Monday, August 26, 2013

67 ปี เกมสภา "ประชาธิปัตย์" มรดกการเมืองจาก "ควง" สู่ผู้นำ "อภิสิทธิ์" เชื้อไม่เคยเปลี่ยน

- 0 comments
ไม่ใช่ครั้งแรกที่พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) จงใจ "ยื้อ" เวลาการอภิปรายในสภาทุกวาระ โดยงัดตัวอักษรทุกย่อหน้ามาขัดขวางการพิจารณา

และไม่ใช่ครั้งเดียวที่ พรรคสีฟ้า เล่นเกมนอกสภาควบคู่ไปกับเกมในสภา

ปชป.เคยเล่นมาแล้วครบทุกสูตร ทั้งในสภา ริมถนน ตั้งแต่ยุคก่อตั้งเมื่อ 67 ปีก่อน สมัยหัวหน้าพรรคชื่อ "ควง อภัยวงศ์"

ในปี 2490 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อ "พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาสวัสดิ์" ส.ส.พระนครศรีอยุธยา ในฐานะหัวหน้าพรรคแนวรัฐธรรมนูญ ได้รับเลือกให้นั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรีแทน "ปรีดี พนมยงค์" ที่ประกาศไม่รับตำแหน่ง แม้จะชนะเลือกตั้งได้เป็น ส.ส.พระนครศรีอยุธยาอีกสมัย

ภาวะเศรษฐกิจไทยช่วงหลังสงครามตกต่ำ เกิดภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรง กระทั่งรัฐนาวาของ "ปรีดี" เชื่อมต่อถึงยุค "พล.ร.ต.ถวัลย์" ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาให้ดีขึ้นได้

8 เดือนต่อมา หลังที่ "พล.ร.ต.ถวัลย์" นั่งเก้าอี้นายกฯ ปชป.ขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลครั้งใหญ่ ใช้เวลาถึง 7 วัน 7 คืน ตั้งแต่วันที่ 19-27 พฤษภาคม 2490 มุ่งทำลายเสถียรภาพของรัฐบาล

ประเด็นหนึ่งที่รัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ถูกโจมตีหนักคือ องค์การสรรพาหาร ที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้นเพื่อขายสินค้าอุปโภคแก่ชาวบ้าน ถูกโจมตีว่าเป็นแหล่งทุจริต

นอกจากนี้ยังถูกโจมตีกรณี "กินจอบ กินเสียม" ที่รัฐบาลซื้อมาราคาถูก เพื่อไปแจกจ่ายประชาชน แต่ถูกกล่าวหาว่านำไปขายเอาเงินเข้ากระเป๋าตนเอง

เช่นเดียวกับกรณี "ชื้น โรจนวิภาต" บรรณาธิการหนังสือพิมพ์อิทธิธรรม หนังสือพิมพ์ฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล เริ่มต้นโจมตีการดำเนินงานของรัฐบาลต่อกรณีสวรรคตของรัชกาลที่ 8 แต่รัฐบาลมิอาจจับคนร้ายได้ กลายเป็นปัจจัยแทรกซ้อนนอกสภา ที่ถูกนำมาขยายผลบนเวทีอภิปรายไม่ไว้วางใจในวันนั้น

สุดท้ายเกมในสภาของ ปชป.ไม่อาจเอาชนะเสียงข้างมากฝ่ายรัฐบาล
แต่ผลกระทบจากการอภิปรายครั้งนั้นเป็นจิ๊กซอว์สำคัญที่ทำให้ "พล.ร.ต.ถวัลย์" สิ้นสุดจากการเป็นนายกฯ

ข้อกล่าวหาทุจริตฉ้อฉลของรัฐบาล-สภาวะเศรษฐกิจฝืดเคืองต่อเนื่อง-กรณีสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ขมวดเป็นปมที่รัฐบาลไม่สามารถคลี่คลายได้

เป็นเหตุผลให้คณะรัฐประหาร 2490 นำโดย "พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ" (ยศขณะนั้น) ใช้ข้ออ้างดังกล่าวทำการรัฐประหาร ยึดอำนาจรัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490

44 ปีให้หลังในยุคที่การเมืองมีวรรคทองสำคัญคือ "เสียสัตย์เพื่อชาติ" ดังกึกก้องทั่วกระดานการเมือง เป็นวรรคทองของ "พล.อ.สุจินดา คราประยูร" นายกรัฐมนตรีคนที่ 19 ของไทย

เวลานั้นพรรคการเมืองไทยแบ่งออกเป็น 2 ขั้ว "พรรคเทพ" เป็นฝ่ายตรงข้ามกับคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ประกอบด้วย พรรคประชาธิปัตย์-พรรคพลังธรรม-พรรคความหวังใหม่-พรรคประชากรไทย
อีกขั้วหนึ่งคือ "พรรคมาร" ที่อยู่ฝ่ายเดียวกับทหาร คือพรรคชาติไทย-พรรคกิจสังคม-พรรคสามัคคีธรรม
ก่อนที่ "พล.อ.สุจินดา" จะตระบัดสัตย์คำพูดกลางสภา ขณะเดียวกัน "ชวน หลีกภัย" หัวหน้าพรรคนำมวลชนเรียกร้องรัฐธรรมนูญ หลัง รสช.ยึดอำนาจรัฐบาล "พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ" มา 9 เดือน

มูลเหตุมาจากร่างรัฐธรรมนูญฉบับ รสช.ที่มีเนื้อหาเอื้อให้สืบถอดอำนาจกันเอง

เนื่องจากมีการระบุให้ประธาน รสช.เป็นผู้แต่งตั้งวุฒิสมาชิกจำนวนไม่เกิน 360 คน และให้อำนาจวุฒิสมาชิกมีอำนาจเท่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ให้ข้าราชการประจำเป็นข้าราชการการเมืองได้ และให้ใช้ระบบการเลือกตั้งแบบพวงใหญ่ เขตละ 7 คน

เมื่อเป็นเช่นนี้ ในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2534 ฝ่าย "พรรคเทพ" ที่หนึ่งในนั้นคือ ปชป. พามวลชนนับแสนเข้าร่วมชุมนุมใหญ่บริเวณท้องสนามหลวง

การชุมนุมดังกล่าวนำมาสู่เหตุการณ์ "พฤษภาทมิฬ" ในอีก 6 เดือนต่อมา และเป็นเชื้อให้มีการปฏิรูปการเมือง จนมีรัฐธรรมนูญ 2540 ในที่สุด...

เมื่อปี 2490 ยุค "ควง อภัยวงศ์" เป็นหัวหน้าพรรค อภิปรายไม่ไว้วางใจในสภา 7 วัน 7 คืน กลายเป็นปมสู่การยึดอำนาจ พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาสวัสดิ์ โดยคณะทหาร
เมื่อปี 2534 การปลุกมวลชนลงท้องถนนร่วมกับ "พรรคเทพ" ในยุค "ชวน หลีกภัย" เป็นหัวหน้าพรรค ต่อยอดให้เกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ

ต้องจับตาว่าในปี 2556 ยุคที่ "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" เป็นหัวหน้าพรรค ที่มีการปลุกมวลชนลงถนนอีกครั้ง คู่ขนานกับข้อกล่าวหาว่าจงใจทำให้เกมในสภาดุเดือดจะนำไปสู่เหตุการณ์อะไรต่อไป

ที่มา :ประชาชาติธุรกิจ
[Continue reading...]

ชัดเจน ! "ถาวร" ลั่น ยกระดับ 3 ก.ย.นี้ ม๊อบเกษตรทั่วทุกภาคเคลื่อนไหวปิดถนน เตรียมบุกทำเนียบ

- 0 comments
24 ส.ค. 56 นายถาวร  เสนเนียม รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะตัวแทนแกนนำของเครือข่ายชาวสวนยางแห่งประเทศไทย กล่าวถึงผลการประชุมของแกนนำเครือข่ายชาวสวนยางแห่งประเทศไทย 15 คน เมื่อวันที่ 16 สิงหาคมที่ผ่านมา ว่า ทางกลุ่มเกษตรกรมีมติร่วมกัน คือ จะทำการยกระดับการชุมนุมในวันที่ 3 กันยายนนี้ โดยใช้ชื่อว่า “สามบวกหนึ่ง” โดยมีกลุ่มเกษตรกรเครือข่ายชาวสวยยางแห่งประเทศไทยจาก ภาคเหนือ อีสาน ใต้  จะกระจายกำลังปิดถนนสายหลัก ส่วนภาคกลางจะเดินขบวนโดยมีจุดมุ่งหมายที่ทำเนียบรัฐบาล แต่ละจุดใช้จำนวนคนประมาณ 15,000 คน ทั้งนี้ก็เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลหันมาดูแลและแก้ไขปัญหาราคายางตกต่ำ หลังดำเนินการยืนเรื่องไปแล้วหลายครั้งแต่ไม่ได้รับคำตอบจากรัฐบาล
นอกจากนี้ นายถาวรยังเปิดเผยว่า สาเหตุที่แกนนำกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประเทศไทย ไม่เปิดแถลงการณ์ที่พรรคประชาธิปัตย์นั้น เนื่องจากไม่อยากให้รัฐบาลนำมาเป็นข้ออ้าง ว่าเครือข่ายชาวสวนยางแห่งประเทศไทยมีนักการเมืองคอยสนับสนุนหรือมีพรรคการเมืองอยู่เบื้องหลัง และขอฝากรัฐบาล ให้เร่งหาวิธีแก้ไขปัญหาราคายาง และ ผลผลิตการเกษตรกรตกต่ำ โดยเร็วที่สุด เพราะเหตุการณ์ชุมนุมประท้วง อาจรุนแรงมากกว่าเหตุการณ์การประท้วงของเกษตรกรชาวสวนยางที่ยกระดับการชุมนุมไปก่อนหน้านี้ ที่จ.นครศรีธรรมราช 
ที่มา :ทีนิวส์
[Continue reading...]

"นิวยอร์กไทมส์" ตีแผ่ทั่วโลก ชี้ ปชป. ละทิ้งอุดมการณ์ - ปลุกระดมหยาบคาย นำม็อบประท้วงข้างถนน

- 0 comments
วันที่ 26 ส.ค. นิวยอร์กไทมส์ สื่อหนังสือพิมพ์ชื่อดังระดับโลกของสหรัฐอเมริกา รายงานบรรยากาศเวที “ผ่าความจริง” ของพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา พร้อมบทวิเคราะห์ของนายโทมัส ฟุลเลอร์ ผู้สื่อข่าวภูมิภาคเอเชียของนิวยอร์กไทมส์
 
บทวิเคราะห์ที่เขียนโดนนายฟุลเลอร์ ชี้ว่า พรรคประชาธิปัตย์ได้ละทิ้งแนวทางในรัฐสภา จากที่เคยย้ำว่าจะยึดมั่นในระบอบรัฐสภา และหันมาใช้วิธีปลุกระดมการประท้วงตามท้องถนนแทน โดยอ้างว่าเป็นการเลียนแบบ “อาหรับสปริง” ซึ่งท่าทีดังกล่าวทำให้หลายคนประหลาดใจ เพราะที่ผ่านมาพรรคนี้มีภาพลักษณ์เป็นพรรคที่มีความสุภาพ ไม่ก้าวร้าว และมีลักษณะเชิงปัญญาชน แต่ทุกวันนี้กลับกลายเป็นกลุ่มการเมืองที่พยายามจุดชนวนการประท้วงเพื่อต่อต้านรัฐบาลของนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร หลังจากที่เมืองไทยห่างเหินจากบรรยากาศการปะทะกันตามท้องถนนตั้งแต่เหตุการณ์การประท้วงเมื่อปี 2553

รายงานนิวยอร์กไทมส์ ระบุต่อไปว่า สาเหตุสำคัญที่พรรคประชาธิปัตย์นำการประท้วงในครั้งนี้คือแผนการผ่านร่างพรบ.นิรโทษกรรม และการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ของพรรคเพื่อไทย แต่อีกสาเหตุหนึ่งคือความรู้สึกไร้ซึ่งอำนาจของพรรคประชาธิปัตย์ หลังพรรคนี้แพ้การเลือกตั้งเมื่อ 2 ปีก่อน จนปูทางให้กลุ่มการเมืองของพตท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กลับมาสู่อำนาจได้อีกครั้ง 

นอกจากนี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยังถูกวิจารณ์อย่างหนักหลังนำพรรคของตนไปสู่ความพ่ายแพ้ในการเลือกตั้งครั้งล่าสุด และหัวหน้าพรรคดีกรีระดับออกซ์ฟอร์ดผู้นี้ ยังถูกวิจารณ์ว่าไม่สามารถเข้าถึงประชาชนรากหญ้าได้ โดยเฉพาะประชาชนในเขตภาคอีสาน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวนาและคนยากจน

รายงานข่าวตั้งข้อสังเกตว่า ในการชุมนุม ณ เวที “ผ่าความจริง” เมื่อวันที่ 24 ส.ค. มีแกนนำพรรคประชาธิปัตย์จำนวนมากขึ้นเวทีปราศรัย รวมทั้งนายอภิสิทธิ์ และนายสาธิต วงศ์หนองเตย โดยมีการใช้วาจาด่าทอน.ส.ยิ่งลักษณ์อย่างหยาบคาย และมีการปลุกระดมให้โค่นล้มรัฐบาลด้วย 

นอกจากนี้ รายงานของนิวยอร์กไทมส์ระบุว่า พรรคประชาธิปัตย์ได้ปฏิเสธกระบวนการปรองดองของรัฐบาล และยังใช้วิธีก่อความปั่นป่วนมาใช้ในรัฐสภาเช่นกัน เช่นต่อสู้กับ จนทำให้หนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งถึงกับพาดหัวว่า “อัปยศ”

อย่างไรก็ตาม ผู้สื่อข่าวของนิวยอร์กไทมส์ มองว่า ยังไม่แน่ชัดว่าผู้สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์จะสามารถชุมนุมยืดเยื้อเพื่อโค่นล้มรัฐบาลได้ดังที่แกนนำต้องการหรือไม่ เพราะการชุมนุมระยะยาวในประเทศไทยเป็นเรื่องยากลำบาก ต้องเจอกับทั้งสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้วนหรือพายุฝน อีกทั้งผู้สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์จำนวนมากเป็นคนชั้นกลาง ซึ่งผู้ประท้วงส่วนหนึ่งก็ให้สัมภาษณ์ในข่าวว่า ถ้าหากลำบากมาก ก็คงดูทีวีอยู่ที่บ้านดีกว่า

รายงานข่าวนิวยอร์กไทมส์ ยังได้สัมภาษณ์ความคิดเห็นของนายอลงกรณ์ พรหมบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งนายอลงกรณ์กล่าวว่าตนไม่เห็นด้วยกับยุทธวิธีของพรรคประชาธิปัตย์ขณะนี้ ตนมองว่าพรรคจะไม่มีทางชนะใจประชาชน “ประชาธิปไตยแบบม็อบ” เพราะจะมีแต่สร้างความแตกแยกไม่สิ้นสุด โดยตนมองว่าพรรคประชาธิปัตย์ควรเร่งปฏิรูปตนเองจะดีกว่า เช่น ใช้ระบบไพรมารีคัดสรรผู้สมัครที่ประชาชนต้องการ และเน้นการแก้ไขปัญหาปากท้องของประชาชนในขณะที่เศรษฐกิจของไทยและประเทศรอบข้างเริ่มส่อเค้าถดถอย

ด้านนายสมบัติ บุญงามอนงค์ แกนนอนกลุ่มวันอาทิตย์สีแดง ให้สัมภาษณ์รายงานข่าวนิวยอร์กไทมส์ว่า พรรคประชาธิปัตย์คาดการณ์ความรู้สึกของประชาชนผิดพลาด จึงจุดกระแสไม่ติด นอกจากนี้ นายสมบัติยังแสดงความผิดหวังที่เห็นพรรคประชาธิปัตย์ลงมาเล่นการเมืองบนท้องถนน โดยเปรียบเทียบว่าเหมือนเป็นมาราโดน่าลดตัวลงมาเล่นบอลข้างถนนเสียเอง 
 
 
ที่มา : ข่าวสด
[Continue reading...]

"การเมือง" ไร้กติกา นำพาสู่ "อนาธิปไตย" ระวัง "กาลียุค"

- 0 comments
มติชนวิเคราะห์
รัฐสภาสมัยประชุมที่กำลังเปิดทำการอยู่ในขณะนี้ ปรากฏความเคลื่อนไหวที่น่าบันทึกไว้หลายประการ

หนึ่ง เป็นการเปิดประชุมรัฐสภาที่พรรคประชาธิปัตย์ "อุ่นเครื่อง" มวลชนนอกสภามาแต่เนิ่นๆ

หนึ่ง คือ การชักนำมวลชนให้ไปส่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่รัฐสภา เพื่อเข้าร่วมประชุมสภาผู้แทนราษฎรในการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับที่นายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย และคณะเป็นผู้เสนอ

หนึ่ง คือ เกมการเมืองในสภาระหว่างฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายค้าน ในการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2557 ที่การอภิปรายในวาระ 2 กลายเป็นการอภิปรายในวาระ 1 และทำให้เวลาการอภิปรายยาวนาน

อีกหนึ่ง คือ เกมการเมืองในรัฐสภา ระหว่างการพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญในมาตราที่เกี่ยวข้องกับ "ที่มาของสมาชิกวุฒิสภา" นั้นยืดเยื้อและรุนแรง

รุนแรงถึงขนาดที่หนังสือพิมพ์หลายฉบับใช้ถ้อยคำที่รุนแรง เช่น "อัปยศ" หรือ "ถ่อย"

เป็นความรุนแรงถึงขนาดสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อย่างนายอลงกรณ์ พลบุตร จากพรรคประชาธิปัตย์ถึงกับหลุดถ้อยคำ "สื่อมวลชนคงพาดหัวข่าวหน้าหนึ่งในวันพรุ่งนี้ด้วยคำว่า "สภาอัปยศ" สำหรับผมคิดว่าเป็นวันที่น่าเศร้าที่สุดวันหนึ่งในประวัติศาสตร์รัฐสภาไทย"

เป็นความรุนแรงที่ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภาถึงกับบ่นว่า "โคตรเบื่อ"

หรือแม้แต่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ยังเอ่ยปากเตือนว่าอย่าขัดแย้งกัน

ความเคลื่อนไหวของสมาชิกรัฐสภาที่ผ่านมา ทำให้หลายฝ่ายเกิดข้อห่วงใย เพราะรัฐสภา ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา เป็นสถานที่รองรับความคิดเห็นและข้อเห็นต่างในระบอบประชาธิปไตย

รัฐสภาจึงมีกฎกติกาให้มีผู้พูดและผู้ฟัง มีผู้จัดคิวการพูดคือ ประธานการประชุม แต่ทั้งนี้ประธานที่ประชุมต้องปฏิบัติตามข้อบังคับและข้อตกลง

ข้อบังคับก็มาจากสมาชิกแห่งรัฐสภา

ข้อตกลงก็มาจากคณะกรรมการประสานงาน เรียกว่า วิป มีทั้งฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน และวุฒิสภา

แต่เหตุการณ์ที่ปรากฏในการประชุมตลอดสัปดาห์คือ มีแต่คนต้องการพูด ไม่ต้องการฟัง มีแต่คนอยากได้ ไม่มีคนอยากให้ มีแต่คนทำถูก ไม่มีใครยอมรับผิด มีการใช้วาจา-กิริยาและความรุนแรงกันในรัฐสภา

ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเกิดขึ้น ในขณะที่ นายชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความถึง นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษา พรรคประชาธิปัตย์ โดยเห็นว่า "ป่วนสภา ป่วนถนน และป่วนอื่นๆ น่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่สร้างสถานการณ์ อนาธิปไตย anarchy อันจะนำไปสู่การรัฐประหารยึดอำนาจ"

นายชาญวิทย์ย้อนประวัติศาสตร์การเมืองที่เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ.2490 และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ.2549 พร้อมแสดงความเป็นห่วงว่า "กาลียุค จะบังเกิดในสยามประเทศไทย"

ตอนหนึ่งนายชาญวิทย์โพสต์ว่า "เมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ปี พ.ศ.2489 กว่าครึ่งศตวรรษมาแล้ว ในขณะที่สังคมไทยกำลังค้นหาให้ได้มาซึ่งระบอบ "ประชาธิปไตย" ฯพณฯ ปรีดี พนมยงค์ ซึ่งในตอนนั้นดำรงตำแหน่ง นรม. ได้กล่าวปิดประชุมสภาเมื่อ 7 พฤษภาคม ด้วยคำเตือนเรื่อง "ประชาธิปไตย" กับ "อนาธิปไตย" ดังนี้

"ระบอบประชาธิปไตยนั้น เราหมายถึงประชาธิปไตย อันมีระเบียบตามกฎหมายและศีลธรรม และความซื่อสัตย์สุจริต ไม่ใช่ประชาธิปไตยอันไม่มีระเบียบ หรือประชาธิปไตยที่ไร้ศีลธรรม เช่น การใช้สิทธิเสรีภาพอันมีแต่จะให้เกิดความปั่นป่วน ความไม่สงบเรียบร้อย ความเสื่อมศีลธรรม ระบอบชนิดนี้เรียกว่าอนาธิปไตย หาใช่ประชาธิปไตยไม่ ขอให้ระวัง อย่าปนประชาธิปไตยกับอนาธิปไตย"

ท่านปรีดีกล่าวต่อว่า "ข้าพเจ้าไม่พึงประสงค์ที่จะให้มีระบอบเผด็จการในประเทศไทย ในการนี้ก็จำเป็นต้องป้องกันหรือขัดขวางมิให้มีอนาธิปไตย อันเป็นทางที่ระบอบเผด็จการจะอ้างได้ ข้าพเจ้าเชื่อว่าถ้าเราช่วยกันประคองใช้ให้ระบอบประชาธิปไตยนี้ได้เป็นไปตามระเบียบเรียบร้อย ... ระบอบเผด็จการย่อมมีขึ้นไม่ได้"

ท่านปรีดีกล่าวอย่างน่าสนใจอีกว่า "การใช้สิทธิตามระบอบประชาธิปไตย ต้องทำโดยความบริสุทธิ์ใจ มุ่งหวังผลส่วนรวมจริงๆ ไม่ใช่มุ่งหวังส่วนตัว หรือมีความอิจฉาริษยากันเป็นมูลฐาน เนื่องมาจากความเห็นแก่ตัว (เอ็กโกอีสม์)"

อีกตอนหนึ่ง...

"ข้าพเจ้าขอฝากความคิดไว้ต่อท่านผู้แทนราษฎรทั้งหลาย โดยเป็นห่วงถึงอนาคตของชาติ ข้าพเจ้าปรารถนาที่จะได้เห็นประเทศชาติปลอดจากระบอบเผด็จการ และปลอดจากระบอบอนาธิปไตย คงมีแต่ระบอบประชาธิปไตยอันพรั่งพร้อมไปด้วยสามัคคีธรรม

ท่านปรีดีและคำเตือนว่าด้วย "อนาธิปไตย" กับ "ประชาธิปไตย" ทำให้เราต้องคิดใคร่ครวญหนักต่อสถานการณ์ปัจจุบัน นับตั้งแต่ "ระบอบพันธมิตร" กับการ "ล้มรัฐบาลสมัคร/สมชาย" ตลอดจน "โค่นระบอบทักษิณ" รวมทั้งสภาพการ "ป่วน" ทั้้งหลาย ทั้งปวง เราจะแก้วิกฤตครั้งนี้ได้อย่างไร เราจะทำอย่างไรที่จะไม่ให้เกิด "อนาธิปไตย" อันนำมาสู่ "รัฐประหารโดยนายทหาร/นายศาล" หรือบานปลายไปจนเป็น "สงครามกลางเมือง" กลายเป็น "กาลียุค"

หากเราตระหนักในคำเตือนล่วงหน้าก่อนกาล ของท่านปรีดี ที่ท่านให้เรายึดมั่นใน "ประชาธิปไตย" ไม่นำไป "สับสน" หรือ "ปนเปื้อน" กับ "อนาธิปไตย/ป่วน" อันจะนำเราไปสู่ "ระบอบเผด็จการ" เมื่อนั้นแหละ ที่บ้านเมืองของเราจะพอมีอนาคตกันบ้าง..."

สรุปความคิดที่นายชาญวิทย์นำเสนอ คือ ให้ระวังการเปิดความปั่นป่วน คือ อนาธิปไตย แล้วนำไปสู่การยึดอำนาจ แล้วที่สุดบ้านเมืองจะเกิด "กาลียุค"

จดหมายของนายชาญวิทย์ จึงเป็น "คำเตือน" ที่ตอกย้ำแนวทางที่จะนำไปสู่ความวุ่นวาย

แนวทางที่เริ่มต้นจากการเมืองที่ไม่ยอมรักษากติกา นำไปสู่ความวุ่นวาย และต้องแสวงหาอำนาจอื่นเข้ามาแทรกแซง เพื่อช่วงชิงอำนาจจากรัฐบาล

หากแต่บังเอิญว่า รัฐบาลปัจจุบันเป็นรัฐบาลจากการเลือกตั้ง ดังนั้น หากการณ์เป็นไปดังที่นายชาญวิทย์ระบุ ก็เท่ากับการยึดอำนาจไปจากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง

นำพาประเทศจากระบอบประชาธิปไตยไปสู่เผด็จการ ซึ่งหวั่นเกรงต่อไปว่า หากทุกอย่างดำเนินไปถึงขั้นนั้น ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่ "กาลียุค" หรือไม่

ดังนั้น หากจะยังคงรักษาประชาธิปไตย การเมืองจึงต้องรักษากติกา

กติกาตามระบอบประชาธิปไตย

ที่มา: มติชน

[Continue reading...]

ส.ส.ปชป. เปิดตัวนำม็อบสวนยางปิดถนน

- 0 comments
ข่าวความเดือดร้อนของผู้ทำสวนยางพารา จากราคายางตกต่ำเหลือ กิโลละ ประมาณ 70 บาทเป็นเรื่องปกติที่ทางรัฐบาลจำต้องยื่นมือเข้ามาแก้ไข

ก่อนอื่นก็ต้องดูว่าในราคาปัจจุบันนี้ ชางสวนยางเองอยู่ได้หรือไม่

การแก้ไขปัญหายางตกต่ำมีทุกรัฐบาล โดยเฉพาะสมัยนายชวน หลีกภัย มีการแก้ไขปัยหาราคายางที่ใครก็คิดไม่ถึง

คือแนะนำให้ชาวสวนยาง โค่นต้นยางพารา ปลูกจำปาดะ และบางพื้นที่ให้ปลูกปาล์มทดแทน เพราะอ้างว่าปริมาณของยางมากเกินไป เกษตรกรควรหันไปปลูกพืชชนิดอื่นแทน ราคายางในขณะนั้นอยู่ที่ 10 กว่าบาท / กิโลกรัม

ในสมัยรัฐบาลพรรคไทยรักไทย โดยนายกทักษิณ ได้แก้ไขราคายางตกต่ำเป็นผลสำเร็จ โดยการเจราจาประเทศผู้ค้ามาร่วมมือกัน ราคาไม่อ้างอิงกลุ่มทุนผูกขาดภายในประเทศและต่างประเทศคือสิงคโปร์ เป็นประเทศที่ไม่มีต้นยางพาราเลย แต่สามารถกำหนดราคาของยางได้

ซึ่งนายกทักษิณได้ให้หลักประกันว่า ราคายางจะต้องไม่ต่ำกว่า 1 เหรียญสหรัฐ และราคาจริง ๆ ก็เกิน

ราคายางก็สูงกว่า 1 เหรียญมาโดยตลอด

แม้ว่าในปัจจุบันราคาอยู่ที่ 70 บาท / กิโลกรัม เกษตรกร ได้รับความเดือดร้อนจริง ๆ หรือไม่ ต้องหาข้อเท็จจริง กัน

ดูแล้วความเดือดร้อนจะอยู่ทางภาคใต้ ทั้ง ๆ ที่ พื้นที่การปลูกยางพาราสามารถปลูกได้ทั่วประเทศ

ต้นทุนการผลิตยางพาราอยู่ที่ กิโลกรัมละเท่าไหร่ ?

ในการปลูกยางพาราจะต่างจากพืชชนิดอื่น คือสามารถได้รับทุนจากรัฐบาล ผ่านกองทุนสงเคราะห็การทำสวนยาง  ซึ่งปัจจุบันจะตกอยู่ 11,000 บาท / ไร่

เป็นการให้ทั้ง ต้นยาง ปุ๋ย ยากำจัดศัตรูพืช  ค่าแรง (ค่าจ้าง ถาง ขุดหลุม ปลูกต้นยาง และค่าแรงอื่น ๆ) คลิกที่นี่เพื่อดูรายละเอียด

หลังจากที่ยางมีอายุมากและให้ผลผลิตต่ำ สามารถขายต้นยางเพื่อไปทำเฟอร์เจอร์ ได้อีก ถ้าต้นยางสวย โต ก็ได้ไร่ละเป็น แสนบาท

ราคายางที่ได้ 70 บาท / กิโลกรัม ก็ควรจะได้รับความเดือดร้อนเหมือนกันทั้งประเทศ

ไม่ใช่ไปเดือดร้อนที่เดียว คือจังหวัดนครศรีธรรมราช

และจากการข่าวที่ได้รับ ผู้นำม็อบจริง ๆ ไม่ใช่ ชาวสวนยาง แต่เป็น ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ในเขตพื้นที่

และประชาธิปัตย์ก็ประกาศแถลงข่าวอย่างชัดเจน ว่าจะนำม็อบด้วยตัวเอง คลิกดูข่าวจากกรุงเทพธุรกิจ

อย่าอาศัยความเดือดร้อนของประชาชน มาเป็นประเด็นทางการเมืองเพียงเพื่อหวังผลในการชนะเท่านั้น คลิกดูข่าวจากไทยรัฐ

[Continue reading...]
 
Copyright © . Yak Ratchaprasong - Posts · Comments
Theme Template by BTDesigner · Powered by Blogger