Monday, September 30, 2013

คลิป "ขุนค้อน" ลั่นคราวนั้นให้เกียรติ (ศาล) คราวนี้ไม่ให้แล้ว คุณใช้อำนาจอะไรหล่ะ

- 0 comments
นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ให้สัมภาษณ์พิเศษ "มติชน" ถึงภาพรวมการทำหน้าที่ประธานการประชุมเมื่อครั้งการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่มาของ ส.ว. ภายหลังผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาในวาระที่สาม พร้อมให้ความเห็นถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องของพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) และกลุ่ม 40 ส.ว.ให้วินิจฉัยร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมที่มาของ ส.ว.อาจขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 68

ที่มีคำถามจากหลาย ๆ คนว่า สภา ท้าชนศาล จริง แล้ว ศาลต่างหากที่ท้าชนสภา ศาลก้าวก่ายการทำงานของสภา

คลิกดูคลิป "ขุนค้อน" ลั่นคราวนั้นให้เกียรติ คราวนี้ไม่ให้แล้ว คุณใช้อำนาจอะไรหล่ะ
คลิกดูคลิป คำถามเคยน้อยใจจนอยากลาออกจากประธานรัฐสภาบ้างหรือไม่

ที่มา: มติชน
[Continue reading...]

รายละเอียด ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มาส.ว. ที่กำลังรอทูลเกล้าฯ

- 0 comments
สรุปร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ประเด็นที่มาส.ว. ที่ผ่านวาระ 3 และรอทูลเกล้าฯ มีรายละเอียดแต่ละมาตราดังนี้

มาตรา 1 รัฐธรรมนูญนี้เรียกว่า "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่...) พุทธศักราช..."

มาตรา 2 รัฐธรรมนูญฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป​

มาตรา 3 ยกเลิกความในมาตรา 111 และมาตรา 112 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

มาตรา 111 วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกซึ่งราษฎรเลือกตั้งจำนวน 200 คน ในกรณีที่ตำแหน่งว่างลงไม่ว่าด้วยเหตุใดๆ และยังมิได้มีการเลือกตั้งขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง ให้วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกวุฒิสภาเท่าที่มีอยู่

กรณีที่มีเหตุการณ์ใดๆ ทำให้ส.ว.ไม่ครบจำนวนตามวรรคหนึ่ง แต่มีจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 ของจำนวน ส.ว.ทั้งหมด ให้ถือว่าวุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจำนวนดังกล่าว แต่ต้องมีการเลือกตั้งให้ได้ ส.ว.ครบจำนวนตามวรรคหนึ่งภายใน 180 วัน นับแต่วันที่มีเหตุการณ์ดังกล่าว และให้ ส.ว.ที่เข้ามาอยู่ในตำแหน่งเพียงเท่าวาระของวุฒิสภาที่เหลืออยู่

มาตรา 112 การเลือกตั้งส.ว. ให้ใช้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง โดยผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกผู้สมัครในเขตนั้นได้ 1 คน และให้ใช้วิธีออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับ การคำนวณเกณฑ์จำนวน ส.ว.ที่แต่ละจังหวัดจะพึงมี ให้คำนวณตามวิธีที่บัญญัติไว้ในมาตรา 94 โดยอนุโลม

ในกรณีที่จังหวัดใดมี ส.ว.ได้มากกว่าหนึ่งคน ให้ผู้สมัครที่ได้คะแนนสูงสุดเรียงตามลำดับจนครบจำนวน ส.ว.ที่จะพึงมีได้ในจังหวัดนั้น เป็นผู้ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ว.

เพื่อประโยชน์ในการเลือกตั้ง ให้ผู้สมัครสามารถหาเสียงเลือกตั้งได้ก็แต่เฉพาะที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานในหน้าที่​ของวุฒิสภา

หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการเลือกตั้งและการหาเสียงเลือกตั้งของ ส.ว.ให้เป็นไปตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และ ส.ว.

การแก้ไขมาตรานี้ ทำให้ ส.ว.ชุดใหม่ประกอบไปด้วยสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งล้วนๆ จำนวน 200 คน โดยใช้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง โดยส.ว. 1 คน ต่อประชาชนประมาณ 325,000 คน

ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ส.ว.มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นได้ 1 คน กรณีที่จังหวัดมี ส.ว.ได้มากกว่า 1 คน ให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ได้คะแนนสูงสุดเรียงตามลำดับจนครบจำนวน ส.ว.ที่จะพึงมีได้ในจังหวัดนั้น

จากเดิม ส.ว.มีที่มาจากส.ว.เลือกตั้ง 76 คน จาก 76 จังหวัด และ ส.ว.สรรหา 74 คน รวมเป็น 150 คน

มาตรา 4 ยกเลิกมาตรา 113 และ 114 ว่าด้วยการคัดสรร ส.ว.สรรหา โดยคณะกรรมการสรรหา 7 คน ประกอบด้วย ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ประธานคณะกรรมการการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้พิพากษาศาลฎีกา และตุลาการศาลปกครองสูงสุด ให้เป็นอันสิ้นสุด

มาตรา 5 ยกเลิกมาตรา 115 ว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามที่ไม่สามารถลงสมัคร ส.ว.ได้ เช่น ผู้สมัครต้องไม่เป็นบุพการี คู่สมรส หรือบุตรของ ส.ส. หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

ตามร่างนี้ ลูก เมีย พ่อ แม่ และเครือญาติผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองสามารถลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ว.ได้

มาตรา 6 ยกเลิกความในวรรคสอง ของมาตรา 116 ที่ว่าด้วยการดำรงตำแหน่งทางการเมืองของ ส.ว. หลังพ้นสมาชิกภาพแล้ว และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

บุคคลผู้เคยดำรงตำแหน่งส.ว.และสมาชิกภาพสิ้นสุดลงมาแล้วยังไม่เกินสองปี จะเป็นรัฐมนตรีหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองซึ่งมิใช่ส.ว.มิได้

ส่งผลให้สมาชิกวุฒิสภาสามารถลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ว. ต่อเนื่องได้ทันทีเมื่อหมดวาระ โดยไม่ต้องเว้นวรรค

และส.ว.เลือกตั้งชุดปัจจุบันที่จะหมดวาระลงในวันที่ 2 มี.ค. 2557 สามารถลงสมัครได้อีกสมัยในทันที

มาตรา 7 ยกเลิกมาตรา 117 และ 118 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

มาตรา 117 สมาชิกภาพของ ส.ว.เริ่มตั้งแต่วันเลือกตั้งส.ว. ให้วาระของวุฒิสภามีกำหนดคราวละ 6 ปีนับแต่วันเลือกตั้ง

มาตรา 118 เมื่อวาระของวุฒิสภาสิ้นสุดลง พระมหากษัตริย์จะได้ทรงตราพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาใหม่เป็นการเ​ลือกตั้งทั่วไป ซึ่งต้องกำหนดวันเลือกตั้งภายใน 45 วันนับแต่วันที่วาระของวุฒิสภาสิ้นสุดลง และวันเลือกตั้งนั้นต้องกำหนดเป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร

เท่ากับกำหนดให้ ส.ว.มีวาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปี และไม่จำกัดวาระว่าจะเป็นได้กี่สมัย รวมถึงกำหนดวันเลือกตั้งเมื่อวาระส.ว.สิ้นสุดลงภายใน 45 วัน

มาตรา 8 ให้ยกเลิกมาตรา 120 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

มาตรา 120 เมื่อตำแหน่ง ส.ว.ว่างลงเพราะเหตุอื่นใดนอกจากถึงคราวออกตามวาระของวุฒิสภา ให้มีการเลือกตั้ง ส.ว.ขึ้นแทนภายใน 45 วัน นับแต่วันที่ตำแหน่งนั้นว่างลง เว้นแต่วาระของวุฒิสภาจะเหลือไม่ถึง 180 วัน จะไม่ดำเนินการเลือกตั้งก็ได้ ส.ว.ผู้เข้ามาแทนที่ให้อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่าอายุของวุฒิสภาที่เหลืออยู่"

หมายถึงการเลือกตั้ง ส.ว.ที่ว่างลงด้วยเหตุอื่นที่ไม่ใช่การครบวาระ ภายใน 45 วัน ยกเว้นวาระการดำรงตำแหน่งจะเหลือไม่ถึง 180 วัน จะไม่จัดให้เลือกก็ได้ ส่วนผู้ที่เข้ามาดำรงตำแหน่งแทนให้ครบวาระเท่า อายุส.ว.ที่เหลืออยู่

มาตรา 9 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา 241 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

มาตรา 241 ในระหว่างที่พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งส.ส.หรือ ส.ว. หรือประกาศให้มีการออกเสียงประชามติมีผลใช้บังคับ ห้ามมิให้จับ คุมขัง หรือหมายเรียกตัวกรรมการการเลือกตั้ง ไปทำการสอบสวน เว้นแต่ในกรณีที่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) หรือในกรณีที่จับในขณะกระทำความผิด

มาตรา 10 ให้ ส.ว.ที่มีสมาชิกภาพอยู่ในวันที่ร่างแก้ไขฉบับนี้ใช้บังคับยังคงสมาชิกภาพ และทำหน้าที่ ต่อไป

ในกรณีที่การดำรงตำแหน่งของ ส.ว. ว่างลงก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญนี้ ไม่ต้องดำเนินการเลือกตั้งหรือสรรหาขึ้นใหม่แทนตำแหน่งที่ว่าง

มาตรา 11 ให้ กกต.ดำเนินการเสนอร่าง พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. และ ส.ว. ต่อรัฐสภาภายใน 30 วัน นับแต่วันที่รัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ

ภายใน 120 วันนับแต่วันที่รัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ ให้รัฐสภาดำเนินการพิจารณาและให้ความเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.และส.ว. ที่ กกต.เสนอตามวรรคหนึ่งให้แล้วเสร็จ

เมื่อครบกำหนดระยะเวลาตามวรรคสอง หรือมีเหตุอื่นใด ทำให้รัฐสภาไม่สามารถพิจารณาร่าง พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญตามวรรคหนึ่งให้แล้วเสร็จ ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรนำร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าวที่สภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบเสนอต่อนายกฯ นำขึ้นทูลเกล้าฯ และให้นำความในมาตรา 150 และมาตรา 150 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา 11/1 เมื่อ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.และส.ว.ตามมาตรา 11 มีผลใช้บังคับ ให้บรรดาบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ กฎหมาย ระเบียบ ประกาศ หรือข้อบังคับใด ที่อ้างถึงพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.และการได้มาซึ่งส.ว. ให้หมายถึง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.และส.ว.

มาตรา 12 เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้มีการเลือกตั้ง ส.ว.ครั้งแรกซึ่งเป็นการเลือกตั้งทั่วไปตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.และส.ว. ตามมาตรา 11 ให้ ส.ว.ตามมาตรา 10 สิ้นสุดสมาชิกภาพในวันที่สมาชิกวุฒิสภาที่ได้รับเลือกตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่
[Continue reading...]

เผย 358 รายชื่อเห็นชอบ ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่มา ของ ส.ว.วาระ 3

- 0 comments
ผลการโหวตของรัฐสภาในการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่..) พ.ศ. .... ที่มาของ ส.ว. เห็นด้วย 358 คน ไม่เห็นด้วย 2 คน

พรรคเพื่อไทย

น.ส.กฤษณา สีหลักษณ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ นายกฤษดาภรณ์ เสียมภักดี ส.ส.เชียงใหม่ นายก่อเกียรติ สิริยะเสถียร ส.ส.นครปฐม นายกานต์ กัลป์ตินันท์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ นายกิตติ สมทรัพย์ ส.ส.ร้อยเอ็ด นายกิตติศักดิ์ หัตถสงเคราะห์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ นางกุสุมาลวตี ศิริโกมุท ส.ส.มหาสารคาม นายเกรียงศักดิ์ ฝ้ายสีงาม ส.ส.อุดรธานี นายเกษม อุประ ส.ส.สกลนคร นายเกียรติชัย ติรณศักดิ์กุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ นายเกียรติอุดม เมนะสวัสดิ์ ส.ส.อุดรธานี นายโกศล ปัทมะ ส.ส.นครราชสีมา นายขจิตร ชัยนิคม ส.ส.อุดรธานี พท. น.ส.ขัตติยา สวัสดิผล ส.ส.บัญชีรายชื่อ 

นายคณวัฒน์ วศินสังวร ส.ส.บัญชีรายชื่อ นายคมเดช ไชยศิวามงคล ส.ส.กาฬสินธุ์ นายครูมานิตย์ สังข์พุ่ม ส.ส.สุรินทร์ นายคุณากร ปรีชาชนะชัย ส.ส.สุรินทร์ นายจตุพร เจริญเชื้อ ส.ส.ขอนแก่น นายจรัลฤทธิ์ จันทรสุรินทร์ ส.ส.ลำปาง นายจรูญพงศ์ พันธุ์ศรีนคร ส.ส.นครราชสีมา นายจักรพรรดิ ไชยสาส์น ส.ส.อุดรธานี นายจักรัตน์ พั้วช่วย ส.ส.เพชรบูรณ์ นายจักริน พัฒน์ดำรงจิตร ส.ส.ขอนแก่น 

น.ส.จารุพรรณ กุลดิลก ส.ส.บัญชีรายชื่อ นายจิรวัฒน์ ศิริพานิชย์ ส.ส.มหาสารคาม นายจิรายุ ห่วงทรัทย์ ส.ส.กรุงเทพมหานคร นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.เชียงใหม่ นายเจริญ จรรย์โกมล ส.ส.ชัยภูมิ นายฉลอง เรี่ยวแรง ส.ส.นนทบุรี นายฉลาด ขามช่วง ส.ส.ร้อยเอ็ด ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ส.ส.บัญชีรายชื่อ นางชมภู จันทาทอง ส.ส.หนองคาย นายชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน นายชวลิต วิชยสุทธิ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 

นายชินวัฒน์ หาบุญพาด ส.ส.บัญชีรายชื่อ นายชูกัน กุลวงษา ส.ส.นครพนม นายชูชาติ หาญสวัสดิ์ ส.ส.ปทุมธานี นายชูวิทย์ พิทักษ์พรพัลลภ ส.ส.อุบลราชธานี นายชูศักดิ์ แอกทอง ส.ส.สุรินทร์ นายเชิดชัย ตันติศิรินทร์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ นายเชิดพงศ์ ราชป้องขันธ์ ส.ส.บึงกาฬ นายไชยวัฒน์ ติณรัตน์ ส.ส.มหาสารคาม นายไชยา พรหมา ส.ส.หนองบัวลำภู นายฐานิสร์ เทียนทอง ส.ส.สระแก้ว นายณัฐพงษ์ สุปริยศิลป์ ส.ส.น่าน นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ส.ส.บัญชีรายชื่อ นายดนุพร ปุณณกันต์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ นางดวงแข อรรณนพพร ส.ส.ขอนแก่น นายดิสทัต คำประกอบ ส.ส.นครสวรรค์ 

น.ส.ตรีนุช เทียนทอง ส.ส.สระแก้ว น.ส.ตวงรัตน์ โล่ห์สุนทร ส.ส.บัญชีรายชื่อ นายตี๋ใหญ่ พูนศรีธนากูล ส.ส.สุรินทร์ นายไตรรงค์ ติธรรม ส.ส.บึงกาฬ นายถาวร ตรีรัตน์ณรงค์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ นายถิรชัย วุฒิธรรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย ส.ส.อุตรดิตถ์ นายทวีศักดิ์ อนรรฆพันธ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ นายทองดี มนิสสาร ส.ส.อุดรธานี น.ส.ทัศนียา รัตนเศรษฐ ส.ส.นครราชสีมา นายทายาท เกียรติชูศักดิ์ ส.ส.นครสวรรค์ นางเทียบจุฑา ขาวขำ ส.ส.อุดรธานี นายธนเทพ ทิมสุวรรณ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ นายธนิก มาสีพิทักษ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ นายธเนศ เครือรัตน์ ส.ส.ศรีสะเกษ นายธวัชชัย สุทธิบงกช ส.ส.บัญชีรายชื่อ 

น.ส.ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ ส.ส.กทม. นายนพคุณ รัฐไผท ส.ส.เชียงใหม่ นายนพดล เหลืองทองนารา ส.ส.พิษณุโลก นายนภินทร ศรีสรรพางค์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ นายนริศร ทองธิราช ส.ส.สกลนคร นายนวัธ เตาะเจริญสุข ส.ส.ขอนแก่น นายนันทนา ทิมสุวรรณ ส.ส.เลย ร.ต.อ.นิติภูมิ นวรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ นายนิทัศน์ ศรีนนท์ ส.ส.นนทบุรี นายนิพนธ์ ศรีธเรศ ส.ส.กาฬสินธุ์ นายนิยม ช่างพินิจ ส.ส.พิษณุโลก นายนิยม วรปัญญา ส.ส.บัญชีรายชื่อ นายนิยม เวชกามา ส.ส.สกลนคร นายนิรมิต สุจารี ส.ส.ร้อยเอ็ด นายนิรันดร์ นาเมืองรักษ์ ส.ส.ร้อยเอ็ด พ.ต.ท.นุกูล แสงศิริ ส.ส.นครสวรรค์ นายบุญแก้ว สมวงศ์ ส.ส.ยโสธร นายบุญชู นิลถนอม ส.ส.สมุทรสาคร นายบุญฐิณ ประทุมลี ส.ส.มุกดาหาร นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ ส.ส.เชียงใหม่ นางบุญรื่น ศรีธเรศ ส.ส.กาฬสินธุ์ 

นางบุศริณธญ์ วรพัฒนานันน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ นายประชา ประสพดี ส.ส.สมุทรปราการ นายประวัฒน์ อุตโมท ส.ส.บัญชีรายชื่อ จ.ส.ต.ประสิทธิ์ ไชยศรีษะ ส.ส.สุรินทร์ นายประสิทธิ์ วุฒินันชัย ส.ส.เชียงใหม่ นายประเสริฐ จันทรรวงทอง ส.ส.นครราชสีมา นายประเสริฐ ชัยกิจเด่นนภาลัย ส.ส.สมุทรปราการ นายประเสริฐ บุญเรือง ส.ส.กาฬสินธุ์ นายปริญญา ฤกษ์หร่าย ส.ส.กำแพงเพชร นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข ส.ส.เลย ร.ท.ปรีชาพล พงษ์พานิช ส.ส.ขอนแก่น นายปวีณ แซ่จึง ส.ส.ศรีสะเกษ นายปัญญา จินตะเวช ส.ส.อุบลราชธานี นายปานหทัย เสรีรักษ์ ส.ส.แพร่ น.ส.ปาริชาติ ชาลีเครือ ส.ส.ชัยภูมิ 

นายปิยวัฒน พันธ์สายเชื้อ ส.ส.ยโสธร นายปิยะดา มุ่งเจริญพร ส.ส.สุรินทร์ นางเปล่งมณี เร่งสมบูรณ์สุข ส.ส.เลย นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ ส.ส.นครปฐม นายไผ่ ลิกค์ ส.ส.กำแพงเพชร นายพหล วรปัญญา ส.ส.ลพบุรี นายพงศกร อรรณนพพร ส.ส.บัญชีรายชื่อ ว่าที่ ร.ต.พงศ์เวช สุนทรชัย ส.ส.หนองคาย นายพรชัย ศรีสุริยันโยธิน ส.ส.บุรีรัมย์ น.ส.พรพิมล ธรรมสาร ส.ส.ปทุมธานี นางพรเพ็ญ บุญศิริวัฒนกุล ส.ส.ชัยภูมิ นายพรศักดิ์ เจริญประเสริฐ ส.ส.บัญชีรายชื่อ นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ นายพลภูมิ วิภัติภูมิประเทศ ส.ส.กทม. นายพ้อง ชีวานันท์ ส.ส.พระนครศรีอยุธยา นายพัฒนา สัพโส ส.ส.สกลนคร นายพายัพ ปั้นเกตุ ส.ส.บัญชีรายชื่อ นายพิชัย เกียรติวินัยสกุล ส.ส.ลพบุรี นายพิชิต ชื่นบาน ส.ส.บัญชีรายชื่อ 

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน ส.ส.เชียงราย นายพิษณุ หัตถสงเคราะห์ ส.ส.หนองบัวลำภู นายพิสิษฐ์ สันตพันธ์ ส.ส.อุบลราชธานี นายพีรพันธุ์ พาลุสุข ส.ส.ยโสธร นายพีระเพชร ศิริกุล ส.ส.กาฬสินธุ์ นายไพจิต ศรีวรขาน ส.ส.นครพนม นายไพโรจน์ ตันบรรจง ส.ส.พะเยา นายไพโรจน์ อิสระเสรีพงษ์ ส.ส.พะเยา นายภูมิ สาระผล ส.ส.ขอนแก่น น.ส.ภูวนิดา คุนผลิน ส.ส.บัญชีรายชื่อ นายมนตรี ตั้งเจริญถาวร ส.ส.นครพนม นางมนพร เจริญศรี ส.ส.นครพนม นายมานพ จรัสดำรงนิตย์ ส.ส.ศรีสะเกษ นายมานะ โลหะวณิชย์ ส.ส.ชัยภูมิ น.ส.มาลินี อินฉัตร ส.ส.บัญชีรายชื่อ นางมุกดา พงษ์สมบัติ ส.ส.ขอนแก่น น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ส.ส.บัญชีรายชื่อ นายยุทธจักร เรืองวรบูรณ์ ส.ส.นครพนม นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ส.ส.มหาสารคาม นางเยาวนิตย์ เพียงเกษ ส.ส.บัญชีรายชื่อ นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ ส.ส.เชียงใหม่ นายรส มะลิผล ส.ส.ฉะเชิงเทรา นางระพิพรรณ พงศ์เรืองรอง ส.ส.บัญชีรายชื่อ นายรังสรรค์ มณีรัตน์ ส.ส.ลำพูน นายรังสรรค์ วันไชยธนวงศ์ ส.ส.เชียงราย นางรังสิมา เจริญศิริ ส.ส.บัญชีรายชื่อ นายรัฐกร เจนกิจณรงค์ ส.ส.นครปฐม นายเรืองเดช สุพรรณฝ่าย ส.ส.ขอนแก่น นางสาวละออง ติยะไพรัช ส.ส.เชียงราย นายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล ส.ส.แพร่ นายวรสิทธิ์ กัลป์ตินันท์ ส.ส.อุบลราชธานี

นางวราภรณ์ ตั้งภากรณ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ นายวราวงษ์ พันธุ์ศิลา ส.ส.ร้อยเอ็ด นางวไลพร อัจริยะประสิทธิ์ ส.ส.นนทบุรี นายวัฒนา เมืองสุข ส.ส.บัญชีรายชื่อ นายวันชัย เจริญนนทสิทธิ์ ส.ส.นนทบุรี นายวันชัย บุษบา ส.ส.เลย นางวันเพ็ญ พร้อมพัฒน์ ส.ส.เพชรบูรณ์ นายวาสิต พยัคฆบุตร ส.ส.ลำปาง นายวิชัย สามิตร ส.ส.หนองบัวลำภู นายวิชาญ มีนชัยนันท์ ส.ส.กทม. นายวิทยา ทรงคำ ส.ส.เชียงใหม่ นายวิทยา บุรณศิริ ส.ส.อยุธยา นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไท ส.ส.บัญชีรายชื่อ นายวิรัช รัตนเศรษฐ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พล.ต.อ.วิรุฬห์ พื้นแสน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ นายวิวัฒน์ชัย โหตระไวศยะ ส.ส.ศรีสะเกษ 

น.ส.วิสาระดี เตชะธีราวัฒน์ ส.ส.เชียงราย นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ ส.ส.พะเยา นายวีระพล จิตสัมฤทธิ์ ส.ส.ศรีสะเกษ นายวีระวัฒน์ โอสถานุเคราะห์ ส.ส.กาฬสินธุ์ นายเวียง วรเชษฐ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ นายศรันย์วุฒิ ศรันย์เกตุ ส.ส.อุตรดิตถ์ นายศราวุธ เพชรพนมพร ส.ส.อุดรธานี นายศรีเรศ โกฏคำลือ ส.ส.เชียงใหม่ นายศักดา คงเพชร ส.ส.ร้อยเอ็ด นายศิรสิทธิ์ เลิศด้วยลาภ ส.ส.นครราชสีมา นายเศกสิทธิ์ ไวนิยมพงศ์ ส.ส.ร้อยเอ็ด นายสงวน พงษ์มณี ส.ส.ลำพูน นายสมคิด เชื้อคง ส.ส.อุบลราชธานี นายสมคิด บาลไธสง ส.ส.หนองคาย นายสมชัย อัศวชัยโสภณ ส.ส.ฉะเชิงเทรา พล.อ.สมชาย วิษณุวงศ์ ส.ส.กาญจนบุรี นายสมบัติ ศรีสุรินทร์ ส.ส.สุรินทร์ นายสมพล เกยุราพันธุ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ นายสมโภช สายเทพ ส.ส.ลำปาง นายสมศักดิ์ ใจแคล้ว ส.ส.ปทุมธานี นางสมหญิง บัวบุตร ส.ส.อำนาจเจริญ นายสรรพภัญญู ศิริไปล์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ นายสรวงศ์ เทียนทอง ส.ส.สระแก้ว นางสลิลทิพย์ สุขวัฒน์ ส.ส.สมุทรปราการ นายสหรัฐ กุลศรี ส.ส.สุพรรณบุรี นายสัญชัย วงษ์สุนทร ส.ส.นครสวรรค์

นายสัมภาษณ์ อัตถาวงศ์ ส.ส.นครราชสีมา นายสามารถ แก้วมีชัย ส.ส.เชียงราย นางสิรินทร รามสูต ส.ส.น่าน นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช ส.ส.บัญชีรายชื่อ นายสุชาติ ภิญโญ ส.ส.นครราชสีมา นายสุชาย ศรีสุรพล ส.ส.ขอนแก่น น.ส.สุณีย์ เหลืองวิจิตร ส.ส.บัญชีรายชื่อ นายสุทธิชัย จรูญเนตร ส.ส.อุบลราชธานี นายสุทัศน์ จันทร์แสงศรี ส.ส.เพชรบูรณ์ นายสุทิน นพขำ ส.ส.ปทุมธานี นางสาวสุนทรี ชัยวิรัตนะ ส.ส.บัญชีรายชื่อ นายสุนัย จุลพงศธร ส.ส.บัญชีรายชื่อ นายสุพล ฟองงาม ส.ส.อุบลราชธานี นายสุรจิตร ยนตร์ตระกูล ส.ส.มหาสารคาม นายสุรชาติ ชาญประดิษฐ์ ส.ส.ศรีสะเกษ นายสุรชาติ เทียนทอง ส.ส.กทม. พ.ต.ท.สุรทิน พิมานเมฆินทร์ ส.ส.อุดรธานี 

นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ ส.ส.กาญจนบุรี นายสุรพงษ์ อึ้งอัมพรวิไล ส.ส.ปทุมธานี นายสุรพล เกียรติไชยากร ส.ส.เชียงใหม่ พล.ร.อ.สุรพล จันทน์แดง ส.ส.ชลบุรี นายสุรวิทย์ คนสมบูรณ์ ส.ส.ชัยภูมิ นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล ส.ส.พระนครศรีอยุธยา นายสุรศักดิ์ อนรรฆพันธ์ ส.ส.เพชรบูรณ์ นายสุรสาล ผาสุข ส.ส.สิงห์บุรี นายสุรสิทธิ์ เจียมวิจักษณ์ ส.ส.เชียงราย นายเสนาะ เทียนทอง ส.ส.บัญชีรายชื่อ นายเสรี สาระนันท์ ส.ส.สกลนคร นางหนูแดง วรรณกางซ้าย ส.ส.บุรีรัมย์ นายเหวง โตจิราการ ส.ส.บัญชีรายชื่อ นายองอาจ วงศ์ประยูร ส.ส.สระบุรี นายองอาจ วชิรพงศ์ ส.ส.พระนครศรีอยุธยา นายอดิศักดิ์ โภคกุลกานนท์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ ส.ส.นครราชสีมา นายอนันต์ ผลอำนวย ส.ส.กำแพงเพชร 

นายอนันต์ ลิมปคุปตถาวร ส.ส.ชัยภูมิ นายอนันต์ ศรีพันธุ์ ส.ส.อุดรธานี นายอนุชา สะสมทรัพย์ ส.ส.นครปฐม น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ ส.ส. กทม. นายอนุรักษ์ ตั้งปณิธานนท์ ส.ส.มุกดาหาร นางอนุรักษ์ บุญศล ส.ส.สกลนคร นายอนุสรณ์ ปั้นทอง ส.ส. กทม. 

นางอนุสรา ยังตรง ส.ส.สมุทรปราการ นายอภิชาต ตีรสวัสดิชัย ส.ส.สกลนคร พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย ส.ส.บัญชีรายชื่อ นายอรรถกร ศิริลัทธยากร ส.ส.บัญชีรายชื่อ นายอรรถพล วงษ์ประยูร ส.ส.สระบุรี นางอรุณลักษณ์ กิจเลิศไพโรจน์ ส.ส.สมุทรปราการ น.ส.อรุณี ชำนาญยา ส.ส.พะเยา นายอัสนี เชิดชัย ส.ส.บัญชีรายชื่อ พ.ต.อาณันย์ วัชโรทัย ส.ส.บัญชีรายชื่อ นายอำนวย คลังผา ส.ส.ลพบุรี นายอิทธิเดช แก้วหลวง ส.ส.เชียงราย นายอิทธิรัตน์ จันทรสุรินทร์ ส.ส.ลำปาง นายอุดมเดช รัตนเสถียร ส.ส.นนทบุรี นางอุดมรัตน์ อาภรณ์รัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ นายเอกธนัช อินทร์รอด ส.ส.บัญชีรายชื่อ นางเอมอร สินธุไพร ส.ส.ร้อยเอ็ด นายเอี่ยม ทองใจสด ส.ส.เพชรบูรณ์

พรรคภูมิใจไทย

นายจักรวาล ชัยวิรัตน์นุกูล ส.ส.สุโขทัย น.ส.ชะวรลัทธิ์ ชินธรรมมิตร ส.ส.ราชบุรี นางนันทนา สงฆ์ประชา ส.ส.ชัยนาท นางบุญยิ่ง นิติกาญจนา ส.ส.ราชบุรี นางพรทิวา นาคาศัย ส.ส.ชัยนาท นายมนู พุกประเสริฐ ส.ส.สุโขทัย นายมานิต นพอมรบดี ส.ส.ราชบุรี นางอุดมลักษณ์ เพ็งนรพัฒน์ ส.ส.ศรีสะเกษ

พรรคชาติไทยพัฒนา

นายกรวีร์ ปริศนานันทกุล ส.ส.อ่างทอง นายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร ส.ส.พระนครศรีอยุธยา นายชยุต ภุมมะกาญจนะ ส.ส.ปราจีนบุรี นายชาญชัย ประเสริฐสุวรรณ ส.ส.สุพรรณบุรี นายชาดา ไทยเศรษฐ์ ส.ส.อุทัยธานี นายฐนนท์ศรณ์ เลิศฤทธิ์ศิริกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ นายตุ่น จินตะเวช ส.ส.อุบลราชธานี นายธานินทน์ ใจสมุทร ส.ส.สตูล 

นายนพดล มาตรศรี ส.ส.สุพรรณบุรี นายนิติวัฒน์ จันทร์สว่าง ส.ส.บัญชีรายชื่อ นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ นางปารีณา ไกรคุปต์ ส.ส.ราชบุรี 

น.ส.พัชรี โพธสุธน ส.ส.สุพรรณบุรี นายภราดา ปริศนานันทกุล ส.ส.อ่างทอง นายวัชรพล โตมรศักดิ์ ส.ส.นครราชสีมา นายวินัย ภัทรประสิทธิ์ ส.ส.พิจิตร นายสรชัด สุจิตต์ ส.ส.สุพรรณบุรี พ.ท.สินธพ แก้วพิจิตร ส.ส.นครปฐม 

พรรคมาตุภูมิ

พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ส.ส.บัญชีรายชื่อ นายอนุมัติ ซูสารอ ส.ส.ปัตตานี 

พรรคชาติพัฒนา

นายพลพีร์ สุวรรณฉวี ส.ส.นครราชสีมา นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง ส.ส.บัญชีรายชื่อ ร.ต.ประพาส ลิมปะพันธุ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ นายประสาท ตันประเสริฐ ส.ส.นครสวรรค์ นายประเสริฐ บุญชัยสุข ส.ส.นครราชสีมา 

พรรคประชาธิปไตยใหม่

นางพัชรินทร์ มั่นปาน ส.ส.บัญชีรายชื่อ

พรรครักประเทศไทย

นายชัยวัฒน์ ไกรฤกษ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ

พรรคมหาชน

นายอภิรัต ศิรินาวิน ส.ส.บัญชีรายชื่อ

พรรคพลังชล

นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ ส.ส.ชลบุรี นายพันธุ์ศักดิ์ เกตุวัตถา ส.ส.ชลบุรี นายรณเทพ อนุวัฒน์ ส.ส.ชลบุรี นายสันตศักย์ จรูญงามพิเชษฐ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ นาง

สุกุมล คุณปลื้ม ส.ส.ชลบุรี นายสุชาติ ชมกลิ่น ส.ส.ชลบุรี นายอุกฤษณ์ ตั๊นสวัสดิ์ ส.ส.ชลบุรี

ส.ว.เลือกตั้ง

นายกฤช อาทิตย์แก้ว ส.ว.กำแพงเพชร พล.ต.กลชัย สุวรรณบูรณ์ ส.ว.ชุมพร น.ส.เกศสิณี แขวัฒนะ ส.ว.พระนครศรีอยุธยา พล.ต.อ.โกวิท ภักดีภูมิ ส.ว.อ่างทอง พล.ต.ต.ขจร สัยวัตร์ ส.ว.หนองคาย นายขวัญชัย พนมขวัญ ส.ว.แพร่ นายจตุรงค์ ธีระกนก ส.ว.ร้อยเอ็ด พ.ต.ท.จิตต์ ศรีโยหะ มุกดาธนพงศ์ ส.ว.มุกดาหาร นายจิตติพจน์ วิริยะโรจน์ ส.ว.ศรีสะเกษ นายเจริญ ภักดีวานิช ส.ว.พัทลุง นายชรินทร์ หาญสืบสาย ส.ว.ตาก

นายชัยภัทร เศรษฐยุกานนท์ ส.ว.ระนอง นายชูชัย เลิศพงศ์อดิศร ส.ว.เชียงใหม่ นายดิเรก ถึงฝั่ง ส.ว.นนทบุรี นายต่วนอับดุลเล๊าะ ดาโอ๊ะมารียอ ส.ว.ยะลา นายถนอง ส่งเสริม ส.ว.อุบลราชธานี นายทวีศักดิ์ คิดบรรจง ส.ว.บุรีรัมย์ นายธวัชชัย บุญมา ส.ว.นครนายก นายบวรศักดิ์ คณาเสน ส.ว.อำนาจเจริญ นายบุญส่ง โควาวิสารัช ส.ว.แม่ฮ่องสอน นายประดิษฐ์ ตันวัฒนะพงษ์ ส.ว.สกลนคร นายประวัติ ทองสมบูรณ์ ส.ว.มหาสารคาม นายประสิทธิ์ โพธสุธน ส.ว.สุพรรณบุรี นายประเสริฐ ประคุณศึกษาพันธ์ ส.ว.ขอนแก่น พล.ท.พงศ์เอก อภิรักษ์โยธิน ส.ว.พะเยา พ.ต.อ.พายัพ ทองชื่น ส.ว.อ่างทอง พล.ต.อ.พิชัย สุนทรสัจบูลย์ ส.ว.อุดรธานี นายพีระ มานะทัศน์ ส.ว.ลำปาง นายไพบูลย์ ซำศิริพงษ์ ส.ว.ปทุมธานี นางภารดี จงสุขธนามณี ส.ว.เชียงราย นายภิญโญ สายนุ้ย ส.ว.กระบี่ นายยุทธนา ยุพฤทธิ์ ส.ว.ยโสธร นายรักพงศ์ ณ อุบล ส.ว.หนองบัวลำภู นายวรวิทย์ บารู ส.ว.ปัตตานี นายวรวิทย์ วงษ์สุวรรณ ส.ว.ลพบุรี นายสมชาติ พรรณพัฒน์ ส.ว.นครปฐม

นายสมศักดิ์ บุญเปลื้อง ส.ว.ลำพูน นายสิงห์ชัย ทุ่งทอง ส.ว.อุทัยธานี นายสิทธิศักดิ์ ยนต์ตระกูล ส.ว.กาฬสินธุ์ นายสิริวัฒน์ ไกรสินธุ์ ส.ว.นครศรีธรรมราช นายสุโข วุฑฒิโชติ ส.ว.สมุทรปราการ นายสุเมธ ศรีพงษ์ ส.ว.นครราชสีมา นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ส.ว.ชลบุรี นายสุรพงษ์ ตันธนศรีกุล ส.ว.กาญจนบุรี นายสุริยา ปันจอร์ ส.ว.สตูล นายสุวิศว์ เมฆเสรีกุล ส.ว.สมุทรสาคร นายโสภณ ศรีมาเหล็ก ส.ว.น่าน พล.ต.ต.องอาจ สุวรรณสิงห์ ส.ว.เลย 

ส.ว.สรรหา

พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์ ส.ว.สรรหา นายปัญญา เบ็ญจศิริวรรณ ส.ว.สรรหา น.ส.สุนันทน์ สิงห์สมบุญ ส.ว.สรรหา

ไม่เห็นชอบ 2 เสียง

นายวิเชียร คันฉ่อง ส.ว.ตรัง นายวิชาญ ศิริชัยเอกวัฒน์ ส.ว.สรรหา
ที่มา : มติชน
[Continue reading...]

Sunday, September 29, 2013

นักกฏหมายชี้ "เป็นอำนาจ" ของนายก "ทูลเกล้าฯ" ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่มา ส.ว.

- 0 comments
กรณีพรรคประชาธิปัตย์และเครือข่ายเคลื่อนไหวคัดค้านการนำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มาของส.ว. ที่ผ่านการลงมติวาระ 3 ขึ้นทูลเกล้าฯ

โดยงัดมาตรา 154 ยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย เพื่อระงับกระบวนการประกาศให้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวมีผลบังคับใช้นั้น

ดูมุมมองของนักกฏหมายมีความคิดเห็นต่อประเด็นนี้อย่างไร

เพราะเมื่อรัฐสภาลงมติวาระ 3 เรียบร้อยแล้ว จะต้องทำให้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้ตามรัฐ

ธรรมนูญ ม.150 ซึ่งให้อำนาจนายกรัฐมนตรีต้องนำเสนอขึ้นทูลเกล้าฯ ภายใน 20 วัน หากนายกรัฐมนตรีไม่ยื่นก็จะเข้าข่ายความผิดปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เนื่องจากกฎหมายระบุไว้แล้ว

คลิกดูความเห็นของนักกฏหมายต่อประเด็นนี้
[Continue reading...]

ยิ่งแก่ ยิ่งเลอะเลือน...นายหัวชวน

- 0 comments
ชื่อ นายชวน หลีกภัย ถือว่า ยังขลังในหมู่คนใต้  คำว่า "พรรคประชาธิปัตย์เป็นของคนใต้" ก็ต้องยอมรับว่ามาจากนาย ชวนหลีกภัย

ถ้าย้อนกลับไปดู ก่อนที่นายชวน เข้าสู่การเมือง พรรคประชาธิปัตย์ยังไม่ได้ ส.ส. จากภาคใต้เป็นกลุ่มเป็นก้อนอย่างนี้

ถึงขนาดที่มีผู้เฒ่าผู้แก่สั่งเสียให้ลูกหลาน "อย่าลืมช่วย นายชวนนะ สงสารมัน"

ถึงขนาดมีคำพูดว่า "เอาเสาไฟฟ้าไปลง" คนก็ยังเลือกประชาธิปัตย์

เพราะว่าโดยบุคลิก ของนายชวน ที่ดำรงตนเป็นคน สมถะ อยู่บ้านเช่า ใช้รถเก่า และโดยพื้นเพเดิมที่เป็นลูกแม่ค้า

โดยเฉพาะในอดีต การรับรู้ข้อมูลข่าวสารยังไม่รวดเร็วอย่างปัจจุบัน

ด้วยเหตุนี้ภาพของนายชวน จึงเป็นเหมือนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ประจำพรรคอย่างที่นายวัชระ เพชรทองได้กล่าวถึง

ระดับคนเคยดำรงตำแหน่งประธานสภา เคยดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี ถึง 2 สมัย น่าจะรู้ว่าอะไรควรหรือไม่ควร

การพูด ปลุกระดมให้เกิดภาคนิยม เป็นสิ่งที่ไม่สมควร (คลิกดูรายละเอียด)

ในขณะที่ ประเทศต้องการความสมานฉันท์ ปรองดอง กลับพูดเพื่อสร้างความแตกแยก

หรือเพียงเพื่อป้องกันถูกแย่ง ฐานที่มั่น กระทำโดยไม่เลือกวิธีการ

ทางภาคกลางเรียกว่า "แก่กะโหลกกะลา"

ทางภาคใต้เรียกว่า "ใหญ่พร้าว เฒ่าลอกอ"

คือแก่เสียเปล่า ใหญ่เสียเปล่า ข้างในไม่มีอะไรเลย
[Continue reading...]

คลิป " คุยกับอ.สถิตย์ ไพเราะ" ศาลในพระปรมาภิไธย รายการ Intelligence

- 0 comments
อ.สถิตย์ ไพเราะ อดีตรองประธานศาลกีฎา ได้วิพากษ์ วิจารณ์ ถึงความเข้าใจผิด ๆ ของ "ศาลในพระปรมาภิไธย " ที่ทำให้ผู้พิพากษาจำนวนมากมีทัศนคติว่า ตนเองเป็นข้าราชการฝ่ายพิเศษ

ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยใช้อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร โดยประธานรัฐสภา นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ แต่อำนาจตุลาการต้องพิพากษาคดีปีละนับล้าน ศาลต้องออกคำสั่งเพื่อให้เกิดความยุติธรรมโดยเร็ว ในทางปฏิบัติไม่สามารถนำขึ้นทูลเกล้าฯ ได้ รัฐธรรมนูญจึงกำหนดให้ฝ่ายตุลาการใช้อำนาจเสมือนทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว

ในช่วงหนึ่ง อ.สถิตย์ ไพเราะ ได้กล่าวไว้ว่า "ไม่มีกฏหมายใด ที่ห้ามไม่ให้ วิพากษ์ วิจารณ์ คำตัดสินของศาล"


คลิกดูคลิป ศาลในพระปรมาภิไธย ตอน 1+2

ที่มา: วอยส์ทีวี

หมายเหตุ คลิกดูบทความเสรีภาพในการวิพากษ์วิจารณ์ศาล
[Continue reading...]

คลิปวีดีโอ คนค้นฅน "ตอนถูกสั่งระงับออกอากาศ" ศศิน เฉลิมลาภ 388 ก.ม.

- 0 comments
จากกรณี ที่ สถานีโทรทัศน์ โมเดิร์นไนน์ ทีวี   ได้การระงับออกอากาศ เทปรายการ "คนค้นฅน ตอน ศศิน เฉลิมลาภ “388 กิโลเมตร จากป่าสู่เมือง” ซึ่งจากเดิมจะมีการเผยแพร่ในวันเสาร์ที่ 28 กันยายนนี้ 2556  ตามปกติ  จนเกิดเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก ว่าทางรัฐบาลเป็นผู้สั่งระงับการออกอากาศดังกล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อคืนวันที่ 28  ก.ย. 56 ที่ผ่านมา   บริษัท ทีวีบูรพา  จำกัด ผู้ผลิตรายการ ดัง อย่าง  "คนค้นฅน"  และ "กบนอกกะลา"  ได้ทำการเผยแพร่  เทปรายการ "คนค้นฅน ตอน ศศิน เฉลิมลาภ “388  กิโลเมตร จากป่าสู่เมือง”  ผ่านเว็บไซต์ยูทูป  ในชื่อคลิปวิดีโอว่า "NO DAM ส่งเทปรอบสอง "  โดยผู้ใช้นามว่า "keerati chimpleenapanont"  ซึ่งระบุว่า เป็นเทปฉบับที่นำกลับมาปรับแก้ส่งเซนเซอร์ครั้งที่2 ซึ่ีงมีความยาว 42:20 นาที
คลิกดูคลิปวีดีโอ คนค้นฅน ที่นี่

นอกจากนี้ ในคลิปวิดีโอ เทปรายการดังกล่าว ยังได้อธิบายคำชี้แจงกรณีไม่ได้ออกอากาศ ไว้ โดยมีรายละเอียด ดังนี้...

คำชี้แจงกรณี รายการ คนค้นฅน ตอน ศศิน เฉลิมลาภ 388 ก.ม. จากป่าสู่เมือง
ไม่ได้ออกอากาศในวันเสารที่ 28 ก.ย. นี้

ตามที่รายการ คนค้นฅน ตอน ศศิน เฉลิมลาภ 388 ก.ม. จากป่าสู่เมือง ไม่ได้ออกอากาศในวันเสาร์ที่ 28 ก.ย. 56 นั้น เนื่องจากทางฝ่ายพิจารณาเทปออกอากาศ ได้แจ้งมายังรายการฯ ว่า อยากให้นำเนื้อหาไปปรับแก้ ให้มีความสมดุลทั้ง 2 ฝ่าย คือมีทั้งข้อมูล และบทสัมภาษณ์จากฝ่ายสนับสนุนการสร้างเขื่อน และฝ่ายคัดค้าน รวมทั้งให้ตัดทอนเนื้อหาส่วนที่พิจารณาว่า จะทำให้เกิดการยั่วยุ ขัดแย้ง ออก

ซึ่งทางรายการ " คนค้นฅน " ได้นำความเห็นนั้น กลับมาพิจารณาอย่างจริงจัง และได้ปรับแก้เนื้อหาบางส่วนตามที่ทางสถานีฯ ห่วงใย บนพื้นฐานที่ไม่ให้เสียจุดยืนและรูปแบบของรายการ ที่เป็นสารคดีชีวิต ไม่ใช่สารคดีเชิงข่าว นอกจากนั้น รายการ ฯ ยังได้ชี้แจงเพิ่มเติมผ่านรายการ ฯ ว่า พร้อมที่จะนำเสนอข้อมูลของฝ่ายที่สนับสนุนการสร้างเขื่อนในโอกาสต่อไป และได้ส่งเทปกลับไปยังสถานีฯ เพื่อพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งผลการพิจารณาก็เป็นไปตามที่ปรากฎในข่าวสาร

ดังนั้นเพื่อความเข้าใจร่วมกันของสังคม ทางรายการ คนค้นฅน จึงขอนำเทปรายการ ตอน ศศิน เฉลิมลาภ 388 ก.ม. จากป่าสู่เมือง ที่ผ่านการปรับแก้บนพื้นฐานที่รายการฯ พิจารณาแล้วว่า เหมาะสม และไม่เสียเจตนารมณ์ของรายการ มาเผยแพร่ผ่านสังคมออนไลน์ เพื่อให้ทุกท่านได้ร่วมกันพิจารณา

ทั้งนี้ รายการฯ ขอชี้แจงว่า ไม่มีวัตถุประสงค์ ที่จะก่อให้เกิดความขัดแย้ง แบ่งฝักแบ่งฝ่าย โจมตีฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่ง แต่ต้องการนำเสนอข้อมูล เพื่อให้สังคมได้พิจารณาร่วมกันในการหาทางออกอย่างสันติและเป็นธรรม

รายการคนค้นฅน
ทีวีบูรพา จำกัด

ที่มา : มติชน
[Continue reading...]

ถึงเวลาที่ต้องล้างไพ่..กรณีที่มาของ ส.ว.

- 0 comments
เป็นการเกาถูกที่คันในการหยิบเอาการแก้รัฐธรรมนูญ ที่มาของ ส.ว. มาเป็นประเด็นแรกในการแก้รัฐธรรมนูญ หลังจากที่เคยเสนอร่างแก้ไขทั้งฉบับ แต่ถูก ศาลรัฐธรรมนูญ เบรคไว้จนตัวโก่ง

ที่ว่าเป็นเรื่องสำคัญ เพราะ ตามกฏหมายรัฐธรรมนูญ ฉบับ 2550 ส.ว. มีหน้าที่สำคัญ โดยเฉพาะข้อ 4. พิจารณาเลือก แต่งตั้ง ให้คำแนะนำ ให้ความเห็นชอบบุคคลในองค์กรตรวจสอบ นั่นก็คือองค์กรอิสระ ต่าง ๆ    คลิกดูบทบาทและหน้าที่ของ ส.ว. 


องค์กรเหล่านี้ไม่เคยยืนเคียงข้างประชาชน ตามหน้าที่ ที่ควรจะเป็น

และมีหลายองค์กรที่กำลังหมดวาระไป โดยต้องอาศัย ส.ว. เป็นผู้คัดสรร เข้ามา

ถ้าเราดูจากคะแนนโหวตรับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่มาของ ส.ว. วาระ 3 จะเห็นภาพอย่างชัดเจนว่า ในกลุ่ม ส.ว. ทั้งหมด มีเพียง 1 ใน 3 เท่านั้นที่อยู่ข้างฝ่ายประชาธิปไตย คลิกดูรายละเอียด

นี่คือเหตุผลที่ พรรคประชาธิปัตย์ พยายามขัดขวางถึงที่สุด แม้จะต้องเจ็บตัวก็ยอม

นี่คือเหตุผลที่ทำไม ศาลรัฐธรรมนูญจำต้องรับไว้พิจารณา

การที่พรรคประชาธิปัตย์ พยายามอ้างว่าเข้าข่ายผิดกฏหมายรัฐธรรมนูญเพราะผู้ที่ลงคะแนนเห็นชอบ เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรง

จริง ๆ แล้ว ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียคือ องค์กรอิสระ ทั้งหลายโดยเฉพาะ ศาลรัฐธรรมนูญ

ด้วยเหตุนี้เป็นสิ่งที่น่าคิด ว่าทำไม ศาลรัฐธรรมนูญจึงรับเรื่องนี้ไว้ ทั้ง ๆ ที่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรง
[Continue reading...]

สุรนันท์ "เผย" คาดนำทูลเกล้าฯ วันที่ 1 ตุลาคม

- 0 comments
หลังจากการโหวตเห็นชอบตามร่างแก้ไขรัฐธรรมนูล กรณีที่มาของ ส.ว. ของคณะกรรมาธิการในวาระ 3  มีแรงกระเพื่อมมาจากหลายฝ่าย โดยเฉพาะกลุ่มที่คัดค้านมาแต่ต้น

จนมีกลุ่ม ส.ส.บัญชีรายชื่อ และส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ กว่า 10 คน ได้นำพวงหรีดเขียนข้อความว่า “สภาทาส” มาวางบริเวณหน้าบัลลังก์  และได้ วอร์คเอ้าท์ไม่ร่วมลงคะแนนด้วย

ทางพรรคประชาธิปัตย์พยายามสร้างกระแสกดดันเพื่อให้ นายกรัฐมนตรี ชะลอการนำทูลเกล้า ซึ่งจะต้องนำเสนอ ทูลเกล้าภายใน 20 วัน ตามกฏหมายกำหนด โดยอ้างว่า จะมีผลกระทบหลายอย่าง กระทบดุลยภาพของอำนาจบริหาร นิติบัญญัติและ ตุลาการ  เป็นการเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐ หรือล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ด้านนายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ระหว่าง การตรวจสอบรายละเอียด โดยเลขาธิการ ครม. กำลังดำเนินการคาดว่าจะใช้เวลาอีก 1-2 วันในการตรวจสอบข้อมูล และคาดว่าจะสามารถนำขึ้นทูลเกล้าฯได้ในวันอังคารที่ 1 ต.ค.นี้






















คลิกดูรายละเอียดของข่าว
[Continue reading...]

รู้จักหน้าที่ "ตากับตีน" กับ "การเมืองไทย"

- 0 comments

ความขัดแย้งให้เกิดขึ้นในบ้านเมือง สาเหตุหลักคือไม่รู้จักหน้าที่ การที่ไม่รู้จักหน้าที่ของตัวเองไม่พอ ยังไปก้าวก่ายหน้าที่ของผู้อื่น ถ้ายังขืนเป็นแบบนี้ บ้านเมืองมีแต่พังกับพัง
 
ดังเช่นกลอน "ตากับตีน"

ตีนกับตาอยู่กันมาแสนผาสุข

จะนั่งลุกยืนเดินเพลินหนักหนา

วันหนึ่งตีนทะลึ่งเอ่ยปรัชญา

ว่าตีนมีคุณต่อตาเสียจริงจริง


ตีนพาตาไปในที่ต่างต่าง

ตาจึงได้ชมนางและสรรพสิ่ง

เพราะฉะนั้นดวงตาจงประวิง

ว่าตีนนี้เป็นสิ่งควรบูชา


ตาได้ฟังตีนคุยโม้ก็หมั่นใส้

จึงร้องบอกออกไปด้วยโทสา

ว่าที่ตีนไปใหนมาใหนได้ก็เพราะตา

ดูบรรดาเศษแก้วไม่ตำตีน


เพราะฉะนั้นตาจึงสำคัญกว่า

ขอตีนอย่าได้มาคิดดูหมิ่น

สรุปแล้วตามีค่าสูงกว่าตีน

ทั่วธานินท์ตีนไปใด้ก็เพราะตา


ตีนใด้ฟังก็คลั่งแค้นแสนจะโกรธ

ก็พิโรธกระโดดไปใกล้หน้าผา

เพราะอวดดีคุยเบ่งเก่งกว่าตา

ดวงชีวาจะดับไปไม่รู้เลย


ตาเห็นตีนทำเก่งเร่งกระโดด

ก็พิโรธแกล้งระงับหลับตาเฉย

ตีนพาตาถลาล้มทั้งก้มเงย

ตกแล้วเหว้ยตายห่าทั้งทั้งตาตีน
 
[Continue reading...]

Saturday, September 28, 2013

ส.ว. 149 คน เห็นด้วยกับการแก้ที่มา ส.ว. เพียง 51 คน

- 0 comments
เมื่อวันที่ 28 ก.ย. 56 ภายหลังจากที่ประชุมร่วมรัฐสภาลงมติเห็นชอบร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มาส.ว. ในวาระที่ 3 ด้วยคะแนน358ต่อ2งดออกเสียง 30

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ปัจจุบัน สมาชิกรัฐสภา มีจำนวน 649 คน  แยกเป็น สส. 500 คน  สว.149 คน      โดยผู้ที่ลงคะแนน ไม่เห็นด้วย 2 คน ได้แก่ นายวิเชียร คันฉ่อง สว.ตรัง  นายวิชาญ ศิริชัยเอกวัฒน์ สว.สรรหา ทั้งนี้จากการตรวจสอบผลการนับคะแนน ซึ่งได้เสียงลงมติเห็นชอบ 358 เสียง แยกได้ดังนี้  พรรคเพื่อไทย 261 เสียง  พรรคชาติไทยพัฒนา 18 เสียง พรรคภูมิใจไทย (กลุ่มมัชฌิมา) 9 เสียง  พรรคชาติพัฒนา7เสียง พรรคพลังชล7 เสียง พรรคมาตุภูมิ 2 เสียง  พรรคประชาธิปไตยใหม่ 1 เสียง พรรคมหาชน 1 เสียง  พรรครักประเทศไทย 1เสียง และ สว.51 เสียง

พรรคเพื่อไทยมีผู้ขาดประชุม 3 ราย คือ นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ  และนายกนก ลิ้มตระกูล ส.ส. จ.อุตรดิตถ์ โดยนายสุรพงษ์ได้แจ้ง เรื่องติดภารกิจอยู่ต่างประเทศ ขณะที่นายมิ่งขวัญและนายกนก แจ้งลาป่วยกะทันหัน ถือเป็นเหตุสุดวิสัย เพราะเป็นการป่วย เป็นเรื่องจำเป็นจริงๆ พรรคจึงไม่น่าจะมีบทลงโทษอะไร

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าหลังการลงมติวาระ 3 แล้วเสร็จ กลุ่มสส.พรรคเพื่อไทยได้จับกลุ่มวิพากษ์วิจารณ์ตำหนิ ส.ส.และ ส.ว.เลือกตั้งที่ไม่ร่วมลงคะแนนในครั้งนี้ ซึ่งนอกจากนายมิ่งขวัญ และนายกนกแล้ว ยังตำหนิ พล.ต.อ.วงกต มณีรินทร์ สว.สรรหา สามีนางสิริกร มณีรินทร์ อดีตแกนนำพรรคไทยรักไทยซึ่งปัจจุบันกลับเข้ามาช่วยงานในโครงการด้านสตรีของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย รวมถึงนางสมพร จูมั่น สว.เพชรบูรณ์ น้องสาวนายวันเพ็ญ พร้อมพัฒน์ ส.ส. จ.เพชรบูรณ์ พรรคเพื่อไทยและยังเป็นภรรยานายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ แต่ที่ผ่านไม่เคยออกเสียงสนับสนุนร่างกฎหมายให้ฝ่ายรัฐบาลแม้แต่ครั้งเดียว

สำหรับนายวิชาญ  สว.สรรหา เปิดเผยว่า ตนออกเสียง “ไม่ลงคะแนน” ซึ่งไม่ทราบว่าที่ประชุมนับเสียงคะแนนของตนเป็น “ไม่เห็นชอบ” ได้อย่างไร ตนก็พูดชัดเจนแต่แรก ทั้งนี้ จะได้ทำหนังสือทักท้วงไปยังประธานรัฐสภา ในวันที่ 30 ก.ย. 56 เพื่อให้มีการแก้ไขอย่างถูกต้องต่อไป
[Continue reading...]

กู้ศักดิ์ศรีสภาผ่านร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ 3 ที่มาของ ส.ว. ผ่านฉลุย ด้วยคะแนน 358 ต่อ 2 งดออกเสียง 30

- 0 comments
รัฐสภาโหวตร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เรื่องที่มาของ ส.ว. ในวาระ  3 ผ่านฉลุย ด้วยคะแนน 358 ต่อ 2 งดออกเสียง 30
เมื่อวันที่ 28 ก.ย. 56  ที่รัฐสภา ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ 11 ซึ่งมีนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม เพื่อพิจารณาลงมติร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติมที่มา ของส.ว. ในมาตรา 111 มาตรา 112 มาตรา 115 มาตรา 116 วรรคสอง มาตรา 117 มาตรา118 มาตรา 120 และมาตรา 241 วรรคหนึ่ง และยกเลิกมาตรา113 กับมาตรา 114 เพื่อลงมติในวาระ 3

ก่อนที่จะมีมติ โหวตวาระ 3  จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ส.ส.และประธานวิปฝ่ายค้าน ได้ลุกขึ้นหารือ พยายามโน้มน้าวให้ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภา เลื่อนการลงมติออกไป เนื่องจากกรณีได้มี ส.ว. และ ส.ส. ของพรรคประชาธิปัตย์ ยื่น ศาลรัฐธรรมนูญและได้รับไว้พิจารณากรณี แก้ไขร่างที่มาของ ส.ว. ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่  ขณะที่มีการประท้วง ของ ส.ส.พรรคเพื่อไทย ว่าประธษนทำผิดข้อบังคับ ซึ่งในวาระ 3 จะไม่มีการหารือหรืออภิปราย

ในที่สุด นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์  ให้มีมติโหวตรับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฯ ดังกล่าว ท่ามกลางการส่งเสียงโวยวายของส.ส. ประชาธิปัตย์

อย่างไรก็ตามหลังจากการลงคะแนนด้วยวิธีขานชื่อซึ่งใช้เวลากว่า 1 ชั่วโมง ปรากฎว่า ที่ประชุมร่วมรัฐสภามีมติเห็นชอบวาระ 3 ด้วยคะแนน 358 ต่อ 2 งดออกเสียง 30 จากนั้นนายสมศักดิ์สั่งปิดประชุมเมื่อเวลา 12.07 น. ใช้เวลาการประชุม ไม่ถึง 2 ชั่วโมง ซึ่ง ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ และ ส.ว. บางกลุ่มไม่ได้ร่วมโหวตในครั้งนี้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าขั้นตอนหลังจากนี้นายสมศักดิ์ต้องตรวจสอบความถูกต้องก่อนส่งให้นายกรัฐมนตรีดำเนินการตามรัฐธรรมนูญมาตรา 291 (7) ประกอบมาตรา 150 และ 151 ต่อไป
[Continue reading...]

Friday, September 27, 2013

วิกฤติศรัทธา ...ตุลาการ

- 0 comments
                       
                                                            สนิมเหล็กเกิดแต่เนื้อ        ในตน
                                                        กินกัดเนื้อเหล็กจน                กร่อนขร้ำ
                                                        บาปเกิดแต่ตนคน                 เป็นบาป
                                                        บาปย่อมทำโทษซ้ำ              ใส่ผู้บาปเอง
ไม่ต้องไปโทษใครในวิกฤติศรัทธา ที่เกิดขึ้นกับ คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เพราะเป็นการปฏิบัติของ คณะตุลาการเองที่ไม่ ดำรงซึ่งความเป็นธรรมอย่างแท้จริง

ยกตัวอย่าง การตัดสินความผิดของ อดีตนายกรัฐมตรี สมัคร สุนทรเวช ในกรณีว่ามีความผิด แค่การทำกับข้าว ซึ่งไม่มีในบทบัญญัติของกฏหมาย เพียงแต่ปรากฏในพจนานุกรม


ขณะที่ความผิดของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กรณีใช้เอกสารที่ไม่ถูกต้องเข้ารับราชการ ซึ่งกรณีนี้ ศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณาแล้วเห็นว่า  ให้เลื่อนการพิจารณาคดีออกไป เพื่อรอคำชี้ขาดของศาลอื่น ในประเด็นคำสั่งกระทรวงกลาโหม มีความชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

ทั้ง ๆ ที่มีมูลความผิดชัดเจน

กรณีรับเรื่องร้องเรียนโดยตรง กรณีแก้รัฐธรรมนูญมาตรา 291 และรับเรื่องร้องเรียนอีกหลายเรื่องหลังจากนั้น  โดยไม่ผ่านอัยการสูงสุด ตาม กฏหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 68 เป็นการขยายอำนาจให้กับคณะตุลาการเอง โดยไม่สนใจเสียงทัดทานจากสังคม

แม้กระทั่งนายชัช ชลวร ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ แสดงความเห็นว่า เมื่อพิจารณาจากลายลักษณ์อักษร และเจตนารมณ์ของมาตรา 68 แล้ว รัฐธรรมนูญมุ่งเฉพาะให้อัยการสูงสุดเป็นผู้มีสิทธิ์ ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ดังนั้น ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวจึงไม่มีสิทธิ์ยื่นคำร้องต่อศาลได้โดยตรง 

ลักษณะการตัดสิน เพิ่มอำนาจให้กับคณะตุลาการเป็นการก้าวล่วงฝ่ายนิติบัญญัติ อย่างชัดเจน

แม้การตัดสินในหลายอีกหลาย ๆ คดีที่ทำให้เกิดควมกังขากับประชาชน

สิ่งเหล่านี้จึงเกิดวิกฤติศรัธาในหมู่ประชาชน มองว่า ตาชั่งเอียง

ตัดสินความผิดอีกฝ่ายโดยไม่ยึดความถูกต้อง

ขณะเดียวกันก็โอบอุ้มอีกฝ่ายจนไม่นึกถึงความผิดถูก

มโนธรรมสำนึก ความผิดชอบ ชั่วดี อย่าว่าแต่ ตุลาการผู้รักษาความเป็นธรรม แม้มนุษย์ธรรมดาทั่ว ๆ ไปก็จะขาดสิ่งนี้ไม่ได้เช่นกัน
 
[Continue reading...]

หน้าปกมติชนสุดสัปดาห์ เปิดตัว"คนฉลาด" กับโลโก้-โลก๊อบ

- 0 comments
ยังกล่าวขวัญถึง การเปิดตัวนโยบาย ของพรรคประชาธิปัตย์ ที่ทั้งยุทธจักรต้องตะลึง "โครงการสร้างอนาคตไทยเข้มแข็ง 2020"

ที่ตะลึงไม่ใช่เรื่องนโยบาย แต่เป็นโลโก้ที่พรรคประชาธิปัตย์นำมาใช้ "ตัวเลข 2020 ซึ่งมีสีธงชาติ ที่ราวจะ Copy " มาจากโครงสร้างอนาคตไทย 2020 ของกระทรวงคมนาคม

ซึ่งมีเสียงพูดกันแซด แม้กระทั่งโลโก้ ก็ยังเอาของเขามา

แต่มีเสียงปฏิเสธ จาก พัสณช เหาตะวานิช หนึ่งในทีมงานนายกรณ์ บอกว่าคิดขึ้นเอง ทางเพื่อไทยต่างหากที่เป็นคน ก๊อปปี้

แม้กระทั่งเกือบทั้งหมดของโครงการ พรรคประชาธิปัตย์เป็นคนต้นคิด


มติชนสุดสัปดาห์ จึงพาดปก "กิจกรรม "คนฉลาด" SMART GENTLEMAN"

เป็นคนฉลาดที่มาในช่วงเวลาวาทกรรม "อีโง่"








แม้กระทั่งคำว่า "ไทยเข้มแข็ง" ก็ยังคิดยังกลับมาขายอีก





 

ลืมนึกไปว่าหลายโครงการไทยเข้มแข็ง

ก็ยังทิ้งเสาของความเข้มแข็งให้เห็นอยู่จนถึงบัดนี้

จึงนับว่าเป็นกิจกรรมของคนฉลาดจริง ๆ

ดูรายละเอียดของข่าวเพิ่มเติมจาก ข่าวสด
 
[Continue reading...]

เรืองไกร "ร้อง" DSI สอบ 5 ตลก เข้าข่ายความผิด ม.116

- 0 comments
วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556 นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีต ส.ว. เดินทางเข้าร้องต่อ DSI  ให้สอบ 5 คุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีมติรับคำร้องของ  พล.อ.สมเจตน์  บุญถนอม  ที่ให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา กรณีโหวต รับร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ที่มาของ ส.ว.วาระ 3

เป็นการวินิจฉัยกลับไปกลับมา ในครั้งที่มีการยกคำร้องของนาย บวร ยสินธร ซึ่งเป็นเรื่องเดียวกัน  เนื่องจากเดิมตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัย ยกคำร้องในเรื่องเดียวกันโดยระบุว่า เป็นอำนาจฝ่ายนิติบัญญัติ  ไม่มีอำนาจก้าวล่วง  นอกจากนี้ กฎหมายยังบัญญัติให้เป็นเอกสิทธิในการลงคะแนนโดยผู้ใดไม่มีสิทธิ์นำไปฟ้องร้องได้

การที่ร้องทุกข์กล่าวโทษกับดีเอสไอเพราะคดีไม่อยู่ในอำนาจของกองบังคับการกองปราบปราม  และสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้ แต่หากคดีมีมูลความผิดดีเอสไอต้องเสนอขออนุมัติคณะกรรมการคดีพิเศษ(กคพ.) เพื่อมีมติรับเป็นคดีพิเศษเช่นเดียวกับการเสนอให้บอร์ดมีมติรับคดีเงินบริจาคอีสวอเตอร์เป็นคดีพิเศษเช่นกัน

นายเรืองไกร  กล่าวต่อว่า  เบื้องต้นตนเห็นว่า การกระทำของตุลาการรัฐธรรมนูญเข้าข่ายกระทำผิดกฏหมายอาญา ม. 116 ผู้ใดกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีอื่นใดอันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต  มีโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี และพ.ร.บ.พรรคการเมือง มาตรา  104  ว่าด้วยพรรคการเมืองใดหรือผู้ใดสมคบ รู้เห็นเป็นใจ หรือสนับสนุนให้บุคคลใดดำเนินการใด เพื่อให้บุคคลอื่นหรือคณะกรรมการการเลือกตั้งหลงเชื่อหรือเข้าใจว่าพรรคการเมืองอื่นหรือบุคคลใดกระทำความผิดตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญนี้โดยปราศจากมูลความจริง ต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่กำหนด
“ที่มีความจำเป็นต้องพิจารณาคดีนี้ เพราะการกระทำของคณะตุลาการทั้ง 5  คน  ส่อเจตนาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางกฎหมายหรือรัฐบาลหรือไม่ ซึ่งอาจเข้าลักษณะเป็นคดีที่มีความสลับซับซ้อน สมควรเสนอให้ดีเอสไอรับเป็นคดีพิเศษ”  นายเรืองไกร กล่าว

ด้านนายธาริต  เพ็งดิษฐ์  กล่าวว่า  ขณะนี้ยังตอบไม่ได้ว่าจะรับเป็นคดีพิเศษหรือไม่ เบื้องต้นต้องตรวจสอบก่อนว่ามีการทำผิดกฎหมายหรือไม่  หากเป็นการทำโดยไม่ผิดกฎหมายก็ต้องสั่งยุติเรื่อง เพราะดีเอสไอคงไม่ยอมให้ใครมากลั่นแกล้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ  แต่หากตรวจพบมีการกระทำผิดต้องเสนอบอร์ดพิจารณาว่าสมควรรับเป็นคดีพิเศษหรือไม่.

ที่มา : เดลินิวส์
[Continue reading...]

Thursday, September 26, 2013

ประชาธิปไตย..อำนาจเป็นของปวงชน ?

- 0 comments
ประเทศไทยเข้าสู่การปกครองในระบอบประชาธิปไตย ตั้งแต่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 จนถึงปัจจุบัน นับเป็นเวลา 81 ปี

ความเข้าใจในคำว่าประชาธิปไตยที่ว่า

หมายถึงระบอบการปกครองที่อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน ประชาชน มีสิทธิเสรีภาพ และศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ การปกครองระบอบประชาธิปไตยถือว่าทุกคนมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกัน และอำนาจอธิปไตยต้องมาจากปวงชน

ด้วยเหตุนี้การเข้ามาของตัวแทนประชาชนเสียงข้างมากจัดตั้ง คณะบริหารประเทศ ที่เรียกว่า รัฐบาล หรือฝ่ายบริหาร

คณะกลุ่มคนที่มาจากตัวแทนของประชาชนทั้งหมด ทำหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ ทำหน้าที่กลั่นกรอง ออกกฏหมาย ยกเลิกฏกหมาย

สำหรับฝ่ายตุลาการ เป็นเพียงฝ่ายเดียวที่ไม่ได้มาจากประชาชนส่วนใหญ่ แต่ก็ถือว่าเป็นหนึ่งใน 3 อำนาจ ในระบอบประชาธิปไตย

โดยอาศัย รัฐธรรมนูญเป็นตัวบทกฏหมายในการปกครองประเทศ  มีรัฐธรรมนูญ ถึง 18 ฉบับ นั่นแสดงให้เห็นถึงความไม่มีเสถียรภาพ และการไม่เคารพในมติเสียงส่วนใหญ่ ของประชาชน

ใครที่มีอำนาจสามารถเข้ามาฉีกรัฐธรรมนูญได้ทุกเมื่อ ครั้งสุดท้าย 16 กันยายน 2549 มีคณะทหารเข้ามายึดอำนาจจากประชาชน โดยอ้างว่า รัฐบาลไม่มีความชอบธรรมที่จะบริหารประเทศต่อไป

ซึ่งเป็นต้นตอ ของปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

โดยรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน หรือปี 50 เป็นรัฐธรรมนูญที่ ริดรอนอำนาจของประชาชน การบริหารประเทศถูกควบคุมโดย องค์กรอิสระ และศาลรัฐธรรมนูญ

โดยองค์กรอิสระและศาลฯ สามารถปลอดคนที่ถูกเลือกมาจากประชาชน มากกว่า 10 ล้านคนได้ ด้วยคนเพียงไม่กี่คน

ซึ่งโดยหลักการทั่วไป ถ้าผู้บริหารมีปัญหา ต้องให้ประชาชนส่วนใหญ่ตัดสิน คือให้มีการทำการเลือกตั้งเข้ามาใหม่

ซึ่งเรียกว่าปัญหา ทางการเมืองต้องแก้ด้วยการเมือง

ขณะที่รณงรค์ให้รับร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 มีหลาย คนบอกว่า รับ ๆ ไปก่อนแล้วค่อยแก้ทีหลัง เป็นฉบับที่แก้ง่ายที่สุด โดยประชาชน เพียง 5 หมื่นรายชื่อ ยื่นขอแก้รัฐธรรมนูญก็สามารถแก้ได้แล้ว

คลิกดูคลิปของผู้ที่บอกว่าให้รับ ๆ ไปก่อน  บอกวิธีการแก้ ทำเหมือนกับ การร่าง ปี 40 แก้ง่าย แก้ได้ทุกมาตรา ยกเว้นเปลี่ยนแปลงการปกครอง

แต่ในทางปฏิบัติ พอจะมีการขอแก้รัฐธรรมนูญก็มีเสียงคัดค้าน เสียงจากคนที่เคยบอกว่าให้รับ ๆ ไปก่อน

พอจะแก้ ก็บอกว่าขัดรัฐธรรมนูญ และองค์กรที่เข้ามาระงับยับยั้ง คือ ศาลรัฐธรรมนูญ

แล้วอำนาจเป็นของประชาชนจริงหรือไม่ ...อำนาจเป็นของใครกันแน่

เพราะอำนาจอยู่ในมือของคนเพียงไม่กี่คนเท่านั้น

แล้วบอกว่าประชาชนไม่เข้าใจในระบอบประชาธิปไตย

ตกลงใครกันแน่ที่ไม่เข้าใจ หรือไม่เอาระบอบประชาธิปไตย
[Continue reading...]

นายกแถลงเปิดตัวโครงการ “สร้างอนาคตไทย2020”

- 0 comments
ที่ตึกสันติไมตรี  ทำเนียบรัฐบาล นายกยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แถลงเปิดโครงการ “สร้างอนาคตไทย 2020”
นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมของประเทศ ตามร่าง พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ซึ่งกระทรวงการคลัง และกระทรวงคมนาคม จะมีการจัดเสวนาและนิทรรศการ รวมถึงเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อโครงการดังกล่าวใน 12 จังหวัด

เริ่มที่ จ.หนองคาย เป็นแห่งแรก ระหว่างวันที่ 4-6 ตุลาคม 2556 ตามด้วย จ.นครราชสีมา วันที่ 11-13  ตุลาคม 2556 จ.ชลบุรี วันที่ 15-17  ตุลาคม 2556 จ.อุบลราชธานี วันที่ 18-20 ตุลาคม 2556 จ.ขอนแก่น วันที่ 25-27 ตุลาคม 2556 จ.นครสวรรค์ วันที่ 1-3 พฤศจิกายน 2556 จ.ฉะเชิงเทรา วันที่ 1-3 พฤศจิกายน 2556 จ.เพชรบุรี วันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2556 จ.พระนครศรีอยุธยา วันที่ 8-11 พฤศจิกายน 2556 จ.เชียงใหม่ วันที่ 15-17 พฤศจิกายน 2556  จ.นครศรีธรรมราช วันที่ 22-24 พฤศจิกายน 2556  และปิดท้ายที่ จ.สงขลา วันที่ 29พฤศจิกายน -1 ธันวาคม 2556

ในการแถลงเปิดตัวโครงการดังกล่าว ถ้าสังเกตุให้ดี โลโก้ด้านหลังได้เปลี่ยนไป ไม่ใช่โลโก้ เดิมที่ ทางพรรคประชาธิปัตย์ ก๊อปปี้ไป

คลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติม 

คลิปนายกยิ่งลักษณ์แถลงเปิดโครงการ

จากเดลินิวส์

จากพรรคเพื่อไทย

[Continue reading...]

คลิป นาทีเป็น นาทีตาย..ปลุกจิตสำนึกของสังคม

- 0 comments
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน ได้ ออกสปอตรณรงค์เรื่องการหลีกทางให้รถฉุกเฉิน เพระทุกนาทีมีค่าต่อชีวิต

เวลาเราเดินทางไปบนถนน จะเห็นรถฉุกเฉินของสถานพยาบาล เปิดสัญญาณ ฉุกเฉินขอทาง บ่อยครั้งที่ผู้ใช้รถใช้ถนน ไม่ให้ความสนใจ

ซึ่งโดยปกติ ผู้ใช้รถ ใช้ถนนควรที่จะหลีกทางให้รถพยาบาลฉุกเฉินเหล่านั้นไปก่อน

หนึ่งนาทีที่ช้าไปมีค่าสำหรับชีวิตของใครบางคน

ในสปอร์ตโฆษณา แสดงให้เห็นถึงผู้ใช้รถ คนหนึ่งไม่ยอมหลีกทางให้ แม้ว่าเพื่อนที่โดยสารมาด้วยจะพยายามเตือนก็ตาม

ในที่สุดผู้ป่วยรายนั้น ต้องเสียชีวิต แต่เป็นเรื่องที่น่าเศร้าก็คือ..คนนั้นเป็นแม่ของผู้ชายที่ไม่ยอมหลีกทางให้

คลิกดูคลิป และรายละเอียดเพิ่มเติม
[Continue reading...]

Wednesday, September 25, 2013

ที่เสื้อแดงต่อต้าน ผลงานของใคร...อภิสิทธิ์ ?

- 0 comments
จากการแถลงผลงานของรัฐบาลที่ผ่านมา มีประเด็นของนายอภิสิทธิ์ ที่น่าสนใจ และ ทางฝ่ายพรรคประชาธิปัตย์ พูดกันมาตลอด

กรณีเสื้อแดง ออกมาเคลื่อนไหว ต่อต้านคนและพรรคประชาธิปัตย์ 

เช่นการเปิดเวทีผ่าความจริงในหลาย ๆ ครั้ง ก็มักจะมีกลุ่มเสื้อแดงมาต่อต้านอยู่เสมอ

ในการอภิปรายของนายอภิสิทธิ์ ก็มีการกล่าวถึงเรื่องนี้ เหมือนกับตำหนิรัฐบาลว่าบกพร่อง เพิกเฉย ไม่ห้ามปราม และไม่ควบคุม
ดูคลิปนายอภิสิทธิ์อภิปรายนาทีที่ 34.46

นายอภิสิทธิ์ ถ้าไม่ลืม ก็ทำเป็นแกล้งลืมว่า นี่เป็นผลพวงจากผลงานของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์  ที่ใช้มาตราการรุนแรงในการปราบปรามคนเสื้อแดง ปี 53

เพียงเพราะ ศฮฉ. รวบรัดตัดความว่า เป็นม็อบที่มีอาวุธ ชุมนุมโดยไม่สงบ เป็นผู้ก่อการร้าย...ใส่ร้ายประชาชนว่าเป็นผู้ก่อการร้าย

อนุมัติให้ใช้กระสุนจริง ยิงประชาชน จนบาดเจ็บเป็นพัน ล้มตายร่วมร้อย

นำมาซึ่งการต่อต้าน ตั้งแต่นายอภิสิทธิ์ยังนั่งอยู่ในเก้าอีนายกรัฐมนตรี

และยังไม่ปรากฏชื่อคนที่ชื่อ "ยิ่งลักษณ์" จะเข้ามาสู่การเมือง

เป็นผลงานของตัวเองล้วน ๆ

จะไปโทษใครได้

เรื่องเอาดีใส่ตัว เอาชั่วให้คนอื่น

ถนัดนักสำหรับคนในพรรคการเมืองนี้
[Continue reading...]

จ้องล้มประชาวิจารณ์น้ำ...ตกลงจะเอาอย่างไรกันแน่คุณศรีสุวรรณ ?

- 0 comments
จะมาในแนวเดียวกับคนที่คัดค้านการแก้รัฐธรรมนูญ ทั้งฉบับก็ค้าน รายมาตราก็ค้าน...ว่ากันตรง ๆ จะแก้อย่างไรก็ค้าน

ขณะที่รัฐบาลจะเดินหน้าทำประชาวิจารณ์ โครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาทตามคำสั่งศาลปกครองฯ

นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านภาวะโลกร้อน ออกมาแสดงท่าทีต่อต้านในการทำประชาวิจารณ์ ของรัฐบาล จ้องจะฟ้อง อ้างว่าทำผิดหลักการ 5 ประเด็น

คลิกดูรายละเอียดของข่าว

ในขณะที่ช่วงนี้ มีฝนตกและเกิดน้ำท่วม ในหลายพื้นที่ ในหลายจังหวัด ประชาชนได้รับความเดือดร้อนมากมาย

ผลกระทบจากน้ำท่วมก็มีให้เห็นอย่างปี 54

แน่นอนที่สุดในการจัดการป้องกันน้ำท่วม อาจจะมีประชาชนได้รับผลกระทบบ้างแต่ถ้าเปรียบเทียบกับผลกระทบที่เกิดจากน้ำท่วม ต่างกันมาก

ไม่ว่าจะเป็นชีวิตและทรัพย์สิน

ไม่ว่าจะเป็นทางด้านเศรษฐกิจ

รัฐบาลดำเนินการแก้ปัญหาก็ค้าน

พอเกิดน้ำท่วม ก็ด่ารัฐบาล

เอาเข้าจริง มีคำถามว่า "ค้าน"เพราะการเมืองหรือไม่

เพื่อไทย ทำอะไรไม่ได้

ต้องเป็นประชาธิปัตย์เท่านั้นที่จะทำได้ ?


[Continue reading...]

อัยการสั่งฟ้อง “แทน เทือกสุบรรณ” คดีบุกรุกที่ดินเขาแพง

- 0 comments
วันที่ 25 ก.ย. 56 ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ)  นายธาริต  เพ็งดิษฐ์  อธิบดีดีเอสไอ  เปิดเผยความคืบหน้าคดีการบุกรุกที่ดินในพื้นที่เขาแพง อ.เกาะสมุย  จ.สุราษฎร์ธานี ว่า   ขณะนี้อัยการได้ส่งฟ้องคดีดังกล่าวตามที่ดีเอสไอสรุปสำนวนทุกประเด็น ทั้งในส่วนผู้ต้องหา 4 ราย  ประกอบด้วย  นายพงษ์ชัย  ฟ้าทวีพร นายสามารถ  เรืองศรี นายแทน  เทือกสุบรรณ  และนายบรรเจิด  เหล่าปิยะสกุล  และข้อหาคือก่นสร้าง แผ้วถาง หรือเผาป่า หรือกระทำด้วยประการใดๆ อันเป็นการทำลายป่า หรือเข้ายึดถือหรือครอบครองป่าเพื่อตนเองหรือผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ และเข้าไปยึดถือ ครอบครอง ก่นสร้าง หรือเผาป่าในที่ดินของรัฐโดยมิได้มีสิทธิครอบครองหรือมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่  ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ และประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งที่ดินแปลงดังกล่าวอยู่บนเอกสารสิทธิที่ออกโดยมิชอบแล้ว  ส่วนการออกเอกสารสิทธิโดยมิชอบอยู่ระหว่างการไต่สวนของสำนักงานป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ( ป.ป.ช.)

สำหรับการสอบสวนดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ และผู้ครอบครองที่ดินในพื้นที่ อ.เกาะสมุย  จ.สุราษฎร์ธานี ดำเนินการมาแล้ว 11 คดี ตั้งแต่ปี  2549 เป็นเนื้อที่ 465  ไร่ มูลค่ากว่า 2 พันล้านบาท  นอกจากนี้ยังมีกรณีที่อยู่ระหว่างการสืบสวนสอบสวนอีกหลายเรื่อง.
[Continue reading...]
 
Copyright © . Yak Ratchaprasong - Posts · Comments
Theme Template by BTDesigner · Powered by Blogger