Friday, July 19, 2013

นักโทษการเมือง "เสื้อแดง" ส่วนมาก อาจจะไม่ได้รับประโยชน์จาก พรบ. "ฉบับประชน"

- 0 comments

อ.พวงทอง ภวัครพันธุ์: ข้อจำกัดของร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับประชาชน

ในขณะนี้ ฝ่ายประชาชนที่พยายามผลักดันให้มีการนิรโทษกรรมนักโทษการเมืองกำลังเจอปัญหาว่าจะสนับสนุนร่างกฏหมายฉบับไหนดี ระหว่างร่างฯ ของ สส.วรชัย เหมะ และร่างฯ ฉบับประชาชน ที่เสนอโดยญาติผู้เสียชีวิตเมษา-พฤษภา 2553 ดิฉันเชื่อว่าจุดมุ่งหมายหลักของทั้งสองฉบับนี้ คือช่วยเหลือนักโทษเสื้อแดงที่ยังติดคุกมานานกว่า 3 ปี ให้ได้อิสรภาพโดยเร็ว โดยฉบับประชาชนระมัดระวังไม่ต้องการให้นายทหารระดับบังคับบัญชาและระดับล่างที่ใช้กำลังตามอำเภอใจลอยนวลไปง่าย ๆ 
อย่างไรก็ดี บทความนี้จะจำกัดการพิจารณาว่าร่างนิรโทษกรรมฉบับประชาชนนี้ จะสามารถบรรลุเป้าหมายในการช่วยเหลือนักโทษการเมืองได้มากน้อยแค่ไหน   
ใครจะได้รับนิรโทษกรรมบ้าง
ประเด็นสำคัญของร่างฯฉบับประชาชนมี 2 ประเด็น คือ
หนึ่ง ตัวหลักการของร่างที่ระบุว่า “ให้มีกฎหมายว่าด้วยนิรโทษกรรมแก่ประชาชนซึ่งได้กระทำความผิดต่อความสงบเรียบร้อยหรือต่อความมั่นคงของราชอาณาจักร อันเนื่องมาจากเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง” นับแต่การรัฐประหาร 19 กันยายน 2549
สอง มาตรา 3 (4) ระบุว่า “การกระทำใด ๆ หรือการตระเตรียมการของผู้ใด ทั้งผู้ชุมนุมและผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วมชุมนุม โดยมุ่งต่อการประทุษร้ายผู้อื่นโดยใช้อาวุธ ให้บุคคลนั้นยังคงมีความผิดตามกฎหมาย” และ “การกระทำใด ๆ หรือการตระเตรียมการของผู้ใด ทั้งผู้ชุมนุมและผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วมชุมนุม อันมุ่งต่อการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน หรือกระทำผิดต่อทรัพย์ เช่น การวางเพลิงเผาทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ลักทรัพย์ อันเป็นของเอกชน ให้บุคคลนั้นยังคงมีความผิดตามกฎหมาย” (ส่วนที่เน้นเป็นของผู้เขียน)
คำถามคือ ข้อหาบุกรุกและเผาสถานที่ราชการ ฯลฯ เข้าข่ายความผิดต่อความมั่นคงของราชอาณาจักรหรือไม่ หรือจะถูกศาลตีความว่าเป็นคดีอาญาเท่านั้น หากในขั้นแปรญัตติสามารถโต้แย้งและระบุให้ชัดเจนว่าเข้าข่าย ก็จะเป็นการดี แต่หากปล่อยให้ศาลเป็นผู้ตีความว่าข้อหาใดบ้างที่เข้าข่าย ก็เชื่อว่าผลร้ายจะเกิดแก่นักโทษการเมืองเสื้อแดงอย่างแน่นอน
นักโทษการเมืองมาตรา 112 เป็นกลุ่มที่เข้าข่ายความผิดต่อความมั่นคงแน่นอน แต่ก็เป็นที่ชัดเจนว่าพวกเขาจะถูกกีดกันจากพรรคประชาธิปัตย์ ส่วนพรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาลก็จะพากันหัวหดต่อกรณีนี้อย่างไม่ต้องสงสัย
ปัญหาไม่ได้มีเพียงแค่นี้  คนจำนวนไม่น้อยเข้าใจผิดว่าผู้ต้องขังเสื้อแดงที่อุบลฯ และอุดรฯ มีความผิดข้อหาเผาสถานที่ราชการเท่านั้น ผู้ที่มีส่วนร่าง พรบ.ฉบับประชาชนก็ดูจะเข้าใจเช่นเดียวกัน จึงระบุให้เอาผิดเฉพาะกับผู้ที่เผาทำลายทรัพย์สินของเอกชนเท่านั้น ซึ่งเท่ากับยกเว้นการเผาทำลายสถานที่ราชการ (กระนั้นก็ตาม เรื่องการเผาสถานที่เอกชน ก็เป็นปัญหาเช่นกัน จะกล่าวถึงในภายหลัง) แต่จริงๆ แล้วพวกเขาถูกพิพากษาให้มีความผิดหลายข้อหามาก ดังข้อมูลต่อไปนี้
1.     กรณีอุดรธานี – นายอาทิตย์ ทองสาย จำคุก 20 ปี, นายกิตติพงษ์ ชัยกัง จำคุก 10 ปี 3 เดือน, นายเดชา คมขำ จำคุก 20 ปี 6 เดือน, นายบัวเรียน แพงสา จำคุก 20 ปี 6 เดือน และแต่ละคนต้องชดใช้ค่าเสียหายอีกคนละตั้งแต่ 31-47.3 ล้านบาท
นอกจากข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินและวางเพลิงที่ว่าการอำเภอแล้ว ทั้ง 4 คนนี้ ยังมีความผิดฐานก่อความวุ่นวาย + บุกรุกโดยมีอาวุธ + และทำให้เสียทรัพย์ (รถดับเพลิง)
2.     กรณีอุบลราชธานี - น.ส.ปัทมา มูลมิล,นายธีรวัฒน์ สัจสุวรรณ, นายสนอง เกตุสุวรรณ์, นายสมศักดิ์ ประสานทรัพย์ ทั้ง 4 คนนี้ศาลตัดสินจำคุกตลอดชีวิต แต่ลดให้คนละ 1 ใน 3 เหลือ 34 ปี
นอกจากความผิดฐานฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และวางเพลิงเผาศาลากลางอุบลราชธานี ศาลตัดสินให้พวกเขามีความผิดฐานก่อความวุ่นวาย + กีดขวางทางจราจร + และทำให้เสียทรัพย์ของเอกชน (ร้านค้าเอกชนในพื้นที่ศาลากลางถูกเพลิงไหม้ไปด้วย)
ต่อให้ตัดข้อหาเผาศาลากลางและ พ.ร.ก.ฉุกเฉินออกไป นักโทษจากอุดรฯและอุบลฯ ก็อาจต้องโทษจำคุกอีกคนละหลายปี
3.    กรณีนายประสงค์ มณีอินทร์ และนายโกวิทย์ แย้มประเสริฐ จำคุกคนละ 11 ปี 8 เดือน ปรับ 6,100 บาท ในฐานความผิดฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน + มีวัตถุระเบิดและเครื่องวิทยุชนิดมือถือโดยไม่ได้รับอนุญาต + พกพาวัตถุระเบิดและอาวุธต่าง ๆ + ปล้นทรัพย์
4.    นายคำหล้า ชมชื่น จำคุก 10 ปี มีความผิดฐานปล้นปืน (เอ็ม 16) จากเจ้าหน้าที่ทหาร 2 กระบอก บริเวณซอยหมอเหล็ง (แท้จริงคือการรุมล้อมรถทหารที่เข้ามาบริเวณสี่แยกดินแดง มีการแย่งปืนและดึงทหารลงจากรถ)
5.    นายบัณฑิต สิทธิทุม จำคุก 38 ปี มีความผิดฐานก่อการร้าย + พกพาอาวุธปืนกล + มีวัตถุระเบิด + ใช้และครอบครองเครื่องยิงจรวดจำคุก (ใช้อาร์พีจียิ่งใส่ ก.กลาโหม) + ใช้เอกสารราชการปลอม (แผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ปลอม) + พกพาอาวุธปืนไปในเมืองหมู่บ้านโดยไม่มีเหตุอันควร
6.    คดีผู้หญิงยิง ฮ. – คดีนี้มีจำเลย 3 คน คือ 1.นางนฤมล หรือจ๋า วรุณรุ่งโรจน์ 2. นายสุรชัย นิลโสภา 3. นายชาตรี ศรีจินดา ถูกฟ้องข้อหาร่วมกันมีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด สิ่งเทียมอาวุธ และปลอมแปลงเอกสารราชการ
ศาลชั้นต้นยกฟ้องทั้งสามคน แต่อัยการอุทธรณ์จำเลยที่ 1 (นางนฤมล) ส่วนจำเลยที่ 2 เสียชีวิต และไม่อุทธรณ์จำเลยที่ 3 หากร่าง พ.ร.บ.ฯฉบับประชาชนผ่านสภา นางนฤมลก็ยังต้องถูกดำเนินคดีต่อไป
7.    คดีเผาเซ็นทรัลเวิร์ล – แม้ว่าศาลชั้นต้นจะยกฟ้องนายสายชล แพบัว และนายพินิจ จันทร์ณรงค์ ไปแล้วก็ตาม แต่อัยการตัดสินใจอุทธรณ์คดีนี้ต่อไป
จากข้อมูลบางส่วนข้างต้นนี้ ชี้ให้เห็นว่านักโทษการเมืองเสื้อแดงจำนวนมากอาจไม่ได้ประโยชน์จากร่างนิรโทษกรรมฉบับประชาชน  ต่อให้ร่างฯ นี้ผ่านสภา ก็ต้องมาไล่ดูทีละคดีว่าใครบ้างที่จะเข้าข่ายได้รับนิรโทษกรรม ซึ่งแน่นอนว่าภาระหน้าที่นี้จะตกอยู่ที่ศาล 
อันที่จริง เจตนารมณ์ที่ต้องการแยกผู้ที่กระทำผิดจริงออกจากการนิรโทษกรรมนั้น เป็นหลักการที่ดี เราอาจไม่ต้องมีการนิรโทษกรรมใครๆ เลย หากระบบตุลาการในประเทศนี้ทำให้เราเชื่อมั่นในความยุติธรรมได้จริง แต่ที่ผ่านมาเราล้วนประจักษ์กับความพิกลพิการของกลไกความยุติธรรมกันเป็นอย่างดี จนไม่สามารถรับเอาคำตัดสินข้างต้นมาเป็นเกณฑ์ว่าใครบ้างจะได้รับนิรโทษกรรม

ที่มา:เว็บประชาไทย
[Continue reading...]

เปิดตัวตนคนดังโลกออนไลน์ มอร์ไซด์อินเตอร์ "เดชชาติ พวงเกษ"

- 0 comments


นช่วงเปิดตัวตนคนดังโลกออนไลน์ วันนี้(19ก.ค.56) มาพบกับ คุณจ้อน เดชชาติ พวงเกษ พี่วินมอเตอร์ไซค์อินเตอร์ใน ย่านสุขุมวิท ที่สามารถพูดภาษาอักกฤษได้ และเป็นผู้ที่เคยรายงานข่าวในโลกออนไลน์ หลายคน คงจะคุ้นๆ กัน ในทีวี ซึ่งหลายคนให้ความสนใจเป็นอย่างมาก 
[Continue reading...]

"จตุพร" ลั่น นิรโทษฯ ต้องเข้าสภาวาระแรก

- 0 comments
 
"จตุพร พรหมพันธุ์" ยังยัน เปิดสภาฯ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ต้องอยู่วาระแรก ไม่เชื่อ เลขาฯนายกรัฐมนตรี จะให้ข่าวนำพ.ร.บ.งบประมาณตัดหน้าเข้าสภาก่อน ด้าน "อำนวย" ยันร่างนิรโทษ-งบปี57ไม่เข้าวาระแรก ขณะ 24 ก.ค."วราเทพ" ร่วมประชุมด้วย
 
นายจตุพร พรหมพันธุ์ ว่าที่ประธาน นปช. เปิดเผย ถึงกรณีกระแสข่าวที่ นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ให้ข่าวว่า รัฐบาลจะนำ พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2557 เข้าสภา ตัดหน้า พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ว่า ตนไม่เชื่อว่า เลขาธิการนายกรัฐมนตรี จะให้ข่าวเช่นนั้น เพราะจนถึงขณะนี้ การพิจารณา พ.ร.บ.งบประมาณปี 2557 ยังไม่แล้วเสร็จ และวิปฝ่ายรัฐบาลก็ยังไม่ได้มีการหารือ เพื่อหาข้อสรุป โดยจะมีการประชุม ในวันที่ 24 ก.ค.นี้ รวมไปถึงการประชุมพรรคเพื่อไทย ที่จะมีขึ้น ในวันที่ 30 ก.ค. 2556 นั้น มีข้อตกลงกันภายในพรรคแล้ว ว่า จะนำวาระการพิจารณา พ.ร.บ. 3 ฉบับ คือ พ.ร.บ.งบประมาณปี 2557 พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท และ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เข้าสู่การพิจารณาของพรรคด้วย ซึ่งจากการพูดคุยกันนอกรอบนั้น สมาชิกพรรคส่วนใหญ่ยังยืนยันสนับสนุนที่จะให้นำ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เข้าเป็นฉบับแรก ตามกำหนด
 
นายจตุพร กล่าวว่า "ผมไม่เชื่อว่า เลขาฯนายกฯ จะพูดอย่างนั้น เพราะขั้นตอนก่อนที่จะนำ พ.ร.บ.ฉบับอื่นตัดหน้า พ.ร.บ.นิรโทษกรรมนั้น เป็นไปได้ยาก เพราะมีหลายขั้นตอนที่จะพิจารณาร่วมกันของพรรค โดยส่วนตัวแล้ว มีความเชื่อมั่นเต็มร้อยว่าพ.ร.บ.นิรโทษกรรม จะอยู่ในวาระเดิม" 
[Continue reading...]

บัญญัติ "ขีดเส้น" DSI 1 สัปดาห์ยุติเรื่องเงินบริจาคเข้าพรรค ไม่งั้นเจอแน่

- 0 comments

วันนี้ (19 ก.ค.) ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายบัญญัติ บรรทัดฐาน กรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่าหลังคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)มีมติว่าการบริจาคเงินเข้าพรรคของส.ส.โดยหักเงินเดือนไม่ผิดกฎหมาย ทางพรรคได้ส่งเรื่องดังกล่าวไปยังกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอเพื่อให้ยุติการดำเนินการกับส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ที่ใช้วิธีการบริจาคเงินให้พรรคโดยหักเงินจากบัญชีเงินเดือน เพราะถือว่ากกต.เป็นผู้รักษาการตามพ.ร.บ.พรรคการเมือง ที่ดีเอสไอจะต้องปฏิบัติตาม ดังนั้นหลังจากนี้จะให้เวลาดีเอสไอภายใน 1 สัปดาห์ หากยังไม่ยอมทบทวนการสอบดังกล่าว หรือยังยืนยันจะเรียกส.ส.ของพรรคไปรับทราบข้อกล่าวหา ตนก็จะนำเอกสารไปยื่นต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ให้ดำเนินการกับดีเอสไอ ฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ซึ่งขณะนี้ได้มีการเตรียมเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ไว้เรียบร้อยแล้ว ส่วนการฟ้องร้องดำเนินคดีอาญานั้นก็ยังจะไม่มีการดำเนินการเช่นกัน เนื่องจากเห็นว่าการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ สามารถเอาผิดได้จากการยื่นต่อป.ป.ช.อยู่แล้ว

นายบัญญัติ กล่าวอีกว่า ตนรู้สึกเป็นห่วงว่าจะเกิดความวุ่นวายหลังเปิดสมัยประชุมรัฐสภา เนื่องจากมีร่างกฎหมายที่อยู่ในข่ายที่จะต้องถูกต่อต้านหรือเรียกว่า "กฎหมายเรียกแขก" รอการพิจารณาในที่ประชุมอยู่หลายฉบับ ซึ่งรัฐบาลสามารถระงับความรุนแรงของปัญหาได้ โดยการยุติการผลักดันกฎหมายเหล่านั้นไปก่อน แล้วอะไรที่มีขั้นตอนในการดำเนินการ อาทิ การทำเรื่องความปรองดอง ก็สามารถจัดสานเสวนา โดยนำทุกฝ่ายมาพูดคุยหาทางออก หรือกรณีโครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท ก็ควรทำตามคำวินิจฉัยของศาลปกครอง รวมถึงกรณีเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ก็ควรจะยึดแนวของโครงการ 3.5 แสนล้านบาท เชื่อว่าหากทำได้ จะทำให้บรรยากาศที่ร้อนในบ้านเมืองเย็นลงได้.
[Continue reading...]

โพลชี้วัยรุ่นไทยอยากชวน 'นายกปู' ไปทำบุญวันอาสาฬหบูชา

- 0 comments

มศว โพล ระบุ วัยรุ่นไทยอยากชวนนายกฯ ปู ไปทำบุญวันอาสาฬหบูชามากสุด
เมื่อวันที่ 19 ก.ค. มีรายงานว่า "มศว โพล" มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สำรวจความคิดเห็นเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นไทยที่อยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 1
,073 คน เรื่อง วัยรุ่นกับ วันอาสาฬหบูชาสรุปผลดังนี้ ร้อยละ 75.21 รู้ ว่า วันอาสาฬหบูชาตรงกับวันที่ 22 กรกฎาคม หรือขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปีเพราะในปฏิทินมีบอกไว้ทางโรงเรียนมีการจัดกิจกรรมเคยเรียนมา ฯลฯ ส่วน ร้อยละ 24.79 ไม่รู้ เพราะ ไม่ได้สนใจ จำไม่ได้ไม่มีใครบอก ฯลฯ เมื่อถามถึงความสำคัญของวันอาสาฬหบูชา พบว่า ร้อยละ 51.91 รู้ ว่าคือ วันที่สมเด็จพระพุทธเจ้าได้แสดงพระปฐมเทศนาหรือแสดงพระธรรมครั้งแรก ให้กับปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ฯลฯ ขณะที่ ร้อยละ 48.09 ไม่รู้ เพราะ จำประวัติความเป็นมาไม่ได้ สับสน มีวันสำคัญทางศาสนาหลายวันฯลฯ

เมื่อถามว่ามีความคิดหรือตั้งใจที่จะทำบุญใส่บาตรใน
วันอาสาฬหบูชาหรือ ไม่ ร้อยละ 73.53 คิดที่จะทำบุญตักบาตร ร้อยละ 21.25 ไม่แน่ใจและร้อยละ 5.22 ไม่คิดจะทำ เมื่อถามว่า ถ้ามีโอกาสไปทำบุญใน วันอาสาฬหบูชา” “วัยรุ่นจะชวนใครไปด้วย ร้อยละ 73.45 ระบุว่า พ่อแม่ และคนในครอบครัว รองลงมา ร้อยละ 11.83 เพื่อน ร้อยละ 9.62 แฟน/คนรัก และ ร้อยละ 5.10 ญาติผู้ใหญ่ที่นับถือเมื่อถามว่า ถ้าเป็น นักการเมืองใครที่ วัยรุ่นอยากชวนไปทำบุญใส่บาตรด้วยมากที่สุดพบว่า ร้อยละ 44.12 นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รองลงมา ร้อยละ 25.05 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ร้อยละ 15.41 นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ร้อยละ 8.67 ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง และ ร้อยละ 6.75 นายชวน หลีกภัย อย่างไรก็ตาม ผลวิจัยระบุว่า วัยรุ่น ร้อยละ 47.16 ไม่ค่อยให้ความสำคัญ กับวันอาสาฬหบูชา เพราะวัยรุ่นในปัจจุบันสนใจแต่เรื่องสนุกเฮฮา ห่างไกลวัดไม่ได้รับการปลูกฝังเท่าที่ควร ฯลฯ ร้อยละ 38.28 ค่อนข้างให้ความสำคัญ เพราะทั้งที่บ้านและสถานศึกษายังให้ความสำคัญและสอนให้รู้จักศรัทธาเชื่อมั่นในพุทธศาสนา ฯลฯ ร้อยละ 11.91 ให้ความสำคัญมากเพราะเราเป็นคนไทย เป็นชาวพุทธต้องเคารพนับถือศาสนาพุทธพ่อแม่ปู่ย่าตายายปลูกฝังมาตั้งแต่เด็ก ฯลฯ และร้อยละ 2.65 ไม่ให้ความสำคัญ เพราะ วันไหนๆก็เหมือนกันขึ้นอยู่กับความคิดและการกระทำของตัวเราเองมากกว่า ฯลฯ

ที่มา :ไทยรัฐ
[Continue reading...]

ปปช. ซัดปัญหาทุจริตจำนำข้าว เผย แนะวิธีแก้ไปแล้ว แต่ตอบสนองไม่เต็มที

- 0 comments



ปปช. ซัดปัญหาทุจริตจำนำข้าว รัฐบาล ยิ่งลักษณ์  “ไม่ลด” ทั้งระดับนโยบาย-ปฏิบัติ   เผย
แนะวิธีแก้ไปแล้ว แต่ตอบสนองไม่เต็มที โดยเฉพาะการเปิดข้อมูลระบายข้าวในสต็อก 


 เว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้เผยแพร่รายงานผลการติดตามและข้อเสนอแนะการดำเนินงานโครงการรับจำนำข้าว ที่ ป.ป.ช. นำเสนอให้รัฐบาล พิจารณา  ทั้งในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีและ สมัยรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี

ทั้งนี้ ในรายงานฉบับดังกล่าว  ป.ป.ช. ระบุถึงการดำเนินงานโครงการรับจำนำข้าว สมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ว่า หลังจากที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี แจ้งยืนยันผลการศึกษาวิจัยมาตรการแทรกแซงตลาดข้าวเพื่อป้องกันการทุจริต และข้อเสนอแนะที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้เสนอต่อคณะรัฐมนตรี ซึ่งชี้ให้เห็นถึงปัญหาและความเสียหายอันเกิดจากนโยบายแทรกแซงตลาดข้าวด้วยวิธีการรับจำนำไปยังรัฐบาลแล้ว
คณะอนุกรรมการฯ ป.ป.ช. ได้ดำเนินการศึกษา ติดตาม และเฝ้าระวังการทุจริตตามนโยบายแทรกแซงตลาดข้าวด้วยวิธีการรับจำนำของรัฐบาลอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง โดยได้เชิญผู้แทนจากส่วนราชการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินนโยบายการรับจำนำข้าวของรัฐบาล ผู้แทนจากองค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการค้าขายข้าว และส่งออก มาชี้แจงให้ข้อเท็จจริง รวมทั้ง จากพฤติการณ์ที่ปรากฏต่อสาธารณะทางสื่อมวลชนต่าง ๆ แล้ว
พบว่าการดำเนินโครงการแทรกแซงตลาดข้าวด้วยวิธีการรับจำนำของรัฐบาลปัจจุบัน ยังคงก่อให้เกิดปัญหาในด้านต่าง ๆ อย่างมากมายอยู่เช่นเดิมดังเช่นในอดีตที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาการทุจริตทั้งในเชิงนโยบาย และในส่วนของขั้นตอน และกระบวนการในการดำเนินโครงการ
ป.ป.ช. ยังระบุด้วยว่า อย่างไรก็ตาม หากรัฐบาลยังคงต้องดำเนินโครงการดังกล่าวต่อไป เนื่องจากเป็นนโยบายหลักที่สำคัญ ซึ่งได้หาเสียงไว้กับประชาชนและแถลงต่อรัฐสภา ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกบังเกิดประโยชน์แก่เกษตรกรที่ได้เพาะปลูกข้าวจริงและสุจริต เกิดความเป็นธรรมแก่เกษตรกร รวมทั้งเป็นการป้องกันการทุจริตและป้องกันมิให้การดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกก่อให้ความสูญเสียด้านงบประมาณที่อาจจะเกิดขึ้นได้ และมีผลกระทบต่อการแข่งขันการส่งออกข้าวไทย
 เห็นสมควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการ ดังนี้
1. การดำเนินการตามนโยบายยกระดับราคาข้าว
 คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ควรได้พิจารณา
1) กำหนดราคารับจำนำข้าวเปลือกแต่ละชนิดให้เหมาะสมสอดคล้องกับต้นทุนการผลิตที่เกษตรกรแบกรับภาระอยู่ โดยอยู่บนพื้นฐานของความสมเหตุสมผล และไม่บิดเบือนกลไกตลาด
2) มุ่งเน้นช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวอย่างแท้จริง โดยมอบหมายให้หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบพิจารณาแนวหาทางช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการลดต้นทุนการผลิตข้าว
3) ให้รัฐบาลติดตามและประเมินผลโครงการฯ อย่างเป็นรูปธรรม โดยอาจให้องค์กรเอกชนศึกษาถึงผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินโครงการรับจำนำ แล้วนำมาพัฒนา ปรับปรุง และแก้ไขให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
2. การดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือก
(1) การขึ้นทะเบียนและรับรองเกษตรกร
1) นอกเหนือจากการกำหนดให้มีกระบวนการทำประชาคม และให้ผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรับรองเกษตรกรแล้ว ให้กรมส่งเสริมการเกษตรพิจารณาให้มีและนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประโยชน์ในการขึ้นทะเบียนและรับรองเกษตรกรอีกทางหนึ่งด้วย เพื่อให้เฉพาะเกษตรกรที่เพาะปลูกข้าวจริงและสุจริตที่จะได้ได้รับประโยชน์จากการดำเนินตามนโยบายของรัฐบาล
2) กำหนดให้มีมาตรการลงโทษที่เหมาะสมและจริงจังกับเกษตรกรที่ไม่สุจริต
สำหรับการระบายข้าวสารจากคลังสินค้าของรัฐบาล ป.ป.ช. ระบุว่า 1) เพื่อมิให้ข้าวที่ได้มาจากการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปี 2554/55 ก่อให้เกิดความสูญเสียงบประมาณของรัฐเป็นจำนวนมาก ที่มีผลเนื่องมาจากการเก็บรักษาข้าวเป็นเวลานาน ข้าวเกิดความเสียหาย เสื่อมคุณภาพ สูญเสียน้ำหนัก และเป็นการป้องกันการทุจริตที่อาจเกิดขึ้นได้ จึงเป็นการสมควรที่มอบหมายให้หน่วยงานที่รับผิดชอบหรือที่เกี่ยวข้อง กำหนดให้มีแผนการบริหารจัดการการระบายข้าวที่เก็บรักษาไว้ในโกดังกลางอย่างเป็นระบบ  การปิดบัญชีโครงการฯ พร้อมทั้งให้รายงานผลการดำเนินการหรือที่ไม่สามารถไม่ดำเนินการให้เป็นไปตามแผนดังกล่าวได้ ให้คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) พิจารณาโดยเร็ว และต่อเนื่อง
2) หลักเกณฑ์ วิธีการ และรายละเอียดในการดำเนินการ และผลของการระบายหรือขายข้าวที่อยู่ในคลัง หรือโกดังกลางที่อยู่ในความดูแลขององค์การคลังสินค้า (อ.ค.ส.) หรือองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) ให้ประกาศโดยเปิดเผยเป็นที่ทราบแก่บุคคลทั่วไป และดำเนินการด้วยความโปร่งใส
3. คณะรัฐมนตรีในคราวประชุมปรึกษาเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2555 ได้พิจารณาและยืนยันว่า การดำเนินการโครงการรับจำนำข้าวเปลือกมีวัตถุประสงค์ที่เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรในการยกระดับราคาพืชผลทางการเกษตร รวมทั้งเป็นการยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตให้แก่เกษตรกรในชนบทตามแนวนโยบายที่รัฐบาลได้แถลงต่อรัฐสภาทุกประการ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ยืนยันว่าการดำเนินโครงการดังกล่าวมีมาตรการและกลไกในการควบคุมกำกับดูแลให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการทุกประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีระบบการตรวจสอบให้การดำเนินการเป็นไปด้วยความโปร่งใสและตรวจสอบได้
แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การดำเนินโครงการทั้งในระดับพื้นที่และในระดับปฏิบัติการมีประสิทธิภาพและป้องกันการทุจริต คณะรัฐมนตรีจึงมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง) สั่งการให้หน่วยงานในกำกับ ดำเนินการตรวจสอบเพื่อป้องกันการทุจริตในระดับปฏิบัติ โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงพาณิชย์ ให้ความร่วมมือ หากตรวจสอบพบกรณีทุจริตให้ดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดต่อไป
4. การสนองตอบของรัฐบาลต่อข้อเสนอแนะของ ป.ป.ช. รัฐบาลก็ได้มีการดำเนินการไปหลายส่วน  อาทิ กำหนดราคารับจำนำข้าวเปลือกแต่ละชนิดให้เหมาะสมสอดคล้องกับต้นทุนการผลิตที่เกษตรกรแบกรับภาระอยู่ การมุ่งเน้นช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวอย่างแท้จริง โดยมอบหมายให้หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบพิจารณาแนวหาทางช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการลดต้นทุนการผลิตข้าว การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประโยชน์ในการขึ้นทะเบียนและรับรองเกษตรกร เพื่อให้เฉพาะเกษตรกรที่เพาะปลูกข้าวจริงและสุจริตที่จะได้ได้รับประโยชน์จากการดำเนินตามนโยบายของรัฐบาล ฯลฯ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ประการสำคัญ คือ ในเรื่องของการระบายข้าวสารจากคลังสินค้าของรัฐบาล โดยให้หน่วยงานที่รับผิดชอบหรือที่เกี่ยวข้อง กำหนดให้มีแผนการบริหารจัดการการระบายข้าวที่เก็บรักษาไว้ในโกดังกลางอย่างเป็นระบบ  การปิดบัญชีโครงการฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลักเกณฑ์ วิธีการ และรายละเอียดในการดำเนินการ และผลของการระบายหรือขายข้าวที่อยู่ในคลัง หรือโกดังกลางที่อยู่ในความดูแลขององค์การคลังสินค้า (อ.ค.ส.) หรือองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) ให้ประกาศโดยเปิดเผยเป็นที่ทราบแก่บุคคลทั่วไป และดำเนินการด้วยความโปร่งใส รัฐบาลยังสนองตอบได้ไม่เต็มที่เท่าที่ควร

[Continue reading...]
 
Copyright © . Yak Ratchaprasong - Posts · Comments
Theme Template by BTDesigner · Powered by Blogger