Tuesday, August 13, 2013

น้ำป่าทะลักท่วม เพชรบูรณ์ นักท่องเที่ยวรอดตายหวุดหวิด

- 0 comments
ระทึกน้ำป่าทะลัก เพชรบูรณ์นักท่องเที่ยวติดเกาะน้ำตกเจ้าหน้าที่เร่งช่วยเหลือได้รอดหวุดหวิด อุทาน“เหมือนตายแล้วเกิดใหม่”
                     

เมื่อเวลา 16.30 น. วันที่ 13 ส.ค. ผู้สื่อข่าวได้รับรายงานว่ามีเหตุน้ำป่าไหลทะลักจากภูเขา ทำให้นักท่องเที่ยวที่กำลังเล่นน้ำกันบริเวณน้ำตกวังหินหอ หมู่ 5 บ้านโพธิ์งาม ต.ท่าพล อ.เมืองเพชรบูรณ์ ติดอยู่ที่น้ำตกกว่า 10 คน ไม่สามารถกลับมาที่ฝั่งได้ เนื่องจากกระแสน้ำเพิ่มปริมาณอย่างรวดเร็วและไหลเชี่ยวกราก เจ้าหน้าที่จึงรีบยกกำลังไปช่วยเหลือ ด้วยการนำเชือกไปผูกกับโค่นต้นไม้ 2 ฝั่ง จากนั้นให้นักท่องเที่ยวโหนเกาะเชือกข้ามมาที่ฝั่งทีละคนอย่างทุลักทุเล ระหว่างนั้นมีนักท่องเที่ยวหญิงคนหนึ่งกำลังเกาะเชือกใกล้จะฝั่ง จู่ ๆ มือเกิดหมดแรงจนเกือบจะหลุดตกน้ำ โชคที่เจ้าหน้าที่ได้คว้าข้อมือไว้ได้ทันอย่างหวุดหวิด ท่ามกลางเสียงร้องหวีดตกใจของนักท่องเที่ยวที่ต่างพากันเอาใจช่วยด้วยความระทึก หลังจากเวลาผ่านไป 2 ชั่วโมงเจ้าหน้าที่สามารถนำท่องเที่ยวทุกคนกลับขึ้นฝั่งได้อย่างปลอดภัย โดยทุกคนต่างพูดเหมือนกันว่า “เหมือนตายแล้วเกิดใหม่”

ที่มา :เดลินิวส์
[Continue reading...]

ปรากฏการณ์ "นิรโทษ" ค้าน หัวคะมำ การบ้านใหญ่ "ปชป."

- 0 comments
บทเคราะห์ จาก มติชน

ถือว่า การทุ่มเทของพรรคประชาธิปัตย์ในการคัดค้านการผ่านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม ฉบับ นายวรชัย เหมะส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย ในยกแรก อยู่ในอาการ "หัวคะมำ"

"หัวคะมำ" ทั้งในแง่ข้อเท็จจริงที่นำมาคัดค้าน

"หัวคะมำ" ทั้งในแง่วิธีการคัดค้าน

ในด้านข้อเท็จจริง พรรคประชาธิปัตย์ตั้งลำคัดค้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมมาตั้งแต่ต้น โดยพุ่งเป้าชี้กลุ่มที่จะได้รับประโยชน์จากร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ว่า "เป็นคนส่วนน้อย"

เดิมทีเห็นว่า ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม จะเป็นด่านแรกที่จะเข้าไปผนวกกับร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง ของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง

เดิมทีเห็นว่า ความเคลื่อนไหวมีเจตจำนงเพื่อนิรโทษกรรมให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี

แต่เมื่อทุกฝ่ายออกมาปฏิเสธ

พ.ต.ท.ทักษิณปฏิเสธ พรรคเพื่อไทยปฏิเสธ คนเสื้อแดงปฏิเสธ

การตีความ "คนส่วนน้อย" จึงพุ่งเป้าไปที่แกนนำคนเสื้่อแดง และเริ่มระบุข้อหาที่อยู่ในข่ายนิรโทษกรรมว่า รวมถึงความผิดตามมาตรา 112 กฎหมายอาญาด้วย

ข้อกล่าวหาที่ปรากฏนั้น นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำคนเสื้อแดง ลุกขึ้นมาปฏิเสธในสภา

นายณัฐวุฒิแจกแจงเป็นข้อๆ โดยย้ำว่า แกนนำคนเสื้อแดงไม่ประสงค์จะได้รับการนิรโทษกรรมตามพระราชบัญญัติฉบับนี้

หากจะให้ระบุชื่อ-นามสกุล แกนนำคนเสื้อแดง เพื่อยืนยันว่าจะไม่ขอนิรโทษกรรมจากกฎหมายฉบับนี้ นายณัฐวุฒิก็ยินดี

นายณัฐวุฒิยังย้ำว่า จำนวนผู้ที่กระทำความผิดฐานฝ่าฝืนพระราชกำหนดการบริหารราชการแผ่นดิน มิได้มีเพียง 30 คน หากแต่มีจำนวนถึง 1,800 คน ในจำนวนนี้มีเด็กและเยาวชนเป็นร้อย

แม้หลายคนจะออกจากคุกไปแล้ว แต่ถ้าไม่มีนิรโทษกรรม ประวัติการจำขังก็ติดตัวพวกเขาไปจนวันตาย

นายณัฐวุฒิบอกว่า บุคคลเหล่านั้นมีพฤติกรรมสุจริตมาโดยตลอด วันหนึ่งมีความคิดเห็นทางการเมืองไม่เหมือนรัฐบาล ได้สวมเสื้อแดงไปนั่งในม็อบ แล้วถูกจับกุมดำเนินคดีตามพระราชกำหนดการบริหารราชการแผ่นดินในสถานการณ์ฉุกเฉิน

นายณัฐวุฒิย้ำว่า ชาวบ้านผู้ชุมนุมเหล่านี้แหละที่อยู่ในข่ายได้รับนิรโทษกรรม...ส่วนแกนนำทั้งหลายขอพิสูจน์ตัวเองในชั้นศาล

นอกจากนี้ ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ยังนิรโทษแก่บรรดากลุ่มผู้ชุมนุมในสมัยพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยด้วย โดยได้ยกตัวอย่างผู้ชุมนุมที่บุกสถานีโทรทัศน์เอ็นบีทีก็อยู่ในข่ายได้รับการนิรโทษกรรม

ส่วนผู้ต้องหาในคดีความผิดมาตรา 112 นั้น ทุกคนไม่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมที่กำลังดำเนินการ

ข้อเท็จจริงเบื้องต้นจึงสรุปว่า ร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม ฉบับนายวรชัย จะนิรโทษกรรมให้เฉพาะผู้ชุมนุม ไม่ได้นิรโทษกรรมให้แกนนำและผู้สั่งการแต่อย่างใด

การคัดค้านที่พรรคประชาธิปัตย์กำลังดำเนินการ จึงกลายเป็นการค้านมิให้ปล่อยตัว "ชาวบ้าน" ให้พ้นจากคดี

เมื่อเปรียบเทียบกับการนิรโทษกรรมกลุ่มผู้ก่อปฏิวัติรัฐประหารในอดีต ดูเหมือนว่า ร่างกฎหมายนิรโทษกรรมให้ชาวบ้านนั้นทำได้ยากกว่ามาก

นี่เป็นจุดบอดที่พรรคประชาธิปัตย์ต้องรับสภาพ

ในด้านวิธีการคัดค้าน เมื่อพรรคประชาธิปัตย์ใช้วิธี "ระดมม็อบ" โดยแกนนำพรรคประชาธิปัตย์สลับกันขึ้นเวทีปราศรัย บางคนถึงขนาดบอกว่า "สู้ในสภาไม่มีทางชนะ จึงต้องออกมาสู้นอกสภา"

เมื่อบางคนเมามันถึงขนาดจะ "เป่านกหวีด" ระดมพล หรือบางคนถึงกับหลุดปากให้ถึงขั้น "ตะลุมบอน พังกันไปข้าง"

กลายเป็นมิติใหม่ของพรรคการเมืองอย่างประชาธิปัตย์ที่พลิกบทบาทมา "ปลุกม็อบ" นอกสภา

แม้ในที่สุดสถานการณ์จะคลี่คลาย พรรคประชาธิปัตย์ชักชวนม็อบให้พาไปส่ง ส.ส.เข้าสภา ใช้วิธีเจรจา และการชุมนุมอย่างสงบ ถึงขนาดบอกเป็น "ม็อบคนดี" แต่เมื่อการประชุมสภาเริ่มต้น สมาชิกของพรรคที่นำ "ม็อบคนดี" กลับส่งเสียงโห่ไล่และรบกวนการเสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมของนายวรชัยดังขึ้นตลอดเวลา

และกว่าทุกอย่างจะกลับเข้าสู่เนื้อหาสาระการประชุมสภาก็ใช้เวลานานหลายชั่วโมง ยิ่งไปกว่านั้น หากนับเวลาการอภิปรายในเนื้อหาของร่างกฎหมาย กับเวลาที่ต้องเสียไปกับพฤติกรรมของ ส.ส.ในสภาแล้ว...ดูเหมือนว่า การพูดถึงเนื้อหาสาระจะน้อยไป

เท่ากับว่า จังหวะการค้านของพรรคประชาธิปัตย์ไม่ราบรื่นเหมือนเก่า

การเคลื่อนไหวนอกสภา ทำให้ถูกตั้งคำถามเรื่อง "ความเชื่อมั่นในระบอบรัฐสภา"

พฤติกรรมโห่ในสภา ทำให้ถูกตั้งคำถามถึงความเหมาะสมของผู้ทรงเกียรติ

ขณะที่ฝ่ายรัฐบาลที่เดิมดูเหมือนจะเพลี่ยงพล้ำ เพราะฝ่ายความมั่นคงได้ข่าวว่า กลุ่มผู้ชุมนุมคัดค้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมจะมาถึง 7 หมื่นคน จึงประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงภายในราชอาณาจักร และระดมกำลังตำรวจ 4 หมื่นนายมารับสถานการณ์

หากแต่เมื่อถึงเวลา กลุ่มผู้ชุมนุมที่มาร่วมกลับน้อยกว่าคาดมาก

ม็อบที่ฝ่ายความมั่นคงผวา กลายเป็นม็อบที่มี "มวลชน" สนับสนุนไม่มากนัก

เท่ากับว่า ชนวนที่พรรคประชาธิปัตย์และกลุ่มต่อต้านรัฐบาลใช้ปลุกประชาชนนั้น ไม่มีพลังเพียงพอ

ข้ออ้างเรื่อง พ.ต.ท.ทักษิณที่เคยได้ผล มาคราวนี้กลับจุดไม่ติด

ข้อกล่าวหาหลายเรื่องที่เคย "กล่าวหา" สำเร็จ ดูเหมือนว่าคราวนี้จะไม่สำเร็จ

ปรากฏการณ์นิรโทษกรรมคราวนี้ จึงมองเห็นความพลั้งพลาดของพรรคประชาธิปัตย์ ทั้งในแง่ข้อเท็จจริงและวิธีการ

เป็นวิธีการที่พรรคประชาธิปัตย์เคยใช้ "ค้าน" สำเร็จมาหลายครั้ง

แต่คราวนี้กลับไม่สำเร็จ...การค้านของพรรคประชาธิปัตย์กลับ "หัวคะมำ"

ทุกอย่างที่เกิดขึ้น เป็นการบ้านข้อใหญ่ที่พรรคประชาธิปัตย์ต้องกลับไปปรับปรุง

ปรับปรุงทั้งข้อมูลและวิธีการ... ทำอย่างไรจึงจะทำให้การ "ค้าน" มีประสิทธิภาพ

ไม่ต้องสะดุดหกล้ม "หัวคะมำ" อย่างที่เห็นในปรากฏการณ์ "นิรโทษกรรม"
[Continue reading...]

สาระของ กฏหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 309 ที่ "อภิสิทธิ์" ขวางแบบของข้าใครอย่าแตะ

- 0 comments
รัฐธรรมนูญปี 2550 มาตรา 309 บัญญัติว่า บรรดาการใด ๆ ที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) ปี 2549 ว่าเป็นการชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ รวมทั้งการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับกรณีดังกล่าวไม่ว่าก่อนหรือหลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ให้ถือว่าการนั้นและการกระทำนั้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้

เมื่อพลิกดู รัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) ปี 2549 มาตรา 37 ได้เขียนบทบัญญัติในลักษณะใกล้เคียงกันดังนี้ “บรรดาการกระทำทั้งหลายซึ่งได้กระทำเนื่องในการยึดและควบคุมอำนาจการปกครองแผ่นดิน เมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2549 ของ หัวหน้าและคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รวมตลอดทั้งการกระทำของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำดังกล่าวหรือของผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากหัวหน้าหรือคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือของผู้ซึ่งได้รับคำสั่งจากผู้ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าหรือคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข อันได้กระทำไปเพื่อการดังกล่าวข้างต้นนั้น การกระทำดังกล่าวมาทั้งหมดนี้ ไม่ว่าเป็นการกระทำเพื่อให้มีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ รวมทั้งการลงโทษและการกระทำอันเป็นการบริหารราชการอย่างอื่น ไม่ว่ากระทำในฐานะตัวการผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทำ หรือผู้ถูกใช้ให้กระทำ และไม่ว่ากระทำในวันที่กล่าวนั้นหรือก่อนหรือหลังวันที่กล่าวนั้น หากการกระทำนั้นผิดต่อกฎหมายก็ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง”

ผู้ที่ได้รับประโยชน์จาก มาตรา 309 คือ ผู้ที่ทำการปฏิวัติ เพราะ การปฏิวัติ ถือเป็นกบฏ นี่คือการนิรโทษให้กับตัวเองและพวกพ้อง

ก็ไม่เข้าใจว่า ทำไม ผู้ที่อ้างตนว่ามาจากระบอบ ประชาธิปไตย และ บอกว่ายึดมั่นในระบอบรัฐสภา อย่างอภิสิทธิ์ และ พรรคประชาธิปัตย์ กลับขัดขวางในการแก้กฏหมายรัฐธรรมนูญ มาตรานี้

การอ้างว่า การแก้กฏหมายฉบับนี้ ผู้ที่ได้ผลประโยชน์คือ นายกทักษิณ  ก็ไม่น่าเป็นความจริง

ถ้าหากว่า นายกทักษิณ มีความผิดจริง ก็สามารถที่จะใช้ กฏหมาย โดยวิธีปกติ ไม่ต้องอาศัย คำสั่งของคณะปฏิวัติ และกฏหมายที่มีผลพวงมาจากการปฏิวัติ

ดังนั้น การกล่าวอ้างของ นายอภิสิทธิ์ และพวก จึงฟังไม่ขึ้น

ความผิด  ก็ต้องเป็นความผิด ไม่ว่าจะใช้กฏหมายอะไรพิจารณา ผลลัพธ์ย่อมเป็นเช่นเดียวกัน
[Continue reading...]

ยกฟ้อง "จตุพร" 2 สำนวน ไม่ผิดหมิ่น "อภิสิทธิ์-สุเทพ"

- 0 comments
ยกฟ้อง จตุพร 2 สำนวน ไม่ผิดหมิ่น อภิสิทธิ์-สุเทพ พาคนต่างด้าวแฝงชุมนุมนปช.ก่อความวุ่นวาย ศาลชี้ติชมโดยสุจริต ยังไม่มีเจตนาให้ร้าย ขณะที่ เจ้าตัวยิ้มออก

13 ส.ค.56 เมื่อเวลา 09.30 น. ศาลอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีหมายเลขดำ อ.404/2552 ที่ นายอภิสิทธ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์และอดีตนายกรัฐมนตรี เป็นโจทก์ ฟ้องนายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และอดีต สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย เป็นจำเลยในคดีหมิ่นประมาทผู้อื่นโดยการโฆษณาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326, 328,332 กรณีเมื่อวันที่ 13 ม.ค. 2552 จำเลยได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน ณ ที่ทำการพรรคเพื่อไทย โดยนำภาพโจทก์ขณะเข้าเฝ้าฯ เพื่อถวายงานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ซึ่งได้นั่งเก้าอี้เสมอพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งการกระทำของจำเลยมีเจตนาหมิ่นประมาทใส่ความโจทก์ว่า ไม่ถวายความเคารพต่อองค์พระมหากษัตริย์ในขณะเข้าเฝ้าฯที่ประชาชนพึงปฏิบัติ และทำตัวตีเสมอพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งอดีตที่ผ่านมาไม่เคย ปรากฏว่า มีนายกรัฐมนตรีคนใดเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโดยนั่งเก้าอี้ลักษณะเช่นเดียวกับโจทก์

โดยศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา เมื่อวันที่ 20 ก.ค. 2555 เห็นว่า จำเลยรู้อยู่แล้วว่าสำนักพระราชวังเป็นผู้ดูแลระเบียบพิธีการเข้าเฝ้าฯแต่กลับแถลงข่าวต่อสาธารณะชนทันทีจึงเป็นการวิพากษ์วิจารณ์เกินกว่าฐานะนักการเมืองที่มีหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลหรือเป็นเพียงการตักเตือนโจทก์ตามที่จำเลยต่อสู้ ประกอบกับโจทก์และจำเลย มีเหตุขัดแย้ง ถึงขั้นฟ้องคดีอาญาหลายคดี ส่อให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนามุ่งกล่าวหาโจทก์จึงไม่ใช่การแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต จำเลยจึงมีความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาตาม มาตรา 328 ให้จำคุก 6 เดือน และปรับ 50,000 บาท แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยรับโทษจำคุกมาก่อนจึงให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี และให้จำเลยลงโฆษณาคำพิพากษาย่อในหนังสือพิมพ์ รายวัน 2 ฉบับ เป็นเวลา 7 วันติดต่อกัน ต่อมาจำเลยยื่นอุทธรณ์ต่อสู้ คดีว่า ไม่ได้กระทำผิดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

ศาลอุทธรณ์ ประชุมตรวจสำนวนแล้วเห็นว่า เมื่อปรากฏภาพโจทก์นั่งเก้าอี้ถวายงาน จำเลยได้กล่าวถึงโจทก์ว่าไม่เคยมีนายกรัฐมนตรีคนใดนั่งเก้าอี้ถวายงานลักษณะเช่นเดียวกับโจทก์ ซึ่งแม้ว่าจำเลยจะกล่าวถึงโจทก์ด้วยความรู้สึกนึกคิดของตนเอง แต่เป็นไปได้ว่าผู้ที่ได้รับฟังจะไม่ได้คล้อยตามความรู้สึกนึกคิดของจำเลยทั้งหมด ขณะที่ทางนำสืบจำเลยเบิกความยอมรับว่า ไม่เคยได้เข้าเฝ้าฯ ถวายงานลักษณะเช่นเดียวกับโจทก์ แม้ว่าจำเลยจะเป็น สส. แต่เมื่อไม่เคยเข้าเฝ้าฯ ลักษณะดังกล่าวจึงเชื่อว่าจำเลยไม่ทราบขั้นตอนการเข้าเฝ้าฯ ดังกล่าว และแม้ว่าโจทกับจำเลยจะมีเหตุขัดแย้งในทางคดีมาก่อนก็ยังไม่มีเหตุขนาดที่จะฟังว่า มีเจตนาให้ร้ายโจทก์ ที่ศาลชั้นต้นพิพากษามานั้น ศาลอุทธรณ์ไม่เห็นพ้องด้วย พิพากษากลับให้ยกฟ้อง

ขณะเดียวกัน ที่ห้องพิจารณา 904 ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก เวลา 10.30 น. ศาลอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีหมายเลขดำ อ.855/2553 ที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ สส.สุราษฎร์ธานี พรรคประชาธิปัตย์ และอดีตรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง นายจตุพร ในความผิดฐาน หมิ่นประมาทผู้อื่นโดยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 และ 328 กรณีเมื่อวันที่ 4 ธ.ค.2552 เวลา 14.00 และ 22.00 น.จำเลยแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า โจทก์เตรียมดำเนินการใส่ร้ายป้ายสีคนเสื้อแดง โดยให้คนต่างด้าว 5,000 คน แฝงตัวชุมนุมกลุ่มคนเสื้อแดง ไปทำลายพระบรมฉายาลักษณ์ บริเวณ ถนนราชดำเนิน

คดีนี้ศาลชั้นต้น มีคำพิพากษายกฟ้องจำเลย เมื่อวันที่ 19 ธ.ค.2554 เนื่องจากเห็นว่า ทางนำสืบ พล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ ผบก.น.1 ซึ่งรับผิดชอบดูแลความเรียบร้อยควบคุมการชุมนุม ก็ได้เบิกความว่า ทางการข่าวทราบว่ามีบุคคลต่างด้าวมาร่วมชุมนุมคนเสื้อแดง ซึ่งได้พยายามควบคุม ขณะที่ทางการสืบสวนสอบสวนพบว่า เหตุการณ์การชุมนุมบางครั้งสามารถถูกสร้างสถานการณ์ได้ทุกฝ่าย การแถลงข่าวของจำเลยจึงเป็นการวิพากษ์วิจารณ์ ถึงการทำหน้าที่ของโจทก์ที่ติดตามดูแลความเรียบร้อยการชุมนุม ซึ่งเป็นการแสดงความคิดเห็นเพื่อความชอบธรรม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329 ที่ไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท ต่อมาโจทก์ ยื่นอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ ประชุมตรวจสำนวนแล้ว เห็นว่า ขณะนั้นนายสุเทพ โจทก์ ได้แถลงข่าวระบุได้รับรายงานจากสำนักข่าวกรองว่า จะมีคนต่างด้าว เข้ามาชุมนุมร่วมกับม็อบ นปช. ซึ่งต่อมาจำเลยก็ได้แถลงข่าวตอบโต้ว่า ฝ่ายรัฐบาลจะเกณฑ์คนต่างด้าวมาชุมนุมก่อความวุ่นวายและทำลายพระบรมฉายาลักษณ์เพื่อใส่ร้ายคนเสื้อแดง ประกอบกับ พล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ ผบก.น.1 พยานในฐานะผู้เจรจาต่อรองกับแกนนำกลุ่มคนเสื้อแดง เบิกความว่า ทางการข่าวมีรายงานว่า กลุ่มต่างด้าวได้มาร่วมชุมนุมกับกลุ่มคนเสื้อแดง ซึ่งการสร้างสถานการณ์ดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้จากทั้งสองฝ่าย ซึ่งภายหลังมีการจับกุมคนต่างด้าว 2-3 คน ช่วงที่มีการชุมนุม เมื่อขณะนั้นโจทก์ เป็นรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงดูแลความเรียบร้อยในการชุมนุม จำเลยจึงได้แสดงความคิดเห็นแถลงข่าวตามความจริงที่ตนรับทราบมา ซึ่งได้วิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบการทำหน้าที่ของโจทก์ จึงเป็นการแสดงความเห็นโดยสุจริต ที่ศาลชั้นต้นพิพากษามานั้น ศาลอุทธรณ์เห็นพ้องด้วยพิพากษายืน

ภายหลังการอ่านคำพิพากษา นายจตุพร กล่าวสั้น ๆ ด้วยสีหน้ายิ้มแย้มว่า คดีที่เกิดขึ้นทั้งหมดไม่ใช่เรื่องส่วนตัว แต่เป็นประเด็นที่เกิดจากการต่อสู้ที่ผ่านมา ขณะที่ ตนต้องขอขอบคุณศาลที่พิพากษาทั้ง 2 คดี หลังจากนี้ก็จะแก้ต่างต่อสู้คดีที่ยังเหลืออยู่

ที่มา :คมชัดลึก
[Continue reading...]

เสียงจากคุก : ระวังจะเข้าทางของพรรคประชาธิปัตย์

- 0 comments
การที่แกนนำ นปช. อย่าง ณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ และพรรคเพื่อไทย อภิปรายเกี่ยวกับ พรบ. นิรโทษกรรมว่าไม่คลุมถึงผู้ที่ถูกคดี ม.112 นั้นระวังจะหลงกลเดินไปตามแผนของพรรคประชาธิปัตย์
การออกมาต่อต้าน พรบ. นิรโทษกรรมของพรรคประชาธิปัตย์ ทำท่าเอิกเกริกใหญ่โตดูน่ากลัวนั้น แท้จริงเขาต้องการอะไร? ต้องการล้ม พรบ. นิรโทษกรรมจริงหรือ? ทำไมพอเอาเข้าจริง จึงไม่มีคนมาร่วมมากตามที่โฆษณาไว้ ซึ่งการจะเอาคนมาร่วมสัก 4-5 หมื่นคนนั้น ไม่ใช่เรื่องยากเลย สำหรับพรรคประชาธิปัตย์
"นี่เป็นแผนลวง" ทำท่าบุกประตูหน้า แต่แอบเข้าประตูหลังนั่นเอง ประชาธิปัตย์ไม่ได้ต้องการล้ม พรบ. นิรโทษกรรมหรอก แต่โหมประโคมใหญ่โต ขู่ สส. พรรคเพื่อไทย เพื่อไม่ให้นิรโทษกรรม ม.112 นั่นเอง
ประชาธิปัตย์หวังผลอะไร? ต้องการกดดันพวกถูกคดี ม.112 อย่างนั้นหรือ คำตอบคือ "ไม่ใช่" หรือเพราะจงรักภักดีหรือ ก็ไม่ใช่อีก คำตอบที่ถูกต้องคือ "ตอกลิ่ม สร้างความแตกแยกระหว่างพรรคเพื่อไทย กับคนเสื้อแดงตาสว่าง" นั่นเอง การอภิปรายของ สส. ณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ ในสภาฯ เข้าทางพรรคประชาธิปัตย์พอดี
ถามว่า เมื่อ พรบ. นิรโทษกรรม ผ่านออกมายกเว้น มา.112 คนเสื้อแดงตาสว่าง จะคิดอย่างไรกับพรรคเพื่อไทยที่เป็นผู้กีดกัน ยิ่งตอนนี้ คนเสื้อแดงประเภท "ตาสว่าง" ไม่ค่อยจะไว้ใจพรรคเพื่อไทย และ นปช. อยู่แล้ว (ดูผลการเลือกตั้งเขตดอนเมืองที่ผ่านมา) คนเสื้อแดงที่สนับสนุนพรรคเพื่อไทยก็ลดจำนวนลง
จากนั้นในอนาคต เมื่อสร้างความแปลกแยกระหว่างคนเสื้อแดง กับพรรคเพื่อไทยได้สำเร็จ ก็จะมีผู้อุดหนุนให้คนเสื้อแดง ตั้งพรรคการเมืองขึ้นมา เพื่อแย่งคะแนนจากพรรคเพื่อไทย ทราบมาว่า ขณะนี้ มีการเคลื่อนไหวกันอยู่ทางภาคเหนือ และภาคกลางบางจังหวัด นี่คือยุทธศาสตร์ ที่จะเอาชนะพรรคเพื่อไทย เพราะจะเอาพรรคประชาธิปัตย์ชนะพรรคเพื่อไทยนั้นทำไม่ได้ ต้องสร้างพรรคที่มีนโยบาย และทิศทางที่เหนือกว่า เพื่อดึงคะแนนเสียงจากพรรคเพื่อไทย

ต้องมองย้อนประวัติศาสตร์ 14 ตุลาคม 2516 เมื่อกลุ่มอำมาตย์ เอาชนะกลุ่ม พลเอกถนอม, ประภาส ทางทหารไม่ได้ ก็สร้างกลุ่มนักศึกษามาโค่นล้มแทน
พรรคเพื่อไทยต้องไม่ให้ภาพออกมาว่า สส. พรรคเพื่อไทย กีดกัน ม.112 แต่ควรให้ภาพออกมาว่า พรรคประชาธิปัตย์ เป็นคนขัดขวางกีดกัน ม.112
คนเสื้อแดงจะโกรธพรรคประชาธิปัตย์ สส. ณัฐวุฒิ ระวังจะกลายเป็นธีรยุทธ บุญมี ในวันข้างหน้า หนทางยังอีกยาวไกลนัก ตรองดูให้ดี
ธีรยุทธ บุญมี เป็นคนเก่งที่ถูกหลอกใช้โดยไม่รู้สึกตัว จากนั้นถูกทำลาย ต้องหนีเข้าป่า ไปเป็นฝ่ายซ้าย แล้วพ่ายแพ้กลับมาเป็นนักวิเคราะห์สังคม รับใช้อนุรักษ์นิยม ที่เคยไล่ล่าตนในอดีต
เวลานี้ ธีรยุทธ บุญมี หมดสภาพ กลายเป็นพวก "หลงทางชีวิต" ไปเสียแล้ว
จาก.. ผู้ต้องขังคดี ม.112
8 สิงหาคม 2556
 
  • บล็อกของ littlevoicefromprisons
  • -
    [Continue reading...]
     
    Copyright © . Yak Ratchaprasong - Posts · Comments
    Theme Template by BTDesigner · Powered by Blogger