Saturday, October 12, 2013

ความจริงที่คนไทยต้องรับรู้ "ใครกันแน่ที่ขายชาติ ?"

- 0 comments
การที่ "วิกฤตเศรษฐกิจ" ที่ได้บานปลายกลายเป็น "วิกฤตชาติ" นั้น เริ่มขึ้นตั้งแต่มีการเปิดระบบเงินเสรี(BIBF) อย่างโง่เขลา ใน พ.ศ.2536 ทำให้เอกชนหลงกลกู้เงินจำนวนมากจากต่างชาติเข้ามาใช้จ่ายกันอย่างฟุ่มเฟือย(ปั่นหุ้น ปั่นที่ดิน ปั่นคอนโดฯ) หรือกินส่วนต่างดอกเบี้ย(ดอกเบี้ยนอกถูก ดอกเบี้ยในแพง) อยู่หลายปี

ในปี พ.ศ.2540 "เจ้าหนี้ต่างชาติ" และ "หมาป่าการเงิน" เช่น นายจอร์จ โซรอส ก็ได้มีโอกาสเรียกหนี้คืน และ "ทุบ" ค่าเงินบาท จนหนี้สินทวีคูณขึ้นเป็น 2 เท่าตัวภายในเวลาข้ามคืน เมื่อรัฐบาลพลเอกชวลิต "ลอยตัว" ค่าเงินบาทหลังจากธนาคารชาติผิดพลาดเอาเงินทุนสำรองไป "สู้ศึก" ค่าเงินบาทแบบรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เพราะต่างชาติมี "ไส้ศึก"(ที่ปรึกษา) อยู่ในธนาคารชาติและกระทรวงการคลังไม่น้อย

เมื่อประเทศกำลังจะเข้าสู่ภาวะการล้มละลายจาก "หนี้สินของภาคเอกชน" รัฐบาลพลเอกชวลิตจึงสั่งปิดสถาบันการเงิน(ไฟแนนซ์) 58 แห่ง (ที่ไปกู้เงินนอกมากินส่วนต่างของดอกเบี้ยแล้วไม่มีปัญญาใช้คืน) และกู้เงินกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เพื่อพยุงสภาวะการเงินการคลัง ของประเทศไว้ โดยต้องทำหนังสือแสดงเจตจำนงฯ (แสดงความจำนน) ฉบับที่ 1 ยอมรับเงื่อนไขของไอเอ็มเอฟแบบกว้างๆ (ไม่ผูกมัดตนเองในรายละเอียด และไม่ยอมรับเอา "หนี้สินของภาคเอกชน" มาเป็น "หนี้สินของรัฐ")

แต่เมื่อรัฐบาลของพลเอกชวลิตลาออกเนื่องจาก  "เกมการเมือง" ของพรรคชาติพัฒนาในปลายปี 2540 รัฐบาลชวนสองก็เข้ามาบริหารแผ่นดิน และได้ทำหนังสือแสดงเจตจำนงฯ(letters of intent) ฉบับที่ 3-6 ร่วมกับ side letters แสดงความจำนนอย่างสิ้นเชิงต่อเงื่อนไขของต่างชาติ โดยยอมรับเอา "หนี้สินของภาคเอกชน" มาเป็น "หนี้สินของรัฐ" ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศที่ไม่รู้อีโหน่อีเหน่ด้วย ต้องมี "หนี้" ติดตัวทันทีคนละหลายหมื่นบาท

รัฐบาลนายชวน หลีกภัย  เพื่อเอาใจต่างชาติ และเพื่อผลักดันรองนายกรัฐมนตรี นายศุภชัย พานิชภักดิ์ ขึ้นเป็นผู้อำนวยการองค์การการค้าโลก(WTO) รัฐบาลได้ใช้ภาษีอากรของประชาชนไปหลายสิบล้านบาท ในการสนับสนุนและหาเสียงให้นายศุภชัย ได้เปิดการค้าเสรีแบบเสียเปรียบต่างชาติ และได้ออก "กฎหมายขายชาติ 11 ฉบับ" ทำลายเอกราชอธิปไตยในด้านเศรษฐกิจ ด้านบริหาร ด้านนิติบัญญัติ และด้านตุลาการไปพร้อมๆ กัน

"กฎหมายขายชาติ" ที่รัฐบาลชวน 2 เรียกว่า "กฎหมายฟื้นฟูเศรษฐกิจ" สามารถแบ่งออกได้เป็น 5 กลุ่มดังนี้

กลุ่ม 1 มีทั้งหมด 5 ฉบับ คือ กฎหมายล้มละลาย กฎหมายจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย กฎหมายแก้ไขวิธีพิจารณาความแพ่งในคดีมโนสาเร่ กฎหมายแก้ไขวิธีพิจารณาความแพ่งในกรณีขาดนัด และกฎหมายแก้ไขวิธีพิจารณาความแพ่งในการบังคับคดี

โดยสรุปก็คือ เพื่อต้องการให้เจ้าหนี้ (ซึ่งนายทุนต่างชาติในขณะนั้น) สามารถฟ้องล้มละลายลูกหนี้ (ที่เป็นคนไทย) ได้อย่างง่ายดาย และให้โอกาสเจ้าหนี้ มากกว่าลูกหนี้ในการต่อสู้คดี ร่วมกับการบังคับยึดทรัพย์ และขายทอดตลาดได้อย่างรวดเร็ว ด้วยเงื่อนไขที่เจ้าหนี้ เป็นคนกำหนด

ด้วยกฎหมายกลุ่มนี้ จึงทำให้  "คณะกรรมการปฏิรูปและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน"  หรือปรส. สามารถนำทรัพย์สินของประชาชน ที่รัฐบาลยึดมาจากสถาบันการเงินต่าง ๆ ไป "ล็อกสเป๊ก" ขายให้ต่างชาติในราคาถูก (ประมาณ 1 ใน 5 ของราคาทุน) โดยไม่ยอมให้คนไทยหรือลูกหนี้ซื้อ (เพื่อหวังเงินตรจากต่างประเทศ)  จนทำให้ขาดทุนไปประมาณ 6 แสนล้านบาท และต่างชาติที่เข้าม  "จับเสือมือเปล่า" เหล่านั้นก็ขายคืนให้คนไทยทันที และฟันกำไรไปหลายแสนล้านบาท จนยอมจ่าย "เศษเนื้อ" เป็นเบี้ยบ้ายรายทางแก่คนที่ร่วมขายชาติรวยบนหายะนะของคนไทยด้วยกัน

ด้วยกฎหมายกลุ่มนี้ ประชาชนที่ผ่อนบ้านผ่อนรถผ่อนเครื่องมือหากินและอื่นๆ กับสถาบันการเงินต่างๆ จึงถูกยึดทรัพย์สิน ทั้งที่ตนไม่รู้อีโหน่อีเหน่ด้วย ได้รับความเดือดร้อนแสนสาหัส

ภาคธุรกิจและกลุ่มอุตสาหกรรมไทยที่กู้เงินมาขยายกิจการกันมากมายในยุค "ฟองสบู่" ก็ต้องล้มละลาย กลายเป็นของต่างชาติ รวมทั้ง ธนาคาร  โรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งด้วย
กลุ่มที่ 2 มี 3 ฉบับ คือ กฎหมายที่ดิน กฎหมายการเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่กำหนดให้เป็นทรัพย์สิทธิ์ และกฎหมายอาคารชุด
กฏหมายกลุ่มนี้ ต้องการให้ต่างชาติเป็นเจ้าของที่ดินได้ เช่าที่ดินเป็น 100 ปีได้ เป็นเจ้าของอาคารชุดได้ทั้งหมด(100%) และสามารถใช้ที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ ที่ตนเช่ามา เป็น "ทรัพย์สิทธิ์" ได้ นั่นคือ นำไปจำนองได้ นำไปค้ำประกันได้ ยกให้ผู้อื่นได้ เป็นต้น

กลุ่ม 3 มีเพียง 1 ฉบับ คือ กฎหมายประกอบธุรกิจคนต่างด้าว

กลุ่มนี้ เปิดโอกาสให้ต่างชาติเข้ามาประกอบอาชีพในประเทศไทยได้เท่าเทียมกับคนไทยหรือมากกว่าคนไทย(ส่งเสริมพิเศษ) ให้ต่างชาติแอบแฝงเข้ามาเปิดบริษัทที่เป็นสัญชาติไทยประกอบธุรกิจได้ทุกอย่าง โดยต่างชาติควบคุมการบริหารอยู่ข้างหลัง แล้วยังเปิดช่องให้ "ทุนยักษ์ข้ามชาติ" ใช้วิธีการทุ่มตลาดและกลเม็ดพลิกแพลงต่างๆ ในการเอาเปรียบผู้ผลิตไทยและผู้ซื้อไทยด้วย  เป็นการเริ่มต้นของการไหลเข้าของบริษัทยักษ์ใหญ่ข้ามชาติ

กลุ่ม 4 มีอยู่ 1 ฉบับ คือ กฎหมายทุนรัฐวิสาหกิจ

กลุ่มนี้ทำให้ขายรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเป็นทรัพย์สินของชาติ(ของประชาชน) เพราะเกิดจากภาษีอากร และความเดือดร้อนของประชาชน (จากการถูกเวนคืนที่ ถูกน้ำท่วมจากเขื่อน ฯลฯ) โดยแปลงเป็นหุ้นเพื่อขายในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งแน่นอนว่าต่างชาติ จะรี่เข้ามาซื้อหุ้นรัฐวิสาหกิจที่มีกำไร (โดยรวมแล้วกำไรประมาณหนึ่งแสนล้านบาทต่อปี) แล้วโกยกำไรนั้นออกไป ปล่อยให้คนไทยถูก "ขูดรีด" จากค่าไฟ ค่าน้ำ ค่าโทรศัพท์ ค่าน้ำมัน ค่าก๊าซ และอื่นๆ ที่จะแพงขึ้นๆ ตามลักษณะของธุรกิจที่ต้องการค้ากำไรสูงสุด
ผู้ที่ดำเนินการขายรัฐวิสาหกิจ ก็จะได้ "คอมมิสชั่น" ไม่ว่าในรูปของเงิน ค่าการตลาด ค่าพิจารณาวิธีจำหน่าย หุ้นลม หุ้นต่ำกว่าราคาจริง กำไรจากการปั่นหุ้นในระยะแรก และอื่นๆ

อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศนิการากัว ในครั้งที่มาร่วมเสวนากับแกนนำแรงงานไทยเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2545 จึงกล่าวว่า "Privatization is Iegalized corruption"(การขายรัฐวิสาหกิจ คือ การทุจริตคอร์รัปชั้นอย่างถูกต้องตามกฎหมาย) จนประเทศนิการากัว ต้องล้มละลายในปัจจุบัน เช่นเดียวกับประเทศเม็กซิโก อาร์เจนตินา และบราซิล

กลุ่ม 5 มีเพียง 1 ฉบับ คือ กฎหมายประกันสังคม

สรุป ก็คือ ไอเอ็มเอฟรู้ว่า กฎหมาย 10 ฉบับจะทำให้ธุรกิจและโรงงานต้องล้มละลายเป็นจำนวนมาก คนจะตกงานมหาศาล และจะทำให้เกิดวิกฤตการณ์ทางสังคมขึ้น ซึ่งจะเป็นผลเสียต่อนายทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในไทย จึงจำเป็นต้องหาทางให้รัฐต้องอุ้มชูคนงานเหล่านั้น ไม่ให้เกิดวิกฤตการณ์ทางสังคมที่จะทำให้นายทุนต่างชาติต้องขาดทุนได้

ดูจากเนื้อหาโดยสรุปของ "กฎหมาย 11 ฉบับ" คงพอจะทำให้เห็นว่าเขา "ขายชาติ" กันอย่างไร แต่อดีตนายกรัฐมนตรี ชวน หลีกภัยและพรรคประชาธิปัตย์ กลับแก้ตัวว่า "ที่ต้องทำอย่างนั้น เพราะรัฐบาลพลเอกชวลิตทำหนังสือแสดงเจตจำนงฯ ฉบับที่ 1 ผูกพันไว้ รัฐบาลได้ต่อรองจนลดเงื่อนไขลงได้มากแล้ว"

ซึ่งในความเป็นจริง นายสมศักดิ์ โกศัยสุข รองประธานสมาพันธ์ประชาธิปไตยและเลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ในขณะนั้น ได้ต่อว่านายฮิวเบิร์ต ไนซ์ (Hubert Neiss) ผู้อำนวยการไอเอ็มเอฟภาคพื้นเอเชีย และนายรีซา โมกาดัม (Reza Moghadam) ผู้แทนไอเอ็มเอฟประจำไทย เมื่อพบกันที่ธนาคารชาติใน ปี พ.ศ. 2541 ว่า "ทำไม IMF จึงโหดร้ายกับไทยนัก" ซึ่งเขาตอบว่า "รัฐบาลของคุณเป็นผู้เสนอให้เรามากกว่าที่เราต้องการเสียอีก"

ถ้าสิ่งที่เขาพูดเป็นความจริง ทำไมรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์จึงต้องทำเช่นนั้น แล้วจะแก้ตัวไปทำไม เมื่อหนังสือแสดงเจตจำนงฯ ฉบับที่ 3-6 ที่เกิดขึ้นในสมัยตน มีเนื้อหาผูกมัดประเทศไทยและประชาชนไทยร้ายแรงกว่าหนังสือแสดงเจตจำนงฯฉบับที่ 1 ที่เกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลพอเอกชวลิต แล้วรัฐบาลยังออก "กฎหมาย 11 ฉบับ" ด้วยมือของตนเองท่ามกลางเสียงคัดค้านของประชาชนอีกด้วย
[Continue reading...]

VISION ? กรณ์ จาติกวณิช ดีกรี อดีต รมต.คลัง จากพรรคประชาธิปัตย์

- 0 comments
นายกรณ์ จาติกวณิช ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ ได้โพสข้อความผ่านเฟสบุ๊ค ไม่เห็นด้วยที่จะ ใช้ข้าวแลกซื้อรถไฟความเร็วสูง เพราะอาจจะไม่ได้หัวรถไฟที่มีคุณภาพ และขณะเดียวกันข้าวอาจจะไม่ได้ราคาตามที่ต้องการ  เฟส Korn Chatikavanij

จากการเปิดเผยของ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม เปิดเผยหลังหารือร่วมกับนายหลู่ ตรง ฟู รมช.คมนาคม สาธารณรัฐประชาชนจีนว่า ในวันที่ 11 ต.ค.นี้ จะลงนามในบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) ว่าด้วยโครงการ ความร่วมมือของรัฐบาลในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในประเทศไทยที่เชื่อมโยงกับการชำระค่าใช้จ่ายด้วยสินค้าเกษตร โดยกำหนดเงื่อนไขเบื้องต้นการเจรจาว่า จีนจะต้องยอมรับให้ไทยชำระค่าใช้จ่ายบางส่วนเป็นสินค้าเกษตรได้ เช่น ข้าว ยางพารา 

ซึ่งทั้งหมดอยู่ในขั้นตอนการเจรจา และไม่ใช่สินค้าข้าวอย่างเดียว เป็นสินค้าเกษตร อย่างอื่นด้วย
คลิกดูรายละเอียดของข่าว

จากการเปิดเผยของนายยรรยง พวงราช รมช.พาณิชย์  การซื้อขายสินค้าในลักษณะสินค้าแลกสินค้า (บาร์เตอร์เทรด)  ซึ่งเป็นคนละส่วนกับการขายแบบปกติ  คลิกดูรายละเอียดของข่าว

ซึ่งทาง สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยได้ลงนามในสัญญาซื้อขายข้าวกับบริษัท คอฟโก จำกัด (COFFCO Corporation) โดยจะเป็นการซื้อข้าวหอมมะลิ ข้าวขาว และข้าวเหนียวจากไทย ปีละ 200,000 ตัน ภายในระยะเวลา 5 ปี รวมทั้งสิ้น 1,000,000 ตัน เบื้องต้นมูลค่าการซื้อขายคาดว่าจะไม่ ต่ำกว่า 750 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยคิดจากราคาเฉลี่ยข้าวทุกชนิดขณะนี้ที่ 750 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน

การซื้อขายแบบ ลักษณะสินค้าแลกสินค้า (บาร์เตอร์เทรด) เป็นเพียงช่องทางหนึ่งของการได้ระบายสินค้าเกษตร ไม่ใช่ว่าการค้าสินค้าเกษตรกับจีนต้องใช้ช่องทางนี้ทั้งหมด

นี่คือความคิดของคนระดับ รมต.คลัง ในฐานะที่เป็น ส.ส. ซึ่งเป็นตัวแทนของคนไทยเช่นกัน ในขณะที่ รัฐระบายข้าวไม่ได้ก็โจมตี มีโอกาสระบายสินค้าได้ก็โจมตี...ตกลงจะให้ทำอย่างรไ ?


 

[Continue reading...]

ปิด 56 ไฟแนนซ์ เปิดช่องให้ต่างชาติ "ฮุบ" สมบัติของคนไทย ของรัฐบาล "ชวน หลีกภัย"

- 0 comments
การเข้ามาของรัฐบาลนายชวน หลีกภัย อยู่ในช่วง ประเทศเข้าสู่วิกฤติ การเงิน ที่เรียกว่า วิกฤติการต้มยำกุ้ง  ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องมาจากรัฐบาลก่อนหน้านั้น

ปลายปี 2539 เกิดปัญหาความไม่เชื่อมั่นอย่างรุนแรงต่อสถาบันการเงินในประเทศรัฐบาล พล.อ.ชวลิต จงใจยุทธ สั่งปิด บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ 18 แห่ง ปิดธนาคารพาณิชย์ 3 แห่งเดือนมีนาคม 2540  กระทรวงการคลังมีคำสั่งให้สถาบันการเงินเพิ่มทุนอีก 10 แห่งวันที่ 27 มิถุนายน 2540 ต้องสั่งปิด 16 บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์วันที่ 5 สิงหาคม 2540 ปิดอีก 42 บริษัท รวมเป็น 58 สถาบันการเงิน (เป็นการสั่งปิดชั่วคราว เพื่อแยกสินทรัพย์ ดี - เสีย ออกจากกัน)

จากผลของการวิกฤติทางด้านการเงิน ทำให้พล.อ. ชวลิต จงใจยุทธ ตัดสินใจลาออก และนายชวน หลีกภัย อาสา (เพราะ เสียงน้อยกว่า ทางซีกรัฐบาลของพล.อ.ชวลิต จึงมีความพยายามที่จะเข้ามาเป็นรัฐบาล จนต้องดึงตัว ส.ส.จากพรรคประชากรไทย  12 คน เป็นที่มาของตำนวน งูเห่าภาคแรก) จัดตั้งรัฐบาล  วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540

ผลงานที่ยังเป็นตราบาปของนายชวน หลีกภัยคือการสั่งปิด 56 สถาบันการเงินอย่างถาวร แต่ให้ 2 สถาบันการเงินดำเนินต่ไปได้

การปิดสถาบันการเงินแทนที่ รัฐบาลชวน หลีกภัยจะแยกหนี้ี - หนี้เสีย เพื่อผลประโยชน์ ของเจ้าของเงินฝาก และ ทำให้บางสถาบันการเงินสามารถดำเนินต่อไปได้ กลับ รวมหนี้ แล้วให้บริษัท เลแมน บาเดอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ในราคาสินทรัพย์ต่ำกว่า ราคา จริง 20 % จากราคจริง 851,000 ล้านบาท ไปประมูลขายเพียง 190,000 ล้านบาท โดยไม่ได้ลงทุนอะไรเลย  ซึ่ีงในกรณีนี้ ทางศาลได้สั่ง จำคุก 2 ปีปรับ 2หมื่น "อมเรศ ศิลาอ่อน" อดีตประธานปรส.ขายไฟแนนซ์เน่าถูกให้ต่างชาติ

นี่จึงเป็นที่มาของ คดี ป.ร.ส. ที่ค้างอยู่ที่ ปปช.

นี่คือการที่เปิดช่องให้ต่างชาติ เข้ามาฮุบทรัพย์สินของประชาชนอย่างหน้าด้าน ๆ เพราะ ป.ร.ส. ไม่อนุญาตให้ลูกหนี้ ที่เป็นเจ้าของทรัพย์สิน มาประมูลโดยตรงได้ แต่กลับให้ซื้อผ่าน ทางบริษัท เลแมน บาเดอร์ส ในราคาที่สู้ขึ้น คือ ประมาณ 60 -70 % ของราคาทรัพย์สิน ลองคิดดูว่า ต่างชาติ ได้กำไรเท่าไหร่

เมื่อผู้บริหาร ป.ร.ส. คือประธานมีความผิด ผู้กำกับโดยกระทรวงการคลัง คือนายธารินทร์ นิมมานเหมินท์ ฐานะ รมว.การคลัง และนายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี ซึ่งยากที่จะปัดความรับผิดชอบไปได้

นี่คือตราบาปของนายชวน หลีกภัย นี่คือตราบาป ของพรรคประชาธิปัตย์ ต่อให้มีการปฏิเสธขนาดไหน ความจริง ก็ย่อมเป็นความจริงอยู่เช่นเดิม
[Continue reading...]
 
Copyright © . Yak Ratchaprasong - Posts · Comments
Theme Template by BTDesigner · Powered by Blogger