Wednesday, November 12, 2014

ปปช.จ้องฟันจำนำข้าว..แต่กลับลากคดี ปรส.จนหมดอายุความ

- 0 comments

เห็นได้ชัดว่า เห็นได้ชัดว่า “คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)” เร่งรัดตรวจสอบ “กรณีโครงการรับจำนำข้าว” อย่างผิดปกติ เมื่อเปรียบเทียบกับ (ป.ป.ช. )เมื่อเปรียบเทียบกับ “คดีทุจริตโครงการระบายข้าวสารในสต็อกรัฐบาล” ของ “รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ของ "รัฐบาลอภิสิทธิ์เวชชาชีวะ"

เพราะเมื่อเปรียบเทียบระยะเวลาดำเนินการ โดย “คดีทุจริตโครงการระบายข้าวสารในสต็อกรัฐบาล” ยุค “รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ที่ “ป.ป.ช.” มีมติตั้ง “อนุกรรมการฯ” ขึ้นมาตรวจสอบ ตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน 2553 อีกทั้ง “กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)” ได้ทำหนังสือ รายงานผลการสอบสวนของดีเอสไอ พร้อมข้อมูลหลักฐาน ไปให้อีกครั้งตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคม 2555 … มาจนถึงวันนี้ ยุค "รัฐบาลอภิสิทธิ์เวชชาชีวะ" ที่ "ป.ป.ช. " มีมติตั้ง "อนุกรรมการฯ " ขึ้นมาตรวจสอบตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน 2553 อีกทั้ง "กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)" ได้ทำ หนังสือรายงานผลการสอบสวนของดีเอสไอพร้อมข้อมูลหลักฐานไปให้อีกครั้งตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคม 2555 ... มาจนถึงวันนี้ ก็ยังไม่มีใครได้เห็นความคืบหน้าของ  "ป.ป.ช. "

แต่กับ “กรณีโครงการรับจำนำข้าว” ที่เพิ่งมีการยื่นเรื่องต่อ ป.ป.ช.ได้ไม่นานและเพิ่งมีการดำเนินการสอบสวนอย่างเป็นทางการ โดยมี “วิชา มหาคุณ” กรรมการ ป.ป.ช.  เป็น “อนุกรรมการฯ สอบสวน” กลับเร่งสอบ “แถลงข่าวความคืบหน้า” ไม่เว้นแต่ละวัน
อย่างนี้ “เลือกปฏิบัติ” และ “สองมาตรฐาน” อย่างเห็นได้ชัดหรือไม่ ?

แต่ไม่ใช่จะมีเพียงเท่านี้ ที่แสดงให้เห็น “มาตรฐานการทำงาน” ของ “องค์กร ป.ป.ช.” แห่งประเทศไทย  เพราะยังมี “คดีประวัติศาสตร์ ปรส.” ที่นับเป็น “ความชั่วร้ายแรง” ของ “พรรคประชาธิปัตย์ (ป.ช.ป.)” อีกคดีหนึ่งที่น่าสนใจ!

โดย “คดีอัปยศ ปรส.” นั้นเกิดขึ้นภายหลังเหตุการณ์ “วิกฤติเศรษฐกิจฟองสบู่แตก” เมื่อปี 2540  "ชวนหลีกภัย" หัวหน้าพรรคปชป ก็ได้ฉวยโอกาสที่ “รัฐบาล พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ” กำลัง เซ-ถลำ สวมรอยเข้ามาครองอำนาจรัฐ เป็น “รัฐบาล” 

เมื่อ “ชวน หลีกภัย” และ “พลพรรค ปชป.” ได้อาสาเข้ามาแก้ไขปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจ ก็เร่งขายทรัพย์สินของ “องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน”  "ปรส." เกี่ยวกับ 56 สถาบันการเงินที่ถูกปิดกิจการไปก่อนหน้า ให้กับต่างชาติในราคาถูกแสนถูก

จาก มูลค่าประมาณ 851,000 ล้านบาท จากมูลค่าประมาณ 851,000 ล้านบาท
ด้วยความฉลาดหลักแหลม ของ “ชวน หลีกภัย” และ “ทีมเศรษฐกิจพรรค ปชป.” 

จึงพยายามนำไป “เร่ขาย” ให้กับ “ต่างชาติ” ด้วยมูลค่าเพียง 190,000 ล้านบาท
“ขายแบบขาดทุน” สุทธิ 661,000 ล้านบาท (หกแสนหกหมื่นหนึ่งพันล้านบาท) โดยก่อนหน้านี้
“กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)” ได้สรุปสำนวนความผิด “คดี ปรส.” เอาไว้ว่า ไม่ชอบด้วยกฎหมาย  และยังพบว่ามีหลายกรณีไม่เป็นไปตามกฎหมายระเบียบหลักเกณฑ์รวม 10 ประเด็น เรียบร้อยแล้ว คือ

1. ปรส. ยินยอมให้นิติบุคคลที่เกี่ยวข้องกับ ปรส. เข้าประมูลซื้อทรัพย์สินจาก ปรส. โดยมิชอบ

2. คณะกรรมการ ปรส.บางคนมีส่วนเกี่ยวข้อง ปกปิดข้อเท็จจริง กระทำการโดยไม่โปร่งใส

3. ข้อกำหนดของ ปรส. ที่ให้ผู้ชนะการประมูลโอนสิทธิได้ขัดต่อกฎหมาย

4. การโอนสิทธิ ของผู้ชนะการประมูลไม่ชอบ ขัดต่อ พ.ร.ก.ปรส.

5. ข้อกำหนดการขายทรัพย์สินของคณะกรรมการ ปรส. ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

6. คณะกรรมการ ปรส. และกลุ่มนิติบุคคลที่เกี่ยวข้องกับ ปรส. ฝ่าฝืนข้อสนเทศการขายทรัพย์สิน

7. กองทุนรวมที่รับโอนสิทธิจากผู้ชนะการประมูลซื้อทรัพย์สินจาก ปรส. ยังไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล

8. มีการทำสัญญาไม่ชอบด้วยกฎหมาย

9. สิทธิของนิติบุคคลที่ชนะการประมูลไม่สมบูรณ์ เนื่องจากขาดคุณสมบัติตามข้อกำหนดการขายทรัพย์สินของปรส. และ

10. ผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการ ปรส.บางคนขาดคุณสมบัติ เนื่องจากดำรงตำแหน่งทับซ้อนกับสถาบันการเงินอีกแห่ง

การขายทรัพย์สินของสถาบันการเงินทั้ง 56 แห่ง ในกลุ่มสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย มีการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นความผิดทางอาญา


แต่ปรากฏว่าในส่วนของ “ป.ป.ช.” ได้จัดให้มีการแถลงข่าวเอิกเริก เมื่อ 3 มิถุนายน 2556 โดย "คณะอนุกรรมการไต่สวน คดีการดำเนินการบริหารองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน” หรือ “ปรส.” ที่มี  "นายใจเด็ดพรไชยา" กรรมการป.ป.ช.  เป็นประธานมีมติยก "คำร้อง 3 สำนวน" ประกอบด้วยคดีที่นายธารินทร์นิมมานเหมินทร์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในสมัย รัฐบาลนายชวนหลีกภัย และผู้เกี่ยวข้องในฐานะผู้กำหนดนโยบาย โดยระบุว่าไม่มีส่วนในการขายทรัพย์สินโดยมิชอบ

แต่กลับชี้มูลความผิด 1 สำนวนคือของนายมนตรีเจนวิทยาการเลขาธิการปรส ในฐานะที่ไม่ปฏิบัติตามข้อสนเทศ เรื่องการประกาศขายทรัพย์สิน ของ ปรส.

ขณะเดียวกัน ยังเหลืออีก 1 สำนวนที่กล่าวหา คณะกรรมการ ปรส.ในการขายทรัพย์สิน ให้กองทุนรวมเอเชียคอบเวอรี่ คดีนี้จะ “ขาดอายุความ” ในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2557

ชัดเจน …. ชัดเจน ... “คดี ปรส.” มูลค่าความเสียหาย 661,000 ล้าน (หกแสนหกหมื่นหนึ่งพันล้านบาท) “ป.ป.ช.” ยกคำร้อง … “ปชป.”รอด !
และในที่สุด เมื่อวันที่ 11 พ.ย. 57 .ป.ป.ช.ร่อนหนังสือแจง "ไม่มีคดีปรส."อยู่ในการดำเนินการของป.ป.ช.แต่อย่างใด
หมายความว่าอย่างไร..ปปช.เพิกเฉยในการทำคดีนี้ และปล่อยให้หมดอายุความในที่สุด

ขอบคุณข้อมูลจากพระนครสาส์น
[Continue reading...]

Thursday, July 3, 2014

สารจาก คริสตี เคนนีย์ เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย

- 0 comments
สวัสดีค่ะ เพื่อน ๆ ชาวไทย

ในวันที่ 4 กรกฎาคม ของทุกปี เราจะฉลองวันก่อตั้งประเทศสหรัฐอเมริกาและการประกาศอิสร ภาพ ปีนี้สหรัฐอเมริกาฉลองครบรอบ 236 ปีแห่งการเป็นเอกราช

วันที่ 4 กรกฎาคมปีนี้ มีความสำคัญพิเศษเนื่องจากเราฉลองวันเกิดขององค์กรที่สำคัญอีกสององค์กรด้วยคือ หน่วยสันติภาพสหรัฐอเมริกาและองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา ซึ่งต่างฉลองครบรอบ 50 ปีแห่งความร่วมมือกับประเทศไทย

อาสาสมัครหน่วยสันติภาพประมาณ 5,000 คนได้ทำงานในประเทศไทยตั้งแต่โครงการนี้เริ่มขึ้นเมื่อ 50 ปีที่แล้ว  ขณะนี้มีอาสาสมัครกว่า 100 คนในไทย อาสาสมัครเหล่านี้ส่วนใหญ่ทำงานด้านการศึกษา การพัฒนาชุมชนและการป้องกันโรค พวกเขาต่างมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือประชาชนด้วยการแบ่งปันความรู้ความสามารถกับชุมชนในท้องถิ่น ตลอดจนแสดงให้เห็นถึงน้ำใจไมตรีของคนอเมริกัน

นอกจากนี้ องค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (USAID) ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่ให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาของสหรัฐ ก็ฉลองครบรอบ 50 ปีในปีนี้เช่นกัน สำนักงานพัฒนาภูมิภาคเอเชียของ USAID ดำเนินงานโครงการจำนวนมากจากสำนักงานที่กรุงเทพฯ โดยพยายามจัดการปัญหาสำคัญ ๆ ตลอดทั่วภูมิภาคนี้ ตั้งแต่การคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและการต่อสู้โรคระบาดไปจนถึงการป้องกันการค้ามนุษย์และการลักลอบค้าสัตว์ป่า  เรามีความภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้ทำงานร่วมกับประเทศไทยในฐานะหุ้นส่วนและเพื่อนร่วมงานช่วยเหลือในความพยายามเหล่านี้  

นอกจากนี้ USAID ยังได้ทำงานร่วมกับศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหารในการดำเนินงานที่สำคัญยิ่งอย่างหนึ่งของเราคือ สุขอนามัยของโลก ประเทศไทยเป็นตัวอย่างที่ดีของลักษณะประเทศคู่ความร่วมมือที่สหรัฐ มองหาในการดำเนินความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อสุขอนามัยในอนาคต

สหรัฐอเมริกาและไทยยังมีความมุ่งมั่นเหมือนกันที่จะส่งเสริมนวัตกรรมใหม่ ๆ ตลอดจนการค้าที่เปิดกว้างเสรีและยุติธรรม  โครงการหุ้นส่วนเชิงสร้างสรรค์ของเราเน้นความร่วมมือแลกเปลี่ยนนักนวัตกรรมไทยและอเมริกัน ความร่วมมือระหว่างประเทศเราทั้งสองเป็นแบบอย่างการนำบุคคลที่มีพรสวรรค์ของเราให้รู้จักกันใกล้ชิดยิ่งขึ้น อันจะเป็นการส่งเสริมความรุ่งเรืองของเศรษฐกิจร่วมสำหรับคนรุ่นต่อไป 

สิ่งเหล่านี้คือตัวอย่างของความร่วมมือด้านต่าง ๆ ระหว่างประเทศของเราทั้งสอง

สหรัฐอเมริกาและไทยเป็นมิตรใกล้ชิดกันมาเกือบ 200 ปี และมิตรภาพของเรายังคงแข็งแกร่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง การติดต่อระดับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของประเทศเราทั้งสองในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาเริ่มจากการที่รัฐมนตรีต่างประเทศคลินตันมาเยือนไทยปลายปีที่แล้วและการพบปะหารือระหว่างประธานาธิบดีโอบามาและนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ที่ฮาวายได้เป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งและความยั่งยืนของมิตรภาพระหว่างเรา   

ความสัมพันธ์อันเข้มแข็งระหว่างประชาชนของประเทศเราทั้งสองช่วยให้ความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการที่มั่นคงของเราแข็งแกร่งยิ่งขึ้น เราขอส่งเสริมให้เพื่อนชาวไทยของเราไปเยือนและทำความรู้จักกับสหรัฐอเมริกาให้มากขึ้น  

ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งในงานฉลองวันชาติสหรัฐ ดิฉันรู้สึกตื่นเต้นมากที่จะมาเล่าให้ท่านฟังถึงสถานที่โปรดของดิฉันในสหรัฐ อันดับแรกคือ เมืองชิคาโก ซึ่งมีชื่อเสียงเนื่องจากมีทีมกีฬาดัง นั่นคือ ทีม Chicago Cubs และ Chicago Bulls เมืองต่อไปคือเมืองนิวออร์ลีนส์ หรือ The Big Easy ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีเกี่ยวกับงานมาดิกราส์ และใครจะลืมนครนิวยอร์ก หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ The Big Apple เมืองแห่งเทพีเสรีภาพ  และสุดท้ายคือ นครลอสแอนเจลิส ซึ่งมีชื่อเสียงด้านความหลากหลาย ดาราภาพยนตร์และชายหาด  เมืองเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “The Great American Road Trip” ของเรา  นอกจากนี้ เรายังโพสต์ข้อมูลเกี่ยวกับเมืองเหล่านี้และสถานที่น่าสนใจอื่น ๆ ในสหรัฐ บนหน้า Facebook ของเราตลอดปี

ขอเชิญร่วมเฉลิมฉลองวันแห่งเอกราชของสหรัฐอเมริกา และงานครบรอบมิตรภาพที่แข็งแกร่งและรุ่งเรือง

ระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา.

ที่มา: เดลินิวส์
[Continue reading...]

Wednesday, May 28, 2014

คสช. ทบทวนแผนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้าน ย้ำเน้นประโยชน์ของประเทศ

- 0 comments
พล อ.อ.ประจิน จั่นตอง ผอ.ทอ. รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในฐานะหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ เปิดเผยหลังประชุมรับทราบนโยบายผู้บริหารหน่วยงานช้าราชการ และรัฐวิสาหกิจกระทรวงคมนาคมว่า จะนำโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานประเทศ ทั้งระบบน้ำ ราง ถนน อากาศ และรถไฟความเร็วสูง ซึ่งอยู่ในโครงการ 2 ล้านล้านบาท นำไปเสนอให้ประธาน คสช. เพื่อทบทวนจัดทำแผนแม่บทพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้เสร็จภายใน 2 สัปดาห์  
“โครงการโครงสร้างพื้นฐานทุกด้าน คสช.จะให้ความสำคัญและเดินหน้าต่อในทุกระบบเพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อกันได้ โดยโครงการไหนหากทำก่อนก็จะเริ่มก่อนเพื่อประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญแต่ต้องมาดูรายละเอียด ข้อขัดข้องว่ามีอุปสรรคใดบ้าง เช่น งบประมาณ กระบวนการพิจารณา กฎหมาย ที่ดิน ปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเข้าไปดูว่าตรงไหนต้องปรับปรุง ถ้าโครงการไหนพร้อมก็จะเดินหน้าได้ทันที แต่ถ้าใช้งบประมาณมาก เราจะนำมาปัดฝุ่นเพื่อให้ระบบคมนาคมเดินหน้าได้สมบูรณ์”
ทั้งนี้โครงการขยายสนามบินสุวรรณภูมิให้รอบรับผู้โดยสาร 60 ล้านคน และสนามบินดอนเมืองเป็น 30 ล้านคนคาดจะเดินหน้าต่อได้ ส่วนโครงการรถไฟความเร็วสูง เป็นโครงการที่ให้ความสนใจโดยพิจารณาว่าเส้นทางใดทั้งกรุงเทพ-เชียงใหม่ และกรุงเทพฯ-หนองคาย เพื่อดูว่าโครงการใดขัดข้องบ้าง ซึ่งจะใช้เวลาศึกษาและน่าจะดำเนินการต่อได้หากสามารถแก้ไขอุปสรรคด้านต่างๆ ด้าน
พล อ.อ.ประจิน กล่าวว่า การจัดทำงบประมาณยืนยันว่าจะใช้ได้ทันตามกำหนดแน่นอน ทั้งงบประมาณปี 57 จะเร่งรัดการเบิกจ่ายให้งบที่ค้างอยู่เดินได้ไปตามเป้าหมาย รวมถึงเร่งรัดการทำงบประมาณปี 58 ที่ปีนี้ขอเพิ่มจากงบปี 57 ถึง 3 เท่า ให้เสร็จโดยเร็ว โดยจะพิจารณาตามความเหมาะสม เพื่อเบิกจ่ายใช้งบประมาณให้ทันวันที่ 1 ต.ค.57
จากเดลินิวส์ออนไลน์
[Continue reading...]

Wednesday, April 9, 2014

ลำดับเหตุการณ์บันทึกเลือด 10 เมษา 53 - 4 ปีที่ไม่มีวันลืมศพเกลื่อนราชดำเนิน

- 0 comments
4 ปีก่อนหน้านี้ ประเทศไทยกลายเป็นพื้นที่มิคสัญญี กรุงเทพฯ กลายเป็นพื้นที่สังหารหมู่ครั้งใหญ่ เมื่อรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกฯ และ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ และผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ตัดสินใจให้กองกำลังของรัฐใช้อาวุธจริง ในปฏิบัติการม็อบเสื้อแดง หรือนปช.

สมรภูมิแรกที่เกิดเหตุคือถนนราชดำเนิน เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553

เหตุการณ์ในคืนวันนั้น มีประชาชนและทหารเสียชีวิตรวมกันถึง 27 ราย บาดเจ็บราว 1,700 คน

จากวันนั้นก็เกิดเหตุ "ฆ่าหมู่" หรือ "ล้อมฆ่า" ประชาชน และม็อบตายเป็นใบไม้ร่วง โดยฆ่าต่อเนื่องถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 ซึ่งเป็นวันที่แกนนำเสื้อเแดงประกาศสลายการชุมนุม

ร่วม 100  ศพ และบาดเจ็บหลายพันคนคือตัวเลขความสูญเสีย ที่รัฐบาลและศอฉ.ภายใต้การนำของรัฐบาลพลเรือนของนายอภิสิทธิ์ จากพรรคประชาธิปัตย์ ฝากเป็นแผลทางประวัติศาสตร์

เป็นความสูญเสียมากกว่าการชุมนุมในอดีตที่ผ่านมาทุกครั้ง

เป็นความสูญเสียมากกว่าฝีมือของรัฐบาลเผด็จการทหารเสียอีก
ปฏิบัติการขอคืนพื้นที่
นับ จากวันที่ 13 มีนาคม 2553 วันแรกที่ม็อบเสื้อแดงปักหลักตั้งเวทีที่สะพานผ่านฟ้าฯ ถ.ราชดำเนิน ก่อนขยายไปยังเวทีใหญ่สี่แยกราชประสงค์

บรรดาแกนนำสลับกันขึ้นทั้ง 2 เวทีเพื่อเรียกร้องให้นายอภิสิทธิ์ ยุบสภา โดยกล่าวหาว่ามีที่มาไม่เหมาะสม เป็นรัฐบาลที่ตั้งในค่ายทหาร ใช้หลากหลายวิธีทำให้พรรคการเมืองต้องร่วมสนับสนุนให้พรรคประชาธิปัตย์ได้ เป็นรัฐบาล ทั้งที่การเลือกตั้งพ่ายแพ้พรรคพลังประชาชน (ในขณะนั้น-ก่อนเปลี่ยนเป็นพรรคเพื่อไทย)

ขณะที่ นายอภิสิทธิ์ สั่งตั้งศอฉ.ขึ้นมาเพื่อจัดการม็อบโดยเฉพาะ มี นายสุเทพ เป็นผู้อำนวยการ

ช่วงเวลาเกือบ 1 เดือนทั้ง 2 ฝ่ายแทบไม่ได้ปะทะกันรุนแรง นอกจากยื้อกันไปมาเท่านั้น

กระทั่ง วันที่ 8 เมษายน 2553 นายสุเทพ มีคำสั่งให้สถานีดาวเทียมไทยคมระงับการแพร่ภาพของสถานีโทรทัศน์พีเพิ่ล ทีวี หรือพีทีวี ซึ่งเป็นสถานีของคนเสื้อแดง ถ่ายทอดสดการชุมนุม พร้อมส่งทหารเข้าไปควบคุม

ทำให้วันที่ 9 เมษายน ม็อบเดินทางไปยังสถานีไทยคม ที่อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี เพื่อให้เปิดสัญญาณถ่ายทอดอีกครั้ง

กระทั่งปะทะกับทหารแต่ไม่มีความสูญเสียเกิดขึ้น

แต่ จากจุดนี้เองทำให้นายอภิสิทธิ์ แสดงความไม่พอใจว่าม็อบท้าทายกฎหมาย และวันที่ 10 เมษายน คำสั่งสลายม็อบราชดำเนิน ที่ออกมาในวลีเท่ๆ ว่า ′ขอคืนพื้นที่′ ก็ออกมาจากศอฉ.

โดย ช่วงสายวันที่ 10 เมษายน แกนนำเสื้อแดงทราบการข่าวว่ารัฐบาลสั่งสลายม็อบที่ราชดำเนิน จึงระดมม็อบที่ราชประสงค์เดินทางไปสมทบเพื่อช่วยเหลือกรณีที่เกิดเหตุรุนแรง ขึ้น

แกนนำรวมตัวกันที่พระบรมรูปทรงม้า ก่อนเคลื่อนไปยังหน้ากองทัพภาคที่ 1 หลังพบว่ามีหน่วยกำลังเตรียมพร้อมอยู่ภายใน และคาดว่าเป็นทีมสลายม็อบ

13.00 น. เกิดเผชิญหน้ากันครั้งแรกเมื่อม็อบพร้อมรถบรรทุกไปปิดด้านหน้ากองทัพภาคที่ 1 ป้องกันทหารเคลื่อนกำลังออกมา

แม้จะสามารถสกัดกั้นไว้ได้ แต่เป็นเวลาสั้นๆ เท่านั้น
ทหารเคลื่อนพลล้อมกรอบ
ราว ครึ่งชั่วโมงต่อมาทหาร 3 หน่วยปฏิบัติการล้อมกรอบผู้ชุมนุม เริ่มจากทหารในกองทัพภาคที่ 1 เคลื่อนกำลังออกมาทางถ.ศรีอยุธยา ซึ่งจุดนี้มีม็อบอยู่ราว 500 คน

แก๊สน้ำตา กระสุนยาง และน้ำ ระดมฉีดเข้าใส่ ขณะที่ทหารตั้งแต่ผลักดันม็อบจนถอยร่น จนทหารเข้ายึดพื้นที่บริเวณพระบรมรูปทรงม้าได้สำเร็จ จากนั้นก็ผลักดันผู้ชุมนุมออกไปอีก

ขณะเดียวกันมีกำลังทหารจาก ถ.พิษณุโลก และแยกวังแดง เดินหน้าบีบผู้ชุมนุมที่กระจัดกระจายอยู่ให้มารวมกันที่เวทีสะพานผ่านฟ้าฯ และแยกคอกวัว โดยรอบๆ ทั้งถนนดินสอ และถนนตะนาว มีทหารเข้ายึดครองได้หมด

ตามแผนคือให้ผู้ชุมนุมมารวมที่สะพานผ่านฟ้าฯ ก่อนผลักดันให้ออกไปทางถนนหลานหลวง โดยมีเฮลิคอปเตอร์บินโปรยแก๊สน้ำตาสลายผู้ชุมนุม

ทหาร และผู้ชุมนุมปะทะกันเป็นระยะๆ จนถึงตอนเย็น เจ้าหน้าที่เริ่มใช้อาวุธจริงยิงขู่ขึ้นฟ้า จนเมื่อการปะทะหนักหน่วงขึ้นบวกกับม็อบจากราชประสงค์เดินทางมาสมทบ

แสง แดดเริ่มน้อยลงเรื่อยๆ อากาศขมุกขมัวลง ทั้งนักวิชาการหรือผู้เกี่ยวข้องออกมาเตือนรัฐบาลผ่านทางสถานีโทรทัศน์ต่างๆ ให้ยุติการสลายม็อบไว้ก่อน เนื่องจากบรรยากาศเริ่มมืดลงเรื่อยๆ การสลายม็อบในเวลานี้ สุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียหรือมี ′มือที่ 3′ เข้ามาร่วมสร้างสถานการณ์

ทางออกดีที่สุดคือถอยกลับที่ตั้งรอรุ่งเช้าค่อยตัดสินใจอีกครั้ง

แต่ศอฉ.โฆษกออกแถลงการณ์ยืนยันว่า ต้องเดินหน้าลุยปราบต่อไปไม่ว่าจะดึกดื่นแค่ไหนก็ตาม!!!

แล้วสถานการณ์ก็เป็นดังที่ทุกฝ่ายเตือน ในช่วงค่ำเกิดความอลหม่าน เสียงปืนระเบิดดังระงม

ศพแรกๆ ที่เกิดความสูญเสียคือ นายฮิโรยูกิ มูราโมโตะ ช่างภาพรอยเตอร์ ชาวญี่ปุ่น ถูกยิงตายบริเวณจุดปะทะถนนดินสอ

จาก พยานหลักฐานต่างๆ เชื่อว่าตายโดนเจ้าหน้าที่รัฐ เนื่องจากช่วงเกิดเหตุนายมูราโมโตะ ที่ตอนแรกอยู่ในแนวทหาร ถือกล้องเดินข้ามฝั่งมาถ่ายภาพบริเวณม็อบ จนเมื่อหันกล้องกลับไปแนวเจ้าหน้าที่ก็ถูกกระสุนความเร็วสูงยิงเจาะเข้าร่าง

ผู้ชุมนุมช่วยกันอุ้มนายมูราโมโตะ ออกจากจุดปะทะส่งโรงพยาบาล แต่ก็ช่วยชีวิตไว้ไม่ได้

การ ปะทะระหว่างทหารกับม็อบมีผู้เสียชีวิตจำนวนหนึ่ง และบาดเจ็บหลักร้อยคน โดยทหารไม่สามารถผลักดันม็อบออกจากพื้นที่ตามที่ตั้งเป้าเอาไว้
ทั้งทหาร-ม็อบสังเวย
หลังศอฉ.มีคำสั่งให้ทหารเดินหน้าลุยปราบม็อบโดยไม่สนใจคำเตือน สถานการณ์ยิ่งรุนแรงมากขึ้นและชุลมุนขึ้นเพราะไม่รู้ว่าใครเป็นใคร

ตัวเลขความสูญเสียมากขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่ม็อบก็เสริมกำลังเข้ามาเรื่อยๆ เช่นกัน

มีรายงานว่าในศอฉ.เองก็เคร่งเครียด เพราะตัวเลขที่ได้รับรายงานมีประชาชนเสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก

แกนนำม็อบประกาศไล่ผู้นำมือเปื้อนเลือดออกนอกประเทศ

การ ปะทะเกิดขึ้นหลายจุดทั้งแยกคอกวัว ถนนดินสอ แยกจปร. จนราว 2 ทุ่ม นายอภิสิทธิ์มีคำสั่งให้ถอนกำลัง หลังควบคุมสถานการณ์ไม่ได้ เพราะยิ่งฆ่า ม็อบก็ยิ่งเข้ามาเสริมเยอะขึ้นเรื่อยๆ

นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ เลขาธิการนายกฯ ได้รับคำสั่งไปประสานกับแกนนำม็อบขอหย่าศึกครั้งนี้

มี รายงานว่าถึงตอนนี้ในศอฉ.เต็มไปด้วยความตึงเครียด เพราะประชาชนสูญเสียมากเกินไป และในอดีตที่ผ่านมาไม่เคยมีรัฐบาลไหนสามารถอยู่ได้หากมือเปื้อนเลือดประชาชน

แต่ขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่ทหารก็สูญเสียด้วย

จากกรณีเกิดเหตุปะทะกันที่หน้าโรงเรียนสตรีวิทย์ และมีเอ็ม 79 ยิงถล่มเข้าไปภายในโรงเรียน ตกใส่เต็นท์บัญชาการของทหาร

พ.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม รองเสธ.พล.ร.2 รอ. แม่ทัพใหญ่ในปฏิบัติการนี้เสียชีวิต และมีทหารบาดเจ็บอีกจำนวนหนึ่ง!!!

ขณะเดียวกันสื่อทีวีเริ่มแพร่ภาพคนสวมชุดดำ ใส่หมวกไอ้โม่งถือปืนอยู่ในม็อบและอยู่ในเหตุการณ์ปะทะ

แม้ การตายของนายทหารระดับสูง นับเป็นความสูญเสียของกองทัพและประเทศชาติอย่างน่าเสียดาย แต่สำหรับบางคนแล้ว ในสถานการณ์ที่กำลังจนแต้ม กลับสามารถใช้การตายครั้งนี้พลิกสถานการณ์จากที่เป็นรอง ขึ้นมาหาความชอบธรรมได้ทันที

มันสมองระดับสามารถประดิษฐ์คำพูดชวนฟัง ทำให้หยิบการตายของพ.อ.ร่มเกล้า และภาพชายชุดดำขึ้นมาใช้ได้ทันทีทันใด

ม็อบก่อการร้ายมีอาวุธสงคราม และชายชุดดำ เป็นข้ออ้างเอาตัวรอดได้อย่างฉิวเฉียด
คนชุดดำ-ไร้ตัวตน
การ เสียชีวิตของ พ.อ.ร่มเกล้า และภาพคนชุดดำ กลายเป็นข้อตอบโต้ของรัฐบาลและศอฉ. ในทำนองว่าม็อบมีอาวุธร้ายแรง และคนชุดดำคือฆาตกรที่ฆ่าประชาชน!!!

รัฐบาลใช้กรณีนี้สร้างความชอบธรรมอยู่ในอำนาจต่อไป

ขณะที่ปั่นกระแสเรื่องม็อบมีอาวุธร้ายแรง เกิดขึ้นพร้อมๆ กับการตายของม็อบทีละศพ สองศพ หรือมากกว่านั้น

จาก วันที่ 10 เมษายน จนถึงวันที่ 19 พฤษภาคม คนเริ่มตายมากขึ้นเรื่อยๆ โดยฝีมือของสไนเปอร์ แต่รัฐบาลและศอฉ.อ้างว่าเป็นฝีมือของชายชุดดำเช่นเดิม

ก่อนที่รัฐบาลจะส่งทหารเข้าปิดล้อมและสลายม็อบราชประสงค์ พร้อมคำพูดใหม่อีกว่า ′กระชับพื้นที่′

ทำให้แกนนำตัดสินใจยุติการชุมนุม และเดินทางเข้ามอบตัว ก่อนเกิดเหตุเผาสถานที่ต่างๆในกรุงเทพฯ

รัฐบาล และนักการเมืองผู้เชี่ยวชาญการ ′พูด′ นำเหตุการณ์เผามาเหมารวมว่ารัฐบาลต้องปราบปรามอย่างรุนแรง เพื่อหยุดยั้งการเผาบ้านเผาเมือง

ทั้งๆ ที่การเผาเกิดขึ้นในวันสุดท้ายของการชุมนุม และเกิดขึ้นในตอนเย็นหลังจากม็อบสลายไปหมดแล้ว

รัฐบาลระบุว่าทหารได้รับคำสั่งให้ยิงระดับต่ำกว่าหัวเข่า และไม่ให้ฆ่าประชาชนที่ไม่มีอาวุธ

เกือบ 100 ศพ และบาดเจ็บอีกหลายพัน ถูกโยนว่าเป็นฝีมือของคนชุดดำทั้งสิ้น

ขณะที่คนตายถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ก่อการร้าย

คน ชุดดำที่เป็นฆาตกรตามที่รัฐบาลกล่าวหา แต่หลังเหตุการณ์สงบลงและรัฐบาลประชาธิปัตย์ครองอำนาจอีกนานนับปี ไม่มีคนชุดดำสักรายที่ถูกจับกุม หรือหาที่มาที่ไปไม่ได้

มีเพียงภาพถ่าย หรือภาพเคลื่อนไหวคนชุดดำถือปืน และยิงไปในจุดต่างๆ แต่ไม่มีหลักฐานใดๆ ระบุว่าเกือบ 100 ศพเป็นฝีมือชายชุดดำ

ใน ทางกลับกัน มีภาพและพยานหลักฐานมากมายยืนยันชัดเจนว่าผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ตายโดยฝีมือของเจ้าหน้าที่รัฐที่ปฏิบัติตามคำสั่งของรัฐบาลและศอฉ.

ตอนนี้คดีส่วนหนึ่งส่งขึ้นสู่การพิจารณาชั้นศาล เพื่อทวงความยุติธรรมให้กับผู้เสียชีวิตทุกราย
 
       
ที่มา นสพ.ข่าวสด วันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2555        
[Continue reading...]

Monday, March 3, 2014

จาตุรนต์ ฉายแสง กับท่าที ผบ.ทบ. พล.อ.ประยุทธ์ จันโอชา กรณี สปป.ล้านนา

- 0 comments
ธรรมดาผมก็วิจารณ์ผบ.ทบ.บ้างชมบ้างแล้วแต่กรณีไป ผมเพิ่งชมผบ.ทบ.ไปเมื่อไม่กี่วันมานี้ ต้องวิจารณ์ทักท้วงอีกซะแล้ว

ผมคิดว่าที่ผบ.ทบ.ออกมาขึงขังสั่งการให้แม่ทัพนายกองเล่นงานคนเสื้อแดงในข้อหาว่าแบ่งแยกประเทศนั้น ไม่น่าจะเป็นประโยชน์หรือเป็นผลดีต่อการแก้ปัญหาความขัดแย้งของคนในชาติ รวมทั้งไม่เป็นผลดีต่อตัวผบ.ทบ.เองด้วย

การที่คนเสื้อแดงบางคนออกมาพูดเรื่องการแบ่งประเทศนั้น ดูจะเป็นเรื่องของการตัดพ้อเสียมากกว่าที่จะทำอย่างนั้นจริงๆ เข้าใจว่าคนเสื้อแดงจะรู้สึกว่าพวกตนอยู่ในสภาพที่ทำอะไรก็ผิดไปหมด ในขณะที่ฝ่ายสุเทพกับพวกทำอะไรก็ไม่ผิด เขาจึงประชดว่าถ้าอย่างนั้นแบ่งประเทศกันเสียเลยดีไหม

การดำเนินคดีกับคนเสื้อแดงในเรื่องนี้ก็เป็นสิทธิ์ที่จะทำได้ แต่จะมีผลอะไรเป็นเรื่องที่ต้องใคร่ครวญให้รอบคอบ การที่ใครออกมาพูดลอยๆว่าจะแยกประเทศจะครบองค์ประกอบการกระทำความผิดหรือไม่ ดำเนินคดีไปจะเอาผิดได้จริงหรือ

การที่บางคนพูดว่าจะแยกประเทศเปรียบเทียบกับการที่คนอีกกลุ่มหนึ่งเรียกตัวเองว่าเป็นกบฏอย่างเปิดเผยครั้งแล้วครั้งเล่า ว่าไปแล้วพวกที่ประกาศตัวเองเป็นกบฏเสียอีกที่มีการกระทำเป็นกบฏจริงๆและถูกตั้งข้อหาแล้วด้วย แต่ไม่เห็นผบ.ทบ.และพวกทำอะไรกํบคนเหล่านี้บ้าง เห็นพูดแต่ว่าขอวางตัวเป็นกลาง 

การเล่นงานแต่พวกเสื้อแดงในคราวนี้จึงทำให้คำพูดที่ว่าขอวางตัวเป็นกลางหมดน้ำหนักไปเสียเปล่าๆ

ถ้าต้องการจะแก้ปัญหาความขัดแย้งในสังคมจริงๆ เวลามีคนออกมาพูดว่าจะแยกประเทศ ผู้ที่รับผิดชอบด้านความมั่นคงควรจะต้องตั้งคำก่อนว่าทำไมเขาจึงออกมาพูดอย่างนั้นกัน หาต้นเหตุให้เจอว่าเป็นเพราะอะไร ถ้าสาเหตุมาจากความไม่ยุติธรรมก็ต้องหาทางให้เกิดความยุติธรรม ถ้าเป็นเพราะบ้านเมืองอยู่ในสภาพกฎหมายไม่เป็นกฎหมายก็ต้องทำให้กฎหมายเป็นกฎหมาย ความไม่พอใจของผู้คนก็จะลดลง

ที่สำคัญต้องทำให้ทุกฝ่ายทุกคนมีความรู้สึกว่าเป็นเจ้าของประเทศเท่าเทียมกัน

การออกมาประกาศขึงขังว่าจะจัดการกับคนที่แยกประเทศจนเป็นเรื่องใหญ่โตเกินจริงยังเป็นเรื่องเสียหายต่อภาพพจน์ของประเทศด้วย ชาวต่างชาติเขาจะรู้สึกว่าเมืองไทยนี้แย่แล้ว มีคนจะแยกประเทศเกิดขึ้นเยอะแยะไปหมด ลำพังการที่สุเทพกับพวกทำผิดกฎหมายสารพัด ก็เสียภาพพจน์แย่แล้ว ยังจะโฆษณาว่ามีขบวนการแบ่งแยกประเทศอีกจะเป็นประโยชน์อะไร

สุดท้ายก็ขอฝากอีกนิดเดียวครับว่ายังไงก็อย่าถึงขั้นเอาเรื่องนี้มาเป็นเหตุข้ออ้างในการยึดอำนาจเลยนะครับ เพราะมันฟังไม่ขึ้น เสื้อแดงเขาเป็นส่วนหนึ่งของคนส่วนใหญ่ของประเทศ เขาจะไปแบ่งแยกประเทศไปทำไม คนที่พยายามแบ่งประเทศมาหลายเดือนแล้วคือสุเทพกับพวกต่างหาก พวกนี้เขาพยายามแยกประเทศไทยออกเป็น 2 ประเทศ คือประเทศหนึ่งเป็นประชาธิปไตยและกฎหมายเป็นกฎหมายกับอีกประเทศหนึ่งปกครองโดยคนส่วนน้อยและกฎหมายไม่เป็นกฎหมาย

นี่ต่างหากคือปัญหาที่ผบ.ทบ.และแม่ทัพนายกองต้องจัดการมานานแล้ว


ที่มา : เพจ Chaturon Chaisang
[Continue reading...]

Sunday, March 2, 2014

ความวุ่นวายในบ้านเมือง ล้วนแต่เป็นแผนที่ต้องการเข้ามาสู่อำนาจ ของ "ประชาธิปัตย์"

- 0 comments

ขบวนการล้ม "ฝ่ายประชาธิปไตย" เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจการปกครอง ทำกันเป็นขบวนการ ล้วนมีการโยงใย กับพรรคประชาธิปัตย์ทั้งสิ้น

พรรคประชาธิปัตย์ พ่ายแพ้ในสนามการเลือกตั้งมาตลอด แทนที่พรรคนี้จะหันมาดูความบกพร่องของพรรคตัวเอง ว่าเพราะเหตุอะไรที่การทำงานของพรรค ไม่เป็นที่ต้องการของคนส่วนใหญ่ของประเทศ พรรคประชาธิปัตย์ กลับใช้วิธีที่พรรคตัวเองถนัด นั่นคือการใส่ร้ายป้ายสี พรรคที่เป็นคู่แข่งทางการเมือง

สร้างวาทะกรรมเพื่อล้มล้างอีกฝ่าย

แต่ก็ยังพ่ายแพ้เมื่อเข้าสู่กระบวนการเลือกตั้ง

ที่เห็นได้ชัดเจน ตั้งแต่ปี 44 เป็นต้นมา

จากพรรคที่เคยอ้างมาตลอดว่า "จะยึดมั่นในระบบรัฐสภา"

กลายเป็นพรรคที่ใช้สภา เพื่อโค่นล้มรัฐบาล ก่อกวน สร้างความปั่นป่วน เพื่อให้เห็นว่า กระบวนการทางสภา เชื่อถือไม่ได้ โดยการสร้างวาทะกรรม "เผด็จการ" รัฐสภา

ยังเชื่อมโยงไปถึงขบวนการเลือกตั้งว่าไม่ได้เป็นการตอบโจทย์ของการแก้ปัญหา

จากการสร้างความวุ่นวายในสภา ไปสนับสนุน ม็อบต่าง ๆ ให้ออกมาต่อต้าน รัฐบาลเช่น ม็อบชาวสวนยางพารา

การตั้งเวที "ผ่าความจริง"

จากการสนับสนุนม็อบอยู่เบื้องหลัง ก็กลายมาเป็นผู้นำม็อบเสียเอง

พรรคประชาธิปัตย์ ได้โอกาสที่ทางรัฐบาล เสนอ กม.นิรโทษกรรม..สุดซอย

ออกมานำมวลชน ระดมมวลชน

ขณะนั้นแกนนำประกาศชัดเจนว่า "ถ้ารัฐบาลถอน กม.นิรโทษกรรม" ทุกฉบับออกจากสภาการเคลื่อนไหวก็จะยุติ

เมื่อเห็นมวลชนออกมามาก แม้รัฐบาลจะถอย "พ.ร.บ. นิรโทษสุดซอย"

แต่พรรคประชาธิปัตย์กลับเห็นว่านี่คือโอกาสที่จะคว่ำรัฐบางให้ได้

แม้รัฐบาลจะถอย แต่ ประชาธิปัตย์ เดินหน้าเกินที่จะหยุดได้

นายสุเทพและพวก อีก 9 คน จึงประกาศลาออกจาก ส.ส. มาเป็นแกนนำม็อบ

ด้วยความหวังที่จะคว่ำรัฐบาลจาก องค์กรอิสระ เช่น ปปช ศาลรัฐธรรมนูญ

จึงได้มีการร้องเรียนไปยังองค์กรเห่านี้ หลายเรื่อง เช่น การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่มาของ ส.ว. การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ม. 190 ชี้การโยงใย ถึงผู้ที่ร่วมลงมติ ว่าเป็นการกระทำผิดไปด้วย

ถ้าหากมีการชี้มูลความผิดของ ส.ส. และส.ว.เหล่านั้นจะทำให้ คนเหล่านั้น ร่วม 312 คน ต้องหยุดการปฏิบัติหน้าที่

และรวมถึงการชี้มูล กรณีจำนำข้าว ซึ่งส่งผลทำให้นายกและคณะรัฐมนตรี ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ไปด้วย

ประชาธิปัตย์เห็นโอกาสอีกครั้ง

ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์จึงประกาศลาออกทั้งหมดโดยอ้างว่า สภาไม่ชอบธรรม

จุดมุ่งหมายเพื่อ เกิดสูญญากาศ ทางการเมืองจะเป็นเหตุให้ได้มาซึ่ง นายก ม. 7 จัดตั้งคณะรัฐบาล ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง

รัฐบาลจึงต้องแก้เกมด้วยการประกาศยุบสภา ในตอนเช้า 8.40 น. ของวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2557

เราจึงได้เห็นการตอบรับขององค์กรอิสระต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ศาลรัฐธรรมนูญ กกต. ปปช. ก็ออกมาในทางเดียวกัน คือต้องการให้เกิดสูญญากาศทางการเมือง หรือเกิดความวุ่นวาย เพื่อให้ทหารเข้ามาทำรัฐประหาร

จะเห็นได้จากการก่อความวุ่นวายของม็อบประชาธิปัตยใน 3 เดือนที่ผ่านมา

ล้วนแต่เป็นความต้องการที่จะเข้ามาสู่อำนาจของ พรรคประชาธิปัตย์ โดยไม่คำนึงถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบ้านเมือง

เพียงหวังเพื่ออำนาจของพรรคตัวเอง

อนิจจา....

[Continue reading...]

Thursday, February 20, 2014

ย้อนดู ...คำพิพากษาศาลแพ่งที่ยกฟ้องคดีเพื่อไทยขอให้ยกเลิกคำสั่งตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ปี 53

- 0 comments
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สืบเนื่องจากกรณีศูนย์รักษาความสงบ (ศรส.) ได้ยื่นแถลงปิดคดีเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ก่อนที่ศาลแพ่งจะนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 19 กุมภาพันธ์นี้ ในกรณีนายถาวร เสนเนียม แกนนำ กปปส. ฟ้องคดีต่อศาลแพ่งขอให้สั่งเพิกถอนการประกาศใช้ พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 โดยที่ประชุม ศรส.ได้ตรวจพบว่าเมื่อครั้งประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ในพื้นที่กรุงเทพฯและจังหวัดใกล้เคียง สมัยรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ช่วงเหตุการณ์ความไม่สงบเมื่อปี 2553 นั้น นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย ได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลแพ่งขอให้สั่งว่าการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ในขณะนั้นเป็นไปโดยมิชอบ ขอให้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้เพิกถอน โดยศาลแพ่งพิพากษาให้ยกฟ้อง
 
ทั้งนี้ นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย เคยได้ยื่นร้องต่อศาลแพ่ง เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2553 ยื่นฟ้อง คณะรัฐมนตรี, นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) เป็นจำเลยที่ 1-3 ฐานละเมิด ขอให้ศาลมีคำสั่งยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงของนายอภิสิทธิ์  และขอให้ศาลยกเลิกคำสั่งของนายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพ ที่สั่งยุติการแพร่ภาพออกอากาศสถานีโทรทัศน์พีเพิลชาแนล โดยให้นายอภิสทธิ์ และนายสุเทพ สั่งห้ามหน่วยงานของรัฐ กระทำการที่จะเป็นอุปสรรคต่อการออกอากาศ สถานีโทรทัศน์พีเพิลชาแนล รวมทั้งให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวได้ให้ นายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพ สั่งระงับ หรือตัดสัญญาณ ออกอากาศสถานีโทรทัศน์พีเพิลชาแนล โดยมีคำสั่งให้จำเลยทั้งสอง และหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องสั่งเชื่อมต่อสัญญาณแพร่ภาพ นับตั้งแต่วันฟ้องจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาเป็นอย่างอื่น ซึ่งศาลรับคำฟ้องไว้เป็นคดีหมายเลขดำที่ 1389/2553 เพื่อมีคำสั่งต่อไป
ต่อมาเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2553 ศาลแพ่งได้นัดฟังคำพิพากษา โดยระบุว่า ศาลแพ่งมีคำสั่งยกฟ้องของนายพร้อมพงศ์ หลังพิเคราะห์แล้วเห็นว่าตาม พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 มีเจตนารมณ์ที่จะให้อำนาจนายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อบังคับใช้ทั่วราชอาณาจักร หรือในบางเขตท้องที่ได้ตามความจำเป็นในสถานการณ์

ซึ่งตามมาตรา 4 แห่งพระราชกำหนดดังกล่าว ให้ความหมายของ "สถานการณ์ฉุกเฉิน" ว่า สถานการณ์อันกระทบหรืออาจกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ หรืออาจทำให้ประเทศหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของประเทศตกอยู่ในภาวะคับขัน หรือมีการกระทำความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย ตามประมวลกฎหมายอาญาการรบหรือการสงคราม จำเป็นต้องมีมาตรการเร่งด่วนเพื่อรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เอกราชและบูรณภาพแห่งอาณาเขต ผลประโยชน์ของชาติ การปฏิบัติตามกฎหมาย ความปลอดภัยของประชาชน การดำรงชีวิตโดยปกติสุขของประชาชนการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ความสงบเรียบร้อยและประโยชน์ส่วนรวม หรือการป้องปัดหรือแก้ไขเยียวยาความเสียหายจากภัยพิบัติสาธารณะ อันมีมาอย่างฉุกเฉินและร้ายแรง

ดังนั้น การที่คณะรัฐมนตรี จำเลยที่ 1 ให้การเห็นชอบแก่นายอภิสิทธิ์ จำเลยที่ 2 ในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2553 ย่อมเป็นการใช้อำนาจในการบริหารราชการแผ่นดิน ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อยู่ในอำนาจหน้าที่และดุลพินิจของฝ่ายบริหารโดยเฉพาะ ศาลมิอาจก้าวล่วงไปพิจารณา หรือทบทวนการใช้ดุลพินิจของฝ่ายบริหารเช่นว่านั้นได้ และการที่นายอภิสิทธิ์ จำเลยที่ 2 มีคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ พิเศษ 1/2553 ให้นายสุเทพ จำเลยที่ 3 เป็น ผอ.ศอฉ. โดยอาศัยอำนาจตาม ม.7 วรรคสาม วรรคห้า และวรรคหก ม.8-9 ,11 และ 15 แห่ง พ.ร.ก.ดังกล่าว
นอกจากนี้นายอภิสิทธิ์ จำเลยที่ 2 ยังมีคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่พิเศษ 2/2553 ให้นายสุเทพ จำเลยที่ 3 เป็นผู้กำกับการปฏิบัติงานในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินฯ นายอภิสิทธิ์และนายสุเทพ ย่อมมีอำนาจตามความใน ม.9 (2) และ (3) แห่ง พ.ร.ก.ดังกล่าว ที่จะใช้มาตรการอันจำเป็นเพื่อแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินได้ตามรัฐธรรมนูญ 2550 ม.45 วรรคสี่ ที่ว่าการห้ามหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่น เสนอข่าวสารหรือแสดงความคิดเห็นทั้งหมดหรือบางส่วน หรือการแทรกแซงด้วยวิธีการใดๆ เพื่อลิดรอนเสรีภาพตามมาตรานี้จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ
และตามที่โจทก์ขอให้ศาลมีคำพิพากษา หรือคำสั่งยกเลิกคำสั่งของนายอภิสิทธิ์และนายสุเทพ ที่สั่งให้ยุติการแพร่ภาพและเสียงของสถานีโทรทัศน์พีเพิลชาแนล และมีคำสั่งให้นายอภิสิทธิ์และนายสุเทพ สั่งห้ามหน่วยงานของรัฐเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคที่จะได้รับข่าวสารที่ถูกต้องและเพียงพอ เกี่ยวกับสินค้าหรือบริโภคตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 มิใช่เป็นการรับทราบข้อมูลข่าวสารทั่วๆ ไป โจทก์ย่อมมิใช่ผู้เสียหาย หรือเป็นผู้ถูกโต้แย้งสิทธิการกระทำของนายอภิสิทธิ์และนายสุเทพ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง พิพากษายกฟ้อง

ที่มา :  มติชนออนไลน์


[Continue reading...]

Wednesday, February 19, 2014

ใครกันแน่ที่ช่วยชาวนา ?

- 0 comments
กลุ่มคนที่ออกมาประกาศปาวๆ ว่าสงสาร-อยากช่วยเหลือชาวนา พร้อมกับประณามรัฐบาลว่าโกง-โกหก-หลอกลวงชาวนา กลับข่มขู่จะไปปิดธนาคารพาณิชย์ที่ปล่อยกู้รัฐบาลไปจ่ายเงินจำนำข้าว

ปลุกกระแสให้คนแห่ไปถอนเงินให้หมดแบงก์

ทำแบบนี้แล้วชาวนาจะได้เงินจำนำ ข้าวหรือ?

คนอีกกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับการที่ม็อบระดมเรี่ยไรเงินไปเป็นทุนให้ชาวนาใช้ฟ้อง รัฐบาล เพราะเห็นว่าเป็นเกมการเมือง และแก้ปัญหาไม่ถูกจุด 

และเมื่อมีการฟ้องร้อง คิดหรือว่าชาวนาจะได้เงินเร็ว ?
 
ต้องมีรณรงค์ระดมเงินสดเข้าไปฝากในแบงก์ที่โดนข่มขู่คุกคาม
เพื่อป้องกันไม่ให้สถาบันการเงินสั่นคลอน
 
ถึงเวลาที่ชาวนา ต้องตาสว่าง และลุกออกมาปกป้องผลประโยชน์ของตัวเอง
[Continue reading...]

Friday, February 7, 2014

"สุเทพ" เรี่ยไร 10 ล้าน หนุนม็อบชาวนาไล่นายก

- 0 comments
สุเทพจัดเงินรับบริจาคมอบชาวนาตั้งกองทุนฟ้องยิ่งลักษณ์เบี้ยวหนี้จำนำข้าวทั้งคดีแพ่ง และอาญาถึงขั้นยึดทรัพย์     เมื่อเวลา 19.30 น. นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการกปปส. ปราศรัยเวทีแยกปทุมวันว่า จากการเดินรณรงค์ย่านสีลมเพื่อรับบริจาคเงินนำไปเป็นกองทุนให้พี่น้องชาวนาในการเคลื่อนไหวเรียกร้องเงินจากโครงการจำนำข้าววันนี้

“ยอมรับว่าชีวิตพี่น้องเกษตรกรลำบาก ต้องมีค่าเดินทาง ค่าอาหาร ผมรู้สึกได้จากการเดินวันนี้ เห็นพี่น้องประชาชนยื่นเงินให้ไม่เหมือนกับทุกครั้งเพราะได้เตรียมเงินมาอย่างดี เพื่อต้องการจะร่วมกันช่วยเหลือชาวนามีความตั้งใจเขียนจ่าหน้าซอง สิ้นชาวนาก็สิ้นชาติ บ้างก็เขียน ทุกข์ของชาวนาคือทุกข์ของแผ่นดิน วันนี้ปรากฎการณ์ที่พิเศษสุดของประเทศไทยคือ ไม่ว่าอยู่ในสาขาอาชีพอะไร รักกัน เป็นห่วงเป็นใยกันเอื้ออาทรกัน วันนี้ชาวกรุงเทพ ทำลายภาพพจน์เดิมหมดสิ้น เดิมนึกว่าคนกรุงเทพฯไม่เอื้อเฟื้อใครต่างคนต่างอยู่ แต่วันนี้ คนกรุงเทพได้แสดงความจริงใจออกมาให้มวลมหาประชาชนเห็นชัดเจนว่า คนกรุงเทพฯ วันนี้ ไม่ว่าทำอาชีพอะไร รู้สึกเจ็บปวดกับความทุกข์ชาวนาและอยากมีส่วนร่วมช่วยชาวนาทุกคนเลย นี่คือความสุดยอด“นายสุเทพ กล่าว

นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. พร้อมด้วยแกนนำ กปปส. และมวลชน เดินขบวนมาถึงเวทีสีลมหลังจากได้เดินขบวนเพื่อรณรงค์การปฏิรูปประเทศ และจะนำเงินที่ได้รับบริจาคจากประชาชนไปช่วยเหลือชาวนาที่ได้รับความเดือดร้อนจากโครงการรับจำนำข้าว โดยใช้เวลาเดินเกือบ 9 ชั่วโมง ทั้งนี้นายสุเทพ ได้ปราศรัยบนเวทีตอนหนึ่งว่า ตนอยากขอบพระคุณพี่น้องชาวสีลมที่ได้ให้การต้อนรับขบวนของเรา และได้บริจาคเงินสมทบกองทุนสำหรับการต่อสู้ของชาวนา ซึ่งเงินบริจาคที่ได้จากการเดินขบวนวันนี้และในวันที่ 10 ก.พ. จะมอบเงินทั้งหมดให้กองทุนสำหรับการต่อสู้ของชาวนาไทย.

“เงินบริจาคไม่เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายแต่เราก็พอใจ เพราะพอใจตั้งแต่ต้นแล้วว่ามีเท่าไหร่เทหมดหน้าตักในการขับไล่ขี้ข้าให้พ้นแผ่นดินสักที “ นายสุเทพ กล่าว

ที่มา : โพสทูเดย์
[Continue reading...]

Friday, January 31, 2014

กสม. ป้องม็อบ "ขัดขวางการเลือกตั้ง" เป็นหน้าที่รัฐต้องป้องกัน "ห้าม" ใช้ความรุนแรง

- 0 comments
การขัดขวางการเลือกตั้งล่วงหน้าเมื่อ 26 ม.ค. ที่ผ่านมา 

ไม่ใช่เฉพาะคนไทยผู้รักประชาธิปไตยที่รู้สึกกังวลถึงสิทธิ์ถึงเสียงของตัวเองที่โดนละเมิดแล้ว นานาอารยประเทศก็แสดงความเป็นห่วงถึงการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์เช่นกัน

เริ่มที่ "ฮิวแมนไรต์วอตช์" องค์กรสากลที่พิทักษ์สิทธิมนุษยชนระดับโลก แถลงการณ์เรียกร้องให้เลิกขัดขวางผู้จะออกเสียงเลือกตั้งล่วงหน้าในไทย เพราะเป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐาน

คุกคามระบอบประชาธิปไตย !

รัฐบาลสหรัฐออกแถลงถึงกรณีนี้เช่นกัน ใช้คำว่า "ไม่สบายใจอย่างยิ่ง" ต่อความพยายามสกัดกั้นการเลือกตั้ง หรือวิธีอื่นใดที่ขัดขวางการเลือกตั้งในประเทศไทย

เพราะละเมิดสิทธิ์อันเป็นสากลและขัดแย้งต่อหลักการประชาธิปไตย

องค์กรสิทธิมนุษยชนฝรั่งเศส (FIDH) แถลงการณ์ถึงการขัดขวางการออกเสียงของประชาชนในการเลือกตั้งล่วงหน้า

เป็นการละเมิดกฎหมายไทยและมาตรฐานหลักสิทธิมนุษยชนสากลรุนแรง

สิทธิ์ในการชุมนุมอย่างสงบต้องไม่ไปละเมิดพื้นฐานของผู้จะไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง !

ส่วนคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของไทย หรือ กสม. ถึงแม้มีแถลงการณ์ออกมาล่าช้าไป 3-4 วัน แต่ก็ยังดีกว่าปล่อยให้เรื่องนี้เงียบไปเลย

ระบุการที่กลุ่มผู้ชุมนุมขัดขวางประชาชนจนไม่สามารถใช้สิทธิ์เลือกตั้งล่วงหน้าได้ รวมถึงการประกาศให้คัดค้านหรืออาจกระทำการขัดขวางมิให้มีการเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ.นี้ ซึ่งเป็นการใช้สิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมืองที่ส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น

แต่พออ่านแถลงการณ์ต่อ ก็งงๆ

กสม.กลับบอกว่าการขัดขวางประชาชนใช้สิทธิ์เลือกตั้งนั้นเป็นหน้าที่ของรัฐบาลต้องมีมาตรการป้องกันมิให้เกิดความรุนแรง ไม่ใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบกับผู้ชุมนุม และรักษาความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ที่มีการเลือกตั้งเป็นกรณีพิเศษ
อ่านแถลงการณ์ของกสม.กับอ่านแถลงการณ์ขององค์กรโลกต่างๆ แล้ว

มุมมองเรื่อง "สิทธิมนุษยชน" ต่างกันลิบลับ !?
 


จาก  : ข่าวสดออนไลน์

[Continue reading...]

Thursday, January 30, 2014

พิษการเมือง "ญี่ปุ่น" ย้ายฐานหนีไทยผลิตรถยนต์รุ่นใหม่

- 0 comments
เรือเอกสุทธินันท์ หัตถวงษ์ ผู้อำนวยการท่าเรือแหลมฉบัง การท่าเรือแห่งประเทศไทย(กทท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้มีแนวโน้มนักลงทุนญี่ปุ่นย้ายฐานการผลิตรถยนต์รุ่นใหม่จากประเทศไทยไปประเทศอินโดนีเซีย แล้ว 1 รุ่น เนื่องจากไม่มั่นใจสถานการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองที่เกิดขึ้น ขณะเดียวกันยังมีนักลงทุนจากญี่ปุ่นอีกหลายรายที่อยู่ระหว่างการจับตามองอย่างใกล้ชิด เพื่อพิจารณาตัดสินใจว่าจะย้ายไปเพิ่มเติมหรือไม่
“เมื่อปลายปีที่แล้วได้เดินทางไปร่วมหารือกับนักลงทุนญี่ปุ่นเพื่อเชิญชวนให้มาลงทุนในไทย โดยเน้นถึงความพร้อมในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นแรงงาน และโครงสร้างพื้นฐาน จึงถือว่ามีการตอบรับดี แต่ล่าสุดพบว่ามีนักลงทุนบางรายที่ตัดสินใจย้ายโปรเจคใหม่ไปที่อินโดนีเซียแล้ว”
ทั้งนี้ยอมรับว่าอุตสาหกรรมที่น่าเป็นห่วงมากสุดในขณะนี้ คือ ยานยนต์เพราะตามปกติรถยนต์รุ่นใหม่จะต้องมาผลิตที่ประเทศไทย แต่ขณะนี้ได้เริ่มย้ายไปประเทศอื่นแทน ซึ่งการลดลงของการลงทุนจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกของท่าเรือแหลมฉบังโดยตรง เพราะหากมีการเติบโตทางเศรษฐกิจมาก การนำเข้าและส่งออกสินค้าก็จะมากขึ้นตามไปด้วย แต่หากการลงทุนลดลง เศรษฐกิจเติบโตน้อย ก็จะส่งผลให้การส่งออกสินค้าลดลงด้วย
เรือเอกสุทธินันท์ กล่าวว่า การดำเนินงานในปีนี้ตั้งเป้าหมายนำเข้าและส่งออกสินค้าผ่านทางท่าเรือแหลมฉบังเติบโตกว่าปีที่แล้วประมาณ 3% หรือหากได้ 5% จะดีมาก ถึงแม้จะเป็นตัวเลขการเติบโตที่ต่ำกว่าปกติที่จะมีการเติบโตประมาณ 8% ต่อปีก็ตาม เนื่องจากมีผลกระทบจากความวุ่นวายทางการเมือง ส่วนปีที่แล้วมีการเติบโตประมาณ 2.5% เท่านั้น เนื่องจากได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกตกต่ำ
[Continue reading...]

Tuesday, January 28, 2014

ส่อเค้าวุ่น ... 50 ผอ.เขต กทม.ตบเท้าขอลาออก

- 0 comments
"ปลัดกทม.เเผยส่อวุ่นอีก 50 ผอ.เขตเลือกตั้งกทม.ตบเท้าเข้าหารือจะขอลาออก หวั่นถูกทำร้าย เพราะถูกมองว่าไม่เป็นกลาง

นางนินนาท ชลิตานนท์ ปลัดกทม. กล่าวว่า เมื่อช่วง 11.20 น.ของวันนี้ (28 ม.ค.) ผู้อำนวยการเขต 50 เขต ในฐานะประธานกรรมการการเลือกตั้งประจำเขต ได้เดินทางเข้าหารือว่าจะขอลาออกจากการเป็นประธานกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตได้หรือไม่ ภายหลังเกิดเหตุการณ์ในการเลือกตั้งส.ส.ล่วงหน้า เมื่อวันที่ 26 ม.ค.ที่ผ่านมา โดยถูกกดดันจากทั้งฝ่ายที่สนับสนุนให้มีการเลือกตั้งและฝ่ายที่คัดค้านไม่ให้มีการเลือกตั้ง จนทำให้หลายพื้นที่เกิดการปะทะ มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต รวมทั้งการปฏิบัติงานตามภารกิจของกทม.ยังถูกครหาและดูหมิ่นศักดิ์ศรีว่าเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง อีกทั้งถูกฟ้องละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ที่สำคัญผู้อำนวยการเขต มีความกังวลเรื่องความปลอดภัยในวันเลือกตั้งที่ 2 ก.พ.นี้ด้วย
นางนินนาท กล่าวต่อว่า ขณะนี้มีเพียงผู้อำนวยการเขตบางกะปิเพียงเขตเดียวที่ยื่นหนังสือลาออกต่อ กกต.กทม.แล้ว ส่วนที่เหลือมีความประสงค์ขอลาออก แต่ยังคงเป็นกังวลว่าหากลาออกแล้วจะไม่มีผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน ทั้งนี้หากกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งลาออก ก็เป็นอำนาจหน้าที่ของกกต.กทม.ในการสรรหาและแต่งตั้งกรรมการชุดใหม่ โดยจะต้องใช้เวลาในการสรรหาก่อนการเลือกตั้ง 20 วัน อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กทม.ได้ทำหนังสือถึงศูนย์รักษาความสงบ(ศรส.) ให้พิจารณาแนวทางในการดูแลความปลอดภัยแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน รวมถึงประชาชนที่เดินทางมาเลือกตั้ง และสถานที่ราชการหรือสถานที่เอกชนที่ใช้เป็นหน่วยเลือกตั้งจำนวน 6,671 แห่งทั่วกรุงเทพฯ
"กังวลว่ากทม.อาจถูกมองว่ามีส่วนให้ไม่สามารถเลือกตั้งได้ แต่ขอยืนยันว่าข้าราชการกทม.ไม่ได้เข้าข้างฝ่ายไหน แต่ที่ผู้อำนวยการเขตจะขอลาออก ก็เพราะกังวลเรื่องความปลอดภัยในชีวิตและสถานที่ราชการ อีกทั้งยังถูกดูหมิ่นศักดิ์ศรีข้าราชการจึงไม่สบายใจในการทำหน้าที่ดังกล่าว ทั้งนี้จะนำเรื่องนี้หารือกับผู้ว่าฯ กทม. ว่าจะทำอย่างไรต่อไป หากผู้อำนวยการเขตต้องการลาออกก็ต้องทำหนังสือลาออกถึงคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำกรุงเทพมหานคร(กกต.กทม.) เพื่อให้ กกต.กทม.จัดหาและแต่งตั้งผู้ที่จะมาปฏิบัติหน้าที่แทน” ปลัดกทม. กล่าว
ด้านนายสิน นิติธาดากุล ผู้อำนวยการสำนักงานเขตบางกะปิ กล่าวว่า สาเหตุที่ลาออก เนื่องจากถูกมองว่าไม่เป็นกลาง อีกทั้งเป็นข้าราชการกทม. ที่มีม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม.เป็นผู้บังคับบัญชา ซึ่งผู้ว่าฯกทม. ก็มาจากพรรคประชาธิปัตย์ ดังนั้นจึงเห็นว่าควรลาออก เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามาทำหน้าที่แทน
[Continue reading...]
 
Copyright © . Yak Ratchaprasong - Posts · Comments
Theme Template by BTDesigner · Powered by Blogger