Monday, September 9, 2013

คลิป อภิสิทธิ์ ปราศรัยด่านายก "ปู" ว่า อีโง่

- 0 comments
จาก กรณีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวปราศรัยเวทีประชาชนเดินหน้าผ่าความจริง ที่วัดดอกไม้ ยานนาวา เมื่อค่ำวันที่ 7 กันยายน 2556 ที่ผ่านมา ระบุถึง นางสาว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ไปเปิดโครงการ สมาร์ทเลดี้ และช่วงหนึ่ง กล่าวถึงนายกรัฐมนตรีว่าไปทำโครงการนี้ ทำไมต้องทำ ทำไมต้องหาผู้หญิงฉลาด ทำไมต้องประกวดผู้หญิงฉลาด เพราะว่าเขาบอกว่า ถ้าแข่งขันหา "อีโง่" ไม่มีใครไปแข่งได้

[Continue reading...]

เอแบคโพลล์ เผย ถ้ามีการเลือกตั้ง 44.6 เลือกพรรคเพื่อไทย 22.9 เลือกพรรคประชาธิปัตย์

- 0 comments
เอแบคโพลล์เผยประชาชนร้อยละ 44.6 ยังมั่นใจเลือกพท.ถ้าวันนี้่เป็นวันเลือกตั้ง ส่วนอีกร้อยละ22.9 เลือกปชป. ขณะที่ร้อยละ 83.7 ยังเชื่อมั่นระบอบปชต. ด้านร้อยละ 61.2 ชี้ไม่มีพรรคการเมืองที่ลงไปคลุกคลีชาวบ้านในถิ่นทุรกันดาร
คลิกดูรายละเอียดของข่าวเพิ่มเติม จากเดลินิวส์
เมื่อวันที่ 8 ก.ย. นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลการสำรวจเรื่อง “ความนิยมของสาธารณชนต่อพรรคการเมือง ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง” จากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 17 จังหวัด ระหว่างวันที่ 30  สิงหาคม – 7 กันยายน  ว่าเมื่อสอบถามถึงประสบการณ์การได้รับความช่วยเหลือ ลดความเดือดร้อนจากนักการเมืองฝ่ายต่างๆ พบว่าร้อยละ 68.5 ระบุว่าไม่เคยได้รับการช่วยเหลือจากนักการเมืองฝ่ายใดเลย ส่วนร้อยละ 53.9 ระบุไม่รับรู้เลยว่ามีพรรคการเมืองที่จะแสดงออกซึ่งความรักชาติ รักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ อย่างไรก็ตามร้อยละ 64.1 ระบุความร่ำรวยของนักการเมืองทำให้เกิดความเชื่อมั่นศรัทธาต่อนักการเมืองน้อยถึงไม่มีเลย ขณะที่อีกร้อยละ 35.9 ทำให้เชื่อมั่นมากถึงมากที่สุด
นายนพดล กล่าวต่อว่า ที่น่าเป็นห่วงก็คือร้อยละ 61.2 ระบุไม่มีพรรคการเมืองใดลงไปคลุกคลีความยากลำบากของชาวบ้านในถิ่นทุรกันดาร ร้อยละ 48.9 รับรู้ถึงพฤติกรรมที่เสื่อมเสียไม่เป็นแบบอย่างที่ดีต่อเด็กและเยาวชนของนักการเมืองฝ่ายค้าน ในขณะที่กลุ่มร้อยละ45.7 ระบุฝ่ายรัฐบาล ที่น่าสนใจคือร้อยละ 83.7 ยังคงเชื่อมั่นมากถึงมากที่สุดต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยถึงแม้จะมีนักการเมืองที่ไม่เป็นแบบอย่างที่ดี ขณะที่ร้อยละ 16.3 เชื่อมั่นน้อยถึงไม่เชื่อมั่นเลย และถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง ผลวิจัยพบว่าความนิยมต่อพรรคเพื่อไทย (พท.)อยู่ที่ร้อยละ 44.6  สำหรับพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.)ร้อยละ 22.9  ส่วนที่เหลือกระจายไปยังพรรคการเมืองอื่นๆ.
[Continue reading...]

เกม "แตกหัก" ยื่นข้อเสนอ "ป่วน" สู่"วิกฤต"ของ"วิกฤต"?

- 0 comments
เกมการเมืองทั้งในและนอกสภาดำเนินไปแบบน่าหวาดเสียว
คลิกดูรายละเอียด บทวิเคราะห์ และข่าวอื่น ๆจากนสพ.มติชน

หลังจากพรรคประชาธิปัตย์เปิดหน้าเปิดตัวส่งสัญญาณเคลื่อนไหวทั้งในและนอกสภา เพื่อโค่นระบอบทักษิณแล้ว ดูเหมือนทุกอย่างจะก้าวไปตามยุทธศาสตร์ที่วางไว้

ทั้งที่ตั้งใจ และไม่ตั้งใจ

เกมในสภานับแต่วันที่พรรคประชาธิปัตย์โบกมือบ๊ายบายม็อบที่มาส่งเข้าสู่รัฐสภา วาระการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับนายวรชัย เหมะ เรื่อยมาถึงการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ การพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯประจำปี 2557 นั้น ดูเหมือนจะยืดเยื้อ วุ่นวาย และเริ่มดีกรีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ

การประชุมสภาผู้แทนราษฎร และการประชุมรัฐสภาแบบไม่ทำตามข้อบังคับ ไม่ฟังประธานการประชุม เสมือนกับการท้าทายให้ประธานในที่ประชุมใช้อำนาจ

ทั้งอำนาจที่ใช้ผ่านค้อน เคาะเพื่อต้องการให้ที่ประชุมสู่ความสงบ

ทั้งอำนาจที่ใช้วิธีการลุกขึ้น เพื่อให้สมาชิกในห้องประชุมหยุดพูดและนั่งลง

ทั้งอำนาจที่เชิญสมาชิกให้ออกนอกห้องประชุม และสั่งให้ "ตำรวจสภา" มาเชิญตัวสมาชิกออกไปนอกห้องประชุม

ทั้งอำนาจปิดการประชุมเพื่อยุติความวุ่นวาย

ผลแห่งการใช้อำนาจทั้งหลายของประธานสภา ทำให้สมาชิกพรรคฝ่ายค้าน และสมาชิกวุฒิสภาบางส่วน นำเอาไปโจมตีขยายผล คล้ายกับว่า ประธานในที่ประชุมใช้อำนาจคุกคามการทำหน้าที่ของสมาชิก
คล้ายกับว่า ประธานในที่ประชุมปิดโอกาสมิให้สมาชิกแสดงความคิดเห็น

ปฏิกิริยาส.ส.ภายในห้องประชุมสภาต่อท่าทีของประธาน จึงมีทั้งโห่ ตะโกนเถียง ท้าทาย กระทั่งล่าสุดถึงขั้นยกเก้าอี้ขึ้นทุ่ม

ทั้งหมดก็เพื่อให้การพิจารณาร่างกฎหมายที่ตัวเองไม่เห็นด้วย แต่เสียงคัดค้านไม่เพียงพอ ไม่ว่าจะเป็น การพิจารณาร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ผ่านไปด้วยความยากลำบาก

และในที่สุด เมื่อร่างกฎหมายผ่านการพิจารณาของรัฐสภาแล้ว สมาชิกรัฐสภาผู้ไม่เห็นด้วยกับร่างกฎหมาย จะเข้าชื่อกันยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ หรือองค์กรอิสระอื่นๆ ที่มีอำนาจ เพื่อยังยั้งร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวอย่างถึงที่สุด

เป็นการใช้สิทธิเต็มเหยียด ตอกย้ำเพื่อให้เห็นว่า ...ไม่เห็นด้วย

ขณะที่ภายนอกสภา โฟกัสไปที่กลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงกรณีราคายางพาราก็มีลักษณะน่าหวาดเสียว เพราะท่าทีของกลุ่มผู้ชุมนุมในระยะหลังก็เป็นข้อเสนออันล่อแหลมที่จะนำไปสู่การแตกหัก

แตกหักเพราะรัฐฯกับกลุ่มผู้ชุมนุมคิดกันคนละอย่าง โดยรัฐบาลเน้นหนักช่วยเหลือการ "ลดราคาต้นทุน" แต่กลุ่มผู้ชุมนุมต้องการให้ช่วยเหลือการ "ประกันราคารับซื้อ"

การเจรจาครั้งแรก เมื่อรัฐบาลยืนยันที่จะยึดแนวทาง "ลดราคาต้นทุน" และยอม "ประกันราคารับซื้อ" ให้ในระดับ 80 บาทต่อกิโลกรัม ปรากฏว่า กลุ่มผู้ชุมนุมส่วนใหญ่ยอมรับ แต่ก็บังเกิดกลุ่มผู้ชุมนุมที่ยื่นข้อเสนอที่ "เป็นไปได้ยาก" คือยืนหยัดที่ราคา 100-120 บาทต่อกิโลกรัม

ความรุนแรงเกิดขึ้นอีกครั้งเมื่อม็อบผู้ชุมนุมที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์บุกยึดถนนเพชรเกษม ปะทะกับตำรวจ และล้อมเจ้าหน้าที่ กระทั่งต้องใช้แก๊สน้ำตาและกำลังเข้าสลายการชุมนุม เมื่อคืนวันที่ 5 ต่อช่วงเช้าวันที่ 6 กันยายน

เหตุการณ์การปะทะทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ และอาสาสมัคร นอกจากนี้ยังมีผู้ถูกควบคุมตัวอีกด้วย

ซึ่งถือว่าได้ขณะนี้สถานการณ์ประเทศกำลังร้อนระอุทั้งในรัฐสภา และนอกรัฐสภา

ความวุ่นวายเช่นนี้เกิดขึ้นนี้ไม่มีสัญญาณใดบ่งบอกว่าจะมีการ "ปรองดอง" กันได้ แม้รัฐบาลจะประกาศ

จัดตั้งสภาปฏิรูปการเมือง แต่จนถึงบัดนี้ยังมืดมน เพราะคู่กรณีอย่างพรรคประชาธิปัตย์ หรือกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ไม่ขอร่วม

อาการเช่นนี้คล้ายกับจะนำไปสู่การ "แตกหัก" แต่ไม่รู้ว่าจะแตกหักเมื่อใด?

การ "แตกหัก" นอกสภา เกิดมาจากกลุ่มผู้ชุมนุม

การ "แตกหัก" ในสภา เกิดมาจากสมาชิกรัฐสภา

มีความเชื่อว่า ถ้าหากสถานการณ์นอกสภาวุ่นวายปั่นป่วน จะเป็นเงื่อนไขให้เกิดปฏิวัติรัฐประหาร

มีความเชื่ออีกว่า หากสมาชิกรัฐสภาส่งเรื่องไปให้องค์กรอิสระพิจารณาดำเนินการรัฐบาล ผลสุดท้ายรัฐบาลจะเพลี่ยงพล้ำ

ฝ่ายที่มีความเชื่อเช่นนี้ จึงขับเคลื่อนสถานการณ์เพื่อไปสู่ความ "แตกหัก"

แต่อย่างไรก็ตาม มีปัจจัยอย่างน้อย 3 ประการที่อาจทำให้ความเชื่อดังกล่าวผิดพลาด

ประการแรก คือ ฝ่ายทหารเข้าใจในสถานการณ์ของโลกปัจจุบันว่า ไม่ยอมรับการปฏิวัติรัฐประหาร แม้การใช้กำลังยึดอำนาจจะทำได้ แต่จะทำให้ประเทศยืนอยู่ในเวทีโลกได้คงลำบาก

ประการที่สอง คือ องค์กรอิสระก็มีการบ้านต้องรักษาความเป็นอิสระขององค์กรให้สังคมได้เห็น การใช้ดุลพินิจที่ทำให้เกิดข้อสงสัยจะสร้างความวุ่นวายให้เกิดขึ้นในอนาคต

ประการที่สาม คือ ทั้งหมดที่เคลื่อนไหว ยังเป็นความเคลื่อนไหวแต่ฝ่ายเดียว กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. ยังไม่เคลื่อนไหว

หากสถานการณ์เลยเถิดไปถึงขั้นเกิดการเพื่อชุมนุมต้านการชุมนุม

ระเทศไทยจะเข้าสู่จุดวิกฤต...หากถึงเวลานั้นทหารอาจออกมา "แอ๊กชั่น" ประเทศก็จะเข้าสู่จุดวิกฤตอีก
ดั
งนั้น เกม "แตกหัก" ที่กำลังดำรงอยู่นี้ อาจนำไปสู่ "วิกฤต" ได้ทุกเมื่อ

สถานการณ์การเมืองที่เกิดขึ้นในขณะนี้ จึงอยู่ในสภาวะที่น่าหวาดเสียวยิ่ง
[Continue reading...]
 
Copyright © . Yak Ratchaprasong - Posts · Comments
Theme Template by BTDesigner · Powered by Blogger