Friday, July 26, 2013

วงเสวนา "108 เหตุผล" ญาติผู้ต้องหา นักวิชาการ ประสานเสียง นิรโทษฯ เพื่อความยุติธรรม

- 0 comments
ญาติผู้ต้องหา อดีตนักเคลื่อนไหว และนักวิชาการ จำนวนมาก เข้าร่วมงานอภิปราย "108 เหตุผล ทำไมต้องนิรโทษกรรมนักโทษการเมือง" โดยต่างเห็นพ้องว่า  การนิรโทษกรรมนักโทษการเมืองนั้น จะเป็นการคืนความยุติธรรมให้กับผู้ที่ถูกดำเนินคดีอย่างไม่ยุติธรรม
 
 
นางวาสนา มาบุตร แม่ของนางสาวปัทมา มูลนิล เชื่อว่าลูกสาวของเธอไม่มีความผิด  แต่ลูกสาวของเธอ ก็ถูกจองจำมานานกว่า 3 ปีแล้วโดยไม่เคยได้ประกันตัว
 
 ด้านนายอภินันท์ บัวหภักดี บรรณาธิการภาพ นิตยสาร อสท. เล่าถึงประสบการณ์ของเขาในฐานะอดีตนักศึกษา 6 ตุลา ที่ถูกสื่อฝ่ายขวาจัด กล่าวหาว่าแสดงละครล้อเลียนองค์รัชทายาท จนเขาถูกจำคุกถึง 2 ปี และได้นิรโทษกรรม เขาเชื่อว่า ในจำนวนผู้ที่ถูกจองจำจากเหตุการณ์ชุมนุมเดือนเมษายนและพฤษภาคม 2553 กว่าพันคน มีจำนวนมากเป็นผู้บริสุทธิ์เช่นเดียวกับเขา
 
ความเชื่อของนายอภินันท์นี้ ได้รับยืนยันโดยศูนย์ข้อมูลผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุม เมษายน-พฤษภาคม 2553 หรือ ศปช. โดยศาสตราจารย์ กฤตยา อาชวนิจกุล ตัวแทนจาก ศปช. กล่าวว่า จากข้อมูลที่มีพบว่าหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมใช้กฎหมายกับผู้ต้องหาคดีการเมืองอย่างไม่เป็นธรรมในหลายรูปแบบ จนทำให้ผู้ถูกจับกุมถูกตัดสินลงโทษเป็นส่วนใหญ่
 
 ด้านศาสตราจารย์ ธงชัย วินิจกูล กล่าวว่าเหตุผลสำคัญของการต้องนิรโทษกรรมก็คือการดำเนินคดีที่ไม่เป็นธรรม  เพราะหากเที่ยงธรรม ไม่จำเป็นต้องมีการนิรโทษกรรม
 
 การจัดกิจกรรมนี้ เกิดขึ้นในช่วงที่จะมีการเปิดสมัยประชุมสภา ต้นเดือนสิงหาคมนี้ โดยวันที่ 7 สิงหาคม ที่ประชุมจะมีการพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม ฉบับนายวรชัย เหมะ  

จาก:วอยซ์ทีวี
[Continue reading...]

สัมภาษณ์ สามารถ แก้วมีชัย ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย ประธานคณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ ประเด็น “ที่มาของ ส.ว.”

- 0 comments
ในที่สุดการแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็น “ที่มาของ ส.ว.” ก็เสร็จสิ้นในชั้นกรรมาธิการ “ทีมข่าวการเมือง” ได้สัมภาษณ์ สามารถ แก้วมีชัย ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม ระหว่าง “ของปัจจุบัน” กับ “ของใหม่” ที่กำลังจะเกิดขึ้น

สาระสำคัญฉบับยกร่างที่แตกต่างไปจากรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2550

ที่มาของ ส.ว.ถ้าเปรียบเทียบระหว่างรัฐธรรมนูญ 2550 กับฉบับที่กำลังยกร่างใหม่ ส.ว. ปัจจุบันมาจาก 2 ส่วน คือมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนจังหวัดละ 1 คน และมาจากการสรรหา 73 คน รวมจำนวน 150 คน แต่ฉบับแก้ไขมีหลักการสำคัญคือให้มี ส.ว. มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนอย่างเดียว 200 คน ใช้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง วิธีการคำนวณเอาจำนวนประชากรทั้งประเทศตั้งหารด้วย 200 จริง ๆ แล้วก็เหมือนการเลือกตั้ง ส.ว. ตามรัฐธรรมนูญปี 2540 และความแตกต่างที่สำคัญ คือ ส.ว. ที่ครบวาระแล้วตามรัฐธรรมนูญ 2540 ต้องเว้นวรรค ห้ามเป็นติดต่อกัน แต่ฉบับแก้ไขเมื่อครบวาระ 6 ปีแล้ว จะลงสมัครต่อก็ได้ ไม่ได้ห้าม เหตุผลสำคัญเพราะเราถือว่าได้มอบให้ประชาชนเป็นคนตัดสิน ฉะนั้นจะเห็นว่าใครเหมาะสม ให้ใครเป็นกี่สมัย ก็อยู่ที่ประชาชน ขณะเดียวกันก็ไม่ห้ามกรณีเป็น บุพการี ลูกหลาน สามี ภรรยาของนักการเมืองลงสมัครรับเลือกตั้ง เพราะเป็นอำนาจของประชาชนที่จะตัดสินใจ ส่วนเรื่องอำนาจหน้าที่ของ ส.ว. ไม่ได้เข้าไปแก้ไขแตะต้องเลย ยังเป็นเหมือนเดิมทุกอย่าง ทั้งอำนาจในการกลั่นกรองกฎหมาย แต่งตั้ง ถอดถอน การสรรหาองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ไม่ได้แก้ไข เพราะไม่อยู่ในหลักการขอแก้ไข หลักการแค่ให้ ส.ว. มาจากการเลือกตั้ง สำหรับที่มาของการให้มี ส.ว. เลือกตั้งจำนวน 200 คน เพราะมองว่าวันนี้เรามี ส.ส. รวมระบบเขต และบัญชีรายชื่อ 500 คน ดังนั้นน่าจะมี ส.ว. สักครึ่งหนึ่ง จึงมาลงตัวที่ 200 คน และรัฐธรรมนูญปี 2540 ก็เคยให้มี ส.ว. 200 คน คิดว่าเป็นตัวเลขที่เหมาะสมที่สุด

ส.ว.สรรหา และ ส.ว. เลือกตั้ง ครบวาระไม่พร้อมกัน เมื่อฉบับใหม่ประกาศบังคับใช้จะให้อยู่ต่อหรือสิ้นสถานะไป

ส.ว.เลือกตั้ง ให้อยู่ต่อจนครบวาระ ซึ่งจะครบในวันที่ 2 มี.ค.2557 แต่ ส.ว.สรรหา เนื่องจากมีการสรรหา ส.ว. รุ่น 2 ซึ่งยังไม่ครบวาระพร้อมกัน เราก็จะเขียนบทเฉพาะกาลรองรับวาระท่านเหล่านี้ให้อยู่จนสิ้นวาระ แต่ระหว่างที่ดำรงอยู่นี้ มีใครต้องพ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุผลตามรัฐธรรมนูญ เช่น ตาย ลาออก ต้องไม่มีการสรรหาใหม่ ดังนั้นในช่วงแรก ส.ว. ที่อยู่ตำแหน่งก็จะมีมากหน่อย

ส.ว.สรรหา ที่ยังให้ดำรงตำแหน่งจนครบวาระ มีอำนาจแตกต่างจาก ส.ว. ที่เลือกตั้งเข้ามาใหม่อย่างไร

ส.ว.สรรหาที่เราให้คงสถานภาพอยู่ เราก็ขอจำกัดอำนาจเฉพาะช่วงเปลี่ยนผ่าน คือระหว่างที่ ส.ว.เลือกตั้ง ตามรัฐธรรมนูญ 2550 ครบวาระและกำลังจะมีการเลือกตั้ง ส.ว.เลือกตั้งใหม่ตามกติกาใหม่ ระหว่างนี้ ส.ว.สรรหา ที่คงอยู่ ไม่มีอำนาจแต่งตั้ง ถอดถอน ต้องรอจนกระทั่ง ส.ว.เลือกตั้งเข้ามาทำหน้าที่ จึงจะได้อำนาจนั้นคืนกลับมา เพราะเราถือว่าเขามาจากการสรรหา และจำนวนที่มีอยู่ก็น้อย ส่วนอำนาจหน้าที่นอกเหนือจาก 2 อย่างนี้ก็ยังเป็นปกติ

กระบวนการพิจารณาในสภาหลังจากนี้เป็นอย่างไร

จะนำเสนอประธานรัฐสภา ซึ่งข้อบังคับระบุว่าเมื่อประธานรัฐสภาได้รับรายงานแล้ว ให้บรรจุเข้าวาระภายใน 15 วันในสมัยประชุม ดังนั้นจะนับหนึ่งเมื่อเริ่มเปิดสมัยประชุมคือวันที่ 1 ส.ค. ซึ่งไม่เกินวันที่ 15 ส.ค. ประธานจะต้องบรรจุวาระ ส่วนบรรจุวันไหนอย่างไรเป็นเรื่องของประธาน แต่ไม่จำเป็นต้องรอผลการศึกษาพิจารณาของ 2 คณะ เพราะต่างก็มีกรรมาธิการแยกกันดูแล กรรมาธิการไหนแล้วเสร็จก็ไปก่อน ซึ่งประเด็นที่มาของ ส.ว. คาดว่าจะเอาเข้าสภาพิจารณาก่อน เพราะมีเงื่อนเวลากำหนดว่า ส.ว. เลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ 2550 จะครบวาระ วันที่ 2 มี.ค. 2557 ฉะนั้นกว่าฉบับที่แก้ไขจะผ่านสภา ทูลเกล้าฯ ทรงลงพระปรมาภิไธย ประกาศบังคับใช้แล้วยังต้องทำกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ โดย กกต. ซึ่งเรากำหนดว่าต้องแล้วเสร็จภายใน 120 วันหรือ 4 เดือน ถ้าไล่ดู สมมุติเดือน ส.ค. พิจารณาวาระ 2 แล้วเสร็จ พักไว้ 15 วัน กลับมาโหวตวาระ 3 กว่าจะทูลเกล้าฯ ประกาศใช้ก็ประมาณต้นเดือน ก.ย. นับไปอีก 4 เดือน ทำกฎหมายประกอบ กว่าจะแล้วเสร็จก็เดือน ม.ค. 2557 นี่คืออย่างช้า ก็พอมีเวลาอีกเดือนกว่า ๆ ก่อนเลือกตั้ง

มีข้อสังเกตว่าพรรคเพื่อไทยจะใช้เรื่องฐานคะแนนมาชิงความได้เปรียบจากการให้มี ส.ว. เลือกตั้งทั้งหมด

ถ้าไปดูเรื่องการลงคะแนนไม่มีพรรคการเมืองใดมาชิงความได้เปรียบได้เพราะประชาชน 1 คนเลือก ส.ว.ได้คนเดียว สมมุติว่าจังหวัดหนึ่งมีฐานของพรรคเพื่อไทยมากที่สุด พรรคเพื่อไทยก็อาจได้คะแนนมาเป็นอันดับ 1 แต่ก็จะมีอันดับ 2-3-4 ที่กระจายตามส่วนอื่น ๆ คะแนนก็เฉลี่ยกันไป ส่วนที่มองว่าจะมีการจับเป็นกลุ่มเป็นก้อน ผมว่าวันนี้ใครจะไปบังคับประชาชนลำบาก ทำไม่ได้หรอกครับ คนที่ได้รับความนิยมมาก ถ้าเรามองในแง่ร้ายว่ามีการจัดตั้งดี มันก็จะดูดคะแนนจนสูงโด่งไปคนเดียว คนที่ไม่ตกอยู่ภายในอาณัติใครก็มีโอกาสที่จะได้คะแนนเฉลี่ยเป็นลำดับต่อ ๆ ไป

ประชาชนจะได้ประโยชน์อะไรจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นนี้

ตอบโจทย์ความเป็นประชาธิปไตย นี่คือหลักการพื้นฐาน ผู้เป็นตัวแทนปวงชนชาวไทยต้องยึดโยงกับประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย 2. คือเราก็กำหนดคุณสมบัติผู้มาทำหน้าที่ต้องสูงกว่า ส.ส. แล้วที่สำคัญวิธีการเลือกตั้งจะกระจาย จะทำให้เราได้ ส.ว.ที่มีความหลากหลายมาช่วยกันทำหน้าที่กลั่นกรองกฎหมาย แต่งตั้ง ถอดถอน ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เราก็คิดว่าประชาชนทั้งหลายที่เคยมีประสบการณ์เลือกตั้ง ส.ว. แบบนี้มาแล้ว เขาก็พอรู้ว่าควรเลือกใครและวันนี้การเมืองภาคประชาชน มีความตื่นตัวมากกว่าทุกยุคทุกสมัย แม้เราจะมองว่ามีความแตกแยกแต่ท่ามกลางวิกฤตินี้เราก็จะเห็นว่าเป็นโอกาสให้ประชาชนทั้งสองฝ่ายได้ติดตาม เรียนรู้ สนใจการเมือง ฉะนั้นสิ่งที่เขาซึมซับเข้าไปจะทำให้เกิดปัญญา ความรู้ วิจารณญาณที่ดีว่าควรจะเลือกใคร ซึ่งก็จะโยงไปถึงที่ถาม ว่าแล้วจะไม่เป็นสภาผัว-เมีย เชื่อเถอะครับ วันนี้ประชาชนไม่เหมือน เมื่อก่อน ถ้าประชาชนเขามองดูว่าครอบครัวนี้ทำเพื่อตัวเอง ไม่ใช่ส่วนรวมก็เท่ากับฆ่าตัวตายทางการเมือง

เคยมีบทเรียนกรณีสภาผัว-เมีย ระบบตรวจสอบอ่อนแอ แก้รัฐธรรมนูญกลับไปใช้แบบเดิม จะแก้ปัญหาได้อย่างไร

ผมว่าเราต้องให้โอกาสในการเรียนรู้ของประชาชน และโอกาสการพัฒนาถ้าไม่ไปฉีกรัฐธรรมนูญ 2540 ทิ้งแล้วแก้สิ่งที่ไม่เหมาะสม ผมว่าในที่สุดมันจะเข้ารูปเข้ารอยเอง สหรัฐอเมริกาใช้เวลา 200 ปี เรามันเพิ่ง 80 ปี แล้วยังล้มลุกคลุกคลาน ฉะนั้นอย่าไปเกรงว่าจะอย่างนั้นอย่างนี้ ผมว่าถ้าเราให้โอกาส ก็จะมีบทเรียนซ้ำซากให้ประชาชนเรียนรู้ว่าควรจะทำอย่างไร ผมถามหน่อย ส.ว. ตามรัฐธรรมนูญปี 2550 คนเขียนเราก็รู้ว่ามาจากไหน ผมก็ไม่อยากไปย้อน ถามว่าถอดถอนใครได้ไหม ผมว่าถ้าไม่ใช่เรื่องรุนแรงจริง ๆ ก็ไม่ได้ แล้วจะโทษ ส.ว. อย่างเดียวก็ไม่ได้ ต้องดูที่กระบวนการเริ่มต้นอย่าง ป.ป.ช. ชี้มูลแล้วส่งมาให้ ส.ว. ด้วย ซึ่ง ป.ป.ช. ถามว่าใครไปคุมท่านได้ ผมก็ยังไม่เห็นว่าถอดถอนใครได้เลย ผมว่ามันอยู่ที่ประเด็นมากกว่า ถ้าสาธารณะเอาด้วย ความผิดชัดแจ้ง ใครก็บิดเป็นอื่นไม่ได้ อย่าไปมองว่าการถอดถอน แต่งตั้ง เป็นอำนาจของ ส.ว. ทั้งหมด ส.ว. เพียงแค่นั่งรอเท่านั้น

มีข้อวิจารณ์ว่าซื้อใจ ส.ว.เลือกตั้งโดยไม่ห้ามลงสมัครเมื่อครบวาระ

หลักกฎหมายเราต้องยอมรับว่า ส.ว.สรรหามาจากรัฐธรรมนูญจะดีหรือจะถูกต้องหรือไม่ก็อีกเรื่องหนึ่ง แต่เป็นรัฐธรรมนูญปี 2550 บัญญัติไว้อย่างนั้น และหลักการเขียนกฎหมายจะไม่บัญญัติสิ่งที่เป็นโทษย้อนหลัง ถ้าเป็นคุณไม่ว่า กรรมาธิการเสียงข้างมากก็ยังคงสถานภาพ ส.ว.สรรหาไว้ แต่ก็มีสมาชิกบางส่วน ทั้ง ส.ส. และส.ว. อยากให้ ส.ว.สรรหา หมดสถานภาพไปเมื่อรัฐธรรมนูญใหม่บังคับใช้แต่จะเป็นอย่างไรก็แล้วแต่สภาใหญ่ในชั้นกรรมาธิการเรายังคงยืนยันให้ส.ว.สรรหา ดำรงตำแหน่งจนสิ้นวาระ.

ที่มา:  เดลินิวส์
[Continue reading...]

ผู้นำ 3 ประเทศเชิญ"นายกฯปู" เป็นทางการเพื่อความสัมพันธ์ และเปิดตลาดการค้า

- 0 comments
“นายกฯปู” เตรียมหอบภาคเอกชนเยือน 3 ประเทศในกลุ่มแอฟริกาตะวันออก 28 ก.ค.-2 ส.ค. หวังเปิดตลาดใหม่ให้นักลงทุนไทย
เมื่อวันที่ 26 ก.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในระหว่างวันที่ 28 ก.ค.- 2 ส.ค.นี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม มีกำหนดการเดินทางเยือนสาธารณรัฐโมซัมบิก สหสาธารณรัฐแทนซาเนีย และสาธารณรัฐยูกันดา อย่างเป็นทางการ ซึ่งถือเป็นการเยือนเพื่อสร้างความสัมพันธ์และเปิดตลาดไทยในภูมิภาคแอฟริกาตะวันออก เนื่องจากทั้งสามเป็นกลุ่มประเทศที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจสูง และอุดมสมบูรณ์ไปด้วยแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ อาทิ ก๊าซธรรมชาติ แร่ธาตุ และการประมง ซึ่งมีศักยภาพเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติและวัตถุดิบที่สำคัญของไทย โดยเฉพาะโมซัมบิก ถือเป็นประเทศที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูง และเป็นตลาดใหม่ที่มีศักยภาพเหมาะสำหรับนักลงทุนไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมอัญมณี โดยจะมีกำหนดการพบหารือทวิภาคีกับนายอาร์มันโด เอมิลิโอ กูเอบูชา ประธานาธิบดีโมซัมบิก การลงนามความตกลงและบันทึกความเข้าใจ 5 ฉบับ การหารือกับประธานรัฐสภาโมซัมบิก และพิธีส่งมอบรถบรรทุก รถตุ๊กตุ๊ก ปลานิลแดง และมุ้งเคลือบสารกันยุงให้แก่โมซัมบิก

สำหรับการเยือนสหสาธารณรัฐแทนซาเนีย นั้น ถือเป็นการเยือนอย่างเป็นทางการครั้งแรกในรอบ 33 ปี ตามคำเชิญของนายจาคายา มริโช คิเควเต ประธานาธิบดีแทนซาเนีย โดยจะมีการลงนามความตกลงและบันทึกความเข้าใจ 2 ฉบับ การกล่าวสุนทรพจน์เกี่ยวกับยุทธศาสตร์ไทยต่อแอฟริกา และ Thai – African Initiative และการเยี่ยมชมอุทยานแห่งชาติเซเรงเกติ ส่วนการเยือนสาธารณรัฐยูกันดา เป็นไปตามคำเชิญของนายโยเวรี คากูทา มูเซเวนี ประธานาธิบดียูกันดา เพื่อเป็นการกระชับความสัมพันธ์และความร่วมมือในลักษณะหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาในด้านต่าง ๆ ทั้งนี้ในการเยือนทั้งสามประเทศ นายกรัฐมนตรีจะได้นำภาคเอกชนในสาขาต่าง ๆ ได้แก่ สาขาพลังงานทดแทน สาขาการก่อสร้าง สาขาการท่องเที่ยวและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ สาขาสิ่งทอ สาขาอัญมณี และเครื่องประดับ และสาขายานยนต์ ร่วมเดินทางไปศึกษาดูงานเพื่อแสวงหาลู่ทางการลงทุน รวมถึงการให้ความรู้ทางด้านวิชาการ ทั้งในสาธารณรัฐโมซัมบิก สหสาธารณรัฐแทนซาเนีย และสาธารณรัฐยูกันดาด้วย.

ที่มา: เดลินิวส์
  
[Continue reading...]

เตือน 21 จ.พร้อมรับมือฝนหนัก-น้ำป่าหลาก 28-31 ก.ค.

- 0 comments
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยภาคเหนือ เตือน 21 จ.พร้อมรับมือฝนหนัก-น้ำป่าหลาก 28-31 ก.ค.
 
อินโฟเควสท์ รายงานว่า กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยภาคเหนือ ประกาศแจ้งเตือนด่วนที่สุด 21 จังหวัด ได้แก่ จ.สกลนคร มุกดาหาร นครพนม หนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี หนองบัวลำภู เลย แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน ตาก สุโขทัย พิษณุโลก อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ เชียงราย แพร่ พะเยา และน่าน ให้เตรียมพร้อมรับมือฝนตกหนัก น้ำป่าไหลหลาก ในช่วงวันที่ 28-31 กรกฎาคมนี้ โดยเฉพาะหมู่บ้านเสี่ยงภัยในระดับสูงสุด ที่ตั้งอยู่ใกล้เชิงเขาและทางน้ำไหลผ่าน 1,091 หมู่บ้าน กระจายใน 335 ตำบล 52 อำเภอของ 4 จังหวัด
 
ที่มา: วอยซ์ทีวี
 
[Continue reading...]

อดีตรองปธ.ศาลฎีกา"ชี้ผู้พิพากษาไม่เข้าใจประชาธิปไตยคืออะไร"

- 0 comments
(ภาพประกอบข่าว)

สถาบันศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตย จัดเสวนาวิชาการ "หลักนิติรัฐ นิติธรรม กับการวางรากฐานประชาธิปไตย" โดยมีผู้ที่เข้า
ร่วมการเสวนาประกอบด้วย นายสถิตย์ ไพเราะ อดีตรองประธานศาลฎีกา นายนันทวัฒน์ บรมานันท์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนายฐิตินันท์ พงษสุทธิรักษ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีนายจตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศึกษาธิการ เข้าร่วมฟังด้วย

นายสถิตย์ กล่าวว่า ปัญหาของประเทศไทยคือ ไม่เข้าใจว่าประชาธิปไตยคืออะไร ซึ่งจะทำให้ประชาธิปไตยของประเทศไทยค่อนข้างไปยาก แต่ไม่ต้องวิตก เพราะหนทางประชาธิปไตยไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ แต่โรยด้วยเลือดและน้ำตา โดยสังเกตได้จากประเทศอื่นๆที่กว่าจะได้ประชาธิปไตยมาก็มีคนเสียชีวิตมากมาย ซึ่งถ้าเทียบตัวเลขการเสียชีวิตในประเทศไทยยังน้อยกว่าประเทศอื่นๆ แต่ไม่ได้เรียกร้องให้ไปเสียชีวิตเพื่อแลกประชาธิปไตย อย่างไรก็ตามอีกปัญหาก็คือปัจจุบันผู้พิพากษาไม่รู้ว่าประชาธิปไตยคืออะไร จึงไม่มีประสิทธิภาพในการรับหน้าที่ที่สอดรับกับรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน เพราะฉะนั้นการวินิจฉัยก็ไม่รู้ว่าคุณธรรมคืออะไร

"ท้ายสุดคนที่พูดก็พูดกันไป แต่สุุดท้ายอยู่ที่ประชาชน เพราะไม่มีใครขัดขวางประชาชนได้ ทุกอย่างต้องอยู่ที่ประชาชน ถ้าประชาชนต้องการประชาธิปไตยเด็ดขาดยังไงก็ได้เป็น ทั้งนี้ทุกวันนี้มีความหวังคือคนเสื้อแดงที่เป็นกำแพงผนังเหล็กให้ประชาธิปไตย ส่วนเรื่องปรองดอง ผมมองว่าไม่มีวันปรองดองได้ อย่างพรรคการเมืองอเมริกาก็ไม่ได้ปรองดองกัน แค่เขายอมรับกติกากัน" นายสถิตย์ กล่าว

ด้านนายนันทวัฒน์ กล่าวว่า นิติรัฐ นิติธรรม ในบ้านเราดูเป็นนามประธรรม โดยคำว่านิติรัฐ ในอดีตใช้ในวงวิชาการเท่านั้น ไม่ได้ใช้ในวงการเมืองเหมือนทุกวันนี้ แต่หลังปี 2549 เห็นว่าไม่มีความยุติธรรมจึงหยิบยกมาพูดกัน ซึ่งก่อนหน้านี้ก็มีคำว่า 2 มาตราฐาน ทั้งนี้นิติรัฐ คือ รัฐที่มีกฎหมายปกครอง โดยกฎหมายของไทยให้เจ้าหน้าที่ใช้ดุลพินิจได้เป็นอย่างมาก โดยไม่มีหน่วยงานตรวจสอบ จนภายหลังได้มีศาลปกครองขึ้นมา อย่างไรก็ตามการอยู่ใต้นิติรัฐในประเทศไทยบางช่วงยังมีปัญหา ทั้งนี้นิติรัฐ และนิติธรรม ภาพรวมมีหลักที่เหมือนกัน แต่ต่างกันบางเรื่อง

"การยุุบพรรคการเมือง ที่คนผิดคนเดียวแล้วยุบทั้งพรรค ไม่น่าใช้หลักนิติรัฐ ทั้งนี้รัฐธรรมนููญปี 2550 ทำให้ประเทศไทยห่างไกลความเป็นนิติรัฐ" นายนันทวัฒน์ กล่าว

ขณะที่นายฐิตินันท์ กล่าวว่า เรื่องประชาธิปไตยเป็นเรื่องข้างนอกแล้วมาข้างใน คือนอกระบบและเข้ามาในระบบ ซึ่งต้องใช้เวลาถึงจะเข้ากับคนไทยได้ โดยประชาธิปไตยของประเทศไทยกำลังเกิด เพราะถ้าบ้านเมืองเป็นประชาธิปไตยทุกอย่างจะสงบ จะไม่วุ่นวายเหมือนปัจจุบัน ซึ่งในยุคปัจจุบันยิ่งจัดการยิ่งยุ่งยาก อย่างไรก็ตามประชาธิปไตยไม่มีสูตรตายตัวที่ต้องเหมือนประเทศต่างๆ ทั้งนี้ในประเทศไทยกฎหมายไม่ศักดิ์สิทธิ์ ถึงอย่างไรก็ตามในวันที่สภาเปิดจะเห็นความตึงเครียดมากขึ้น และถ้ามีเรื่องนิรโทษกรรมออกมาจริง จะมีคนออกมาค้าน ซึ่งในด้านนิติบัญญัติรัฐบาลต้องสู้ ตนยังเชื่อว่าต้องหาทางเดินหน้าให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ ทั้งนี้ปัจจัยเสี่ยงที่น่ากลัวที่สุดของประเทศไทยคือฝ่ายค้านไม่มีวันชนะเลือกตั้ง ตนมองว่านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ต้องลาออก ต้องล้างไพ่

"ต้องหาทางออกที่อยู่ในกรอบ ประเทศไทยไม่ได้เป็นประเทศเดียวที่มีปัญหาเรื่องประชาธิปไตย ซึ่งจากการมีปัญหาการแบ่งแยกในประเทศแต่ก็ยังทำให้เศรษฐกิจด้านหน้าไปได้ ทั้งนี้ผมมองว่าคณะกรรมาธิการในสภาไม่มีน้ำยา เรียกใครไปก็ไม่มีใครไป ซึ่งนิติบัญญัติบ้านเราก็ห่วย แต่คนเลือกมาผมก็โอเค ท้ายสุดถ้าร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.แรงงาน ออกจากการเมืองจะเป็นสัญญาณที่ดี เพราะจะปล่อยให้คนเหล่านี้เป็นรัฐมนตรีได้อย่างไร" รศ.ดร.ฐิตินันท์ กล่าว

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ


[Continue reading...]

ปชป.ยึดเวทีถล่ม "ปู" ปลุกกระแสรับเปิดสภา

- 0 comments
โดย...ธนพล บางยี่ขัน จากโพสทูเดย์

อุณหภูมิการเมืองเริ่มตั้งเค้ารุนแรงอีกรอบ ในช่วงโค้งสุดท้ายก่อนเปิดสมัยประชุมสภาผู้แทนราษฎร 1 ส.ค.นี้ ซึ่งมีทั้งกฎหมายร้อนและประเด็นใหญ่ๆ จ่อคิวรอการพิจารณาแน่น

จนวิเคราะห์กันว่าจะเกิดแรงเสียดทานครั้งใหญ่สั่นคลอนรัฐบาลหนักกว่าที่ผ่านมา

ไม่แปลกที่ “ฝ่ายค้าน” จะจับสัญญาณนี้ได้ชัดเจน และไม่ยอมทิ้งโอกาสให้หลุดลอย ดังจะเห็นจากท่าทีการออกตัว “ปลุกกระแส” หยิบจับเรื่องร้อนต่างๆ มาไล่บี้รัฐบาล เพื่อปูทางไปสู่กระบวนการตรวจสอบในสภาที่จะหนักหน่วงขึ้นเรื่อยๆ

เพราะต้องยอมรับว่าผลพวงจากการบริหารงานเกือบ 2 ปีที่ผ่านมาของนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เริ่มปรากฏความเสียหายที่จับต้องได้หลายต่อหลายจุด ทั้งความเสียหายที่มีผลต่องบประมาณแผ่นดินและสุ่มเสี่ยงว่าจะขัดกฎหมายในอีกหลายส่วน

ยังไม่รวมกับความระหองระแหงทั้งภายในพรรคและความสัมพันธ์ระหว่างเสื้อแดงและเพื่อไทย จนทำให้ครึ่งเทอมของการบริหารของรัฐบาลเพื่อไทยจึงถือเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญว่าจะลากกันฝ่าแรงเสียดทานกันไปต่อได้นานอีกแค่ไหน

แม้จะพักยกชั่วคราวระหว่างปิดสมัยประชุม แต่ระเบิดเวลาหลายลูกที่ถูกจุดชนวนยังเป็นหัวเชื้อรอเวลาหยิบขึ้นมาเดินหน้าผลักดันต่อในช่วงเปิดสมัยประชุม ดังนั้น ประชาธิปัตย์ (ปชป.) จึงอาศัยช่วงปิดสมัยประชุม เดินสายเปิดเวทีผ่าความจริง ชี้แจงชาวบ้านให้เข้าใจถึงพิษภัยระเบิดเวลาเหล่านี้

ความพยายามใช้เวลาช่วงปิดสมัยประชุมจัดเวทีต่างๆ เรียกกระแสสังคมให้จับตามายังประเด็นร้อนเหล่านี้ ต้องเจออุปสรรคอยู่บ้าง โดยเฉพาะพื้นที่สีแดงที่มีการก่อกวนรุนแรงขึ้น จนต้องปรับแผนกลับมาจัดเวทีอยู่ในพื้นที่ กทม. ทั้งลานคนเมือง วงเวียนใหญ่ หรือล่าสุดเวทีที่เขตบางเขน ภายใต้หัวข้อ “หยุดกฎหมายล้างผิด คิดล้มรัฐธรรมนูญ หยุดเงินกู้ผลาญชาติ หยุดอำนาจฉ้อฉล”

สะท้อนให้เห็นถึงเป้าหมายการจุดกระแสคัดค้านในประเด็นหลักๆ ตั้งแต่เรื่องใหญ่อย่างกฎหมายปรองดองหรือนิรโทษกรรมทั้งฉบับของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.แรงงาน และวรชัย เหมะ สส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย หรือล่าสุดฉบับของ พะเยาว์ อัคฮาด ที่ประเมินว่าจะเป็นชนวนความขัดแย้งและบานปลายกลายเป็นความรุนแรง ต่อเนื่องด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่จะเป็นปัญหาไม่แพ้กัน

ยังไม่รวมกับการเน้นย้ำอันตรายโครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท ที่ขาดรายละเอียดโครงการ ขาดการศึกษาผลกระทบด้านต่างๆ และขาดการมีส่วนร่วมจากชาวบ้านในพื้นที่และสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดการรั่วไหลจากระบบการจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีพิเศษ และสุ่มเสี่ยงที่จะขัดรัฐธรรมนูญ

ตามมาด้วย พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ จำนวน 2 ล้านล้านบาท

มาถึงการสะท้อนปัญหาอันตรายจากโครงการรับจำนำข้าว ที่นอกเหนือจากเงื่อนงำความไม่โปร่งใสในแทบจะทุกขั้นตอนจนงบประมาณรั่วไหลขาดทุนไปหลายแสนล้านบาท และจะยังคงเพิ่มขึ้นต่อไปเมื่อรัฐบาลยืนยันเดินหน้าทำโครงการต่อจนเตรียมจะต้องแก้ปัญหาด้วยการขยับราคาจำนำเหลือตันละ 1.35 หมื่นบาท และจำกัดจำนวนจากเดิม 1.5 หมื่นบาททุกเมล็ด กระทบต่อรายได้ของชาวนาโดยตรง

ที่สำคัญยังต้องเผชิญกับปัญหาใหม่ๆ เรื่องคุณภาพข้าวที่เริ่มระบายออกมาจากสต๊อกของรัฐบาล ที่มีทั้งเรื่องข้าวเน่าและสารปนเปื้อนจนกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทั้งในและนอกประเทศ ส่งผลต่อการระบายข้าวที่ค้างในสต๊อก ยังไม่รวมกับข้าวใหม่ที่จะเข้าโครงการในฤดูกาลหน้า

ประชาธิปัตย์จึงเตรียมทิ้งทวนใช้โอกาสในช่วงสัปดาห์สุดท้ายก่อนเปิดสมัยประชุมสภา เปิดเวทีปลุกกระแสให้สังคมหันมาจับตาอย่างใกล้ชิด โดยอยู่ระหว่างการหารือและรอเคาะว่าจะจัดทั้งหมดกี่เวทีและจุดใด วันใดบ้าง

ปูทางไปสู่ช่วงเปิดสมัยประชุมที่เตรียมการใช้เวทีในสภาอภิปรายชี้ให้เห็นข้อดีข้อเสียของกฎหมายต่างๆ พ.ร.บ.นิรโทษกรรมที่จ่อคิวรอการพิจารณาหรือจะเลื่อน พ.ร.บ.งบประมาณ 2557 ขึ้นมาพิจารณาก่อน เพื่อไม่ให้กระแสการเมืองร้อนแรงตั้งแต่เปิดสมัยประชุม

นอกจากบรรดากฎหมายร้อนทั้งหลายแล้ว อีกด้านหนึ่ง “ประชาธิปัตย์” ยังเตรียมหยิบปมปัญหาขึ้นมาขยายแผลผ่านช่องทางในระบบรัฐสภา โดยเฉพาะเรื่อง “คลิปฉาว” เสียงสนทนา “หนู” ช่วย “ราชสีห์” กลับบ้าน ที่สั่นคลอนสัมพันธ์ระหว่างกองทัพและรัฐบาลแบบไม่อาจหลีกเลี่ยง

วางคร่าวๆ ไว้ด้วย เตรียมตั้งกระทู้ถามสดตรงถึงนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ในฐานะ รมว.กลาโหม ที่จะต้องชี้แจง ทั้งเรื่องการเข้าไปแทรกแซงกองทัพของฝ่ายการเมือง รวมถึงประเด็นช่วยพี่ชายนายกฯ กลับประเทศ โดยพึ่งตัวช่วยอย่างสภากลาโหมเป็นใบเบิกทาง

ยังไม่รวมกับเรื่องร้อนอื่นๆ ทั้งผลพวงจากโครงการรับจำนำข้าว ทั้งเรื่องความเชื่อมั่น สารปนเปื้อน เงื่อนงำการระบายข้าว รวมไปถึงตัวละครใหม่ๆ อย่าง “มาดามกง” ที่เปิดออกมาล่าสุด ซึ่งจะได้มีการหยิบยกเรื่องเหล่านี้มาขยายผล นวดรัฐบาลไปเรื่อยๆ

ก่อนที่จะรอจังหวะเหมาะ ลงดาบสุดท้ายด้วยการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ที่จะต้องรอดูว่าถึงเวลานั้นมีข้อมูลหลักฐานมากน้อยแค่ไหน เพียงพอที่จะยื่นซักฟอกรัฐมนตรีคนใดจะเข้าข่ายบ้าง นับจากนี้จึงเลี่ยงไม่ได้ที่สถานการณ์การเมืองจะกลับมาดุเดือดอีกรอบ
[Continue reading...]

ผลงานฮอต "ศิริโชค วอลเปเปอร์“ จากพระนครสาส์น

- 0 comments
นายศิริโชค โสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา และกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ เป็นที่รู้จักในฉายา วอลล์เปเปอร์ จากการมักปรากฏตัวหลังนายกรัฐมนตรีเมื่อปรากฏภาพในจอโทรทัศน์เสมอ ๆ

ลงรับสมัครเลือกตั้งเป็น ส.ส.ครั้งแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2538 สังกัดพรรคนำไทย ที่จังหวัดสงขลา บ้านเกิด และได้รับเลือกตั้งเป็นครั้งแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2544

ภายหลังที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ขึ้นมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นคนที่ 27 นายศิริโชคได้ทำหน้าที่เป็นเลขานุการส่วนตัวนายกรัฐมนตรี และมีบทบาทตอบโต้กับฝ่ายค้านและฝ่ายตรงข้าม จนได้รับฉายาจากฝ่ายค้านว่า วอลล์เปเปอร์

"พระนครสาส์น" รวมฮิตผลงานฮอต "ศิริโชค วอลเปเปอร์" ของพรรคที่บอกว่า "ซื่อสัตย์ ไม่โกง"


หึ่ง“ศิริโชค โสภา”ซุกธุรกิจดูดทรายเถื่อน! ตร.บุกจับถึงกับผงะ พบเบาะแส“สาวปริศนา”นอนินีคุมกิจการ

http://www.phranakornsarn.com/?p=1722&preview=true

ประชาชาติธุรกิจแฉ“นอมินีท่าดูดทรายเถื่อน” ถือหุ้นบริษัทแม่ศิริโชค ยันชัดวอลเปเปอร์แกล้งจน!

http://www.phranakornsarn.com/cockroach/423.html

เปิดเส้นทาง “ชีวิตเถื่อน” ฉบับ “ศิริโชค โสภา”…วอลเปเปอร์สูบธรณี!

http://www.phranakornsarn.com/democrat/449.html

คดีท่าทรายเถื่อนโยงศิริโชคคืบ ตำรวจส่งต่ออัยการแล้ว เจออีกคดีลูกซองยาวของนักการเมืองขาใหญ่

http://www.phranakornsarn.com/cockroach/1722.html

มติชนประจานศิริโชคโดนคดีโอนอาวุธปืนผิดกฎหมาย หลังตำรวจบุกจับท่าทรายเถื่อน

http://www.phranakornsarn.com/democrat/1733.html?preview=true&preview_id=1733&preview_nonce=bda6524b85
[Continue reading...]

วันหนึ่ง "ข้าว" อาจจะหายไปจากรายชื่อสินค้าออกสำคัญของไทยเช่นเดียวกับไม้สัก และดีบุก

- 0 comments
คิดเรื่องข้าว :กับประภัสสร เสวิกุล  คมชัดลึก

             วันก่อนนึกถึงตำราเรียนสมัยก่อน จำได้ว่าสินค้าออกลำดับต้นๆ ของประเทศไทยเมื่อประมาณ 50-60 ปีที่แล้ว ได้แก่ ข้าว ไม้สัก ดีบุก ยางพารา ฯลฯ แต่ปัจจุบันนี้ ไม้สักก็ถูกตัดจนหมดป่า และดีบุกก็ถูกขุดกันจนหมดภาคใต้ เหลือแต่ยางพาราที่ลุ่มๆ ดอนๆ และข้าวซึ่งก็ถูกประเทศเพื่อนบ้านแย่งตลาดไปเรื่อยๆ หนำซ้ำยังมีปัญหาเรื่องความมั่นใจในความปลอดภัยจากการบริโภคข้าวไทยในโครงการจำนำข้าวเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย จึงเป็นเรื่องที่น่ากังวลว่า ข้าวไทยอาจจะมีปริมาณการส่งออกที่ลดลง จนสูญเสียทั้งตำแหน่งผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลก และสินค้าออกลำดับต้นๆ ของประเทศ เช่นเดียวกับไม้สัก และดีบุก ก็เป็นได้

             หากมองดูตลาดข้าวในต่างประเทศเวลานี้ ก็จะเห็นได้ชัดว่าข้าวเวียดนาม รวมทั้งข้าวกัมพูชานั้น สามารถครองตลาดผู้บริโภคในระดับล่าง ด้วยสนนราคาที่ถูกกว่า แต่ก็มีปริมาณการขายที่มากตามไปด้วย ส่วนข้าวไทยนั้น เรามักจะบอกว่า เราเป็นข้าวที่มีคุณภาพดีกว่า มีราคาสูงกว่า จึงมุ่งไปที่ผู้ซื้อที่มีกำลังด้านการเงินมากกว่า แต่นี่คงไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้องหรอกครับ หรือถึงจะถูกในวันนี้แต่ก็อาจผิดในวันพรุ่งนี้ได้ เพราะประเทศผู้ผลิตข้าวทุกประเทศต่างก็แข่งขันกันพัฒนาพันธุ์ข้าวของตนให้ดียิ่งขึ้นเรื่อยๆ ไม่มีประเทศไหนจะก้มหน้าก้มตาผลิตข้าวราคาถูกไปตลอดกาลหรอกครับ เพราะการผลิตข้าวที่ใช้แรงงานจำนวนมาก ใช้พื้นที่เพาะปลูกจำนวนมาก ใช้ปุ๋ยจำนวนมาก แต่ได้ผลผลิตราคาต่ำนั้น สู้เปลี่ยนไปผลิตข้าวคุณภาพสูงที่ราคาดีกว่าไม่ดีหรือ? และผู้บริโภคในตลาดใหญ่อย่างจีน ยิ่งวันก็ยิ่งมีฐานะทางเศรษฐกิจดีขึ้น และมีกำลังจะซื้อหาของดีๆ ไปรับประทาน ซึ่งเมื่อวันนั้นมาถึง ประเทศไทยก็จะสูญเสียตลาดข้าวที่มีคุณภาพดี ไปอีกตลาดหนึ่งอย่างค่อนข้างจะแน่นอน

             ถ้าเราเข้าใจสถานการณ์ที่เป็นจริง และลองคิดในมุมกลับว่า สมมุติเรานำที่นาทั้งประเทศมาปลูกข้าวที่มีคุณภาพ โดยปรับปรุงพันธุ์ให้เหมาะกับแต่ละพื้นที่ รวมทั้งปรับลดพื้นที่ให้เหมาะสม ประเทศไทยก็จะเป็นแหล่งผลิตข้าวที่มีคุณภาพ เช่นข้าวหอมมะลิ ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และสามารถที่จะเป็นเจ้าตลาดข้าวประเภทนี้ได้เต็มที่ ในเวลาเดียวกันนั้น เราก็เปิดประตูกว้างๆ รับข้าวราคาถูกจากประเทศเพื่อนบ้าน มาบริโภคภายในประเทศ ก็จะมีแต่ได้กับได้ทั้งสองฝ่าย และไม่ต้องไปแข่งขันหรือตัดราคากันเองในตลาดโลกด้วย

             เมื่อย้อนกลับไปมองตำราเรียนเก่าๆ ก็จะเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จำนวนประชากรไทยที่เคยท่องจำว่า 14 ล้านคน ในตอนนั้น ก็กลายเป็น 64 ล้านคนในตอนนี้ สภาพ “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” ก็กลายเป็น “ในนามีโรงงาน ในแม่น้ำลำธารมีขยะ” และวิถีชีวิตของคนไทยในวันนี้ก็ไม่มีทางที่จะเหมือนกับรุ่นปู่ย่าได้หรอกครับ

             ดังนั้น ถ้าเรายังเอาแต่ท่องจำ หรือเชื่อว่าข้าวคือสินค้าออกสำคัญของไทย โดยไม่ปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบการผลิต การขาย หรือการแข่งขัน ให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ วันหนึ่งข้าวก็อาจจะหายไปจากรายชื่อสินค้าออกสำคัญของไทยเช่นเดียวกับไม้สัก และดีบุก นั่นแหละครับ
[Continue reading...]

“เลขาฯ สภา” จวก “วัชระ” ไม่รู้ระเบียบราชการ

- 0 comments
“เลขาฯ สภา” สวน “วัชระ”ยื่นป.ป.ช.สอบซ่อมแซมปรับปรุงพื้นที่ในรัฐสภาส่อไม่โปร่งใส จวกไม่รู้ระเบียบราชการ ย้ำมีคณะกก.ดูแล – ตรวจสอบถูกต้อง ปัดมีนักการเมืองอยู่เบื้องหลัง

เมื่อวันที่ 26 ก.ค.ที่รัฐสภา นายสุวิจักขณ์ นาควัชระชัย เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงกรณีที่นายวัชระ เพชรทอง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ เตรียมยื่นเอกสารให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) สอบสวนกรณีจ้างเหมาซ่อมแซมปรับปรุงพื้นที่ในรัฐสภา ที่มีนายสุวิจักขณ์ลงนามในเอกสารการดำเนินการ เพราะมีพฤติการณ์ส่อไปในทางทุจริตว่า การปรับปรุงพื้นที่รอบรัฐสภามีคณะกรรมการ ทีโออาร์ คณะกรรมการประกวดราคา มีราคากลางถูกต้องตามระเบียบพัสดุ รวมทั้งมีการส่งเอกสารให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และสำนักงบประมาณ ตรวจสอบความถูกต้องทั้งหมด ขณะที่การก่อสร้างก็มีเจ้าหน้าที่จากกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย เข้าร่วมตรวจสอบด้วย  ยืนยันว่าดำเนินการครบถ้วนถูกต้องตามระเบียบ ซึ่งนายวัชระอาจจะไม่เข้าใจในระเบียบทางราชการ และมั่นใจการดำเนินการของตนถูกต้องทุกอย่าง

ส่วนกรณีที่นายวัชระระบุว่ามีนักการเมืองอยู่เบื้องหลังนั้น นายสุวิจักขณ์ กล่าวยืนยันว่า " ไม่มี ทุกเรื่องเป็นเรื่องระเบียบราชการ มีคณะกรรมการตรวจสอบชัดเจน".

ที่มา:เดลินิวส์
[Continue reading...]

อพส.ประกาศระดมมวลชนเข้ากรุง 4 ส.ค “ต้านระบอบทักษิณ”

- 0 comments
ภาพข่าวจาก โพสทูเดย์

อพส.ประกาศระดมมวลชนเข้ากรุง 4 ส.ค.นี้ โวตำรวจทหารทัพบก-เรือ-อากาศจ่อร่วมกว่าร้อย 100 คน
แกนนำนัดประชุมทุกภูมิภาค 28-29 ก.ค.          

ที่ราชตฤณมัยสมาคม หรือ สนามม้านางเลิ้ง นายไทกร พลสุวรรณ ผู้ประสานงานคณะเสนาธิการร่วมกองทัพประชาชนโค่นล้มระบอบทักษิณ หรือ กลุ่มองค์การพิทักษ์สยาม (อพส.) เดิม แถลงว่า หลังมีการประชุมกองทัพประชาชนฯ ส่วนกลางและพื้นที่ต่างจังหวัดถึงแนวทางการขับเคลื่อนมวลชนในการเข้าร่วมชุมนุมในวันที่ 4 ส.ค.นี้ ที่ประชุมมีมติร่วมกัน 2 ข้อ คือ 1.ให้กองทัพประชาชนแต่ละจังหวัดได้ไปจัดตั้งและระดมมวลชนเข้ามาร่วมชุมนุมในกรุงเทพฯ ตามวันนัดหมายให้มากที่สุด และ 2.การชุมนุมครั้งนี้เป็นการต่อสู้ครั้งสำคัญที่จะโค่นล้มระบอบทักษิณให้สิ้นซากไปจากแผ่นดินไทย ดังนั้นให้แต่ละจังหวัดเตรียมความพร้อมสูงสุดในการระดมมวลชนเข้าร่วมชุมนุมเป็นระยะ

นายไทกร กล่าวต่อว่า จากกำหนดการเดิมที่จะมีการเปิดตัวนายทหาร และข้าราชการตำรวจกว่า 30 คนที่แสดงเจตนารมณ์เข้าร่วมกับกองทัพประชาชนโค่นล้มระบอบทักษิณ แต่เนื่องจากมีผู้แสดงความจำนงเข้าร่วมอีกจำนวนนับ 100 คนมาจากทหารบก ทหารอากาศ ทหารเรือ และข้าราชการตำรวจที่รักประเทศชาติ จึงรวมตัวไม่ทันการณ์ต่อการเเถลงครั้งนี้ อย่างไรก็ตามจะมีการแถลงเปิดตัวอย่างเป็นทางการก่อนวันที่ 4 ส.ค.ที่มีการนัดหมายชุมนุมแน่นอน

ทั้งนี้นายไทกร ยังปฏิเสธที่จะระบุสถานที่ชุมนุม โดยอ้างว่าจะมีการเปิดเผยอีกครั้ง ก่อนวันนัดหมายชุมนุม โดยขณะนี้ยืนยันได้เพียงว่าจัดชุมนุมในพื้นที่กรุงเทพฯ เท่านั้น นอกจากนี้นายไทกรยังยืนยันไม่กล่าวถึงรูปแบบการชุมนุมว่าจะเป็นการเคลื่อนพลแบบดาวกระจายหรือปักหลักในสถานที่เดียว รวมถึงไม่ระบุว่าเป็นการชุมนุมเพียงวันเดียวหรือมีการค้างคืนหรือไม่ โดยอ้างว่าไม่ต้องการเปิดเผยยุทธวิธีการเคลื่อนไหว โดยเวลานี้เปิดเผยได้เพียงยุทธศาสตร์เบื้องต้นว่าต้องการโค่นล้มระบอบทักษิณให้ได้ในวันที่ 4 ส.ค.เท่านั้น

นายไทกร ยังกล่าวด้วยว่า ส่วนที่มีกระเเสข่าวระบุว่าจะมีการชุมนุมในวันที่ 15 ส.ค.ด้วยนั้น ยืนยันว่าขณะนี้ยังไม่มีความแน่นอน แต่จะกำหนดทิศทางการเคลื่อนไหวที่ชัดเจนต่อไป ในการชุมนุมวันที่ 4 ส.ค.เพราะต้องประเมินสถานการณ์ในวันดังกล่าวด้วย  

นายสุทิน ธราทิน ผู้ประสานงานคณะเสนาธิการกองทัพประชาชนฯ เปิดเผยว่า ตามที่ที่ประชุมมีมติให้กองทัพประชาชนต่างจังหวัดระดมกำลังในการเคลื่อนไหวนั้น ได้มีการนัดประชุมแกนนำภูมิภาค โดยวันที่ 28 ก.ค.จะมีการประชุมแกนนำภาคเหนือตอนบน ที่ จ.เชียงใหม่ ภาคอีสานตอนบน ที่ จ.ขอนแก่น ภาคใต้ตอนบน ที่ จ.สุราษฎร์ธานี และภาคตะวันตก กทม.และปริมณฑลที่สนามม้านางเลิ้ง กทม.ส่วนวันที่ 29 ก.ค.จะมีการประชุมแกนนำภาคเหนือตอนล่าง ที่ จ.พิษณุโลก ภาคอีสานตอนล่าง ที่โคราช จ.นครราชสีมา ภาคใต้ตอนล่างที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา และภาคตะวันออก ที่ จ.ระยอง
[Continue reading...]

"ทักษิณ" โฟนอิน "วัดแก้วฟ้า" เชื่อ ไม่นานบ้านเมืองกลับสู่ปกติ

- 0 comments

 
 
 
ภาพข่าว จาก นสพ.ไทยรัฐ
"ทักษิณ" โฟนอินวันเกิด วัดแก้วฟ้า โอด 7 ปี ยังไม่พ้นเวรกรรม โอ่ ไม่นาน มีข่าวดี ชวนคนเก่ง ระดับโลก สร้างภาพลักษณ์ประเทศ บอก คนไทยต้องอดทน เชื่อ อีกไม่นานบ้านเมืองปกติ...
เมื่อวันที่ 26 ก.ค. มีรายงานว่า ที่วัดแก้วฟ้า จ.นนทบุรี กลุ่มคนเสื้อแดงนนทบุรี นำโดยนายสิงห์ทอง บัวชุม อดีตผู้สมัคร ส.ส.พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานชมรมแทนคุณแผ่นดินครบรอบ 64 ปี คนดีเชิญปรองดอง จัดงานทำบุญและฉลองวันครบรอบวันเกิด 64 ปี ให้กับพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ภายใต้ชื่องาน ครบรอบ 64 ปีคนดีเชิญปรองดองโดยมี นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เดินทางมาเป็นประธาน ซึ่งในพิธีมีการนิมนต์พระสงฆ์ 108 รูป สวดนพเคราะห์ ให้กับอดีตนายกรัฐมนตรี เพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์

 พร้อม กันนี้ ยังมีการเตรียมเค้กวันเกิดขนาด 64 ปอนด์ ที่พิมพ์ภาพ พ.ต.ท.ทักษิณบนหน้าเค้กพร้อมข้อความ “64 ปีคนดีเชิญปรองดองไว้ฉลองให้กับพ.ต.ท.ทักษิณด้วย ซึ่งบรรยากาศภายในงานเป็นไปอย่างคึกคักมีกลุ่มคนเสื้อแดงเดินทางมาร่วมงาน กันอย่างคับคั่ง
มีรายงานเพิ่มเติมว่า จากนั้นเวลา 12.10 น. พ.ต.ท.ทักษิณ ได้โฟนอินเข้ามาในงานโดยใช้ระยะเวลาในการพูดคุยประมาณ 5 นาที เพื่อกล่าวขอบคุณทุกคนที่ร่วมจัดงานวันเกิด และเป็นแรงใจให้ขอให้ผลบุญกุศล ตกกับคนไทยทุกคน ตอนนี้ ยังไม่พ้นเวรพ้นกรรม 7 ปี ที่อยู่ต่างประเทศก็ไม่เคยลืม มีความพยายามจะคิดแก้ไขให้กับประเทศมาตลอด ขณะนี้ อยู่ที่ปักกิ่ง มีเรื่องดีๆ ที่มีประโยชน์กับประเทศไทย ขอบคุณอีกครั้ง

ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการชักชวนคนเก่งๆ ของโลก ให้มาร่วมกันในการสร้างภาพลักษณ์ของประเทศ ด้วยการสร้างผลิตภัณฑ์เพื่อให้ไทย ก้าวสู่สังคมโลก อีกไม่นานเกินรอ มีข่าวดี พี่น้องไม่ลืมผม ผมอยากเห็นคนไทย มีความสุข หันหน้าเข้าหากัน จะมาบอกว่า คนนี้พวกเรา คนนั้นพวกเราไม่ได้ แม้จะอยู่เมืองนอก แต่ผมก็มีความรับผิดชอบ เราจะต้องนำประเทศกลับสู่ความสงบสุข ขอให้คนไทยทุกคนอดทน อีกไม่นานเกินรอบ้านเมืองจะกลับเข้าสู่สภาวะปกติ
[Continue reading...]

คนที่ดีแต่พูด "จะคิดเล็กคิดน้อยไม่ได้"

- 0 comments
คิดเล็กคิดน้อย
วงค์ ตาวัน  นสพ.ข่าวสด

ถ้า นับจากวลีระดับประวัติศาสตร์ทางการเมืองอันรู้จักกันทั่ว "ดีแต่พูด" ที่น.ส.จิตรา คชเดช ผู้นำแรงงานหญิงยกขึ้นมา จนกลายเป็นสัญลักษณ์ของอดีตนายกรัฐมนตรีไปแล้ว

ต้องเรียกว่าจุดติด ของจริง

และไม่แค่รู้จักไปทั่วทั้งแผ่นดินไทยเท่านั้น

แต่ นักข่าวฝรั่งยังนำไปขยายเป็นพากย์ภาษาอังกฤษ "He is only good at talking" จนกึกก้องไปทั่วโลกออนไลน์ โดยมีการติดแท็กบนทวิตเตอร์ว่า #HIOGAT

จุดติดไปทั่วโลกเลยทีเดียว

ที่ ต้องย้อนถึง "ดีแต่พูด" เพราะล่าสุดมีคำกล่าวของนายอลงกรณ์ พลบุตร แกนนำพรรคประชาธิปัตย์ที่สังคมให้ความหวังได้มากที่สุด ในกรณีปัญหาร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมทางการเมือง

โดยกล่าวถึงคนที่ดีแต่พูดว่า "จะคิดเล็กคิดน้อยไม่ได้"

"คิดเล็กคิดน้อย" มีโอกาสสูงมากที่มาเข้าคิวต่อจาก "ดีแต่พูด" เพราะอธิบายความถึงคนเดียวกันนั้นได้ชัดเจนที่สุด

ทั้ง นี้ได้มีนักข่าวถามนายอลงกรณ์ถึงท่าทีของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค ซึ่งยืนยันจะไม่มีการเสนอร่างกฎหมายของพรรคเข้าพิจารณา

คำตอบจากนายอลงกรณ์คือ

"จะ คิดเล็กคิดน้อย เล่นแง่ทางการเมืองไม่ได้ หรือกลัวตกหลุม กลายเป็นเครื่องมือของคนนั้นคนนี้ หากเรายอมรับว่า มีปัญหาการเมืองต่อเนื่องมาร่วม 10 ปี พรรคประชาธิปัตย์ต้องหาทางออกให้กับประเทศ และดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม ไม่ใช่เพียงแค่วิพากษ์วิจารณ์ เพราะเราเป็นพรรคการเมืองใหญ่ จึงถึงเวลาที่บทบาทหน้าที่ของเราต้องเปลี่ยนแปลง"
เป็นบทสรุปถึงบทบาทของพรรคการเมืองใหญ่ในประเทศนี้ได้ดีที่สุด

ต้องร่วมกันหาทางออกให้กับประเทศ

ไม่ใช่มัวแต่คิดเล็กคิดน้อยเสียจนกลายเป็นผู้เป็นอุปสรรค

ไม่เท่านั้น สิ่งที่นายอลงกรณ์ละเลยพูดไป และผู้นำประชาธิปัตย์ก็คงไม่ยอมรับ

นั่นก็คือ แท้จริงแล้ว พรรคประชาธิปัตย์ได้ร่วมก่อปัญหาของประเทศครั้งนี้เองด้วย!!
จากการที่ตัดสินใจเป็นรัฐบาลทั้งที่เบื้องหลังคือด้วยวิธีการพิเศษ มาด้วยการเจรจาในสถานที่ลี้ลับ

ทั้งเมื่อมีฝ่ายเสื้อแดงชุมนุมใหญ่ด้วยคนนับแสน เพื่อเรียกร้องให้ยุบสภา ไปตัดสินกันใหม่ตามครรลองประชาธิปไตย

กลับไม่ยอมถอยจากอำนาจ จนกลายเป็นเหตุการณ์ 99 ศพ

แทนที่จะรับผิดชอบและไถ่บาป

กลับยังคิดเล็กคิดน้อยอยู่นั่นแหละ!
 
                
[Continue reading...]
 
Copyright © . Yak Ratchaprasong - Posts · Comments
Theme Template by BTDesigner · Powered by Blogger