Thursday, September 26, 2013

ประชาธิปไตย..อำนาจเป็นของปวงชน ?

- 0 comments
ประเทศไทยเข้าสู่การปกครองในระบอบประชาธิปไตย ตั้งแต่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 จนถึงปัจจุบัน นับเป็นเวลา 81 ปี

ความเข้าใจในคำว่าประชาธิปไตยที่ว่า

หมายถึงระบอบการปกครองที่อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน ประชาชน มีสิทธิเสรีภาพ และศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ การปกครองระบอบประชาธิปไตยถือว่าทุกคนมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกัน และอำนาจอธิปไตยต้องมาจากปวงชน

ด้วยเหตุนี้การเข้ามาของตัวแทนประชาชนเสียงข้างมากจัดตั้ง คณะบริหารประเทศ ที่เรียกว่า รัฐบาล หรือฝ่ายบริหาร

คณะกลุ่มคนที่มาจากตัวแทนของประชาชนทั้งหมด ทำหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ ทำหน้าที่กลั่นกรอง ออกกฏหมาย ยกเลิกฏกหมาย

สำหรับฝ่ายตุลาการ เป็นเพียงฝ่ายเดียวที่ไม่ได้มาจากประชาชนส่วนใหญ่ แต่ก็ถือว่าเป็นหนึ่งใน 3 อำนาจ ในระบอบประชาธิปไตย

โดยอาศัย รัฐธรรมนูญเป็นตัวบทกฏหมายในการปกครองประเทศ  มีรัฐธรรมนูญ ถึง 18 ฉบับ นั่นแสดงให้เห็นถึงความไม่มีเสถียรภาพ และการไม่เคารพในมติเสียงส่วนใหญ่ ของประชาชน

ใครที่มีอำนาจสามารถเข้ามาฉีกรัฐธรรมนูญได้ทุกเมื่อ ครั้งสุดท้าย 16 กันยายน 2549 มีคณะทหารเข้ามายึดอำนาจจากประชาชน โดยอ้างว่า รัฐบาลไม่มีความชอบธรรมที่จะบริหารประเทศต่อไป

ซึ่งเป็นต้นตอ ของปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

โดยรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน หรือปี 50 เป็นรัฐธรรมนูญที่ ริดรอนอำนาจของประชาชน การบริหารประเทศถูกควบคุมโดย องค์กรอิสระ และศาลรัฐธรรมนูญ

โดยองค์กรอิสระและศาลฯ สามารถปลอดคนที่ถูกเลือกมาจากประชาชน มากกว่า 10 ล้านคนได้ ด้วยคนเพียงไม่กี่คน

ซึ่งโดยหลักการทั่วไป ถ้าผู้บริหารมีปัญหา ต้องให้ประชาชนส่วนใหญ่ตัดสิน คือให้มีการทำการเลือกตั้งเข้ามาใหม่

ซึ่งเรียกว่าปัญหา ทางการเมืองต้องแก้ด้วยการเมือง

ขณะที่รณงรค์ให้รับร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 มีหลาย คนบอกว่า รับ ๆ ไปก่อนแล้วค่อยแก้ทีหลัง เป็นฉบับที่แก้ง่ายที่สุด โดยประชาชน เพียง 5 หมื่นรายชื่อ ยื่นขอแก้รัฐธรรมนูญก็สามารถแก้ได้แล้ว

คลิกดูคลิปของผู้ที่บอกว่าให้รับ ๆ ไปก่อน  บอกวิธีการแก้ ทำเหมือนกับ การร่าง ปี 40 แก้ง่าย แก้ได้ทุกมาตรา ยกเว้นเปลี่ยนแปลงการปกครอง

แต่ในทางปฏิบัติ พอจะมีการขอแก้รัฐธรรมนูญก็มีเสียงคัดค้าน เสียงจากคนที่เคยบอกว่าให้รับ ๆ ไปก่อน

พอจะแก้ ก็บอกว่าขัดรัฐธรรมนูญ และองค์กรที่เข้ามาระงับยับยั้ง คือ ศาลรัฐธรรมนูญ

แล้วอำนาจเป็นของประชาชนจริงหรือไม่ ...อำนาจเป็นของใครกันแน่

เพราะอำนาจอยู่ในมือของคนเพียงไม่กี่คนเท่านั้น

แล้วบอกว่าประชาชนไม่เข้าใจในระบอบประชาธิปไตย

ตกลงใครกันแน่ที่ไม่เข้าใจ หรือไม่เอาระบอบประชาธิปไตย
[Continue reading...]

นายกแถลงเปิดตัวโครงการ “สร้างอนาคตไทย2020”

- 0 comments
ที่ตึกสันติไมตรี  ทำเนียบรัฐบาล นายกยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แถลงเปิดโครงการ “สร้างอนาคตไทย 2020”
นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมของประเทศ ตามร่าง พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ซึ่งกระทรวงการคลัง และกระทรวงคมนาคม จะมีการจัดเสวนาและนิทรรศการ รวมถึงเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อโครงการดังกล่าวใน 12 จังหวัด

เริ่มที่ จ.หนองคาย เป็นแห่งแรก ระหว่างวันที่ 4-6 ตุลาคม 2556 ตามด้วย จ.นครราชสีมา วันที่ 11-13  ตุลาคม 2556 จ.ชลบุรี วันที่ 15-17  ตุลาคม 2556 จ.อุบลราชธานี วันที่ 18-20 ตุลาคม 2556 จ.ขอนแก่น วันที่ 25-27 ตุลาคม 2556 จ.นครสวรรค์ วันที่ 1-3 พฤศจิกายน 2556 จ.ฉะเชิงเทรา วันที่ 1-3 พฤศจิกายน 2556 จ.เพชรบุรี วันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2556 จ.พระนครศรีอยุธยา วันที่ 8-11 พฤศจิกายน 2556 จ.เชียงใหม่ วันที่ 15-17 พฤศจิกายน 2556  จ.นครศรีธรรมราช วันที่ 22-24 พฤศจิกายน 2556  และปิดท้ายที่ จ.สงขลา วันที่ 29พฤศจิกายน -1 ธันวาคม 2556

ในการแถลงเปิดตัวโครงการดังกล่าว ถ้าสังเกตุให้ดี โลโก้ด้านหลังได้เปลี่ยนไป ไม่ใช่โลโก้ เดิมที่ ทางพรรคประชาธิปัตย์ ก๊อปปี้ไป

คลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติม 

คลิปนายกยิ่งลักษณ์แถลงเปิดโครงการ

จากเดลินิวส์

จากพรรคเพื่อไทย

[Continue reading...]

คลิป นาทีเป็น นาทีตาย..ปลุกจิตสำนึกของสังคม

- 0 comments
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน ได้ ออกสปอตรณรงค์เรื่องการหลีกทางให้รถฉุกเฉิน เพระทุกนาทีมีค่าต่อชีวิต

เวลาเราเดินทางไปบนถนน จะเห็นรถฉุกเฉินของสถานพยาบาล เปิดสัญญาณ ฉุกเฉินขอทาง บ่อยครั้งที่ผู้ใช้รถใช้ถนน ไม่ให้ความสนใจ

ซึ่งโดยปกติ ผู้ใช้รถ ใช้ถนนควรที่จะหลีกทางให้รถพยาบาลฉุกเฉินเหล่านั้นไปก่อน

หนึ่งนาทีที่ช้าไปมีค่าสำหรับชีวิตของใครบางคน

ในสปอร์ตโฆษณา แสดงให้เห็นถึงผู้ใช้รถ คนหนึ่งไม่ยอมหลีกทางให้ แม้ว่าเพื่อนที่โดยสารมาด้วยจะพยายามเตือนก็ตาม

ในที่สุดผู้ป่วยรายนั้น ต้องเสียชีวิต แต่เป็นเรื่องที่น่าเศร้าก็คือ..คนนั้นเป็นแม่ของผู้ชายที่ไม่ยอมหลีกทางให้

คลิกดูคลิป และรายละเอียดเพิ่มเติม
[Continue reading...]
 
Copyright © . Yak Ratchaprasong - Posts · Comments
Theme Template by BTDesigner · Powered by Blogger