Monday, July 29, 2013

ปั้นมติ มหาชน บนฐาน ความจริง หรือ ความเท็จ

- 0 comments
หากเพียงการ ทำบุญŽ ในวัดพระแก้วยังถูกบิดเบือน สร้างเรื่องว่าล่วงล้ำก้ำเกินต่อการ หมิ่นพระบรมเดชานุภาพŽ และนำไปสู่การจัดทำ ผังล้มเจ้าŽ

คลิป อัลเคด้าŽ ก็ชิล ชิล

เพราะเป้าหมายมีเพียงอย่างเดียวเท่านั้น คือ โค่นรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ล้ม ระบอบทักษิณŽ

ทุกอย่างจริงต้อง รวมศูนย์Ž

เหมือนกับความพยายามในการ นิมิตข่าวŽ ว่า USFDA สั่งกักข้าวไทย แม้จะไม่มีมูลความจริง

เหมือนกับความพยายามโพสต์ สารพิษŽ ในข้าว 5 นาทีตาย

เป้าหมายมีเพียงประการหนึ่ง ประการเดียว เหนียวแน่นและมั่นคง คือ เด็ดหัว น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ให้จงได้

บิดเบือนก็ต้องบิดเบือน

โกหกก็ต้องโกหก สร้างเรื่องเป็นตุเป็นตะขึ้นมาเองก็ทำได้ การทำคลิปเหมือนทำพิธีฟัตวา เจอที่ไหน ฆ่าที่นั่น จึงเป็นเรื่องเล็กจ้อย

ทำได้หมดทุกอย่าง ขอให้ชนะ

นํ้าเสียงของขบวนการต่อต้านรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไม่ว่า นายสมชาย แสวงการ ไม่ว่า นายคมสัน โพธิ์คง ไม่ว่า นายสุเทพ เทือกสุบรรณ

ร้องเพลงเดียวกัน

แม้กระทั่งร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมที่ นายวรชัย เหมะ และ นายสมคิด เชื้อคง พยายามหดเป้าให้หดแคบ

แยกแกนนำออก แยก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ออก

ให้เหลือเพียง มวลชนŽ อันเข้าร่วมการเคลื่อนไหวด้วยความบริสุทธิ์และจริงใจ ไม่ว่าเหลือง ไม่ว่าแดง

พลันที่ปรากฏในวาระของการประชุมสภาก็ถูกเหมารวม

เหมารวมไปถึงขนาดที่ว่า ไม่เคารพอำนาจตุลาการ ไม่เคารพคำพิพากษาของศาลสถิตยุติธรรม

ร้ายแรงกว่าการรัฐประหารŽ

เพียงเพราะต้องการขยายภาพของร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมให้เลวร้าย เพียงเพราะต้องการปลุกระดมสร้างความไม่พอใจ เพื่อที่จะให้มวลชนแพคกระเป๋าเข้าร่วมการเคลื่อนไหว ก่อเป็นกระแสต้านร่างกฎหมาย ร่างรัฐบาล

โค่น น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

หากประเมินจาก น้ำเสียงŽ ของ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ประสานเข้ากับการปิดลับในทางยุทธวิธีของกองทัพประชาชน

ศึกที่เริ่มจาก 4 สิงหาคม เป็น สงครามยืดเยื้อŽ

ถ้าสู้ในสภาไม่ไหวคราวนี้จะเป่านกหวีดยาว ไม่เลิกŽ เป็นสำทับบนเวทีผ่าความจริง สวนเบญจสิริ

เป่ากันไปทั้งเดือนŽ

เดือนสิงหาคมจึงเท่ากับเป็นการจุดเริ่มต้นของการเป่านกหวีด และจะต่อเนื่องยาวนานไปจนถึงเดือนกันยายน ตุลาคม

สัมผัสได้จาก พัฒนาการŽ ของการเคลื่อนไหว

นั่นก็คือ การเริ่มของ กองทัพประชาชนŽ โดยขบวนการหน้ากากขาว แล้วก็ยกระดับขึ้นเป็น กองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณŽ

โดย คณะเสนาธิการร่วมŽ ประสานเข้ากับเวที ผ่าความจริงŽ

จากแยกราชประสงค์ไปยังสนามม้านางเลิ้ง และ 4 มุมเมืองในลักษณะสะสมปริมาณอันเหมือนกับ หยาดฝนย้อย หยาดฟ้า มาสู่ดิน ประมวลสิ้นเป็นมหาสาครใหญ่ เป้าหมายก็คือการสร้างกระแส ไทยสปริงŽ ให้จงได้

โปรดอย่ารอคอย แต่พึงติดตาม

พรรคการเมืองกับการสร้างขบวนการประชาชนเพื่อนำไปสู่มติทางการเมืองเป็นเรื่องจำเป็น

ปมเงื่อนอยู่ที่ว่าการก่อรูปของมติทางการเมืองวางอยู่บนพื้นฐานอย่างไร บนพื้นฐานของความเป็นจริง หรือบนพื้นฐานของการบิดเบือน สร้างเรื่อง ปั้นน้ำเป็นตัว

เป็นปราสาทจริง หรือเป็นปราสาททราย

ที่มา : มติชน
[Continue reading...]

ข้ามไม่พ้น "ทักษิณ"

- 0 comments
คำตอบ การเมือง เห็นผ่าน การเลือกตั้ง การชุมนุม มวลชน
ลักษณะการปล่อยคลิปกลุ่มอัลไคด้าประกาศพร้อมสังหาร พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ลักษณะการปราศรัยเวที ผ่าความจริง ของพรรคประชาธิปัตย์

 2  อย่างนี้สะท้อนลักษณะ ร่วม ทางการเมือง

1 เป็นลักษณะ ร่วม อันยืนยันว่ามีความพร้อมอย่างเต็มเปี่ยมที่จะทำอะไรก็ได้ พูดอะไรก็ได้โดยไม่คำนึงถึงความเป็นจริง

ขอเพียงอย่างเดียวคือ 1 ทำลายล้าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้จงได้

เห็นได้จากร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมที่พรรคประชาธิปัตย์นำมาปราศรัยบนเวทีน่าสงสัยว่าจะมิได้เป็นร่างเดียวกันกับฉบับที่ นายวรชัย เหมะ เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร

หากแต่เป็น จินตนาการ ของพรรคประชาธิปัตย์

เห็นได้จากคลิปที่อ้างว่าเป็นของกลุ่มอัลไคด้าประกาศพร้อมล่าสังหาร พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องอันเกิดขึ้นเมื่อปี 2547 ผ่านมาแล้วเกือบ 10 ปี

เป็นการเนรมิตขึ้นกลางอากาศ

จากนี้จึงเห็นเด่นชัดยิ่งขึ้นเป็นลำดับว่า สิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์และกลุ่มทางการเมืองเสกสรรปั้นแต่งขึ้นมิได้คำนึงว่าจะเป็นเรื่องจริงหรือไม่ อย่างไร

ขออย่างเดียวให้เล่นงาน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

ขออย่างเดียวว่าเมื่อเล่นงาน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้แล้วย่อมสร้างความเสียหายให้กับรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งเป็นน้องสาว

มีจุดเริ่มต้นจาก ความเกลียด ความชิงชังอย่างล้ำลึก

เมื่อเกลียดเสียแล้วก็ย่อมสามารถสร้างเรื่อง ปั้นเรื่องอะไรขึ้นมาได้ทั้งนั้น อาศัยความเกลียดเป็นมูลฐาน อาศัยความเกลียดเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อน นำไปสู่การทำลายล้างตั้งแต่สิ่งที่เรียกว่าระบอบทักษิณ

เรื่อยไปจนถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องเสกสรรปั้นแต่งแต่คนที่พูดไม่สนใจ ไม่คำนึงหรือว่าคนฟัง คนอ่านจะเชื่อหรือไม่อย่างไร

คำถามนี้ตอบได้ 2 แนวทาง

แนวทาง 1 ไม่สนใจ เพราะถือว่าการกระทำของตนเป็นการกระทำของคนดี ของนักประชาธิปไตย ของผู้ที่ห่วงใยและหวังดีต่อบ้านเมือง

แนวทาง 1 ไม่สนใจเพราะถึงอย่างไรคนฟังบางกลุ่มบางคนก็เชื่ออยู่แล้ว

ไม่ว่าจะโกหกอย่างไร เป็นจริงหรือไม่ น่าเชื่อถือหรือไม่ ถ้าหากมีเป้าหมายเพื่อทำลายล้าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ทำลายล้าง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็น่าเชื่อถืออยู่แล้ว

เป็นการสะสม มวลชน คอเดียวกัน

ถามว่าพฤติกรรมของพรรคประชาธิปัตย์ ของกลุ่มการเมืองบางกลุ่มเช่นนี้จะมีอนาคตเป็นอย่างไร

คำตอบ 1 หากดูจากการเลือกตั้งจำนวนส.ส.ที่ลดน้อยลงและจะลดน้อยลงเป็นลำดับ คำตอบ 1 หากดูจากปริมาณคนเข้าร่วมชุมนุมที่ลดน้อยลงและจะลดน้อยลงเป็นลำดับ

เห็นได้จากปี 2550 เห็นได้จากปี 2554

ที่มา: ข่าวสด
[Continue reading...]

รวมข่าว "น้ำท่วม" แม่สอด จ.ตาก -ท่าวังผา จ.น่าน

- 0 comments
ภาพข่าวจากโพสทูเดย์

แม่น้ำเมยล้นตลิ่งท่วมหมู่บ้านในอ.แม่สอด จ.ตาก รถยนต์5คันจมน้ำ ราษฎรนับพันต้องอพยพขึ้นบนที่สูง (ข่าว 30 กรกษคม 56)
ปริมาณน้ำในแม่น้ำเมย ที่ล้นตลิ่งหลังจากที่ฝนตกลงอย่างหนัก ได้ไหลทะลักท่วมบ้านเรือนประชาชน ที่บ้านแม่กุน้อย และบ้านแม่กุใหม่ท่าซุง ต.แม่กุ อ.แม่สอด จ.ตาก และมีรถยนต์ของชาวบ้านไม่น้อยกว่า 5 คัน ถูกกระแสน้ำพัดหายไปในแม่น้ำเมย
บ้านเรือนประชาชนเกือบทั้งหมู่บ้านจมอยู่ในน้ำ ประชาชนนับ 1,000 คน ต้องอพยพขนข้าวของเครื่องใช้จำเป็นหนีไปอาศัยวัดดอยพระธาตุ ที่บ้านแม่กุใหม่ท่าซุง เพราะเป็นจุดที่อยู่บนดอยสูง บางส่วนไปอาศัยอยู่ที่วัดแดนอาณาเขต
ทั้งนี้ ถนนที่เชื่อมระหว่างหมู่บ้านกับหมู่บ้านอื่นๆ ถูกตัดขาดทั้งหมด ทำให้ทั้ง 2 หมู่บ้าน น้ำท่วมหนักจมบาดาลและไม่สามารถเดินทางไป-มา ได้ ถูกตัดขาดจากโลกภายนอก
ขณะนี้ ประชาชนได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก ขาดแคลนอาหารและน้ำดื่ม ผู้สูงอายุหลายรายเริ่มเจ็บป่วย และยังขาดแคลนยาเวชภัณฑ์ ราษฎรของทั้ง 2 หมู่บ้าน กำลังต้องการความช่วยเหลือฉุกเฉิน
น้ำท่วม ท่าวังผา น่าน 29 ก.ค. 56
เมื่อวันที่ 29 ก.ค.สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่อ.ท่าวังผา จ.น่าน ยังไม่พ้นวิกฤต ส่งผลให้ปริมาณน้ำในลำน้ำยาว ซึ่งเป็นแม่น้ำสาขาสูงขึ้น และน้ำได้ท่วมฉับพลันเข้า 3 ตำบล  ได้แต่ บ.นาหนุน ม.2 ,3 ,7 ต.ผาตอ กว่า 300 หลังคาเรือน   บ้านนาหนุน ม.1 ต.แสนทอง  จำนวน 150 หลังคาเรือน  บ้านเชียงแล ม.4,6 ต.ริม จำนวน 30 หลังคาเรือน และบ้านนาเตา อีก 30 หลังคาเรือน    และที่บ้านน้ำโมง และบ้านสบเป็ด  และบ้านแหน 2  ต.ผาตอ มีพื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย
ขณะที่สภาพท้องฟ้ายังคงเต็มไปด้วยเมฆฝนและปริมาณน้ำในแม่น้ำยาว ซึ่งเป็นลำน้ำสาขา มีปริมาณน้ำลงมาสมบทในแม่น้ำน่าน  ทำให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำน่านยังคงเพิ่มระดับสูงขึ้น  โดยเตรียมเฝ้าระวังหมู่บ้านและชุมชนริมแม่น้ำน่าน ได้แก่บ้านดอนมูล   บ้านหนองบัว   บ้านดอนตัน บ้านนาเตาและบ้านสบหนอง  อีกว่า 2,000 ครัวเรือน
แม่น้ำยาว น่าน ข่าว 29 ก.ค. 56
ระดมทหารชุดเคลื่อนที่เร็วจช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมเมืองน่าน ขณะที่เทศบาลฯติดตั้งเครื่องสูบน้ำสกัดน้ำท่วมเขตศก.
พล.ต.ชีวัน โหละบุตร ผบ.จังหวัดทหารบกน่าน พร้อมด้วย พ.อ.ดำรงค์ คงเดช ผบ.หน่วยกำลังทหาร ผบ.หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 31 นำกำลังชุดเคลื่อนที่เร็ว จำนวน 100 นาย พร้อมเรือท้องแบนติดเครื่องยนต์จำนวน 2 ลำ เข้าสมทบกับกำลังเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ซึ่งนำโดย นายนิเวศน์  พูลสวัสดิ์  นายอำเภอท่าวังผา  เข้าช่วยเหลือชาวบ้าน พร้อมเตรียมเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เนื่องจากขณะที่สภาพท้องฟ้ายังคงเต็มไปด้วยเมฆฝน และปริมาณน้ำในแม่น้ำยาว ซึ่งเป็นลำน้ำสาขา มีปริมาณน้ำลงมาสมบทในแม่น้ำน่าน  ทำให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำน่านยังคงเพิ่มระดับสูงขึ้น ขณะนี้ได้สั่งเฝ้าระวังหมู่บ้านและชุมชนริมแม่น้ำน่านในพื้นที่อ.ท่าวังผา ได้แก่บ้านดอนมูล   บ้านหนองบัว   บ้านดอนตัน บ้านนาเตาและบ้านสบหนอง  อีกกว่า 2 พันครัวเรือน
ด้านนายสุรพล เธียรสูตร นายกเทศบาลเมืองน่าน กล่าวว่า จากสถานการณ์ฝนตกหนักตลอด 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา ในอำเภอต่าง ๆ นั้น ซึ่งเกณฑ์เฉลี่ยปริมาณน้ำฝนที่ 140 มิลลิเมตรขึ้นไป มีผลต่อตัวเมืองเขตเทศบาลน่านเป็นอย่างมาก จะทำให้เกิดน้ำท่วมได้  โดยเฉพาะ 6 ชุมชนริมน้ำ ได้แก่ บ้านภูมินทร์ ,บ้านท่าลี่,บ้านพวงพะยอม ,บ้านดอนศรีเสริม,บ้านพญาภู และบ้านสวนตาล 
ขณะที่ทางเทศบาลเมืองน่าน ได้เตรียมพร้อมโดยปิดประตูระบายน้ำและติดตั้งเครื่องสูบน้ำไว้ 2 จุด  จำนวน 4 เครื่อง ที่บริเวณประตูระบายน้ำปากคลองเจ้าฟ้า บ้านพวงพะยอม และบริเวณต้นโพธิ์ ต.ในเวียง อ.เมืองน่าน เพื่อป้องกันน้ำท่วมเขตเศรษฐกิจเมืองน่าน นอกจากนี้ยังได้ประสานเครื่องสูบน้ำจากกรมชลประทานไว้เพิ่มเติมเป็นเรียบร้อยแล้ว   

 
 
 
 
[Continue reading...]

พรรคการเมืองหรือแก๊งอันธพาล

- 0 comments

เรายึดมั่นในระบบรัฐสภา  เป็นสิ่งที่พรรค ประชาธิปัตย์ ใช้มาตลอด จนถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของพรรคนี้

หลังจากที่นาย อภิสิิทธิ์ ทำหน้าที่ หัวหน้าพรรค พฤติกรรมของพรรคประชาธิปัตย์ ก็เปลี่ยนไป จากพรรคที่ใช้หลักการ เปลี่ยนเป็นหลัก "กู"

จากการต่อสู้ในรัฐสภา เปลี่ยนเป็นการเมืองข้างถนน ที่เรียกอย่างสวยหรูว่า "การเมืองภาคประชาชน"  ความวุ่นวายทางการเมือง นั่นคือจุดเริ่มต้น

เรื่องใดที่ไม่ใช่พรรค ตัวเองเสนอ ประชาธิปัตย์ จะค้านและต่อต้าน อย่างเป็นล่ำเป็นสัน และแพ้ไม่เป็น

67 ปี ของประชาธิปัตย์ น่าจะสั่งสม คุณงามความดี เพราะผ่านร้อน ผ่านหนาว เจอมรสุม ต่าง ๆ มากมาย แต่การกระทำของคนในพรรคประชาธิปัตย์ กลับ ไม่เป็นเช่นนั้น

ประชาธิปัตย์ ค้านทุกอย่างที่ขวางหน้า ค้านแบบหัวชนฝา ถึงขั้น อาละวาด ในสภา ไม่ต่างจากพฤติกรรมของนักเลงอันธพาล ถ้าทำกันหลาย ๆ คน จะเรียกว่า แก้ง

เหมือนอย่างที่เวลานี้ ประกาศ ตน อย่างชัดเจนว่า ถ้าสู้ในสภาไม่ได้ ก็จะออกมาเคียงข้างกับประชาชน เริ่มจากหัวหน้าพรรค อภิสิทธิ เวชชาชีวะ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ  นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ และนายสาธิต วงหนองเตย  ซึ่งล้วนแต่เป็นนักการเมืองระดับแนวหน้าของพรรคประชาธิปัตย์

หลักการประชาธิปไตย และการยึดมั่นในระบบรัฐสภา  ก็เป็นเพียง วาทะกรรม ที่เป็นการพูดให้ดูดี หรือ ดีแต่พูด

การพัฒนาประชาธิปไตย ที่พูด ๆ กัน ไม่ใช่เริ่มต้นที่ประชาชน แต่ควรเริ่มจาก พรรคการเมือง  แสดงให้เห็นเป็นตัวอย่าง

การเคารพกฏเกณฑ์ เป็นสิ่งที่ปฏิบัติกันทั่วไป ไม่ว่าจะ สถาบันครอบครัว สังคม และประเทศชาติ

เมื่อนำเสนอ หลักการ นโยบาย ออกไป ใครได้เป็นที่ยอมรับของสังคมส่วนใหญ่ ก็สามารถใช้ สิ่งที่ประกาศนั้น มาขับเคลื่อนได้  โดยอีกฝั่งที่ สังคมยอมรับ น้อยกว่า ก็ต้องปฏิบัติตาม

ตามแบบอย่างที่อาระยะประเทศที่ปกครอง โดยระบบประชาธิปไตย เขาปฏิบัติกัน

การไม่ยอมรับกติการจากคนหมู่มาก เขาเรียกว่า ขี้แพ้ชวนตี  ซึ่ง วิญญูชน เขาไม่ประพฤติกัน

อยากให้เป็นที่ยอมรับของคนหมู่มาก จำเป็นต้องเสนอในสิ่งที่ดีกว่า แล้วก็จะเป็นผู้ชนะในที่สุด

การได้มา ตามกฏกติก มันสง่า กว่า แพ้ไม่เป็น

ซึ่งไม่ต่างอะไรจาก อันธพาล
[Continue reading...]

เสียดายประชาธิปัตย์ ล้มล้างหลักการ"ยึดมั่นในระบบรัฐสภา"

- 0 comments
บทบรรณาธิการ นสพ.ข่าวสด
ปัจจัยประการหนึ่งที่ทำให้ผู้ติดตามความเคลื่อนไหวทางการเมืองวิเคราะห์ว่า สถานการณ์การเผชิญหน้าทางการเมืองในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน จะร้อนแรงยิ่งกว่าปกติ

ก็คือการประกาศย้ำบนทุกเวทีปราศรัยของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฎร์ธานี พรรคประชาธิปัตย์ อดีตรองนายกรัฐมนตรีและอดีตเลขาธิการพรรค

ว่าต่อไปนี้ตนเองและคณะพรรคจะต่อสู้ทั้งในสภาและนอกสภา ถ้าสู้ในสภาไม่ได้ก็จะออกมาสู้นอกสภาร่วมกับประชาชนทั้งหลาย

"พวกผมจะฟังเสียงนกหวีด หากประชาชนเป่าก่อนผมก็จะออกมาทันที

"และถ้าผมเป่าก่อนประชาชนก็ออกมาช่วยด้วยแล้วกัน"

นายสุเทพระบุว่าในเดือนสิงหาคม-กันยา ยนจะเกิดเหตุรุนแรงแน่ เพราะเปิดสภาวันที่ 1 สิงหาคมนี้ มีเรื่องใหญ่ 3 เรื่องที่จะต้อง สู้กัน ทั้งในสภาและนอกสภา

เรื่องแรกคือการออกกฎหมายให้รัฐบาลมีอำนาจกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท เรื่องที่ 2 การแก้ไขรัฐธรรมนูญที่จะลิดรอนสิทธิเสรีภาพของคนไทย ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครอง

และเรื่องสุดท้ายคือเขียนกฎหมายพิเศษ ล้มล้างความผิดให้กับพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และบริวารที่เป็นแกนนำ พาคนมาชุมนุมในปี 2553

"ถึงเวลาที่ประชาชนทุกจังหวัดต้องลุกขึ้นสู้และเตรียมพกนกหวีดไว้ ถ้าเสียงนกหวีดดังพร้อมกันเมื่อไหร่

"จะได้เห็นกันว่าเดือนสิงหาคมและกันยายนจะเป็นไปตามคำทำนายของโหรหรือเปล่า"

ความร้อนแรงของนายสุเทพ แม้ในด้านหนึ่งจะเป็นที่เข้าใจได้ถึงภาวะอารมณ์ของผู้ตกเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในการต่อสู้ในสนามเลือกตั้ง

แต่ในอีกด้านหนึ่ง การประกาศตัวอย่างชัดเจนว่าเลือกที่จะไม่ใช้หนทางรัฐสภาเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาหรือความขัดแย้งในสังคม แต่เลือกที่จะทำทุกวิถีทางเพื่อให้ได้มาซึ่งชัยชนะ

ก็เป็นการล้มล้างหลักการ"ยึดมั่นในระบบรัฐสภา"ที่พรรคประชาธิปัตย์ประกาศตัวมา โดยตลอด

เป็นการตอกย้ำภาพเดิมของการจัดตั้งรัฐบาลในค่ายทหาร การใช้กำลังปราบปรามประชาชน

ภาพที่พรรคประชาธิปัตย์ปฏิเสธมาโดยตลอดว่าไม่เป็นความจริง
[Continue reading...]

คู่กรณี "กล้านรงค์" ถวายฎีกาในหลวงขอความเป็นธรรม

- 0 comments
คู่กรณี เจ้าของคลิปทวงหนี้ "กล้านรงค์" 3 เวอร์ชั่น ยื่นหนังสือถวายฎีกาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขอพระราชทานพระกรุณาให้ความเป็นธรรม  จากกรณีถูกภรรยากรรมการ ป.ป.ช.ยืมโฉนดที่ดินไปกู้เงินธนาคารในชื่อตัวเอง จนถูกฟ้องล้มละลายและยึดบ้าน 
 
นางยมนา สุทธาสมิท ยื่นหนังสือถวายฎีกาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่สำนักพระราชวัง บริเวณประตูวิเศษไชยศรี เพื่อขอพระราชทานพระกรุณาให้ความเป็นธรรม เนื่องจากได้รับความเดือดร้อนถูกฟ้องล้มละลายและกำลังถูกบังคับคดียึดบ้านที่อาศัยมาเป็นเวลากว่า 25 ปี 
 
จากกรณีที่ถูกนางพันทิพา ภรรยานายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. ยืมโฉนดที่ดิน ที่อำเภอนครไชยศรีไป โดยมอบเช็คจำนวนเงิน 1.9 ล้านบาท ไม่ลงวันที่ไว้เป็นหลักฐานค้ำประกันการยืมโฉนด
 
จนกระทั่งเวลาผ่านไป 7 ปี  มีหนังสือทวงหนี้เงินกู้ และหมายศาลการฟ้องร้องคดี จากธนาคารทหารไทย มาถึงเธอทั้งที่ไม่เคยลงนามทำธุรกรรมขอกู้เงินจากธนาคาร เพราะขณะนั้นมีเงินฝากในธนาคารกว่า 30 ล้านบาท จึงต่อสู้คดีในประเด็นเอกสารการทำสัญญากู้ ถึง 4 ศาล แต่เสียเปรียบตรงที่เอกสารค้ำประกันเงินกู้เป็นชื่อของเธอ ทำให้สุดท้าย ถูกธนาคารฟ้องล้มละลาย ด้วยมูลค่าหนี้กว่า 4 ล้านบาท
 
และที่ผ่านมาพยายามเรียกร้องขอความเป็นธรรมหลายหน่วยงาน ไม่เป็นผล กระทั่งทวงหนี้ผ่านยูทูปถึง 3 ครั้ง  พร้อมกับท้านายกล้านรงค์ให้ยื่นฟ้องหมิ่นประมาทตามที่ขู่ไว้  
 
คู่กรณีนายกล้านรงค์ ยืนยันว่า จนถึงขณะนี้ยังไม่ได้รับเอกสารคดีฟ้องร้องหมิ่นประมาทจากศาล ตามที่นายกล้านรงค์ข่มขู่  ซึ่งหากมีการยื่นฟ้องจริง  ก็พร้อมพิสูจน์ความจริง โดยเฉพาะเอกสารการขอกู้เงินจากธนาคาร ที่มีโฉนดที่ดินของเธอเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน รวมทั้งรายละเอียดการเบิกเกินวงเงินจากชื่อบัญชีของเธอในชั้นศาล ซึ่งมั่นใจว่า ไม่เคยลงนามในเอกสาร และมีเช็คธนาคารทหารไทย ฉบับจริง ที่ลงลายมือชื่อนางพันทิพาภรรยานายกล้านรงค์ เป็นหลักฐานประกอบ
 
by Veeraporn วอยซ์ทีวี
[Continue reading...]

"ประชาธิปัตย์"ต้องมองไกล ไม่ใช่คอยส้มหล่น ...อลงกรณ์ พลบุตร

- 0 comments
โดย...ธนพล บางยี่ขัน  คมชัดลึก

หลายคนที่ติดตามสถานการณ์การเมืองช่วงนี้คงอดสงสัยไม่ได้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับศิษย์ก้นกุฏิประชาธิปัตย์อย่าง “อลงกรณ์ พลบุตร” รองหัวหน้าพรรคดูแลรับผิดชอบภาคกลาง ซึ่งระยะหลังการออกมาขยับตัวแต่ละครั้งดูจะหลุดกรอบ แหกธรรมเนียมปฏิบัติของพรรคเก่าแก่ จนสร้างแรงกระเพื่อมสั่นสะเทือนไปทั้งพรรค

ไม่ว่าจะเป็นประเด็นเรื่องการออกมาเป็นตัวตั้งตัวตีเรียกร้องให้เกิดการยกเครื่องประชาธิปัตย์ เพื่อหนีจากวงจรความพ่ายแพ้ในสนามเลือกตั้ง ซึ่งยังตีโจทย์ไม่แตกมาถึง 21 ปี และล่าสุดกับการแหกกรอบพรรคออกมาเตรียมเสนอแนวคิดเสนอ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ที่สุดท้ายต้องยอมจำนนกับมติพรรค ม้วนเสื่อเก็บร่างกฎหมายนิรโทษกรรม

“อลงกรณ์” ในวันนี้ซึ่งสวมเสื้อประชาธิปัตย์ลุยถนนการเมืองมา 22 ปี และมีแผนในใจแล้วว่าอีกกี่ปีจะเกษียณอายุตัวเอง เปิดใจถึงภารกิจ “ปฏิรูปพรรค” ที่ตั้งใจว่าจะต้องทำให้ประชาธิปัตย์กลับมาเป็นทางเลือกให้ประชาชนก่อนวางมือทางการเมืองให้ได้ แม้รู้ทั้งรู้ว่าเป็นเส้นทางที่เต็มไปด้วยความยากลำบากและไม่เป็นผลดีต่อตัวเอง

“ความจริงผมอยู่เฉยๆ ก็ได้ ทำงานอย่างที่เป็นอยู่ เป็นรองหัวหน้าพรรคภาคกลาง เป็นปาร์ตี้ลิสต์ลำดับสูง รอการเปลี่ยนแปลงกลับมาเป็นรัฐบาล ก็มีตำแหน่งในคณะรัฐมนตรี อยู่แบบขอนลอยน้ำ หรือแม้จะเป็นฝ่ายค้านอีก 10-20 ปีก็ยังเป็น สส.อีกต่อไป แต่ผมเห็นว่าวันเวลามีค่าสำหรับประเทศและสำหรับคนที่รักประชาธิปัตย์ เราอาจจะเสี่ยงตัวเองในการนำเสนอความแตกต่าง แต่ถ้าเราไม่เสนอใครจะเสนอ

...แต่พรรคให้ผมมามากกว่าที่ผมให้พรรค สิ่งที่ผมจะทำให้ช่วงท้ายของชีวิตทางการเมืองของผมคือการปฏิรูปพรรค สร้างการเปลี่ยนแปลงให้ประชาธิปัตย์กลับมายิ่งใหญ่เป็นหลักของบ้านเมือง เป็นพรรคจรรโลงระบอบประชาธิปไตยได้อย่างแท้จริง”

อลงกรณ์ ชี้แจงว่า แนวคิดปฏิรูปพรรคเกิดขึ้นทุกครั้งหลังการเลือกตั้ง และเหมือนไฟไหม้ฟาง ไม่มีอะไรเกิดขึ้น โดยช่วงปีกว่าที่ผ่านมาพรรคได้พูดเรื่องนี้หลายครั้ง มีการประชุมเป็นการเฉพาะที่ จ.พิษณุโลก มีการจ้างมืออาชีพทำการวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อน จะต้องปฏิรูปอะไรบ้าง หลังจากนั้นเราก็ปฏิรูปไปบ้าง แต่ไม่เพียงพอ จนได้ข้อสรุปว่าต้องปฏิรูปใหญ่ แบบองค์รวมที่ทุกฝ่ายเห็นด้วยและทุกคนต้องช่วยกันผลักดันปฏิรูป 3 ด้าน โครงสร้าง การบริหารจัดการ วัฒนธรรมองค์กรและบุคลากร

อย่างไรก็ตาม ขั้นตอนขณะนี้คือ การนำเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นมาเพื่อหาข้อสรุปร่วมกับข้อเสนอจากสมาชิกคนอื่นๆ และคาดว่าอีกประมาณไม่เกิน 2 สัปดาห์ น่าจะได้ข้อยุติ หากยังไม่สมบูรณ์ก็ปรับปรุงให้เป็นไปตามกรอบแนวทางที่วางไว้ หากสมบูรณ์ก็เสนอเข้าที่ประชุมตามลำดับ คือนำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมกรรมการบริหารพรรคและที่ประชุม สส.พรรค

โจทย์สำคัญคือ ทำอย่างไรถึงจะกลับมาเอาชนะการเลือกตั้ง ซึ่งตลอด 21 ปีที่ผ่านมาไม่ประสบความสำเร็จ เราจะอยู่แบบเดิมๆ ต่อไปไม่ได้ เพราะจะทำให้ประเทศเสียโอกาส ระบอบประชาธิปไตยจำเป็นต้องรักษาระบบถ่วงดุล ตรวจสอบ เพื่อไม่ให้เสียงข้างมากใช้อำนาจเกินขอบเขต หรือใช้อำนาจอย่างฉ้อฉล แต่ถ้าหากเราไม่เข้มแข็งเพียงพอ ระบบเช็กแอนด์บาลานซ์ ซึ่งเป็นหลักการสำคัญที่สุดก็จะเสียดุล หมายถึงการเสียประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน

“ผมมีแนวคิดข้อเสนอเรื่องการปฏิรูปพรรค ซึ่งความจริงก็ช้าไปด้วยซ้ำ เราปล่อยเวลาผ่านมา 21 ปี เราก็อยู่กันอย่างนี้ คิดกันเองแก้กันเอง พยายามแล้วพยายามอีกก็ยังไม่สำเร็จ จนบางครั้งเราก็ออกนอกแนวที่เราเคยเชื่อมั่นในระบบรัฐสภา บางครั้งเราก็ต้องยอมด้วยสถานการณ์บ้านเมืองที่บังคับไม่สามารถให้เรายืนอยู่บนหลักการที่เราเชื่อมั่นได้ 100%

...บทเรียนหลังสุดที่เกิดขึ้นในปี 2551 ที่ส่งผลให้เราได้เป็นรัฐบาล ผมถือว่าเป็นการจ่ายราคาแพงมากในเวลาต่อมา ไม่ว่าเราจะถูกกล่าวหาว่าอิงแอบเผด็จการ หรือปล่อยปละละเลยให้เกิดการทุจริต ในยามที่เราเป็นรัฐบาล สิ่งเหล่านี้ถือเป็นการสั่นคลอนเกียรติภูมิของพรรค ในขณะที่ผมเป็นรองหัวหน้าพรรค ผมต้องทำอะไรบางอย่าง เพราะมันเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบที่เราจะต้องต่อสู้และฟื้นฟูพรรค และต้องเสนอแนวทางฟื้นฟูพรรค ซึ่งผมได้เสนอแนวทางปฏิรูปพรรค ซึ่งแตกต่างจากวิถีทางเดิมๆ แต่ถ้าเราไม่เปลี่ยนแปลงเราจะกลับมาเข้มแข็งได้อย่างไร สิ่งที่หัวหน้าพรรคในอดีตเคยพูดไว้ว่าเราเชื่อมั่นในระบบรัฐสภา เราต้องดำเนินวิถีทางดังกล่าวอย่างเคร่งครัด”

อลงกรณ์ อธิบายว่า สิ่งที่จำเป็นต้องปรับปรุงในพรรคคือการปฏิรูปวัฒนธรรมสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ที่มีวัฒนธรรมเดิมฝังรากลึกเอาไว้ ทำให้พฤติกรรมของคนในองค์กรเป็นไปในทิศทางเดียวกัน แม้จะมีความหลากหลายแตกต่าง แต่ไม่ง่ายต่อการพลิกตัว มีแต่แนวทางปฏิรูปเท่านั้นที่จะทำให้เกิดการยกเครื่องทั้งวิธีคิดวิธีทำงาน รวมถึงบริหารจัดการ และโครงสร้างต่างๆ


ประเด็นเรื่องการตอบโต้รายวัน อลงกรณ์ เห็นว่า หากเป็นรูปแบบการทำงานการเมืองเมื่อ 20 ปีก่อนอาจจะประสบความสำเร็จ เพราะประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารไม่มาก ส่วนใหญ่ฟัง สส.พูดจาปราศรัย แต่ทุกวันนี้มีสื่อมวลชน มีอินเทอร์เน็ต สิ่งที่เราพูดคิดดำเนินการในอดีตอาจไม่มีประสิทธิภาพอย่างทุกวันนี้ เราก็ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานในเชิงคุณภาพมากขึ้น และเปิดพรรคกว้างมากขึ้น สร้างแนวร่วมมากขึ้น ลดการตอบโต้รายวันลง วันนี้สังคมต้องการคุณภาพของความเห็นมากกว่าการตอบโต้ไปมา เพราะประชาชนมีข้อมูลเปรียบเทียบในการใช้ดุลยพินิจมากกว่า

ประชาธิปัตย์ต้องทำงานที่เป็นรูปธรรมให้เห็นเป็นตัวอย่างมากขึ้น เช่น วันนี้รัฐบาลมีปัญหาจำนำข้าว คำถามคือหากประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลจะทำอย่างไร ใช้นโยบายประกันเพียงอย่างเดียวเหมือนเดิม หรือจะพัฒนานโยบายดังกล่าวให้เป็นทางเลือกที่ดีกว่า เราก็ยังตอบไม่ได้ ผ่านมาสองปีของรัฐบาลชุดนี้ไม่รู้ว่าวันใดวันหนึ่งจะมีการยุบสภา เพราะการบริหารจัดการยังไม่มีการปรับปรุงองค์กรให้สนับสนุนงานดังกล่าวได้

ทั้งนี้ สิ่งที่จะเห็นหลังจากการปฏิรูป คือ การพิจารณาจุดยืน และแนวทางของพรรค จะมีความรอบคอบ มีการรับฟังความเห็นจากหลายฝ่ายมากขึ้น การบริหารจัดการแบบใหม่เปิดกว้าง มีข้อมูลครบถ้วน มีระบบการสนับสนุน การตัดสินใจ ซึ่งในปัจจุบันยังเป็นแค่ตัวบุคคล คณะบุคคล ที่ยังขาดความรอบด้าน กระบวนการดำเนินการทางการเมือง เมื่อมีระบบสนับสนุนเชิงข้อมูลและการวิจัยจะทำให้การกำหนดท่าทีและการกำหนดนโยบายในการขับเคลื่อนทางการเมือง ไปจนถึงการกำหนดนโยบายสำคัญของประเทศมีความเป็นระบบมากขึ้น มีประสิทธิภาพในเชิงการเป็นนโยบายที่จะพัฒนาประเทศที่ดีขึ้น โดยหัวใจความสำเร็จจะอยู่ที่หัวหน้าพรรค ที่จะเป็นผู้นำทางการเปลี่ยนแปลง ผู้นำการปฏิรูป นำพรรคไปสู่ยุคใหม่

ส่วนเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากคนในพรรคที่ห่วงว่าการปฏิรูปครั้งนี้อาจทำให้ประชาธิปัตย์ต้องเสียจุดยืนไปเดินตามคู่แข่ง เสนอนโยบายประชานิยมเพื่อหวังชนะเลือกตั้งนั้น ถือเป็นความคิดที่ตรงกันข้ามกับข้อเท็จจริง เพราะการปฏิรูปพรรคจะทำให้พรรคสร้างนโยบายบนความยั่งยืนเพื่อแข่งขันกับนโยบายประชานิยมแบบสุดกู่ของพรรคเพื่อไทย โดยจะจัดตั้ง "สำนักวิจัยพัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์"ซึ่งพรรคไม่มีในปัจจุบัน

“ผมคิดว่าเราต้องมองไกลใจกว้างต่อการเปลี่ยนแปลง อย่ากลัวการเปลี่ยนแปลง อย่ามองแค่รั้วบ้านตัวเอง ต้องมองไปถึงการปฏิรูปประเทศว่าในระบบสองพรรค สองขั้วการเมืองใหญ่ ไม่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็เป็นรัฐบาลที่จะต้องบริหารประเทศ ดังนั้น การปฏิรูปประชาธิปัตย์จะนำไปสู่การกลับมาชนะใจประชาชนอีกครั้งด้วยคุณภาพของนโยบายที่ดี การบริหารจัดการที่ดี

...เราต้องคิดเก่งทำเก่งกว่าพรรคเพื่อไทย ประชาธิปัตย์จึงจะชนะการเลือกตั้ง อย่าไปคิดส้มหล่น อย่าไปคิดหวังอำนาจอย่างอื่น ไม่เช่นนั้นถึงแม้เราจะชนะได้เป็นรัฐบาลประเทศก็ไม่มีสันติสุข ในมุมกลับกัน เช่นเดียวกับพรรคเพื่อไทย ก็จะต้องไม่ใช้อำนาจในการบริหารอย่างฉ้อฉล เพราะในที่สุดประชาชนก็จะไม่ให้การสนับสนุน ควรใช้อำนาจเพื่อประโยชน์ส่วนรวมและมาแข่งขันเชิงคุณภาพ ประเทศนี้ก็จะเกิดคุณภาพ ก็จะกลับมาสู่ความสามารถในการแข่งขันอีกครั้ง”

ผมเป็นอิสระ ตามอุดมการณ์พรรค

การออกมาปลุกกระแส “ปฏิรูป” ของอลงกรณ์เที่ยวนี้ดูจะสร้างแรงเสียดทานให้กับตัวเขาอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะจากคนในพรรค จนหลายคนวิตกว่าจะนำไปสู่ความแตกแยก แต่เจ้าตัวยืนยันว่าไม่มีความแตกแยกในความแตกต่าง ตัวเขาต่อสู้เคียงคู่กับพรรคไม่ว่ายามรุ่งเรืองหรือตกต่ำ ไม่ว่ายามเป็นฝ่ายค้านหรือรัฐบาล

“ผมเป็นคนของพรรค ไม่ใช่คนของใคร ไม่ใช่เด็กของใคร ผมมีความเป็นอิสระ ตามอุดมการณ์ของพรรค ในการเสนอความแตกต่างทางความคิด ผมเคารพมติพรรค รักษาวินัยพรรคมาโดยตลอด”

...ผมเป็นคนที่จงรักภักดีต่อพรรค เป็นคนที่ยึดมั่นกับพรรคมาโดยตลอดไม่เปลี่ยนแปลง ตั้งแต่เริ่มชีวิตการเมืองผ่านร้อนผ่านหนาวมามาก แม้จะมีแรงเสียดทานการตำหนิติเตียน ความไม่เห็นด้วย หรืออะไรก็ตาม ผมก็เข้าใจได้ในวิถีชีวิตทางการเมือง แต่เชื่อโดยเจตนาดี และความภักดีที่มีต่อพรรคมายาวนานก็จะเป็นเกราะคุ้มกัน ผมอยู่กับพรรคนี้มาตั้งแต่เกิด ไม่คิดจะไปไหน และจะอยู่ต่อไปจนกว่าเขาจะไล่”

อลงกรณ์ เปรียบเทียบว่า สิ่งที่เขาพยายามผลักดันให้เกิดการปฏิรูปนั้น บางทีมันก็เหมือนกับ “ยาขม” แต่ก็เป็นยาที่มีประโยชน์ อาจมีคนที่ไม่ชอบบ้าง ก็เป็นเรื่องธรรมดา แต่วันหนึ่งข้างหน้าก็จะเห็นผล อย่างพรรคเลเบอร์ของอังกฤษสมัยก่อนที่พ่ายแพ้พรรคอนุรักษ์นิยมมาอย่างยาวนาน ก็มีคนอย่างโทนี แบลร์ และคนอื่นๆ ที่คิดนอกกรอบและเปลี่ยนวิถีทางด้วยการปฏิรูปพรรค ซึ่งประสบความยากลำบากในช่วงต้นๆ แต่ท้ายที่สุด คนในพรรคเลเบอร์ก็ให้การยอมรับและทำให้พรรคกลับมาสู่ชัยชนะ

"นิรโทษกรรม"ฉบับสร้างศรัทธา

ชัดเจนแล้วว่า “ประชาธิปัตย์” ยังคงยืนยันในจุดยืนเดิม คือ เรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องถอนร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม หรือปรองดอง ทั้ง 6 ฉบับออกจากการพิจารณาของสภา เพื่อเปิดโต๊ะแลกเปลี่ยนความเห็นให้ตกผลึกร่วมกันก่อนก่อนเสนอกฎหมาย รวมทั้งจะไม่เสนอร่างกฎหมายประกบในการพิจารณาวันที่ 7 ส.ค.นี้

อลงกรณ์ ในฐานะผู้ที่ออกมาประกาศตัวเตรียมเสนอ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม จากฝั่งประชาธิปัตย์ จึงมีอันต้องม้วนเสื่อเก็บแผนนี้ไปโดยปริยาย ด้วยเหตุผลว่านั่นเป็นกติกาเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของพรรค ที่ใช้เสียงข้างมากในการตัดสิน

อย่างไรก็ตาม จุดยืนประชาธิปัตย์ไม่เห็นด้วยกับการที่รัฐบาลเสนอร่างกฎหมายที่ไม่มีความชัดเจน ซึ่งอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งและวิกฤตการณ์ทางการเมืองครั้งใหม่ แต่เมื่อสถานการณ์การเมืองเปลี่ยน เมื่อญาติวีรชน พฤษภา 53 เสนอร่างนิรโทษกรรมฉบับประชาชน ซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นว่าร่างของ สส.ซีกฟากรัฐบาลไม่ตอบโจทย์การแก้ไขปัญหาประชาชน

“ผมพิจารณาเห็นว่า สภาไม่มีร่างกฎหมายนิรโทษกรรมที่ชัดเจนในตัวบทกฎหมาย เพียงพอสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจให้เกิดขึ้น และทำให้การช่วยเหลือประชาชนทุกกลุ่มทุกฝ่ายตั้งแต่เกิดการเผชิญหน้าตั้งแต่ 2548 จึงเห็นว่าประชาธิปัตย์ในฐานะพรรคการเมืองหลัก ควรจะเข้ามาแก้ไขปัญหาของประเทศ ก่อนที่จะเกิดวิกฤตการณ์ของประเทศครั้งใหม่ด้วยการเสนอร่างกฎหมายที่เขียนชัดเจน

...มุ่งนิรโทษกรรมประชาชนทุกกลุ่มโดยไม่เลือกปฏิบัติ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งและกฎหมาย โดยไม่กระทำการเกินกว่าเหตุ ทั้งนี้การนิรโทษกรรมจะต้องไม่เกี่ยวข้องไปถึงคดีทุจริต หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หรือผู้สั่งการหรือแกนนำ ซึ่งหากเราสามารถมีร่างกฎหมายมีความชัดเจนในตัวบทเช่นนี้ จะขจัดปมขัดแย้งความไม่ไว้วางใจจะช่วยถอดชนวนวิกฤตการณ์ที่จะเกิดขึ้น”


อลงกรณ์ อธิบายว่า ความตั้งใจของการเสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เพราะเชื่อมั่นในระบบรัฐสภา ประชาธิปัตย์จะต้องต่อสู้ในระบบรัฐสภา และเสนอทางออกทางเลือกที่ดีกว่า การมีร่างกฎหมายนิรโทษกรรมที่เห็นเป็นรูปธรรมและจับต้องได้ ทำให้ สส.และสาธารณชนได้เห็นเป็นข้อเปรียบเทียบ ว่านี่คือร่างกฎหมายที่จะช่วยเหลือประชาชนอย่างแท้จริง

ส่วนประเด็นที่สังคมเป็นห่วงว่ากฎหมายเชิญแขกนี้จะนำไปสู่ความขัดแย้งนี้ อลงกรณ์ กล่าวว่า ในร่างที่เขาจะเสนอนั้น ได้สกัดปมขัดแย้งออกไป สอดคล้องกับแนวความคิดและข้อเสนอของหัวหน้าพรรค โดยมุ่งนิรโทษกรรมเฉพาะกลุ่มผู้ชุมนุมและแสดงออกทางการเมือง และให้ครอบคลุมไปถึงทุกกลุ่ม

ที่สำคัญ คือ กำหนดกลุ่มที่จะไม่ได้รับการนิรโทษกรรรมซึ่งต้องมีความชัดเจน คือ ทั้งผู้สั่งการ แกนนำ หรือผู้ที่กระทำการเป็นภยันตรายต่อชีวิตหรือทรัพย์สินของเอกชนหรือทางราชการ และไม่นิรโทษกรรมในคดีเกี่ยวข้องกับคดีทุจริตหรือหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งประเด็นเหล่านี้คือปมของความขัดแย้ง ดังนั้นเมื่อเขียนบทบัญญัติให้ชัดเจนสกัดปมขัดแย้งต่างๆ ก็จะเป็นต้นแบบที่ดี

ส่วนประเด็นความกังวลที่บอกว่า หากประชาธิปัตย์เสนอร่างจะเป็นข้ออ้างให้รัฐบาลเร่งเดินหน้านั้น อลงกรณ์ อธิบายว่า ขณะนี้ก็ชัดเจนแล้วว่า ถึงไม่มีร่างของพรรคหรือของฉบับประชาชน ก็มีความพยายามเดินหน้าพิจารณา แต่สิ่งที่หายไปคือการไม่มีร่างต้นแบบที่ดีให้สภาและสาธารณชนได้พิจารณา

“ผมคิดว่าเราควรนำทางให้บ้านเมือง แทนที่คิดว่าจะไปตามทาง ประชาชนจะได้มีหลักยึด สภาจะได้มีหลักยึด ไม่งั้นการฟังความเห็นแบบวันต่อวัน สัปดาห์ต่อสัปดาห์ โดยไม่มีรูปธรรมจับต้องได้ เห็นเป็นตัวร่างที่เป็นกิจจะลักษณะ ก็ไม่ก่อให้เกิดองค์ความรู้ในหมู่ประชาชน”

อลงกรณ์ ระบุว่า นี่จะเป็นการสร้างศรัทธาความเชื่อมั่นอีกทางหนึ่ง แม้จะเป็นธรรมดาของเสียงข้างน้อย ที่คงไม่ได้เป็นร่างหลักในการพิจารณากฎหมาย แต่นั่นคือวิถีทางในระบบรัฐสภาที่จะทำหน้าที่ให้สมบูรณ์ ต่อสู้ในเวทีของรัฐสภาให้ดีที่สุด ทั้งที่รู้ว่าสู้ไม่ได้ก็ต้องสู้ นั่นคือเหตุผลว่าทำไมต้องปฏิรูปพรรค เพื่อเปลี่ยนแปลงวิธีคิด วิธีทำงาน ในการสร้างศรัทธา และนำไปสู่ชัยชนะในการเลือกตั้ง ครั้งหน้าให้เราเป็นเสียงข้างมาก

รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อธิบายการเสนอกฎหมายย่อมสร้างศรัทธามากกว่าค้านอย่างเดียว การเสนอทางเลือกแบบนี้ ประชาชนจับต้องได้และจะได้เปรียบเทียบ ประชาชนส่วนใหญ่จะได้เห็นว่าประชาธิปัตย์มีความบริสุทธิ์ใจจริงในการทำหน้าที่ถูกต้อง ความศรัทธาก็จะหันมาประชาธิปัตย์

“ไม่ใช่รัฐบาลดำเนินการแล้วจะเกิดวิกฤต แน่นอนความนิยมรัฐบาลอาจจะลดลง แต่ถามว่าเราจะเป็นทางเลือกให้เขาหรือเปล่า เพราะเราไม่มีทางเลือกให้เขาเลย นอกจากแนวทางการคัดคาน”

ส่วนมติของพรรคที่เรียกร้องให้แต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้องถอนกฎหมายออกจากสภานั้น ถือเป็นการถอดชนวนความขัดแย้งอันอาจจะเกิดขึ้นจากการที่รัฐบาลเดินหน้าพิจารณาร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ซึ่งยังมีปมความขัดแย้งฝังอยู่ในร่างดังกล่าว เหมือนระเบิดเวลาที่ซุกไว้ เพราะฉะนั้นการที่เสนอให้ถอดร่างมาตั้งโต๊ะเจรจาจึงเป็นข้อเสนอที่เป็นการเสนอทางออกที่รัฐบาลควรรับฟัง

ทั้งนี้ ถ้ารัฐบาลตอบสนองต่อข้อเรียกร้องของทางฝ่ายค้านในการถอนร่าง ก็จะเป็นการเริ่มต้นที่ดี ให้กลับมาเกิดการพูดคุย แต่ถ้ารัฐบาลไม่ตอบสนองต่อข้อเรียกร้องของฝ่ายค้าน การที่เรามีร่างทางเลือกให้ประชาชนได้เห็น ก็ดีกว่าไม่ใช่ไม่มีเลย

“ผมคิดว่ารัฐบาลเขาไม่ตอบสนอง อย่างไรก็คงต้องมีการพิจารณาว่าจะดำเนินการอย่างไร ส่วนจะคัดค้านอย่างเดียว ซึ่งเราต้องทำอยู่แล้ว และสู้ไม่ได้ หรือจะมีการเสนอร่างเข้าไป ซึ่งรู้อยู่แล้วว่าลงมติก็แพ้อยู่แล้ว แต่นี่คือความแตกต่าง”อลงกรณ์ กล่าวทิ้งท้าย
[Continue reading...]

ศาลฯ เลื่อนสอบคำให้การ พธม.ปิดสนามบินไป 2 ธ.ค.

- 0 comments
ศาลเลื่อนสอบคำให้การ พธม. ปิดสนามบิน 2 ธ.ค.นี้ กำชับ พธม.ห้ามปลุกระดมประชาชน ก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง ขณะที่ "จำลอง" นัดถก พธม.พรุ่งนี้ ด้าน "ตุลย์" ยันร่วมชุมนุม แต่ไม่ผิดเงื่่อนไข...
เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 29  ก.ค. 2556 ที่ห้องพิจารณาคดี 704 ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ศาลนัดตรวจพยานหลักฐานคดีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ชุมนุมปิดสนามบิน รวม 8 สำนวน คดีหมายเลขดำที่ อ.973/2556, อ.1067/2556, อ.1204/2556, อ.1279 /2556, อ.1316/2556, อ.1406/2556, อ.1522/2556 และ อ.1559/2556 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 9 ได้เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำ พธม. กับพวก รวม 96 คน
ในความผิดฐานร่วมกันก่อการร้าย เพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงกฎหมายแผ่นดิน หรือรัฐบาล โดยใช้กำลังข่มขืนใจ หรือใช้กำลังประทุษร้าย หรือเพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน, ร่วมกัน มั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมืองฯ, ร่วมกันเข้าไปรบกวนการครอบครอง เข้าไปซ่อนตัวในอาคารสำนักงานของผู้อื่นและไม่ยอมออกไปจากสถานที่นั้น โดยใช้กำลงประทุษร้าย, ร่วมกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปฝ่าฝืนคำสั่งของหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินตาม พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดบางประการต่อการเดินอากาศ พ.ศ.2521 กรณีร่วมกับแกนนำพันธมิตรฯ พาผู้ชุมนุม ปิดล้อมท่าอากาศยานดอนเมืองและสุวรรณภูมิ เมื่อเดือน พ.ย.-ธ.ค.2551

โดยวันนี้ พล.ต.จำลอง, นายสนธิ กับพวก จำนวน 93 คน เดินทางมาศาล ขณะที่จำเลยไม่มาศาล จำนวน 3 คน และยื่นคำร้องขอเลื่อนการพิจารณา ประกอบด้วย นายปราโมทย์ หอยมุกข์ ระบุประสบเหตุลื่นล้มในห้องน้ำเมื่อวันที่ 25 ก.ค.ที่ผ่านมา, นายคงกฤษณ์ คงสัมพันธ์ ต้องเก็บอัฐิบุตรชายที่เสียชีวิตเมื่อวันที่ 23 ก.ค.ที่ผ่านมา และนางลักขณา ดิษยะศริน สาเหตุเนื่องจากได้รับอนุญาตจากศาลอุทธรณ์ ให้เดินทางไปร่วมงานบุตรรับปริญญาบัตร ประเทศสหรัฐอเมริกา จนถึงวันที่ 31 ก.ค.นี้
ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า จำเลยทั้ง 3 คนติดภารกิจส่วนตัว ไม่มีเหตุจงใจหลบหนีหรือไม่มาศาล ขณะที่จำเลยบางคนยังไม่ได้แต่งตั้งทนายความ ประกอบกับคดีมีอัตราโทษสูงถึงประหารชีวิต โดยจำเลยประสงค์จะแต่งตั้งทนายความเอง ดังนั้น เมื่อยังไม่มีทนายความจึงไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาได้ ศาลจึงอนุญาตเลื่อนไปนัดพร้อมเพื่อประชุมคดีตรวจพยานหลักฐานและสอบคำให้การจำเลย ในวันที่ 2 ธ.ค. เวลา 09.30 น. และกำชับให้จำเลยที่ยังไม่มีทนายความแต่งตั้งทนายความให้เสร็จ เนื่องจากคดีนี้เลื่อนมาเป็นเวลา 2 ครั้งแล้ว 
ส่วนที่อัยการโจทก์ได้แถลงขอรวมคดีทั้ง 8 สำนวน เข้าเป็นคดีเดียวกัน เนื่องจากพยานหลักฐานเป็นชุดเดียวกัน และจำเลยในคดีนี้เป็นกลุ่มเดียวกัน ซึ่งศาลได้สอบถามทนายจำเลยแล้วไม่คัดค้าน จึงอนุญาตให้รวมเป็นคดีเดียวกัน โดยให้ยึดสำนวนคดีหมายเลขดำที่ อ.973 /2556 ที่มี พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ซึ่งเป็นจำเลยที่ 1 เป็นหลัก

ขณะที่ศาลได้กำชับจำเลยทั้ง 96 คน ไม่ให้กระทำการใดๆ อันมีลักษณะเป็นการยั่วยุ ปลุกปั่น ปลุกระดม เพื่อให้เกิดความวุ่นวายทางบ้านเมือง หรืออาจก่อให้เกิดภัยอันตรายต่อความเสียหาย หรือความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือกระทำการใดๆ เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน และห้ามจำเลยเดินทางออกนอกราชอาณาจักร เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาลตามเงื่อนไขการปล่อยชั่วคราวที่ศาลกำหนดไว้
ทั้งนี้ ในวันเดียวกัน ศาลได้เรียก นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ และ นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ จำเลยร่วมในคดีนี้มาสอบถามถึงพฤติกรรมและข้อเท็จจริง กรณีที่ปรากฏเป็นข่าวชุมนุมที่หน้ากระทรวงกลาโหม เพื่อปิดล้อมไม่ให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เข้าพิธีภายในกระทรวงกลาโหม เมื่อวันที่ 11 ก.ค.ที่ผ่านมา โดยจำเลยทั้งสองให้การยอมรับว่า อยู่ในเหตุการณ์ชุมนุมเคลื่อนไหวดังกล่าวจริง
 ศาลจึงแจ้งว่าการที่ศาลอนุญาตให้จำเลยทั้งสองได้รับการปล่อยชั่วคราวในระหว่างที่พิจารณาคดี ศาลต้องพิจารณาถึงเหตุการณ์ต่างๆ ตามที่ปรากฏไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 108 คือ ภัยอันตราย หรือความเสียหายที่อาจเกิดจากการปล่อยชั่วคราวนั้นมีหรือไม่เพียงใด ซึ่งในคดีนี้ เมื่อศาลได้พิจารณาพฤติการณ์แห่งคดี รวมทั้งเงื่อนไขต่างๆ ตามมาตราดังกล่าวแล้ว มีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยทั้งสอง ได้รับการปล่อยชั่วคราว เนื่องจากศาลตั้งการให้ความคุ้มครองสิทธิในการได้รับการปล่อยชั่วคราว อันเป็นสิทธิของจำเลยในกระบวนการยุติธรรม

นอกจากนี้ ศาลยังเชื่อถือจำเลยทั้งสองว่าจะไม่หลบหนี ไม่ยุ่งกับพยานหลักฐานหรือไม่ก่อเหตุอันตราย อย่างไรก็ตาม เนื่องจากฐานความผิดที่จำเลยทั้งสองถูกฟ้องในคดีนี้เป็นฐานความผิดร้ายแรง และมีอัตราโทษสูง ศาลจึงต้องกำหนดเงื่อนไขให้จำเลยทั้งสองปฏิบัติระหว่างที่ได้รับการปล่อยชั่วคราว เพื่อป้องกันอันตราย หรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ดังนั้น จำเลยทั้งสองจึงต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวอย่างเคร่งครัด ไม่เช่นนั้นศาลจะมีคำสั่งให้เพิกถอนการปล่อยชั่วคราวจำเลยทั้งสอง
ด้านนายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ ให้สัมภาษณ์ภายหลังว่า วันนี้ศาลได้เรียกสอบถามพฤติกรรมตนเอง กรณีที่ไปชุมนุมปิดล้อมที่กระทรวงกลาโหม ในเรื่องนี้ศาลได้เคยมีเงื่อนไขกับตนไว้ เนื่องจากเป็นคดีที่มีอัตราโทษสูง จึงห้ามตนไปกระทำการยุยงปลุกปั่นให้เกิดความวุ่นวาย ซึ่งศาลก็ได้เตือนให้เคร่งครัดในเงื่อนไขการปล่อยชั่วคราว และไม่ให้ตนกระทำการในลักษณะเช่นนี้อีก ส่วนเรื่องการชุมนุมในวันที่ 4 ส.ค.นี้ ตนจะต้องไปปรึกษานักกฎหมายและทนายความความว่าจะสามารถเคลื่อนไหวตามสิทธิเสรีภาพ โดยที่ไม่ขัดเงื่อนไขของศาล
ได้หรือไม่

พร้อมกันนี้ นายไชยวัฒน์ ยังกล่าวด้วยว่า ในวันที่มีการชุมนุม ตนได้เตือนมวลชนให้ชุมนุมอยู่ที่บริเวณภายนอกกระทรวง กลาโหม และชุมนุมภายในใต้กฎหมายกำหนด ขณะที่ตนมองว่า คำสั่งของศาลในวันนี้ จะเป็นบรรทัดฐานให้กับจำเลยในคดีปิดสนามบินรายอื่นๆ ว่าต่อไปจะสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างไรบ้าง

ส่วน พล.ต.จำลอง แกนนำ พธม. กล่าวว่า ในวันพรุ่งนี้ จะเรียกประชุมแกนนำ พธม. เพื่อหารือและกำหนดท่าทีในการเคลื่อนไหวของกลุ่มต่างๆ ทางการเมือง ที่อาจจะมีผลต่อ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ในเวลา 10. 00 น. ส่วนกลุ่มพันธมิตรฯ จะเข้าร่วมด้วยในวันที่ 4 สค.นี้หรือไม่ ขึ้นอยู่การประชุมในวันพรุ่งนี้ ว่าจะมีมติเป็นอย่างไร

ขณะเดียวกัน นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ กล่าวว่า ในวันที่ 4 ส.ค.นี้ กลุ่มเสื้อหลากสีจะไปร่วมชุมนุมอย่างแน่นอน แต่จะไม่ทำอะไรที่จะผิดเงื่อนไขการประกันตัวของศาล.

ที่มา: ไทยรัฐ
[Continue reading...]

"ชวนนท์" อ้างรัฐดันนิรโทษหวังล้างผิดให้แกนนำแดง

- 0 comments

"ชวนนท์" เชื่อรัฐดัน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม หวังล้างผิดให้แกนนำเสื้อแดง ห่วงสร้างความขัดแย้งสังคมไทย มั่นใจ "ปู" รู้ดี เตรียมปราบผู้ชุมนุม พร้อมจี้ รบ.แก้ปัญหาปากท้อง ปชช.ก่อน...

เมื่อวันที่ 29 ก.ค. 56 ที่พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคฯ กล่าวถึงเนื้อหาในร่างกฎหมายนิรโทษกรรมฉบับ นายวรชัยเหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย ว่า จะส่งผลให้มีการปล่อยแกนนำเสื้อแดงทุกคนให้เป็นผู้บริสุทธิ์ เพราะในข้อความระบุแค่ว่า ไม่รวมการกระทำของบุคคลที่มีอำนาจในการตัดสินใจ หรือสั่งการเคลื่อนไหวทางการเมืองเสมือนว่าไม่รวมแกนนำ แต่เมื่อกฎหมายผ่าน จะไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าใครมีอำนาจสั่งการให้เคลื่อนไหวทางการเมือ ดังนั้น จึงชัดเจนว่าไม่มีเจตนาที่จะช่วยเหลือประชาชน แต่เอาประชาชนมาบังหน้าเพื่อเสนอกฎหมายล้างผิดให้ตนเอง โดยอ้างว่ามีประชาชนอยู่ในคุกนั้น จากการตรวจสอบมีไม่ถึง 30 คน ซึ่งล้วนเป็นคดีอุกฉกรรจ์ ศาลจึงไม่ให้ประกันตัว การอ้างว่ามีคนติดคุกเป็นร้อยเป็นพัน จึงไม่เป็นความจริง มีแต่แกนนำนอกคุกที่รอการนิรโทษกรรม
นายชวนนท์ กล่าวอีกว่า หลักของการนิรโทษกรรม รัฐไม่มีอำนาจนิรโทษกรรมให้กับบุคคลที่มุ่งเอาชีวิตผู้อื่น เพราะรัฐไทยไม่ใช่เจ้าของชีวิตของผู้เสียชีวิต ที่จะบอกว่ายกโทษให้กับคนที่สังหาร คนเหล่านี้หากยังเดินหน้าต่อจะสร้างความขัดแย้ง และอาจนำไปสู่การยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความด้วย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม จะปฏิเสธไม่รู้เรื่องไม่ได้ เพราะเป็นนโยบายรัฐบาลที่รู้ดีว่าสร้างความขัดแย้ง การปัดเรื่องโดยโยนให้เป็นเรื่องของสภา รัฐบาลเตรียมการปราบปรามประชาชน ทั้งที่การชุมนุมเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญที่ต่างจากชุมนุมแบบกองโจรเหมือนที่พรรคเพื่อไทยเคยทำในอดีต

ทั้งนี้ จึงขอฝากถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ว่า ประชาชนไม่ต้องการให้เสนอ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เป็นวาระเร่งด่วน แต่อยากให้แก้ปัญหาเศรษฐกิจ ทั้งราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ เช่น ยางพาราที่ปลูกกันใน 57 จังหวัดเดือดร้อนถ้วนหน้า ปาล์มน้ำมันราคาตกต่ำกิโลละ 2 บาทกว่า รวมถึงจำนำข้าวที่ขาดทุนย่อยยับ จนนายกฯ ทำตีมึนให้เรื่องหายไปกับสายลมกับการขาดทุนหลายแสนล้าน ซึ่งควรเป็นเรื่องเร่งด่วน นำเข้าพิจารณาในสภาฯ มากกว่าการพิจารณากฎหมายนิรโทษกรรม ที่จะสร้างความขัดแย้งในสังคมไทยซ้ำอีก

ที่มา :นสพไทยรัฐ
[Continue reading...]

สภาหวั่น นโยบาย “ทำแล้วจะทำต่อ” ของ ปชป. จัดตร.เฝ้าหลังบัลลังก์ปธ.สภา -กลัวฝ่ายค้านกระชากเก้าอี้

- 0 comments
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ประสานงาน สตช.จัดกำลังอารักขาประธานสภา โดยให้ประจำการเฝ้าอยู่หลังบัลลังก์ หวั่นเกิดประวัติศาสตร์ซ้ำรอย โดน สส.ฝ่ายค้าน กระชากแขนออกจากเก้าอี้
 
วันนี้ ( 29 ก.ค.) นายสุวิจักขณ์ นาควัชระชัย เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ช่วงเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร สมัยสามัญทั่วไป วันที่ 1 สิงหาคมนี้ ว่า ได้ประสานยังสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อขอกำลัง และวางแผนรับมือสถานการณ์ โดยขณะนี้มีความพร้อมต่อทุกสถานการณ์ 100 % โดยจะเข้มงวดเรื่องคนเข้าออกระหว่างประชุมฯ และประเมินด้านการข่าวระหว่าง สตช. หน่วยงานความมั่นคง และสำนักเลขาธิการสภาฯ ซึ่งขณะนี้ประเมินว่าเป็นการชุมนุมปกติ ส่วนที่หลายฝ่ายกังวลว่าจะมีการปะทะนั้น การข่าวยังไม่ถึงขนาดนั้น โดยสภาจะจัดส่วนกันพื้นที่ให้ และคาดว่าจะไม่มีมือที่ 3 อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่จะควบคุมดูแลมวลชน ให้ชุมนุมด้วยความสงบ ไม่ให้ปะทะกัน
ส่วนในห้องประชุมมีการเตรียมชุดปฏิบัติการไว้ 2 ชุด 10 นาย เพื่อเชิญสมาชิกที่ไม่ปฏิบัติตามระเบียบออกจากห้องประชุม ซึ่งได้ซักซ้อมมาอย่างดี นอกจากนี้ยังมีกำลังตำรวจสภา คอยคุ้มกัน นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐมนตรี คณะกรรมาธิการ โดยจะให้ประจำการอยู่ด้านหลังบังลังก์ตลอดการประชุม เพื่อไม่ให้มีใครบุกรุกถึงตัว หลังจากเกิดเหตุการณ์ ที่มี สส.ฝ่ายค้าน บุกกระชากแขน ประธานสภาลงมาจากบัลลังก์มาแล้วได้ส่วนทางออกฉุกเฉินก็มีการเตรียมพร้อมเช่นทุกปี
ที่มา :ทีนิวส์
[Continue reading...]

"กรมวิชาการเกษตร" ติง "มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค" ให้ข่าวมั่ว "ข้าวถุงปนเปื้อนสาร" ไม่รับผิดชอบ

- 0 comments
กรณีมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค แถลงผลการตรวจสอบพบข้าวสารยี่ห้อโค-โค่ มีสารรมควันข้าวชนิดเมทิลโบรไมด์ ปนเปื้อนสูงถึง 67.4 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม เกินมาตรฐานที่สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (โคเด็กซ์) อนุญาตให้ตกค้างได้ 50 มิลลิกรัมต่อข้าว 1 กิโลกรัม (พีพีเอ็ม) ขณะที่ข้าวยี่ห้ออื่นๆ อีก 34 ยี่ห้อ พบการปนเปื้อนสารรมควันแต่ไม่เกินมาตรฐาน จากนั้นได้ตรวจพบว่า มีโบรไมด์ไอออนตกค้างในข้าว โดยระบุว่า สารชนิดดังกล่าวเป็นสารเมทิลโบรไมด์ที่ซึมลึกไปถึงโมเลกุลข้าว ประกอบกับข้อความในเฟซบุ๊กที่มีเนื้อหาคล้ายกันถูกเผยแพร่ออกไปเป็นวงกว้าง ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในเรื่องความปลอดภัยของข้าวไทย 

ขณะที่กรมวิชาการเกษตร ซึ่งดูแลรับผิดชอบโดยตรงในเรื่องการนำเข้าสารรมควันข้าว และมีห้องทดสอบสารตกค้างในข้าวที่องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (เอฟเอโอ) ยอมรับ ยืนยันถึงความปลอดภัยของสารรมควันข้าว ทั้งเมทิลโบรไมด์และฟอสฟิน

แต่ดูเหมือนว่า ข้อมูลเท็จจริงดังกล่าวจะถูกกลบหมด!!  

"มติชน" ได้สัมภาษณ์นายดำรงค์ จิระสุทัศน์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ถึงการสร้างความเชื่อมั่นให้กลับมาอีกครั้ง เพื่อกู้วิกฤตข้าวถุงที่เกิดขึ้น

- หลังจากเกิดข่าว กรมวิชาการเกษตรทำอะไรบ้าง

เมื่อทราบข่าวก็สั่งการให้เจ้าหน้าที่ออกเก็บตัวอย่างทันที แต่ที่ไม่ออกมาให้ข้อมูลเนื่องจากต้องทำการบ้าน เราต้องเก็บข้อมูลให้ชัดเจน ทดสอบและพิสูจน์จนแน่ใจว่าจะตอบคำถามสังคมได้อย่างไม่มีใครกล้าเถียง

- อะไรคือโบรไมด์ไอออน เป็นสิ่งที่อยู่ในโมเลกุลข้าวใช่หรือไม่


โบรไมด์ไอออน เป็นสารที่มีอยู่ทั่วไปในธรรมชาติ ในน้ำในดิน พืช แร่ ส่วนที่ตรวจพบในข้าวนั้น เกิดจากผลรวมจากสารในธรรมชาติและปฏิกิริยาของเมทิลโบรไมด์ ยืนยันว่าเป็นสารคนละชนิดกับเมทิลโบรไมด์ที่รมข้าว ซึ่งเมื่อวิเคราะห์แล้ว โบรไมด์ไอออนมีพิษน้อยกว่าเมทิลโบรไมด์มาก และไม่อันตรายต่อมนุษย์ สารชนิดนี้ไม่อยู่นิ่งจะเปลี่ยนแปลงไปตามเวลา


ในน้ำทะเลก็มีโบรไมด์ไอออน 60 มิลลิกรัม (มก.) ต่อลิตร ถ้าสารนี้อันตรายจริงชาวประมงคงเสียชีวิตไปหมดแล้วในเกลือก็มี ในยาสีฟันก็มีพืชผักต่างๆ ก็มีโบรไมด์ไอออน แต่เพื่อความแน่ใจ ผมเลยนำข้อมูลวิจัยมาเทียบให้ดู จากการเก็บตัวอย่างพืชผักที่มีขายอยู่ในตลาดสดพบว่า กะหล่ำปลีมีโบรไมด์ไอออนปนเปื้อน 1.6 มก.ต่อ 1 กิโลกรัม (กก.) ขึ้นฉ่ายปนเปื้อน 5.9 มก.ต่อ 1 กก. ซึ่งมากกว่าที่พบในข้าว

โคเด็กซ์มีเกณฑ์กำหนดว่า ห้ามมีโบรไมด์ไอออนปนเปื้อนในพืชผักต่างๆ เช่นกัน อาทิ ขึ้นฉ่าย 300 มก.ต่อ 1 กก. กะหล่ำปลี 100 มก. ต่อ 1 กก. ซึ่งจะกำหนดค่าไว้สูงกว่าเมทิลโบรไมด์ เพราะโบรไมด์ไอออนตรวจในพืชผักชนิดใดก็เจอ และไม่มีผลต่อมนุษย์ ขณะที่เมทิลโบรไมด์โคเด็กซ์กำหนดปริมาณปนเปื้อนไว้ต่ำ เพราะตรวจอย่างไรก็ไม่เจอ เนื่องจากสารดังกล่าวมีลักษณะเป็นแก๊ส เปิดถุงออกมาเมทิลโบรไมด์ก็ระเหยไปหมดแล้ว

- เกณฑ์ความปลอดภัยของโบรไมด์ไอออนในข้าวอยู่ที่เท่าใด

โคเด็กซ์กำหนดว่า ปริมาณสูงสุดที่สามารถบริโภคได้อย่างปลอดภัยใน 1 วัน คือ 1 มิลลิกรัม (มก.) ต่อน้ำหนักตัวผู้บริโภค 1 กิโลกรัม (กก.) สารนี้จะถูกขับออกจากร่างกายประมาณครึ่งหนึ่งภายใน 14 วัน

"ยกตัวอย่างง่ายๆ ผมน้ำหนัก 90 กิโลกรัม สามารถรับโบรไมด์ไอออนได้ 90 มิลลิกรัมต่อวัน แต่ผมต้องกินข้าวสารถึง 90 กิโลกรัมต่อวัน ในความเป็นจริงไม่มีใครทำได้ เพราะถ้ากินขนาดนั้นคงท้องแตกตายก่อน แต่เพื่อความมั่นใจของผู้บริโภค ผมขอยืนยันด้วยตำแหน่งอธิบดีกรมวิชาการเกษตรอีกครั้งว่า หากมนุษย์ทานข้าวที่มีโบรไมด์ไอออนจะไม่เสียชีวิตแน่นอน" 

- หลังเป็นข่าว กรมไปสุ่มตรวจข้าวยี่ห้อใดบ้าง ผลเป็นอย่างไร


ผมให้เจ้าหน้าที่เก็บตัวอย่างข้าวทุกยี่ห้อที่เป็นข่าวในคืนเดียวกับที่เว็บออนไลน์เสนอข่าวพบสารในข้าว เก็บทั้งข้าวยี่ห้อที่พบสารรมควันข้าวไม่มาก และข้าวยี่ห้อที่มีสารตกค้างเกินมาตรฐาน นำมาตรวจทั้งเมทิลโบรไมด์ โบรไมด์ไอออน แถมด้วยการตรวจสารพิษอีก 99 ชนิด ผลที่ออกมาคือ ไม่มียี่ห้อใดพบสารเมทิลโบรไมด์ แต่ทุกยี่ห้อพบโบรไมด์ไอออน 

สิ่งที่ต้องการให้สังคมทราบมากที่สุดคือ เจ้าหน้าที่ไปเก็บตัวอย่างข้าวที่มีข่าวว่า พบสารเมทิลโบรไมด์เกินมาตรฐานของโคเด็กซ์ แต่ผลการทดสอบของกรม กลับไม่พบเมทิลโบรไมด์แม้แต่ตัวอย่างเดียว พบแต่โบรไมด์ไอออน 77.24 มก.ต่อข้าวสาร 1 กก. และเมื่อนำมาซาวน้ำ 2 ครั้ง จากนั้นนำไปหุงเป็นปกติ แล้วเอามาตรวจอีกครั้ง พบว่าข้าวยี่ห้อดังกล่าวมีโบรไมด์ไอออนอยู่ 5.1 มก.ต่อ 1 กก. ถ้าคิดว่าซาวมากครั้งไป ผมก็ทดลองซาวน้ำเพียง 1 ครั้งพบสารโบรไมด์ไอออน 4.4 มก.ต่อ 1 กก. เท่านั้น ซึ่งกินอย่างไร ก็ไม่เกินมาตรฐานต่อวัน สำหรับข้าวยี่ห้ออื่นที่เป็นข่าวนั้น ก็ไม่พบเมทิลโบรไมด์หรือ โบรไมด์ไอออนที่เป็นอันตรายเลย

"ผมขอไม่พูดว่า ยี่ห้อใดบ้างที่นำมาพิสูจน์ เพราะเดี๋ยวคนจะเข้าใจผิดว่ากรมมีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้ประกอบการ แต่ที่ต้องออกมาพูด เพราะจะขอแก้ต่างให้เกษตรกรไทย ให้ชาวนา"

- นอกจากตรวจสอบจากข้าวแต่ละยี่ห้อ กรมมีการตรวจสอบด้วยการรมควันข้าวในปริมาณสูงสุดด้วย 

เพราะอยากรู้ว่าถ้ารมควันข้าวด้วยสารเมทิลโบรไมด์ในอัตราสูงที่สุดที่ 80 กรัมต่อข้าวสาร 1 ลูกบาศก์เมตร หรือสามเท่าจากปกติที่โรงรมทั่วไปจะใช้เพียง 32 กรัม ต่อข้าวสาร 1 ลูกบาศก์เมตร (ข้าวสารปริมาตร 1.5 ลูกบาศก์เมตร หนักประมาณ 1 ตัน) ระยะเวลาในการรม 24 ชั่วโมง โดยไม่ปล่อยให้สารระเหย รมเสร็จก็นำไปบรรจุถุงทันที จากปกติที่โรงรมทั่วไปต้องรอให้สารระเหย 1 สัปดาห์จึงนำไปบรรจุถุง

ผมแยกตัวอย่างเป็น 8 กรณีศึกษา (รายละเอียดตามตาราง) ทั้งรม 1 ชั่วโมง รม 24 ชั่วโมง รมเสร็จแล้วทดสอบทันที หรือรมเสร็จแล้วเอาไปซาวน้ำก่อน และเพื่อความแน่ใจ เรายังนำข้าวไปหุงแล้วเอามาทดสอบ มีบางตัวอย่างตรวจพบสารทั้งสองชนิด เราจึงทดสอบว่าถ้าเก็บข้าวไว้ 3 วัน สารต่างๆจะหมดไปหรือไม่

ซึ่งบางตัวอย่างก็พบสารเมทิลโบรไมด์ บางตัวอย่างแม้ทิ้งไว้ 3 วันก็ยังมีโบรไมด์ไอออน แต่ต้องไม่ลืมว่าตัวอย่างเหล่านี้ กรมใช้สารรมข้าวมากกว่าโรงรมถึง 3 เท่าตัว เมื่อเทียบสูตรปริมาณที่บริโภคแล้วปลอดภัย ข้าวเหล่านี้ก็ยังทานได้ อย่างไรก็ตาม เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคเอง ก่อนหุงข้าวขอให้ซาวน้ำก่อนทุกครั้ง

- ทำไมผลการตรวจสอบของกรมวิชาการเกษตร กับหน่วยงานอิสระถึงออกมาต่างกัน 

ได้ร่วมพูดคุยกับผู้ที่เกี่ยวข้องพร้อมทั้งวิเคราะห์ข้อมูลการเปรียบเทียบคาดว่า ผู้แถลงข่าวน่าจะมีเจตนาที่ดี แต่อาจอ่านข้อมูลชื่อสารผิด จากโบรไมด์ไอออน เป็นสารรมข้าวเมทิลโบรไมด์ที่มีผลต่อสุขภาพมนุษย์ ซึ่งกราฟที่ใช้ในการแถลงข่าวที่กำกับอยู่ด้านล่างก็เขียนชัดว่าเป็นโบรไมด์ไอออน

อย่างไรก็ตาม กรมทราบแล้วว่า บริษัท เอสจีเอส (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้วิเคราะห์สารตกค้างให้กับผู้ให้ข่าว ซึ่งถ้านำผลวิจัยของกรมไปเทียบเคียงกับผลวิจัยของผู้ให้ข่าวจะพบว่า ตัวเลขโบรไมด์ไอออนที่ผู้ให้ข่าวนำเสนอว่าเป็นเมทิลโบรไมด์นั้น ยังต่ำกว่าสารโบรไมด์ไอออนที่กรมวิชาการเกษตรตรวจพบ
"ทั้งสองฝ่ายทราบแล้วว่าให้ข้อมูลผิด สิ่งที่อยากจะเรียกร้องต่อจากนี้คือ พวกคุณมีสิทธิให้ข้อมูล แต่เมื่อรู้ว่าให้ข้อมูลผิดพลาดก็ต้องออกมายอมรับผิด ความรับผิดชอบต่อสังคมต้องมี ถ้าใครให้ข้อมูลผิดก็ต้องออกมารับผิดชอบ"
- ที่ผ่านมามีการเปรียบเทียบมาตรฐานสารตกค้างในข้าวของประเทศจีนกับมาตรฐานของโคเด็กซ์ว่าแตกต่างกันมาก
รู้ไหมว่ามาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่การกำหนดกำแพงภาษี แต่ทำด้วยการกำหนดมาตรฐานสินค้าก็เป็นอีกทางหนึ่งที่ประเทศคู่ค้าสามารถทำได้ ซึ่งมาตรฐานของโคเด็กซ์เป็นสิ่งที่ทั่วโลกให้การยอมรับ เป็นองค์กรกลางที่รับรองจากองค์การการค้าโลก มีผู้แทนจากทุกประเทศที่เป็นนักวิทยาศาสตร์เฉพาะสารพิษตกค้าง 

เวลากำหนดมาตรฐานอาหารสิ่งปนเปื้อนในอาหารแต่ละชนิด จะมีผู้แทนจากทั่วโลกร่วมให้มติว่า เกณฑ์ที่โคเด็กซ์ประกาศใช้นั้นปลอดภัยหรือไม่ ถ้าไม่ปลอดภัย นักวิชาการที่เตรียมข้อมูลไปร่วมประชุมก็คงต้องค้านแล้ว
ที่มา :ประชาชาติธุรกิจ
[Continue reading...]
 
Copyright © . Yak Ratchaprasong - Posts · Comments
Theme Template by BTDesigner · Powered by Blogger