Monday, October 14, 2013

ใครคือทรราชย์ ? กันแน่

- 0 comments
ใน ”พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ.2525” ระบุว่าถึงความหมายของ ”ทรราช” ว่า เป็นคำนาม หมายถึง “ผู้ปกครองบ้านเมืองที่ใช้อำนาจตามอำเภอใจ ทำความเดือดร้อนทารุณให้แก่ผู้อยู่ใต้การปกครองตน เรียกลัทธิเช่นนั้นว่า ทรราชย์ หรือ ระบบทรราช.
”พจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยา อังกฤษ-ไทย” ฉบับราชบัณฑิตสถาน 2524 หากเปิดไปที่คำว่า tyranny จะแปลว่า ทรราชย์ ระบบทรราช หมายถึง การใช้อำนาจโดยพลการ แบบรวบอำนาจเอาไว้แต่ผู้เดียว และโดยปกติเป็นไปในทางที่โหดร้ายทารุณ ทั้งนี้ไม่ว่าจะได้อำนาจนั้นมาด้วยวิธีใด เป็นการใช้อำนาจโดยไม่ถูกจำกัดด้วยกฎหมาย หรือรัฐธรรมนูญ และไม่คำนึงถึงความรู้สึกของผู้อยู่ใต้อำนาจ

คำว่า “ทรราช” ถูกใช้เป็นคำประณามผู้ปกครองเผด็จการทหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยจอมพลถนอม กิตติขจร-จอมพลประภาส จารุเสถียรและพันเอกณรงค์ กิตติขจรที่ผูกขาดการครองอำนาจทางการเมืองแต่เพียงกลุ่มของตนกลุ่มเดียวตั้งแต่ พ.ศ. 2506 จนถึงเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เป็นเวลาถึง 10 ปีเต็ม แม้ว่าจะมีการเลือกตั้งอยู่บ้าง แต่พรรคการเมืองที่ได้เสียงข้างมากก็เป็นพรรคพวกของสามทรราชถนอม-ประภาส-ณรงค์นั่นเอง วันดีคืนดี จอมพลถนอม กิตติขจรผู้เป็นนายกรัฐมนตรีก็ทำรัฐประหารตัวเองเพื่อหลีกหนีปัญหา และดำเนินการปกครองโดยไม่มีรัฐธรรมนูญไปจนกระทั่งเกิดการเรียกร้องรัฐธรรมนูญในเวลาต่อมาจนบานปลายเป็นเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516

จากนั้นเป็นต้นมา คำว่า “ทรราช” จึงถูกผูกติดอยู่กับภาพของผู้ปกครองหรือนายกรัฐมนตรีที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง แต่ใช้กำลังอำนาจทหารของตนในการได้มาซึ่งอำนาจทางการเมือง และผูกขาดการใช้อำนาจนั้นแต่เพียงผู้เดียวหรือในวงศาคณาญาติพวกพ้องของตน

มีการฆ่าประชาชนอีกครั้ง วันที่ 6 ตุลาคม  2519 ซึ่งในขณะนั้น ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมทย์เป็นายกรัฐมนตรี

ในช่วงพฤษภาทมิฬ  2535 ซึ่ง พล.อ.สุจินดา คราประยูร เป็นนายกรัฐมนตรี ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง มีการปราบปรามประชาชนอีกเช่นกัน

ครั้ง สุดท้าย พฤษภา 2553 มีการใช้กำลังกองทหารพร้อมอาวุธยุทโธปกรณ์ อย่างกับไปรบกับฆ่าศึกเพียงเพื่อล้อมปราบประชาชนที่เห็นต่าง ซึ่งนายอภิสิทธิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี

แม้ว่านายอภิสิทธิ์ เองจะอ้างตลอดว่าเป็นายกมาจากการเลือกตั้ง แต่วิธีการที่ได้มาเป็นนายกนั้นไม่ถูกต้อง

การสั่งทหารออกมาปราบปรามประชาชน จนมีคนตายร่วมร้อย บาดเจ็บเป็นพัน

วิธีการที่ใช้ไม่ต่างอะไรกับรัฐบาล ทรราชย์ ถนอม ประภาส ณรงค์ ในอดีต

การแก้ปัญหาความขัดแย้งในระบอบประชาธิปไตยที่มีความเห็นต่าง ทางออกคือการเลือกตั้ง ให้ประชาชน เป็นผู้ตัดสิน

ไม่ใช่เพียงหวังอยู่ในอำนาจโดยไม่คำนึงถึงชีวิตของประชาชน

ขนาดตัวแทนของ ส.ว. มาเจรจากับแกนนำ น.ป.ช. ถึงการยุติการชุมนุมในคืนวันที่ 18 พ.ค. 53  เพื่อเลี่ยงการฆ่า นำไปเสนอให้นายอภิสิทธิ์ แต่ได้รับการปฏิเสธจากนายอภิสิทธิ์ ให้เหตุผลเพียง ว่า "สายไปเสียแล้ว"

 "ชีวิต" ของประชาชน ไม่มีคำว่าสาย

ถ้าหากคน ๆ นั้นใจไม่อำมหิต

มีสันดานเยี่ยง "ทรราช" อย่างในอดีตที่ผ่าน มา 

อย่างนี้ สมควรบันทึกอยู่ใน "ทำเนียบ" ทรราชย์ ได้หรือไม่
[Continue reading...]

ไทยรักไทย "หัวใจ" คือประชาชน

- 0 comments
การจัดตั้งรัฐบาลสมัยที่สองของนายชวน หลีกภัย ได้รับการสนับสนุนจากประชาชน ชั้นกลางใน กทม. เนื่องจากคาดว่ารัฐบาลนายชวน หลีกภัย จะสามารถฉุดประเทศไทยออกจากวิกฤตเศรษฐกิจที่เริ่มขึ้นในรัฐบาลของ พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ

แต่การแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจของรัฐบาลนายชวน หลีกภัยไม่บรรลุผลไม่สามารถดึงเศรษฐกิจให้หลุดพ้นจากภาวะการตกต่ำได้ แม้ว่าจะได้ดำเนินการมากว่า 3 ปี

จากการยุบสภา ให้มีการเลือกตั้งใหม่ ในครั้งนี้  พรรคไทยรักไทย ได้ใช้นโยบาย เป็นที่ดึงดูดใจของประชาชน เช่น ปลดหนึ้เกษตรกร หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ และ สามสิบบาทรักษาทุกโรค ในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งถัดมาในปี พ.ศ. 2544 ทำให้การเลือกตั้งครั้งนี้ พรรคประชาธิปัตย์ พ่ายแพ้ต่อพรรคไทยรักไทย  ซึ่งได้ 250 ที่นั่ง และ นายชวน ต้องกลับมาเป็นฝ่ายค้าน ด้วยคะแนน 129 ที่นั่ง

การหาเสียง พรรคไทยรักไทยใช้นโยบายที่โดดเด่นและประชาชนสัมผัสได้ เป็นนโยบายเร่งด่วน
เช่น

นโยบายที่ได้ดำเนินการแล้วประสบผลสำเร็จ
สงครามกับความยากจน
สงครามกับยาเสพติด
สงครามสงครามกับคอรัปชั่น
ปฎิรูปการศึกษา
1. หนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝัน
ปฏิรูปกฏหมายล้าสมัย
ปฏิรูปการศึกษา หนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝัน
เสริมสร้างวัฒนธรรม
คอมพิวเตอร์เอื้ออาทร
บ้านเอื้ออาทร
1. โครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย และคนจนในเมือง
30 บาทรักษาทุกโรค
1. เสริมสร้างสุขภาพอนามัย "รวมพลังคนเสื้อเหลือง" ส่งเสริมกีฬา
หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์
พักชำระหนี้ และลดภาระหนี้เกษตรกร
ธนาคารประชาชน
ธนาคาร SMEs
ธนาคารอิสลาม
กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
จัดระเบียบสังคม : เปลี่ยน "ภาระ" เป็น "พลัง"
ปราบปรามผู้มีอิทธิพล
หวย 2 ตัว 3 ตัว ถูกกฏหมาย
ปราบปรามเทปผีซีดีเถื่อน
แปลงสินทรัพย์เป็นทุน
1. การแก้ปัญหาความยากจน ปู้ด้อยโอกาส โดยให้ทุกคนมีเอกสารสิทธิ์ในทรัพย์สินของตน
คืนหนี้ IMF ก่อนกำหนด : ประกาศความเป็น "ไท"
นโยบายต่างประเทศ
1. เขตการค้าเสรี จีน-อินเดีย ฯลฯ
2. การผลักดันกรอบความร่วมมือเอเซีย
3. ICAPP การประชุมพรรคการเมืองเอเซีย
4. APEC การประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจแห่งภาคพื้นเอเซียแปซิฟิก 21 เขตเศรษฐกิจ
ด้วยการดำเนินนโยบายมุ่งไปที่ฐานรากของเศรษฐกิจ คือประชาชนระดับล่าง  เรียกว่าระดับ รากหญ้าเมื่อรากหญ้าฟื้น จะกระตุ้นการหมุนเวียน ในระดับบน ๆ ขึ้นไป

และใช้เศรษฐกิจแบบคู่ขนาน (Dual Track Policy) โดยกล่าวว่านโยบายนี้ คือสูตรในการสร้างความเติบโตให้กับเศรษฐกิจไทย แนวทางแรกคือ กระตุ้นการส่งออก การลงทุนจากต่างประเทศ และการท่องเที่ยว เพื่อนำเงินตราต่างประเทศเข้ามาในประเทศ และแนวทางที่สองคือ การกระตุ้นไปในระดับรากหญ้า มุ่งไปที่เกษตรกร ช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม และสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ ๆ

ด้วยการทำตามนโยบาย ในการบริหารประเทศสามารถนำพาประเทศพ้นวิกฤติ นำไปสู่ฐานะการเงิน การคลังที่เข้มแข็ง โดยเห็นได้จาก การมีงบประมาณสมดุล ครั้งแรกของประเทศไทย
[Continue reading...]

"ประชาธิปัตย์" ยุคไหนก็มุ่งช่วยคนรวย

- 1 comments
การเข้ามาบริหารหลังเกิดวิกฤติเศษรฐกิจ ของรัฐบาลชวน 2 แทนที่รัฐบาลจะเร่งแก้ปัญหาโครงสร้างทางการเงินพร้อมๆกับการแก้ปัญหาโครงสร้างการผลิตหรือการประกอบการโดย ตรง กลับมุ่งแก้ปัญหาที่สถาบันการเงิน ต้องเร่งให้ธนาคารเพิ่มทุนมากๆ เพื่อสำรองความเสียหายก่อน เมื่อธนาคารเพิ่มทุนแล้วก็จะมีความมั่นคง สามารถปล่อยกู้ให้ธุรกิจฟื้นตัวได้

รัฐบาลนายชวน หลีกภัย ได้พยายามผลักดันให้ธนาคารเพิ่มทุน แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ จึงออกมาตรการ 14 สิงหาคม 2541 มูลค่า 300,000 ล้านบาท เพิ่มทุนให้สถาบันการเงิน โดยหวังว่าถ้าสถาบันการเงินแข็งแรงขึ้น ธุรกิจอื่นก็จะดีขึ้นตามมา

ปรากฎว่าเป็นความพยายามที่ล้มเหลวครั้งแล้วครั้งเล่าในการแก้ปัญหาสถาบันการเงิน เหมือนการเอาหินไปถมทะเล ถมเท่าไหร่ก็ไม่รู้จักเต็ม

ทำให้รัฐบาลตัดสินใจเข้าไปยึดกิจการธนาคารและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์บางส่วน โดยมุ่งนำมาควบรวมขายให้กับต่างชาติในการขายธนาคารพาณิชย์แต่ละครั้งรัฐบาลนายชวน อ้างว่าขายแล้วจะไม่ขาดทุน เพราะตั้งราคาขายเท่ากับราคาที่ยึดมา แต่จนถึงวันนี้รัฐบาลยังไม่ยอมเปิดเผยเงื่อนไขการขายธนาคารที่แท้จริงออกมา และไม่เปิดเผยรายละเอียดของสัญญา แต่ข้อเท็จจริงคือ รัฐบาลยอมชดใช้ความเสียหายจากหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของธนาคารดังกล่าว (ซึ่งได้แก่ ธนาคารรัตนสิน และธนาคารศรีนคร) ถึง 85% ให้กับผู้ซื้อต่างชาติ นอกจากนั้นยังยอมจ่ายดอกเบี้ยให้กับสินเชื่อที่เป็น NPL ให้กับผู้ซื้อเป็นระยะเวลา 3-5 ปีอีกด้วย
ด้วยเงื่อนไขนี้ การขายธนาคารที่รัฐยึดมาจึงเอื้อประโยชน์ให้กับผู้ซึ่งเป็นนักลงทุนต่างชาติอย่างที่สุด โดยที่ต้องซ่อนการขาดทุนดังกล่าวเอาไว้เป้นภาระของผู้เสียภาษีในอนาคตจำนวนหลายแสนล้านบาท ขณะเดียวกันยังสร้างความไม่เท่าเทียมกันระหว่างธนาคารที่ขายให้ กับธนาคารที่ยังเป็นของคนไทย เพราะธนาคารคนไทยยังคงต้องแบกภาระแก้หนี้ NPL สูงถึง 35-40 % ของสินเชื่อทั้งหมดด้วยตัวเอง
ปฏิบัติการการยึดธนาคารครั้งนี้ สร้างความเสียหายแก่ประเทศอย่างมหาศาล จนถึงวันนี้ได้สร้างภาระให้กับกองทุนฟื้นฟูแล้วประมาณ 1.4 ล้านล้านบาท ซึ่งสร้างแรงกดดันให้รัฐบาลต้องหาแหล่งเงินมากลบความเสียหายในครั้งนี้
คลิกดูรายละเอียด

ซึ่งในยุคต่อมาของรัฐบาลอภิสทธิ์ การแก้ปัญหาก็คล้าย ๆ กัน คือมุ่งช่วยให้กับคนที่มีงานทำ มีรายได้อยู่แล้ว นั่นคือโครงการเช็คช่วยชาติ (ตรงนี้ยังไม่พูดถึที่มาของเช็ค แทนที่จะเป็นธนาคารของรัฐที่จะมีรายได้จาก เช็คและเรื่องการบริหารบัญชี กลับใช้บริการของธนาคารเอกชน) ก็มุ่งแจกเงิน 2,000 บาทให้กับผู้ที่ได้อยู่ในระบบประกันสังคมที่มีรายได้ไม่เกิน 14,999 บาทต่อเดือน งานนี้ ใช้เงิน 16,000 ล้านบาท

คนที่มีรายได้ขนาดนี้ ถือว่าไม่มีความเดือดร้อน บอกว่าเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ ผลปรากฏว่า ก็เป็นการเอาหินไปถมทะเลอีกเช่นกัน

คลิกดูรายละเอียด

หมายเหตุ เงิน 2,000 บาท นำมาจากงบประมาณ ปี 2552 ไม่ใช่มาจากกองทุนประกันสังคมอย่างที่เข้าใจกัน เพียงแต่จ่ายผ่านบัญชีผู้ที่มีประกันสังคม เพื่อที่จะทราบรายได้ จากการจ่ายประกันตน ว่ามีเงินเดือน เท่าไหร่
คลิกดูรายละเอียด
[Continue reading...]
 
Copyright © . Yak Ratchaprasong - Posts · Comments
Theme Template by BTDesigner · Powered by Blogger