อปี 2553 นั้น ในส่วนของ นายสุเทพ จะส่งทีมทนายความไปขอเลื่อนการส่งฟ้องต่อศาลออกไปก่อน เนื่องจากให้เหตุผลว่าติดภารกิจในการชุมนุมของกลุ่ม กปปส.

ขณะที่ บรรยากาศภายในศูนย์ราชการ อาคารบี ที่ก่อนหน้านี้ ผู้ชุมนุมบุกเข้ามายึดพื้นที่ และเดินทางออกไปเมื่อวันที่ 9 ธ.ค.ที่ผ่านมา วันนี้ กลุ่มข้าราชการในหน่วยงานต่าง ๆ ของศูนย์ราชการ เข้ามาทำงานกันตามปกติแล้ว พร้อมกับเข้าตรวจสอบสภาพความเสียหายภายในหน่วยงาน ก่อนจะเตรียมแจ้งความดำเนินคดี เช่นเดียวกับ ร้านค้าต่างๆ และธนาคาร บริเวณชั้นใต้ดิน ที่วันนี้ กลับมาเปิดให้บริการตามปกติ และมีกลุ่มข้าราชการ มาซื้อของ และมาใช้บริการกันจำนวนมาก และคึกคักดังเดิม

อย่างไรก็ตาม บริเวณด้านหน้า ทางเข้าอาคาร และภายในมีกำลังตำรวจดูแลความเรียบร้อยอยู่จำนวนหนึ่ง ขณะที่การเดินทางเข้าในอาคาร มีการตรวจเข้มบุคคลที่จะเข้ามาอย่างละเอียด ด้วยการสแกนกระเป๋าถือ เพื่อป้องกันการพกพาของสิ่งกฎหมายเข้ามาในอาคารด้วย

อัยการ ยังไม่ได้รับประสานขอเลื่อนคดี สุเทพ-อภิสิทธิ์
นายนันทศักดิ์ พูลสุข อธิบดีอัยการสำนักงานคดีพิเศษ และโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด กล่าวถึงการนัดส่งตัวฟ้อง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อดีตนายกรัฐมนตรี และ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. และอดีต ผอ.ศอฉ. ใน คดีร่วมกันก่อหรือใช้ให้ผู้อื่นกระทำผิด ฆ่าและพยายามฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาเล็งเห็นผล ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 จากกรณีที่มีคำสั่ง ศอฉ. ใช้กำลังเจ้าหน้าที่กำชับพื้นที่การชุมนุม นปช. เมื่อปี 2553 จนมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ และจะส่งฟ้อง ในวันพรุ่งนี้ เวลา 10.00 น. ว่า เมื่อ นายอรรถพล ใหญ่สว่าง อัยการสูงสุด มีความเห็นให้สั่งฟ้องแล้ว คณะทำงานอัยการได้ร่างคำฟ้องเสร็จสิ้นแล้ว หากผู้ต้องหาทั้งสอง มาพบอัยการ ก็พร้อมยื่นฟ้องตามวันเวลานัดหมาย ส่วนเมื่อยื่นฟ้องแล้วจะได้รับการปล่อยตัวหรือไม่ ก็เป็นเรื่องที่ศาลจะใช้ดุลพินิจมีคำสั่งว่าจะอนุญาตให้ประกันหรือไม่

อย่างไรก็ตามขณะนี้ ตนยังไม่ได้รับการประสานจากทนายความผู้ต้องหา หรือหนังสือแจ้งขอเลื่อน ซึ่งหากผู้ต้องหาจะขอเลื่อนนัด คณะทำงาน ก็จะต้องประชุมพิจารณาอีกครั้ง ว่า มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้เลื่อนหรือไม่ ซึ่งหากจะพิจารณาให้เลื่อน โดยปกติจะให้เลื่อนได้ 30 วัน

ที่มา :สำนักข่าว INN
[Continue reading...]

สนับสนุน "เรืองไกร" ลงส.ส.พรรคเพื่อไทย

- 0 comments
 

"เรืองไกร" สมัครสมาชิก เพื่อไทย ลั่นลง ส.ส.แน่ แต่ระบบเขต หรือบัญชีรายชื่อ ให้พรรคพิจารณา


 
11 ธ.ค. 56  เมื่อเวลา 13.00 น. ที่พรรคเพื่อไทย  นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีต ส.ว.สรรหา เดินทางมาสมัครเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย โดยหลังจากที่สมัครเป็นสมาชิกพรรคแล้วก็เดินทางกลับทันที
 
โดยนายเรืองไกร กล่าวว่า ตัดสินใจมาสมัครเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย และตั้งใจจะลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ด้วย แต่จะลงสมัครในระบบเขตเลือกตั้ง หรือระบบบัญชีรายชื่อนั้น ขึ้นอยู่กับผู้บริหารพรรคที่จะพิจารณา
 
ที่มา : คมชัดลึก
[Continue reading...]

Tuesday, December 10, 2013

"เทพ เทือก" สั่งดำเนินคดี กับนายกปูและพวก ข้อหากบฏ

- 0 comments
เมื่อวันที่10ธ.ค. เวลา 22.30 น. ที่เวทีหน้าราชตฤณมัยสมาคม แยกนางเลิ้ง  นายสุเทพ เทือกสุบรรณ  เลขาธิการ กปปส. แถลงว่า ตามที่คณะกรรมการ กปปส. ได้ขอให้น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหมและคณะรัฐมนตรี  ประกาศไม่ปฏิบัติหน้าที่รักษาการ รวมถึงไม่แต่งตั้งบุคคลอื่นขึ้นรักษาการภายใน 24 ชั่วโมง ตามคำสั่งคณะกรรมการ กปปส. ฉบับที่ 1/2556 ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ก้าวลงจากอำนาจโดยละมุนละม่อม ทั้งที่ความเป็นนายกรัฐมนตรีของน.ส.ยิ่งลักษณ์ และครม.ได้สิ้นสุดลงตั้งแต่วันที่ประกาศไม่ยอมรับศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้กระบวนการคืนอำนาจให้แก่มวลมหาประชาชนในการทำประชาภิวัฒน์เพื่อปฏิรูปประเทศไทยเป็นไปโดยราบรื่น  แต่เมื่อครบกำหนดเวลาดังกล่าว น.ส.ยิ่งลักษณ์ อ้างว่าตัวเองมีอำนาจตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญอยู่  ซึ่งเป็นการขัดขวางกระบวนการประชาภิวัฒน์ของประชาชน
นายสุเทพกล่าวอีกว่า คณะกรรมการ กปปส.จึงออกคำสั่งฉบับที่ 2/2556 ดังนี้ 1.ให้มีการดำเนินคดีกับ  น.ส.ยิ่งลักษณ์ และพวกในความผิดฐานกบฏ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 113 เนื่องจากได้กระทำการล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญและอำนาจตุลาการแห่งรัฐธรรมนูญหรือให้ใช้อำนาจดังกล่าวแล้วไม่ได้ ถือเป็นความผิดอาญาร้ายแรงและจงใจฝ่าฝืนบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญโดยไม่สุจริต  2.ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(ผบ.ตร.)สั่งให้ตำรวจทุกหน่วยถอนกำลังกลับไปที่ตั้งปกติ รวมถึงปฏิบัติหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่ตามปกติ  โดยให้ดำเนินการออกคำสั่งภายใน 12 ชั่วโมง นับแต่มีคำสั่งนี้  3.กปปส.เห็นว่าเจ้าหน้าที่ทหารเป็นหน่วยงานที่ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนมากที่สุดจึงขอให้ทหารปฏิบัติหน้าที่รักษาสถานที่ราชการเพื่อให้เกิดความเรียบร้อยต่อไป
นายสุเทพกล่าวอีกว่า 4.ขอให้มวลมหาประชาชนติดตามพฤติกรรมความเคลื่อนไหวของคนในตระกูลชินวัตร และบุคคลใน ครม.ที่มิชอบด้วยรัฐธรรมนูญอย่างใกล้ชิด  และให้แสดงออกต่อกลุ่มบุคคลดังกล่าวในแนวทางสันติ อหิงสาเพื่อให้หยุดการกระทำที่ฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ และเจตจำนงค์ของมวลมหาประชาชน  ทั้งนี้ คณะกรรมการ กปปส.ยังแน่วแน่และยืนเคียงข้างประชาชนจนกว่าจะบรรลุถึงเป้าหมายคือการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และจะร่วมกันปฏิรูปประเทศด้วยมือของเรา
[Continue reading...]
 
Copyright © . Yak Ratchaprasong - Posts · Comments
Theme Template by BTDesigner · Powered by Blogger