Saturday, July 6, 2013

หลักฐานที่เป็นภาพนิ่งบางส่วนที่แสดงว่า ทหารใช้อาวุธจริงยิงประชาชนด้วยการสั่งการของนายอภิสิทธิ์

- 0 comments
"อนุพงษ์"  วอนหยุดใส่ร้ายทหารฆ่าประชาชน ท้าเอาหลักฐานพิสูจน์ พร้อมรับผิดชอบหากสั่งฆ่าจริง
“ยืนยันว่าเจ้าหน้าที่ทหารไม่ได้ยิงประชาชน หากมีตรงไหนที่เราสั่งให้ยิงประชาชนให้เอามาได้เลย ผมรับผิดชอบเอง ตั้งแต่แม่ทัพภาค ผู้บัญชาการกองพลจนถึงพลทหารที่ถือปืน ท่านลองไปดูว่า มีคำสั่งให้ทหารยิงหรือไม่ เราไม่เคยสั่งเช่นนั้น ทหารของกองทัพบกที่มาทำงานเกินครึ่งเป็นคนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขารู้อยู่เต็มอกว่า ได้รับคำสั่งให้ไปทำอะไร ผมยืนยันว่า เราไม่มีคำสั่งอย่างนี้ ผมไม่ได้ว่าใครยิง แต่ให้คนที่พูดไปดูและพิสูจน์มา อย่ามาให้ร้ายว่าคนโน้นคนนี้ยิง ผมยืนยันกับสังคมว่า การกระทำอย่างนี้เป็นสิ่งไม่ถูกต้อง สิ่งที่ผมกังวลคือ มีการใส่ร้ายทหาร ซึ่งทำไม่ได้ เพราะสถาบันหลักทหารเป็นสถาบันของชาติ เราอยู่กับประชาชน ทหารไม่มีทางทำร้ายประชาชน เพราะจะให้ผมสั่งอย่างนั้นทำไม่ได้ หากมีคำสั่งที่เป็นลายลักษณ์อักษร หรือเป็นวาจานำมายืนยันได้ ผมจะรับผิดชอบทุกอย่าง” พล.อ.อนุพงษ์ กล่าว 9 กันยายน 2553



 หลักฐาน ที่ยืนยันการใช้กระสุนจริงของทหาร















หลักฐาน ทหารยิงปืนใส่ประชาชน





























































































































































หลักฐาน ประชาชนถูกยิงบาดเจ็บล้มตายเกลื่อนแถมส่วนใหญ่ไม่มีอาวุธในมือ

















































































































































































หลักฐาน พวกที่ถูกจับมัดมือและปิดตา
นับร้อยคนจนถึงขณะนี้บางส่วน ยังไม่ทราบชะตากรรม






























































































หลักฐาน พาหนะที่ใช้ปฏิบัติการกระชับพื้นที่

























หลักฐาน อาวุธปราบม็อบของทหารที่ถูกคนเสื้อแดงยึดมาได้
หลังสกัดการสลายม็อบได้ แถวแยกคอกวัวและอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย













หลักฐาน ทหารนอกเคลื่อนแบบถืออาวุธสงครามปฏิบัติการกระชับพื้นที่
















































หลักฐาน โฉมหน้าพวกป่วนแถวสีลมแล้วหนีตำรวจเข้าไปในเขตทหาร
ตำรวจตามไปจับกุมถูกปืนจากพวกทหารจ่อหัวโดยทหาร
อ้างว่าคนเหล่านี้เป็นมวลชนของตน


















ที่มา:มาหาอะไร


[Continue reading...]

สิ่งที่นายชวนไม่ได้พูดในทอล์คโชว์ นโยบายดอกเบี้ย - สถาบันการเงิน 3 ปีเสียหาย 2.7 ล้านล้าน

- 0 comments
วิกฤตต้มยำกุ้ง เป็นต้นเหตุของความเสียหายทางเศรษฐกิจ
ซึ่งเป็นผลจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ในสมัย นายกพล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ
ประเทศไทยมีการพัฒนาการผลิตเพื่อส่งออก ที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่ดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยเกิดการขาดดุลอย่างต่อเนื่อง เพราะการส่งออกที่หดตัว
 
มีการลงทุนที่เกินตัว โดยช่วง พ.ศ. 2530 ถึง พ.ศ. 2539 กิจการอสังหาริมทรัพย์ เช่น สนามกอล์ฟ ที่อยู่ อาคาร สวนเกษตร หรือสำนักงานต่าง ๆ เกิดขึ้น และเติบโตมาก แต่มีการกู้ยืมเงินต่างประเทศ และการระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์เพื่อมาลงทุน ต่อมาราคาอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ประกอบการจึงเข้ามาลงทุนกันจำนวนมากเพื่อเก็งกำไร ก่อให้เกิด “ภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่” ( Economic Bubble / Bubble Economy ) เป็นภาวะที่ราคาอสังหาริมทรัพย์เพิ่มสูงกว่าความเป็นจริง และเพิ่มอย่างต่อเนื่อง ผู้ประกอบการลงทุนเพิ่มขึ้น มีการขยายตัวเหมือนฟองสบู่ เราอาจเคยเจอคำว่า “ภาวะฟองสบู่แตก” นั่นคือ ภาวะฟองสบู่ราคาสินทรัพย์เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อราคาเริ่มลดลง ผู้ประกอบการจะเลิกลงทุน เกิดการหดตัวเหมือนฟองสบู่ที่หดตัวอย่างรวดเร็ว และเกิดปัญหาหนี้เสียขึ้นตามมา เหมือนฟองสบู่ที่แตก
 
พ.ศ. 2539 ถึง พ.ศ. 2540 รัฐบาลไม่เชื่อมั่นสถาบันการเงินในประเทศ และสั่งปิดสถาบันการเงินไปถึง 58 สถาบัน โดยรัฐบาลต้องใช้เงินสนับสนุนสถาบันการเงินเหล่านั้นถึง 6 แสนล้านบาท จาก “กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงิน” ซึ่งเป็นหน่วยงานของธนาคารแห่งประเทศไทย
 
มีนักลงทุนต่างชาติ มีการจัดตั้งกองทุน “Hedge Funds” เพื่อโจมตีค่าเงินบาทไทย ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงนำเงินทุนสำรองถึง 24,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐมาปกป้องค่าเงินบาท เมื่อเงินสำรองมีน้อยลง นายเริงชัย มะระกานนท์ ผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจึงประกาศ “ลอยตัวค่าเงินบาท” เมื่อ 2 ก.ค. 2540 เป็นการเริ่มต้นวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง   
 

พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ หัวหน้าพรรคความหวังใหม่ จุดแตกหักของวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้เกิดขึ้นตอนเช้าตรู่วันที่ 2 กรกฎาคม 2540 เมื่อรัฐบาลประกาศลอยตัวค่าเงินบาท ทำให้ค่าเงินบาทอ่อนตัวอย่างทันทีทันใด จากเดิมประมาณ 25.60 บาทต่อ 1 ดอลล่าร์สหรัฐ เป็น 28.75 บาทต่อ 1 ดอลล่าร์สหรัฐในเวลาเพียง 24 ชั่วโมง และค่าเงินบาทอ่อนลงตามลำดับ ในช่วงต่ำสุดเคยตกลงถึง 55 บาทต่อ 1 ดอลล่าร์สหรัฐ 

วิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้ นอกจากทำให้ธุรกิจเอกชน เช่น บริษัทบ้านจัดสรร อุตสาหกรรมก่อสร้าง อุตสาหกรรมผลิตวัสดุก่อสร้าง สถาบันการเงิน ธนาคาร ธุรกิจการพิมพ์การโฆษณา ถูกกระทบอย่างรุนแรง หลายแห่งต้องปิดกิจการ หลายแห่งมีหนี้ท่วมตัว พนักงานจำนวนมากถูกปลดออกจากงาน และรัฐบาลถูกกดดันให้ลาออกแล้ว วิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้ยังส่งผลให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจในประเทศมาเลย์เซีย อินโดนีเซีย เกาหลี ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ รัสเซีย และประเทศอื่นๆ มากบ้างน้อยบ้าง
ความพยายามของธนาคารแห่งประเทศไทยในการพยุงค่าเงินบาท ทำให้เงินสำรองเงินตราต่างประเทศหมดคลังจนต้องขอกู้จากกองทุนการเงินระหว่างประเทศจำนวน 17,200 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อพยุงฐานะทางการเงินของประเทศ และรัฐบาลไทยจำต้องยอมรับเงื่อนไขต่าง ๆ ที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศกำหนดขึ้น เช่น งบประมาณแผ่นดินจะต้องตั้งเกินดุล 1 เปอร์เซ็นต์ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ ภาษี มูลค่าเพิ่มจะต้องเพิ่มจากร้อยละ 7 เป็นร้อยละ 10 ต้องแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
สาเหตุของวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้ เข้าใจกันว่าเกิดจากการดำเนินนโยบายผิดพลาดที่สำคัญ 2 ประการของธนาคารแห่งประเทศไทย ได้แก่
1) การใช้เงินกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินไปช่วยเหลือสถาบันการเงินจนเกิดความเสียหายเกินที่จะเยียวยา และจำต้องปิดบริษัทไฟแนนซ์ 56 แห่ง
2) การสูญเสียเงินสำรองระหว่างประเทศในการปกป้องการโจมตีค่าเงินบาท จนนำไปสู่วิกฤตเงินทุนสำรอง ทำให้เงินบาทขาดเสถียรภาพนับตั้งแต่การตัดสินใจเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนจากระบบตะกร้าเงินมาเป็นระบบลอยตัว
เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 สาเหตุ 2 ประการข้างต้นมีที่มาจากการเร่งรัดเปิดระบบวิเทศธนกิจ หรือ BIBF (Bangkok International Banking Facility) เมื่อปี 2536-2537 ทำให้เกิดการก่อหนี้ต่างประเทศของภาคเอกชนจำนวนมหาศาลถึง 70,000 ล้านบาท ในขณะที่ค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐถูกตรึงค่าอยู่ที่ 25.60 บาท ต่อ 1 ดอลล่าร์สหรัฐ แต่เมื่อปล่อยค่าเงินบาทลอยตัว ค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐสูงถึง 45-50 บาท ต่อดอลล่าร์สหรัฐในช่วงหลังวิกฤตได้ไม่นาน ทำให้หนี้เงินกู้ของบริษัทเอกชนเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว และพากันล้มละลายหรือมีหนี้ท่วมตัว
 
วันที่ 6 พฤศจิกายน 2540 พลเอกชวลิตก็ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่ง

นายชวน หลีกภัย ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีในอีก 3 วันต่อมา ด้วยฝีมือการจัดตั้งรัฐบาลชั้นเซียนของพลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ โดยเอาชนะอีกฟากหนึ่งที่พยายามชูพลเอกชาติชายเป็นนายกฯ
ชัยชนะครั้งนี้มีเหล่าพลพรรค “งูเห่า” ทั้ง 12 คน แห่งพรรคประชากรไทย และนายมนตรี พงษ์พานิช แห่งพรรคกิจสังคม เป็นตัวแปรสำคัญ (การเป็นรัฐบาล ไม่ต่างอะไรกับนายอภิสิทธิ์)

นี่คือจุดเริ่มต้นของรัฐบาล นายชวน หลีกภัย

วันที่ 20 พ.ย. 2540 ซึ่งเป็นวันที่รัฐบาลชวน 2 ได้แถลงนโยบายอย่างสวยหรู โดยการกำหนดแผนดำเนินการแก้ไขอย่างเร่งด่วน และวางแผนไปถึงระยะยาว ขณะนั้น นโยบายเร่งด่วนที่ประกาศคือ การเสริมสร้างเสถียรภาพและความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจ การแก้ไขปัญหาสถาบันการเงินและการเสริมสภาพคล่องทางธุรกิจ และได้ออกมาตรการคือ ต้องแก้ไขปัญหาสถาบันการเงินที่ถูกปิดกิจการชั่วคราวทันที โดยให้องค์การเพื่อการปฏิรูปสถาบันการเงิน (ปรส.) ดำเนินการ 3 แนวทางคือ
  1. กลุ่มบริษัทที่สามารถเพิ่มทุนให้เปิดดำเนินการได้ทันที
  2. กลุ่มที่จำเป็นต้องควบรวมให้จัดการให้มีการควบรวมกิจการทันที
  3. กลุ่มบริษัทที่มีปัญหาและต้องปิดกิจการให้จัดการแบ่งแยกสินทรัพย์ที่มี คุณภาพดี และเปิดโอกาสให้สถาบันการเงินภายในหรือต่างประเทศรับไปบริหารส่วนสินทรัพย์ ดี

ผลที่ตามมาจากมาตรการข้างต้นคือ
  • มีการปิดสถาบันการเงิน 56 แห่งและอนุมัติให้ 2 แห่งเปิดดำเนินการต่อไปได้
  • หลัง การปิดสถาบันการเงินไม่ได้แยกสินทรัพย์ที่มีคุณภาพดีให้สถาบันการเงินอื่นไป บริหาร เพราะผู้บริหารปรส. อธิบายว่า ปรส.ไม่ได้มีหน้าที่ไปแยกหนี้ดี-หนี้เสีย ไม่มีหน้าที่ประนอมหนี้ ไม่มีหน้าที่รักษาค่าของสินทรัพย์ให้คงอยู่หรือดีขึ้น ปรส.มีหน้าที่เพียงเลหลังขายสินทรัพย์ราคาถูกๆ เท่านั้น
  • วัน ที่รัฐบาลชวน หลีกภัยรับงานไปจากรัฐบาล พล.อ.ชวลิต ทรัพย์สินของบริษัทเงินทุนมีอยู่ประมาณ 984,000 ล้านบาท กองทุนฟื้นฟูในวันนั้นถือหลักประกันของบริษัทเงินทุนเหล่านี้ในมูลค่า 984,000 ล้านบาท ถ้าหากมีการควบรวมแยกหนี้ดี-เสีย จริงๆ ตามแผนที่ทำไว้เสร็จเรียบร้อยแล้ว (เพราะทุกบริษัทได้มีการ Due Diligence และมีแผนควบรวมไว้เรียบร้อยแล้ว) ปัญหาก็คงไม่เกิดขึ้น

ทำให้เกิดความเสียหายสูงถึง 7 แสนล้านเป็นเพราะความบกพร่องผิดพลาดและการปฏิบัติที่ไม่โปร่งใส ของ ปรส.ที่นำสินทรัพย์ดีๆ ไปขายแบบเลหลัง

นโยบายดอกเบี้ย - สถาบันการเงิน 3 ปีเสียหาย 2.7 ล้านล้าน


รัฐบาลชวน หลีกภัย เข้ามาบริหารประเทศตั้งแต่วันที่ 17 พ.ย. 40 นับเป็นเวลาเกือบ 3 ปี รัฐบาลมีนโยบายและมาตรการออกมาแก้ไขวิกฤตการณ์เศรษฐกิจ ภายใต้การควบคุมของหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์ รมว.กค. และ ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล เป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย แนวทางดำเนินมาตรการทางการเงินการคลังเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาลตาม รายงานของกระทรวงการคลังมี 6 ครั้ง (ไม่นับมาตรการฉบับ ครม.31 ตุลาคม 2543) และเริ่มในหนังสือแสดงเจตจำนงที่ทำไว้กับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ตั้งแต่ฉบับที่ 2 เป็นต้นมา

จากผลการสำรวจคนในวงการ เศรษฐกิจการเงินการธนาคารทั้งนายแบงก์ ผู้ประกอบการ นักวิชาการ และเจ้าหน้าที่สำนักวิจัยเพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลนโยบายมาตรการสถาบัน การเงิน สรุปผลได้ว่า ล้มเหลวและน่าผิดหวังกับรัฐบาลชุดนี้ สามารถพิสูจน์ความเสียหายในแต่ละกรณีทั้งการแก้ปัญหาสถาบันการเงินและนโยบาย อัตราดอกเบี้ย ถมสถาบันการเงินสูญเสีย 1.3 ล้านล้าน

การแก้ปัญหาสถาบันการเงิน ประกอบด้วย
1)
การประมูลขายสินทรัพย์ของสถาบันการเงิน 56 แห่ง องค์การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อพิจารณาแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ที่ ถูกปิด 56 บริษัท ปรส.ทำหน้าที่จัดการสินทรัพย์และนำออกขายเพื่อนำรายได้ส่งคือแก่เจ้าหนี้ของ บริษัทและกองทุนฟื้นฟู
ในวันที่ 23 มิถุนายน 2541 รัฐบาลได้ออกพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 เพื่อให้ผู้ซื้อทรัพย์สินจาก ปรส.ได้กรรมสิทธิ์สมบูรณ์ จากนั้นได้เริ่มประมูลสินทรัพย์หลักครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2541
จากตัวเลขสรุปผลการ จำหน่ายสินทรัพย์ ณ วันที่ 13 สิงหาคม 2542 ปรากฏว่าจำหน่ายสินทรัพย์ ปรส.ได้ทั้งสิ้น 327,714 ล้านบาท ในขณะที่ราคาประเมินสินทรัพย์เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2540 เท่ากับ 851,000 ล้านบาท การบริหารจัดการอย่างไม่มีประสิทธิภาพทำให้เกิดการขาดทุนถึง 523,286 ล้านบาท ผลกระทบที่ตามมาทำให้กองทุนฟื้นฟูต้องประสบปัญหา ซึ่งชดเชยด้วยภาษีอากรจากประชาชน

2)
มาตรการ 4 สิงหาคม 2541 ได้แก่ โครงการช่วยเพิ่มเงินกองทุนชั้นที่ 1 และ 2 วงเงิน 300,000 ล้านบาท การแทรกแซงสถาบันการเงิน 2 ธนาคารและบริษัทเงินทุน 12 แห่ง ที่ขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรงและการกำหนดควบรวมกิจการขาย และกิจการธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ มหานคร นครหลวงไทย และธนาคารศรีนคร

มีสถาบันการเงินขอรับ ความช่วยเหลือ รวมคิดเป็นมูลค่า 72,000 ล้านบาทจากวงเงิน 3 แสนล้านบาท หรือร้อยละ 24 ขอวงเงิน "มาตรการ 14 สิงหาคมจึงยังไม่สามารถช่วยให้ธนาคารเพิ่มทุนได้อย่างเพียงพอกับความเสีย หาย" ในขณะที่ออกมาตรการหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) เท่ากับ 36.20% เมื่อประเมินช่วงเวลา 1 ปีหลังจากมาตรการจะพบว่า หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้สูงขึ้นเป็น 47%

"
มาตรการ 14 สิงหาคม นี้เป็นนโยบายที่สถาบันการเงินไม่ตอบรับเนื่องจากเกรงว่าจะถูกรัฐแทรกแซง เห็นได้จากการที่ทางธนาคารกรุงเทพ กสิกรไทย และธนาคารกรุงศรีอยุธยา ได้ออกตราสารประเภท CAPS หรือ SLIPS เองเพื่อทดแทนเงินกองทุนที่ลดลงด้วยปริมาณที่มากถึง 1.08 แสนล้านบาท โดยจำเป็นต้องให้ผลตอบแทนที่สูงเพื่อจูงใจนักลงทุน ทำให้อัตราดอกเบี้ยจ่ายสูงประมาณ 11% สูงกว่าดอกเบี้ยตลาดประมาณ 4% คิดเป็นความเสียหายจากต้นทุนที่เพิ่มกว่ากู้ปกติ 4,321.2 ล้านบาท และเมื่อประมาณความเสียหายจากการขายธนาคารที่รัฐเข้าไปแทรกแซงตามมาตรการ 14 ส.ค. ทำให้รัฐบาลต้องขาดทุนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเอ็นพีแอลของธนาคารที่รัฐยึดมาสูงถึง 1.2 ล้านล้านบาท

จากการประเมินการขาย ธนาคารรัฐต้องรับผิดชอบความสูญเสีย (loss sharing) 85% ของเอ็นพีแอล และ Yield maintenance เท่ากับ 1% ของสินเชื่อที่ไม่ได้รายได้

"
คำนวณได้ว่าจะเกิดความ สูญเสียที่แน่ชัดแล้ว 40,000 ล้านบาทต่อแห่ง และหากการดำเนินงานของธนาคารต่อไปประสบกับภาวะดังเช่นที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน นี้ คาดว่า ความเสียหายจะเพิ่มขึ้นถึง 136,000 ล้านบาทต่อแห่ง"

เมื่อรวมทั้ง 3 ธนาคารคือ ธนาคารศรีนคร นครธน และธนาคารรัตนสิน รวมเป็นมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นแน่นอนแล้วรวมเท่ากับ 120,000 ล้านบาท และสามารถมีความเสียหายในอนาคตได้รวมมากถึง 408,000 ล้านบาท

3)
มาตรการจัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์ (AMC) ของธนาคารกรุงไทย เพื่อโอนหนี้เสียออกจากธนาคารกรุงไทย 537,000 ล้านบาท เป็นการโอนหนี้เสียจำนวนดังกล่าวออกจากระบบบัญชีของธนาคารกรุงไทย ซึ่งบริษัทบริหารสินทรัพย์จะให้กองทุนฟื้นฟูอาวัลตั๋วเงินเพื่อใช้ในการซื้อ หนี้ดังกล่าว แต่ปรากฏว่า แทนที่จะซื้อหนี้ในราคาตลาดปัจจุบันกลับจะซื้อในราคาเต็มตามมูลค่าทางบัญชี (สังเกตได้จากผลรวมของเงินที่อุดหนุนให้แก่ธนาคารและบริษัทบริหารสินทรัพย์ ทั้งหมด) เป็นราคาที่สูงกว่าราคาตลาดประมาณ 2 เท่า ทำให้เกิดความเสียหายโดยจะตกเป็นหนี้ของกองทุนฟื้นฟูและรัฐบาลในที่สุด ประมาณ 268,500 ล้านบาท

4)
การออกพันธบัตรเพื่อชดเชยความเสียหายของกองทุนฟื้นฟู ระหว่าง พ.ค. - ต.ค. 2541 ได้แก่ งวดวันที่ 10 พ.ค. 2541 งวดแรกและงวดสองรวม 150,000 ล้านบาท มีอายุ 1 ปี ดอกเบี้ย 12.75% วันที่ 31ส.ค. 2541 งวดสาม 50,000 ล้านบาท แบ่งเป็น 50,000 ล้านบาทระยะเวลา 5 ปี อัตราดอกเบี้ย 8.25% และอีก 50,000 ล้านบาท ระยะเวลา 7 ปี อัตราดอกเบี้ย 8.5% ยังมีการออกพันธบัตรในหลาย ๆ คราวอีกประมาณ 90,000 ล้านบาท และต้องมีการออกเพิ่มเติมจนกระทั่งครบ 500,000 ล้านบาท เพื่อชดเชยความเสียหายเต็มจำนวนให้กับกองทุนฟื้นฟู รวมออกพันธบัตรทั้งสิ้นที่ออกไปแล้เท่ากับ 390,000 ล้านบาท แต่ต้องครบจำนวนที่ 500,000 ล้านบาท

ส่วนนี้เป็นส่วนที่ช่วย เหลือกองทุนฟื้นฟูที่ได้รับความเสียหายจากการประมูล ปรส.โดยเป็นการออกพันธบัตรเป็นงวด ๆ ขณะนี้ออกไปแล้วประมาณ 390,000 ล้านบาท แต่ต้องมีการออกพันธบัตรให้ครบตามจำนวนทั้งสิ้น 500,000 ล้านบาท เมื่อประเมินภาระดอกบี้ยของพันธบัตรเฉพาะส่วนที่ออกไปแล้วประมาณ 390,000 ล้านบาท ภาระที่ต้องจ่ายรวมทั้งหมดประมาณ 114,830 ล้านบาท (คิดรวมจนเสร็จสิ้นระยะเวลาแล้ว) ยังมีความเสียหายจากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่รัฐต้องจ่ายแพงในช่วงภาวะอัตรา ดอกเบี้ยสูงในการออกพันธบัตรเพื่อชดเชยความเสียหายของกองทุนฟื้นฟู 4 งวด รวมมูลค่า 3 แสนล้านบาท ต้องจ่ายอัตราดอกเบี้ยที่สูงเกินกว่าอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงในต่างประเทศ 6% (U.S. Government securities ระยะ 7 ปี) คำนวณเป็นความเสียหายที่ต้องจ่ายอัตราดอกเบี้ยสูงเกินจริงรวมเท่ากับ 14,625 ล้านบาทต่อปี รวมเป็นความเสียหายทั้งหมดจากช่วงออกพันธบัตรจนถึงปัจจุบัน (ตุลาคม 2543) เท่ากับ 29,250 ล้านบาท

สรุปผลความเสียหาย จากการดำเนินนโยบายการแก้ไขปัญหาสถาบันการเงิน กรณี ปรส.กรณีกองทุนฟื้นฟูและมาตรการ 14 สิงหาคม รวมทั้งสิ้น 1,348,188 ล้านบาท

นโยบายดอกเบี้ยผิดพลาดเสียหาย 1.3 ล้านล้านบาท

นโยบายอัตราดอกเบี้ยของ รัฐบาลชวน แบ่งเป็น ช่วงครึ่งหลังของปี 2540 ถึงไตรมาส 2 ปี 2541 ใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยสูง เนื่องจากรัฐบาลต้องการสร้างเสถียรภาพของค่าเงินบาทด้วยการตรึงอัตรา ดอกเบี้ยสูงเกินกว่าค่ามาตรฐานตามภาวะทางการเงินในขณะนั้น ในหนังสือแสดงเจตจำนงฉบับที่ 2 (พ.ย. 2540) กำหนดให้อัตราดอกเบี้ย อินเตอร์แบงก์อยู่ระหว่าง 15 - 20% และต่อมาอยู่ในระดับสูงกว่า 20% จนถึงไตรมาส 2 ปี 2541 "แต่เนื่องจากรัฐบาลตรึงอัตราดอกเบี้ยในระดับสูงนานเกินไปจนทำให้อัตรา ดอกเบี้ยระยะยาวคืออัตราดอกเบี้ยเงินกู้สูงตามไปด้วยในขณะที่การแก้ไขปัญหา สถาบันการเงินยังไม่คืบหน้า การใช้อัตรดอกเบี้ยสูงยิ่งก่อให้เกิดปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ใน สถาบันการเงินและทำให้ต้นทุนในการกู้ยืมของภาคการผลิตสูงขึ้น เกิดปัญหาสภาพคล่องตึงตัวอย่างยาวนาน ธุรกิจล้มละลายส่งผลกลับเป็นวงจรสู่สถาบันการเงิน" ช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำที่สุดคือช่วงไตรมาส 3 ปี 2541 ซึ่งเศรษฐกิจไทยหดตัวร้อยละ 10.4 มีคนว่างงานประมาณ 1.423 ล้านคน (ถ้าประเมินขั้นสูงเท่ากับ 2.1 ล้านคน) และ NPL ระบบเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 42.32 จากช่วงต้นปีร้อยละ 20.92

ไตรมาส 3 ปี 2541 ถึงปัจจุบัน ใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำ "ภายหลังไตรมาส 2 ปี 2541 การใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำจึงไม่ได้กระตุ้นระบบเศรษฐกิจ เพราะปัญหาในภาคการเงินได้ลุกลามไปมากกว่าระดับที่จะสามารถใช้การจัดการโดย นโยบายการเงินให้ลุล่วงได้ด้วยศักยภาพของระบบ ภาคธุรกิจล้มละลายไปมาก" หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อง ๆ จนเดือนพฤษภาคม 2542 มีปริมาณ สูงสุดถึง 2,730,266 ล้านบาท หรือ 47.72% เมื่อประเมินความเสียหายจากนโยบายอัตราดอกเบี้ยและสภาพการตอบรับทางภาค เศรษฐกิจจริงพบว่า

1)
ความเสียหายที่เกิดกับระบบสถาบันการเงิน ในช่วงที่รัฐบาลชวนเข้ามาบริหารงานนั้น ในเดือนธันวาคมปี 2540 หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้มีมูลค่าเท่ากับ 1.37 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 19.78 ต่อสินเชื่อรวมเมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคมปี 2543 ที่ NPL เท่ากับ 1.59 ล้านบาท สามารถประเมินความสูญเสียจากนโยบายดอกเบี้ยที่ผิดพลาดของรัฐบาลที่มีผลทำให้ NPL สูงขึ้นเท่ากับ 2.2 แสนล้านบาท

2)
ความเสียหายจากการว่างงานที่สูงขึ้น หากประเมินจากรายได้ที่สูญเสียจากผู้ว่างงานรวมปี 2541-2542 โดยคำนวณจากฐานค่าจ้างขั้นต่ำ (เช่นปี 2542 ประมาณ 5,292บาทต่อเดือน จากสำนักงานสถิติแห่งชาติ) และหักผู้รองานตามฤดูกาลออกไป รวมทั้งหักแรงงานที่ว่างงานตามธรรมชาติ (ซึ่งในที่นี้สมมติให้เท่ากับอัตราการว่างงาน ณ ปี 2540 เท่ากับร้อยละ 1.9 ซึ่งเป็นการผ่อนปรนเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากอัตราการว่างงานตามธรรมชาติโดยแท้จริงควรจะต่ำกว่าปีที่เกิด วิกฤตการณ์ปี 2540) สามารถคำนวณความสูญเสียขั้นต่ำได้เท่ากับ 210,145 ล้านบาท

3)
ประเมินความเสียหายจากภาคการผลิตจริง หากประเมินจากตัวเลขคาดคะเนอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ จากหนังสือแสดงเจตจำนงฉบับที่ 2 ซึ่งเป็นช่วงแรกที่รัฐบาลชวนได้เข้ามาบริหารประเทศ ได้คาดคะเนอัตราการเติบโตปี 2541 เท่ากับร้อยละ 0 ถึง 1 ซึ่งหลังจากนั้นมีการปรับลงในหลายฉบับต่อมาคือ LOI3 เป็นลบ 3 ถึงลบ 3.5 LOI4 เป็นลบ 4 ถึงลบ 5.5 LOI5 เป็นลบ 7 ดังนั้นประเมินได้ว่ารัฐบาลคาดการณ์สูงกว่าความเป็นจริงเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 6.575 หรือประเมินเป็นตัวเลขผิดเท่ากับ 2.513 แสนล้านบาท แสดงถึงความล้มเหลว ในการดำเนินมาตรการทั้งปวงที่ต้องการส่งผลต่อภาคเศรษฐกิจจริง ทำให้การเพิ่มศักยภาพในส่วนการก่อให้เกิดรายได้ในภาคเศรษฐกิจจริงต่ำกว่าที่ ควรเป็นตัวเลขประเมินดังกล่าวถือเกณฑ์ว่าหากประเมินภาพรวมที่แม่นยำ ย่อมทำให้นโยบายการเงินการคลังสอดคล้องกับสถานะการณ์ทั่วไป

4)
ประเมินความเสียหายที่เกิดจากตลาดหลักทรัพย์ มีหลักการประเมินอยู่ว่าถ้าในกรณีที่ตลาดหลักทรัพย์ไทยอยู่ในสถานการณ์ที่ เลวร้ายที่สุดให้เท่ากับตลาดหลักทรัพย์ของประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่เกิดความเสียหายมากที่สุดในวิกฤตการณ์เอเซีย เมื่อประเมินในกรณีเลวร้ายที่สุดอย่างเช่นประเทศอินโดนีเซีย ดัชนีหลักทรัพย์ไทยยังน้อยกว่าประเทศอินโดนีเซียเท่ากับ 154 จุด ซึ่งสามารถคำนวณออกมาเป็นมูลค่าตลาดได้เท่ากับ 6.895 แสนล้านบาท หรือถือได้ว่าประเมินความสูญเสียเท่ากับ 6.895 แสนล้านบาท

สรุปความเสียหาย จากการดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยทั้งสองช่วงที่มีผลให้ธุรกิจเกิดการล้ม ละลาย หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้สูงขึ้น และคนงานว่างงานมากขึ้นรวมความสูญเสียเท่ากับ 1,370,945 ล้านบาท

ที่มา :วิกฤตต้มยำกุ้ง สถาบันพระปกเกล้า
          มาหาอะไร
          วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
          www. nidambe11.net
          สำนักข่าวอิศรา
 

 
[Continue reading...]
 
Copyright © . Yak Ratchaprasong - Posts · Comments
Theme Template by BTDesigner · Powered by Blogger