Wednesday, June 26, 2013

"โผ" ใครเป็นใครในครม.ปู 5 นายก ควบเก้าอี้กลาโหม (หญิง) คนแรก

- 0 comments
รายงานข่าวจากพรรคเพื่อไทย เผยรายชื่อบุคคลโผสุดท้ายที่คาดหมายว่าจะเข้ามารับตำแหน่งต่างๆ ใน "ครม.ปู 5" ดังนี้

การปรับครม.ปู 5 คาดว่าจะมีการปรับมาก 18-20 ตำแหน่ง บางส่วนเป็นการหมุนสลับตำแหน่ง บางส่วนเป็นการปรับออก สำหรับตำแหน่งต่างๆ อาทิ 

นางสิริกร มณีรินทร์ อดีตรมช.ศึกษาธิการและอดีตรมช.สาธารณสุข จะได้กลับมานั่งเก้าอี้รัฐมนตรีอีกครั้ง ในตำแหน่งรมต.ประจำสำนักนายกฯ

พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก จะโยกมาเป็นรองนายกฯ ดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ 

ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯ ย้ายไปเป็นรมว.แรงงาน 

นายชัยเกษม นิติศิริ อดีตอัยการสูงสุด คาดจะมานั่งเก้าอี้รมว.ยุติธรรม 

นายกิติรัตน์ ณ ระนอง จะยังนั่งเก้าอี้รองนายกฯ และรมว.คลัง 

นายวราเทพ รัตนากร ยังคงเป็นรมต.ประจำสำนักนายกฯ 

นายพีรพันธุ์ เป็น รมช.ศึกษาธิการ 

นางพนิตา กำภู ณ อยุธยา ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งจะเกษียณในเดือนก.ย.นี้ นั่งตำแหน่ง รมช.ศึกษาธิการ

นายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี  จะเข้ารับตำแหน่ง รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 

ในส่วนของเก้าอี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม คาดว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะนั่งควบเก้าอี้นี้เอง โดยมีพล.อ.ยุทธศักดิ์เป็นรมช. 

ด้านนางปวีณา หงสกุล จะมาเป็นรมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์แทนนายสันติ พร้อมพัฒน์ 

สำหรับรมว.ศึกษาธิการนั้น นายจาตุรนต์ ฉายแสง จะมานั่งแทนนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา ที่จะขึ้นรองนายกฯเพียงตำแหน่งเดียว

นายยรรยง พวงราช เป็นรมช.พาณิชย์ 

นายพ้อง ชีวานันท์ เป็นรมช.คมนาคม 

ในการปรับครม.ปู 5 ครั้งนี้ พล.อ.พฤณท์ สุวรรณทัต ยังอยู่ในตำแหน่งรมช.คมนาคมเช่นเดิม นอกจากนี้พรรคเพื่อไทยยังจัดเก้าอี้รัฐมนตรีให้กลุ่มมัชฌิมาของนายสมศักดิ์ เทพสุทินด้วย 1 ตำแหน่ง คาดว่าจะเป็นนายเรืองศักดิ์ งามสมภาค

ขณะเดียวกันมีอีกกระแสแจ้งว่าตำแหน่ง รมว.มหาดไทย ยังคงเป็น นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ ขณะที่ รมช.มหาดไทย มีชื่อ นายสรวงศ์ เทียนทอง และนายวิสาร เตชะธีราวัฒน์ 
 
ส่วนรมช.เกษตรและสหกรณ์ ที่จะเข้ามาแทนนายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ที่หลุดจากตำแหน่ง มีชื่อนายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน ส.ส.เชียงราย และนายพีรพันธุ์ พาลุสุข มีชื่อในตำแหน่ง รมต.ประจำสำนักนายกฯ 

สำหรับนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รมว.พาณิชย์นั้นหลุดจากโผไปโดยสิ้นเชิง หลังจากมีปัญหาไม่สามารถชี้แจงทำความเข้าใจกรณีโครงการจำนำข้าวต่อสาธารณชนเข้าใจ โดยนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล ทำหน้าที่รัฐมนตรีพาณิชย์คนใหม่

นางเบญจา หลุยเจริญ ส่งหนังสือลาออกจากตำแหน่งอธิบดีกรมศุลกากร  มายังนายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง และได้กรอกประวัติส่วนตัวเพื่อรับตำแหน่ง รมช.คลัง เรียบร้อยแล้ว โดยนางเบญจาเป็นคนสนิทคุณหญิงพจมาน ดามาพงศ์ มีชื่อขึ้นเป็นปลัดกระทรวงการคลังมาแล้วหลายรอบ แม้จะไม่ได้ปลัดแต่ก็มีบทบาทโดดเด่นมากในรัฐบาลชุดนี้ โดยย้ายจากรองปลัดฯ คลัง ไปเป็นอธิบดีกรมสรรพสามิต แล้วย้ายมานั่งกรมศุลกากร จะกำหนดเกษียณในเดือนก.ย.นี้ แต่ลาออกไปรับตำแหน่งรัฐมนตรี 




 
[Continue reading...]

ดีเอสไอส่งสำนวนพร้อมความเห็นสมควรฟ้อง “มาร์ค-เทพเทือก” ข้อหาฆ่า-พยายามฆ่า ให้อัยการพิจารณาสั่งฟ้องกรณี ศอฉ.สลายการชุมนุมเสื้อแดง เดือน เม.ย.-พ.ค. 2553 โดยอัยการฟังการสั่งคดี 26 ส.ค.นี้

- 0 comments

         เมื่อเวลา 10.00 น.วันนี้ (26 มิ.ย.) ที่สำนักงานอัยการสูงสุด ถนนรัชดาภิเษก พ.ต.ท.วรรณพงษ์ คชรักษ์ รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ฐานะหัวหน้าชุดคดีการเสียชีวิตของประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐจากเหตุการณ์รุนแรงทางการเมืองปี 2553 พร้อมด้วย พ.ต.ต.ยุทธนา แพรดำ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านคดีพิเศษ และคณะพนักงานสอบสวน ได้นำสำนวนการสอบสวนเอกสารหลักฐาน จำนวน 9 ลัง 61 แฟ้ม 11,242 แผ่น พร้อมความเห็นสมควรสั่งฟ้อง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อดีตนายกรัฐมนตรี และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฎร์ธานี อดีตรองนายกฯ และอดีต ผอ.ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน(ศอฉ.) ผู้ต้องหาที่ 1-2 คดีร่วมกันก่อให้ผู้อื่นฆ่าและพยายามฆ่าคนตายโดยเจตนาเล็งเห็นผล ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 59, 80, 83, 84 และ 288 จากกรณีที่ ศอฉ. มีคำสั่งใช้กำลังเจ้าหน้าที่ในการกระชับพื้นที่ เพื่อขอคืนพื้นที่การชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาชนต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ระหว่างเดือน เม.ย.-พ.ค. 53 บริเวณถนนราชดำเนิน และแยกราชประสงค์ ส่งผลมีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตหลายราย ส่งให้ นายวินัย ดำรงค์มงคลกุล อธิบดีอัยการสำนักงานคดีพิเศษ เพื่อพิจารณาสั่งคดี
     
       โดยวันนี้ นายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพ ได้เดินทางมาพร้อมกับนายบัณฑิต ศิริพันธุ์ ทนายความ จากนั้นได้เข้าพบนายวินัย ดำรงค์มงคลกุล อธิบดีอัยการสำนักงานคดีพิเศษ เพื่อรายงานตัวหลังจากดีเอสไอส่งมอบสำนวนการสอบสวน โดยอธิบดีอัยการคดีพิเศษได้นัดให้ผู้ต้องหามาฟังการสั่งคดีในวันที่ 26 ส.ค.นี้ เวลา 10.00 น.
     
       ภายหลังนายอภิสิทธิ์ให้สัมภาษณ์ว่า วันนี้ทางพนักงานสอบสวนดีเอสไอได้นำตนพร้อมนายสุเทพและสำนวนการสอบสวนและความเห็นสมควรสั่งฟ้องในคดีดังกล่าวมาส่งฟ้องต่ออัยการ โดยตนและนายสุเทพได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา ซึ่งตนจะเตรียมยื่นหนังสือร้องขอความเป็นธรรมต่ออัยการด้วย เนื่องจากคดีมีปัญหาทั้งขอเท็จจริงและข้อกฎหมาย ซึ่งข้อเท็จจริงนั้นมีปัญหาอยู่หลายอย่าง เช่น การสอบสวนมีความขัดแย้งกับที่ดีเอสไอเคยสอบสวนไว้ก่อนหน้านี้ ส่วนด้านข้อกฎหมายนั้นเห็นว่าทางดีเอสไอไม่มีอำนาจจากการสอบสวน เพราะคดีนี้เป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งจะต้องส่งเรื่องให้กับทางสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. นอกจากนี้ตนยังได้ยื่นฟ้องนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ และพนักงานสอบดีเอสไอสวนรวม 4 คน เป็นจำเลยในความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ กลั่นแกล้งให้ผู้อื่นได้รับโทษทางอาญา ซึ่งศาลอาญาได้นัดไต่สวนมูลฟ้องช่วงต้นเดือนกรกฎาคมนี้
     
       ขณะที่นายสุเทพกล่าวว่า ทางดีเอสไอได้นำสำนวนการสอบสวนพร้อมความเห็นสมควรฟ้องส่งมอบให้อธิบดีอัยการคดีพิเศษ ซึ่งคดีนี้พวกตนได้ยื่นฟ้องนายธาริต เพราะว่าดีเอสไอไม่มีอำนาจตามกฎหมาย หลังจากนี้ตนก็จะปรึกษากับทีมกฎหมายเพื่อสู้คดีต่อไป
     
       ด้านนายวินัย ดำรงค์มงคลกุล อธิบดีอัยการสำนักงานคดีพิเศษ เปิดเผยว่า ในวันนี้ทางพนักงานสอบสวนดีเอสไอได้นำสำนวนการสอบสวนพร้อมตัวผู้ต้องหาทั้งสองมาส่งให้อัยการพิจารณาสั่งคดี จากกรณีเหตุการณ์ความไม่สงบในช่วงเดือน เม.ย.- พ.ค. 2553 ซึ่งมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก โดยสำนวนที่ดีเอสไอสรุปความเห็นสมควรสั่งฟ้องต่ออัยการนั้น ทางดีเอสไอได้ตั้งข้อหาร่วมกันก่อให้ผู้อื่นฆ่าคนตายโดยเจตนาเล็งเห็นผล จากกรณีการเสียชีวิตของนายพัน คำกอง อายุ 43 ปี และ ด.ช.คุณากร ศรีสุวรรณ หรือน้องอีซา อายุ 14 ปี และข้อหาพยายามฆ่า จากกรณีผู้ได้รับบาดเจ็บคือนายสมร ไหมทอง คนขับรถตู้ ทั้งนี้เนื่องจากคดีนี้เป็นคดีสำคัญตนจึงได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาจำนวน 5 ท่าน ซึ่งเป็นอัยการฝ่ายคดีพิเศษ โดยมีตนเป็นหัวหน้าคณะ และตนยืนยันว่าจะพิจารณาสั่งคดีไปตามพยานหลักฐาน เที่ยงธรรมและเป็นกลาง ตามนโยบายของอัยการสูงสุด แต่ยอมรับว่าตนรู้สึกหนักใจบ้าง แต่ก็จะทำให้ดีที่สุด ไม่รู้สึกกดดันแต่อย่างใด และฝ่ายการเมืองก็ไม่ได้มากดดันอะไร ซึ่งการสั่งคดีจะต้องสามารถที่จะอธิบายเหตุผลได้ มีหลักฐานอ้างอิงสนับสนุนได้ แต่คงจะบังคับให้คนเชื่อทั้งหมดไม่ได้
     
       อธิบดีอัยการสำนักงานคดีพิเศษกล่าวต่อว่า คาดว่าจะใช้ระยะเวลาพิจารณาสำนวนคดี ประมาณ 2 เดือน โดยจะดูเอกสารสำนวนคดีทั้งหมดอย่างละเอียด รวมทั้งหากผู้ต้องหายื่นหนังสือร้องขอความเป็นธรรมตนก็จะนำมาพิจารณาด้วย ยืนยันว่าจะทำให้รวดเร็วที่สุดเพราะเป็นคดีที่ประชาชนให้ความสนใจ โดยจะนัดผู้ต้องหามาฟังคำสั่งคดีอักครั้งในวันที่ 26 ส.ค.นี้ แต่หากยังพิจารณาสำนวนคดีไม่เสร็จก็อาจจะเลื่อนการสั่งคดีออกไปอีกครั้ง ทั้งนี้หากดีเอสไอจะส่งสำนวนต่ออัยการคดีการเสียชีวิตของบุคคลอื่นเนื่องจากมีประมาณ 90 ศพด้วยหรือไม่นั้น ขณะนี้ทางอัยการยังคงต้องรอพิจารณาสำนวนคดีนี้ก่อน ส่วนหากดีเอสไอจะมีการยื่นสำนวนอื่นเพิ่มเติม ทางอัยการก็จะพิจารณาอีกครั้ง

      
      
   
     
     
[Continue reading...]

จุดยืน ประชาธิปัตย์ กับการจำนำข้าว

- 0 comments

เรื่อง จำนำข้าวกลายเป็นเรื่องที่แรงที่สุดในหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา

เป็นประเด็นที่สนใจของคนทั่วไป

ประเด็นการจำนำข้าวเป็นผลกระทบต่อวงกว้าง

 
เพราะชาวนาเป็นชนส่วนใหญ่ของประเทศ

เป็นฐานเสียงส่วนใหญ่ของพรรคเพื่อไทย

"ฝ่ายค้าน" อย่าง "ประชาธิปัตย์" พยายาม เร่งกระแสเพื่อสร้างแรงกดดัน เพื่อทำลาย ฐานสนับสนุนทางการเมืองสำคัญของ ฝ่ายตรงข้าม โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น
เมื่อ "คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.)" ได้ มีมติให้ "ลดราคารับจำนำข้าว" ด้วยเหตุผล เพื่อ ต้องการให้ราคาข้าวภายในประเทศ สอดคล้องกับราคาตลาดโลก
พรรคประชาธิปัตย์ นำโดย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้โอกาสทันทีโดยรีบออกมาประกาสอย่างพร้อมเพรียงว่า "พรรคประชาธิปัตย์ สนับสนุนให้รัฐบาล คงราคารับจำนำข้าว 15,000 บาท"
น่าสังเกตเป็นอย่างยิ่งว่า ทำไมพรรคประชาธิปัตย์ จึงต้องรีบออกมาแก้ตัวเช่นนั้น ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้ ค้านการจำนำข้าวแบบหัวชนฝา

นี่คือการโหนกระแสตามบทถนัดของประชาธิปัตย์

ซึ่งสอดคล้องกับการให้สัมภาษณ์ ของนายอลงกรณ์ พลบุตร ในรายการเจาะข่าวตื้น ตอนที่ 99 "ประชาธิปัตย์ไม่เคยทำนโยบายไว้ล่วงหน้า"

กระแสสังคมว่าอย่าไร ก็เป็นไปตามนั้น

ซึ่ง เว็บไซด์ของพรรคประชาธิปัตย์ ได้เผยแพร่บทสัมภาษณ์นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค เมื่อวันที่ 19 มิ.ย.2556 ทันทีว่า "นายอภิสิทธิ์ ยืนยันฝ่ายค้านไม่เคยเรียกร้องให้รัฐบาลลดราคาจำนำฯ"
และในวันที่ 20 มิ.ย.2556 นายอภิสิทธิ์ นำทีม ส.ส.ปชป.แถลง คัดค้านการลดราคาจำนำข้าว
ด้วยการระบุว่า พรรคประชาธิปัตย์ ไม่เห็นด้วยกับการที่รัฐบาลปรับลดราคารับจำนำข้าว จากตันละ 15,000 บาท เหลือ 12,000 บาท เนื่องจากเป็นการลดผลประโยชน์ที่ชาวนาควรจะได้รับ ซึ่งบรรดาพลพรรคประชาธิปัตย์ ก็ ขานรับกันเป็นทอด ๆ จนดูเสมือนว่า พรรคประชาธิปัตย์ เป็นพรรคการเมือง ที่ทำเพื่อชาวนาและ ทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาให้กับคนยากคนจนตลอดมา

เมื่อย้อนไปดู นโยบายเกี่ยวกับการเกษตร ในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (2551-2554) ที่ผ่านมา ราคาข้าว ในตลาดเหลือเพียงตันละ 7,000 บาท (ซึ่งน้อยกว่าราคาที่รัฐบาลนายกยิ่งลักษณ์ปรับลดลงแล้วคือตันละ 12,000 บาท กว่า 5,000 บาท)

ไม่เพียงแต่ ข้าว เท่านั้นที่ ราคาถูกจน ชาวนา เดือนร้อนไปทั่ว แต่สินค้าเกษตรอื่นๆ ก็ ราคาตกต่ำแทบทุกชนิด

คำพูดอันสวยหรูของพรรคประชาธิปัตย์ "ประชาชนต้องมาก่อน" นอกจากต้องตายด้วยลูกกระสุน ก็ต้องมาตายด้วยความอดอยาก เพราะจนทั่วหน้ากัน

 
[Continue reading...]
 
Copyright © . Yak Ratchaprasong - Posts · Comments
Theme Template by BTDesigner · Powered by Blogger