Monday, September 2, 2013

การเมืองนอกสภา ต้องมาจากประชาชน...ไม่ใช่นักการเมือง

- 0 comments
อ่าน จากนิด้าโพล น่าจะสะท้อนอุณหภูมิของผู้คนในสังคมเวลานี้ ต่อการ "เคลื่อนไหวการเมืองนอกสภา" ได้ดี โดยประการแรก ผลสำรวจความเห็นของประชาชนต่อการยุติบทบาทของกลุ่มพันธมิตรฯ ร้อยละ 67.45 เห็นด้วย เพราะช่วยลดความขัดแย้ง

ประการต่อมา ต่อการลาออกของส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ เพื่อเป็นแกนนำเคลื่อนไหวนอกสภา ผลคือร้อยละ 44.25 ไม่เห็นด้วย

อีก ประการ ความเห็นต่อพลังมวลชนที่เคลื่อนไหวนอกสภา จะนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและสังคม ผลคือร้อยละ 52.14 ไม่เชื่อมั่น เพราะเห็นว่ารัฐบาลนี้มาจากการเลือกตั้งของประชาชน

ทั้งสามประเด็น โยงกับ "การเคลื่อนไหวการเมืองนอกสภา" ทั้งสิ้น

โดยส่วนใหญ่เห็นด้วยที่พันธมิตรฯ ยุติบทบาท

ไม่เห็นด้วยกับกรณีส.ส.ประชาธิปัตย์ลาออกเพื่อมาเป็นแกนนำม็อบ

ไปจนถึงไม่เชื่อมั่นพลังมวลชนนอกสภา เพราะเห็นว่ารัฐบาลนี้มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน!

ผลโพลนี้ ดูจะสอดรับกับข้อวิเคราะห์ที่มีอยู่มากมาย นั่นคือ ผู้คนเบื่อความขัดแย้งแตกแยกเต็มที

แล้วเมื่อรัฐบาลนี้มาจากการเลือกตั้งอย่างไร้ข้อครหา ย่อมต้องเปิดโอกาสให้บริหารประเทศชาติไป

ถ้าทำผิดคิดชั่ว เมื่อครบวาระ หรือมีการยุบสภา ก็อย่าไปเลือกเข้ามาอีก!

เป็นกติกาปกติของประชาธิปไตยทั่วโลก

แต่แน่นอนว่า ประชาธิปไตย ไม่ได้ผูกขาดอยู่แค่ในรัฐสภาและการเลือกตั้ง

การ เคลื่อนไหวการเมืองนอกสภา ได้นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างพัฒนาก้าวหน้าได้ และมีให้เห็นมาแล้ว เช่น การชุมนุม 14 ตุลาคม 2516 ล้มรัฐบาลทหาร เบิกม่านประชาธิปไตย

แต่การเคลื่อนไหวนอกสภาจะมีได้ ต้องมีอารมณ์ความรู้สึกของคนส่วนใหญ่มาเป็นตัวกำหนด

ไม่ใช่พรรคการเมืองบางพรรคไปคิดเอาเอง!?!

แล้วความคิดของพรรคการเมืองนั้นมาจากอะไร มาจากการจนตรอกของตนเองหรือเปล่า

มาจากการดิ้นรน กลัวว่าปล่อยให้รัฐบาลนี้ทำงานต่อไป จะยิ่งพ่ายแพ้ในการเลือกตั้งหนต่อไปหรือไม่

มาจากความเคียดแค้นชิงชัง อารมณ์อันพลุ่งพล่าน

เพราะเปิดไฮด์ปาร์กทุกสุดสัปดาห์ ยิ่งด่ายิ่งเดือด อะไรแบบนั้นหรือเปล่า

คำกล่าวที่ว่า ประชาธิปไตยไม่ใช่มีแค่ในสภานั้นถูกต้อง

แต่ประชาธิปไตยนอกสภา ต้องมาจากความต้องการของประชาชน

ไม่ใช่ความอดอยากปากแห้งของนักการเมือง!
 


ที่มา : วงค์ ตาวัน  ข่าวสด
[Continue reading...]

ชัชชาติ รมต.คมนาคม ล่องเรือคลองแสนแสบมาทำงาน

- 0 comments

เมื่อเช้า ผมนั่งเรือคลองแสนแสบมากระทรวง ก็เห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ถึงแม้จะเป็นเรื่องเล็ก ๆ ก็คือการเตรียมชูชีพมาตรฐานไว้ทุกท่า แทนกระป๋องน้ำมันเครื่องใบเล็กๆ ที่ผมเคยบอกว่าน้ำหนักอย่างผมต้องใชัสัก 10 ใบ

คุยกับคนเรือ เขาบอกว่าต้องเก็บทุกคืน ไม่งั้นหายหมดเพราะกลางคืนจะมีเด็กมาเล่นน้ำแล้วเอาไปเล่น ฟังแล้วใจหายครับ ไม่ใช่เสียดายของแต่นึกถึงเด็กๆที่ต้องใช้คลองแสนแสบเป็นที่ว่ายน้ำเล่น เรือคลองแสนแสบต้องพัฒนาต่อไป 

ท่านอธิบดีเจ้าท่ามีแผนจะปรับปรุงท่าให้ปลอดภัยและสะดวกขึ้น ท่าที่มีความยาวน้อย ขึ้นลงลำบากก็จะขยายให้ยาวขึ้้น ติดไฟแสงสว่าง รวมถึงการพัฒนารูปแบบเรือให้ดีขึ้นครับ

ที่มา 
ชัชชาติ สิทธิพันธุ์
[Continue reading...]

หมอไม่รับเย็บ..ชาวบ้านจี้ นพ.นิรันดร์ กสม. เอาผิดม็อบสวนยางปิดถนน-รถไฟ

- 0 comments

วันที่ 2 ก.ย. 56 บรรยากาศม็อบสวนยางปิดถนนเอเชีย 41 บริเวณสี่แยกควนหนองหงส์ อ.ชะอวด และถนนควนหนองหงส์ –บ่อล้อ บริเวณสามแยกควนเงิน ต.บ้านตูล  อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมรา 
แม้น้องชายและญาติ ๆ ของนายศิริชัย จะยืนยันว่านายศิริชัย พี่ชาย ไม่เกี่ยวข้องกับม็อบ ไม่ได้เป็นการ์ดตามที่เป็นข่าวก็ตาม แต่แกนนำม็อบขอร้องให้นำศพมาตั้งบำเพ็ญกุศลกลางม็อบเพื่อสร้างกระแสกดดันเจ้าหน้าที่และรัฐบาล ซึ่งในคืนที่ผ่านมาได้มีการสวดพระอภิธรรมศพนายศิริชัย ตามประเพณีแล้ว คืน และตลอดทั้งวันยังมีผู้คนทั้งในและต่างพื้นที่ทยอยกันมากราบเครารพศพและร่วมทำบุญกันเป็นจำนวนมาก
 ขณะที่การประกาศดีเดย์ให้รัฐบาลลงมาเจรจาตกลงภายในเวลา 11 โมงของวันนี้ แม้จะล่วงเลยเวลามาหลายชั่วโมง แต่ยังไม่มีความเคลื่อนไหวใด ๆ เพิ่มไปจากเดิมที่มีอยู่แล้ว โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจได้กระจายกำลังประจำอยู่ตามจุดต่าง ๆ ที่คาดว่ากลุ่มผู้ประท้วงจะดาวกระจายออกไปปิดถนนเพิ่มเติม  คาดว่าในช่วงค่ำจึงจะมีความเคลื่อนไหวที่ชัดเจนมากขึ้น

 ด้าน นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ในฐานะประธานอนุกรรมการด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองและคณะ ได้ลงพื้นที่ รับฟังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทุกเรื่องราว รวมทั้งเหตุสลายการชุมนุมจาก เจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องที่แยกบ้านตูล และบริเวณแยกควนหนองหงส์ อ.ชะอวด กรณีมีการร้องเรียนขอให้ตรวจสอบการละเมิดสิทธิของผู้ชุมนุมเกษตรกรสวนยางพาราและปาล์มน้ำมันภาคใต้ จากเจ้าหน้าที่รัฐ  กลับไปเจอ ชาวบ้านจำนวนมากใน ต.บ้านตูล อ.ชะอวด และพื้่นที่ใกล้เคียงใน อ.จุฬาภรณ์ ได้เรียกร้องให้กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ต่อการละเมิดสิทธิ์ของม็อบชาวสวนยาง ที่มาปิดถนน ทางรถไฟ ซึ่งสร้างความเสียหายและเดือดร้อนให้กับประชาชนในพื้นที่ ผู้ใช้ถนนและรถไฟเป็นอย่างมาก จนอาจจะนำไปสู่ความรุนแรงถึงขั้นทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกายและฆ่ากันตายได้ 
ที่มา : เดลินิวส์
[Continue reading...]

ด่วน ! ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ นำม็อบ "ยึด" ศาลากลาง จังหวัดชุมพร

- 0 comments

วันนี้ ( 2 ก.ย.56 )  ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  เกษตรกรชาวสวนยางพาราและสวนปาล์มน้ำมันในพื้นที่ จ.ชุมพร ระนอง และประจวบคีรีขันธ์ กว่า 2 พันคน นำโดยนายชุมพล จุลใส ส.ส.ชุมพร เขต 1 พรรคประชาธิปัตย์ นายกฤษณ์ แก้วรักษ์ นายก อบต.ท่าข้าม ในฐานะประธานชมรมผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จังหวัดชุมพร บรรดานายก อปท. สมาชิกสภา อบจ.,ส.ท. และ สมาชิกสภา อบต.ต่างๆ ร่วมกันชุมนุมหน้าศาลากลางจังหวัดชุมพร มีการตั้งเต็นท์กว่า 20 หลัง พร้อมตั้งเวทีปราศรัยบนถนนฝั่งตรงข้ามบันไดทางขึ้นศาลากลาง ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องปิดการจราจรหน้าศาลากลางไปโดยปริยาย และขอให้ผู้ที่มาติดต่อราชการหลีกเลี่ยงไปใช้ประตูฝั่งทิศใต้และฝั่งทิศเหนือแทนเป็นการชั่วคราว ส่วนตำรวจภูธรจังหวัดชุมพรได้ระดมกำลังเจ้าหน้าที่ทั้งในและนอกเครื่องแบบกว่า 100 นาย มาสมทบกับอาสาสมัคร (อส.) จากกองร้อย อส.จ.ชุมพรกว่า 100 นาย เพื่อคอยดูแลความสงบเรียบร้อยและป้องกันมิให้ผู้ไม่หวังดีฉวยโอกาสก่อความรุนแรง ขณะเดียวกันนายพีระศักดิ์ หินเมืองเก่า ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ได้ขอให้ผู้ประกอบการสินค้าโอท็อปของชุมพรนำสินค้าประเภทอาหาร เครื่องดื่ม มาวางจำหน่ายให้ผู้ชุมนุมในราคาถูก พร้อมทั้งยังขอให้ร้านเสริมสวยน้ำหอมนำช่างตัดผมมาให้บริการตัดผมฟรีแก่ผู้ร่วมชุมนุม ท่ามกลางอากาศที่ค่อนข้างร้อนอบอ้าว

รายงานข่าวแจ้งว่า บรรดาแกนนำของผู้ร่วมชุมนุม นำโดยนายชุมพล จุลใส ส.ส.ชุมพร เขต 1 พรรคประชาธิปัตย์ ได้ผลัดเปลี่ยนกันขึ้นกล่าวโจมตี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และผู้เกี่ยวข้องในการแก้ปัญหาราคายางและปาล์มน้ำมันตกต่ำด้วยถ้อยคำรุนแรง พร้อมประกาศว่าจะยื่นหนังสือเรียกร้องต่อ นายพีระศักดิ์ หินเมืองเก่า ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เพื่อขอให้ส่งต่อไปรัฐบาล หากได้รับคำตอบที่ยังไม่เป็นที่น่าพอใจ ผู้ชุมนุมอาจยกระดับการชุมนุมด้วยการปิดศาลากลางจังหวัด โดยจะมีสวนยางและสวนปาล์มน้ำมันจาก จ.ระนองและประจวบคีรีขันธ์ กำลังทยอยเดินทางมาสมทบเพิ่มมากขึ้น


กลุ่มผู้ชุมนุมนำภาพเท่าตัวจริงของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมโลงศพมาตั้งบนถนนหน้าศาลากลางจังหวัดชุมพร ก่อนนำภาพของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ไปวางในโลงศพ จากนั้นจึงช่วยกันเทน้ำมันลงไปแล้วจุดไฟเผา เพื่อเป็นการประท้วงที่รัฐบาลไม่มีความจริงใจแก้ปัญหายางพาราและปาล์มน้ำมันมีราคาตกต่ำ

นายพีระศักดิ์ หินเมืองเก่า ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ซึ่งติดภารกิจอยู่นอกพื้นที่ ได้มอบหมายให้ นายปฐม สาธิตานนท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ออกจากห้องทำงานบนศาลากลางลงมา เป็นผู้แทนในการรับมอบหนังสือเรียกร้องจากนายกฤษณ์ แก้วรักษ์ นายก อบต.ท่าข้าม ประธานชมรมผู้นำ อปท.ชุมพร แต่ผู้ชุมนุมทุกคนยังคงยืนยันที่จะปักหลังชุมนุมประท้วงหน้าศาลากลางต่อไปจนกว่าจะได้รับคำตอบที่น่าพอใจจากรัฐบาล แต่หากยังไม่ได้รับคำตอบ ก็จะส่งตัวแทนขึ้นไปนั่งทำงานในห้องผู้ว่าราชการจังหวัด และหัวหน้าส่วนราชการจังหวัดต่างๆ จนกว่ารัฐบาลจะแก้ปัญหาในเรื่องนี้

ล่าสุด!!! เจ้าหน้าที่ที่ทำงานในศาลากลาง จ.ชุมพร ทยอยกลับบ้านแล้ว หลังผู้ชุมนุมเข้าไปในตัวศาลากลาง

ที่มา : ทีนิวส์

[Continue reading...]

อภิสิทธิ์ ดอดพบ "โทนี่ แบลร์" ยืนยันไม่ร่วมปฏิรูป

- 0 comments
วันนี้ท่านหัวหน้ากับผมได้พบและรับประทานอาหารกลางวันกับท่านอดีตนายกฯอังกฤษ Mr. Tony Blair ที่บ้านท่านทูตอังกฤษที่ถนนวิทยุ Mr. Blair ทราบแต่แรกว่าเราไม่ได้เข้าร่วมกระบวนการ 'ปาหี่ปฏิรูป' ของรัฐบาล จึงได้ขอนัดพบเราต่างหาก หลังจากที่ท่านได้ไปบรรยายให้กับฝ่ายรัฐบาลฟังตอนเช้า

Mr. Blair ได้เดินทางมาครั้งหนึ่งเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งในคราวนั้นเราก็ได้อธิบายให้ท่านเข้าใจว่าจุดยืนเราคืออะไร เราเห็นว่าการให้อภัยกันเป็นเรื่องจำเป็น แต่ต้องมีการเคารพสิทธิของผู้สูญเสียที่จะได้รับความยุติธรรมก่อน เรามองว่าการรักษาหลัก 'นิติธรรม' เป็นเรื่องจำเป็นในสังคมประชาธิปไตย ซึ่งทั้งหมดนี้ Mr. Blair ก็เห็นด้วยและได้สัมภาษณ์ในหลักการเดียวกันด้วย

วันนี้เราก็จึงได้ชี้แจงกับท่านอีกครั้งว่าเราไม่เข้าร่วมกระบวนการปฏิรูปของรัฐบาลเพราะรัฐบาลไม่แสดงความจริงใจที่จะปฏิรูปจริง และไม่ยอมที่จะทบทวนความเหมาะสมเรื่องการผลักดันกฎหมายนิรโทษกรรม ทั้งๆที่กฎหมายฉบับนี้สร้างความแตกแยกอย่างมาก และหลายฝ่ายมองว่ามีผลในทางลบกับระบอบการปกครองประเทศ

ส่วนกระบวนการปฏิรูปที่แท้จริงนั้น มีเวทีอื่นที่เหมาะสมกว่า และเราพร้อมเข้าร่วมเสมอ ต่อเมื่อรัฐบาลพร้อมยอมรับว่าในการปฏิรูปประเทศนั้น ประชาชนทุกภาคส่วนต้องมีสิทธิมีเสียงเท่ากัน และเวทีนั้นไม่ได้มีไว้เพียงเพื่อหาความชอบธรรมในการจัดผลประโยชน์ระหว่างนักการเมืองให้ลงตัว

ทั้งหมดเป็นการนั่งสนทนากันอย่างเป็นกันเอง คือท่านทูตฯได้จัดให้เราสามคนตักอาหารแบบบุฟเฟทมานั่งทานไปคุยไป ใครบอกว่าอังกฤษทำอะไรต้องมีพิธีรีตองมากมาย จริงๆสมัยนี้ไม่เป็นอย่างนั้นแล้วครับ


ที่มา :เฟซบุ๊ก Korn Chatikavanij
[Continue reading...]

สัมภาษณ์พิเศษ : เจริญ ภักดีวาณิช ส.ว.พัทลุง แจงเหตุผลหนุนเลือกตั้งส.ว.

- 0 comments
ารพิจารณาแก้รัฐธรรมนูญเรื่องที่มาส.ว. วาระ 2 ของรัฐสภา หลังถกเดือดในวันแรก

การประชุมวันต่อๆ มา เนื้อหาการอภิปรายเน้นพุ่งเป้าโจมตีข้อเสียของส.ว.เลือกตั้ง 

ส่วนใหญ่อภิปรายแบบลากยาว ชี้แจงซ้ำไปซ้ำมา เน้นใช้วาทะ แอบด่า หรือตั้งใจให้มีการประท้วง

มีไม่มากนักที่ว่ากันด้วยสาระ หลักเกณฑ์ นายเจริญ ภักดีวาณิช ส.ว.พัทลุง เป็นหนึ่งในนั้น 

และมีคำอธิบายถึงความเห็นที่สนับสนุนให้ส.ว.มาจากการเลือกตั้งยกชุด 


ความแตกต่างของส.ว.เลือกตั้งกับส.ว.แต่งตั้ง

นอกจากรัฐธรรมนูญจะระบุชัดว่าอำนาจเป็นของปวงชนชาวไทย และบุคคลย่อมมีความเสมอภาคกันทางกฎหมายแล้ว เมื่อเชื่อมั่นในประชาชนก็ต้องให้ประชาชนเป็นคนเลือกตั้ง 

แต่ข้อสังเกตขณะนี้เกิดความไม่เสมอภาคในกระบวนการการได้มาของส.ว.เลือกตั้ง และส.ว.สรรหา ตั้งแต่การลงสมัคร จนกระทั่งการคัดเลือก 

ส.ว.เลือกตั้งต้องผ่านการเสียค่าสมัครเหมือนกับส.ว.สรรหา คนละ 5,000 บาท และยังต้องลงพื้นที่ สัมผัสประชาชน มีกติกาควบคุมทั้งใบแดง ใบเหลือง 

แต่ส.ว.สรรหาถูกเลือกจากกรรมการสรรหาแค่ 7 คน คนที่ได้คะแนนคัดเลือก 4 คะแนนก็ยังเป็นได้ ประชาชนไม่ได้รับทราบหลักเกณฑ์การพิจารณา อย่างนี้จะรู้ได้อย่างไรว่า ส.ว.สรรหามาอย่างบริสุทธิ์ ยุติธรรม 


แต่ส.ว.สรรหาทำให้เกิดความหลากหลายทางสาขาวิชาชีพ 

ทุกวันนี้ส.ว.เลือกตั้งก็มาจากทั้งอดีตผู้ว่าฯ ครู อาจารย์ ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน อบต. นายกเทศมนตรี แพทย์ ฯลฯ ยังไม่หลากหลายมากพอหรือ ยิ่งหากให้มีส.ว.มาจากการเลือกตั้งทั้ง 200 คน เชื่อว่าก็จะยิ่งทำให้ได้ความหลากหลายทางอาชีพสูงขึ้นไปอีก 

เทียบกับส.ว.สรรหา ถามว่าชาวนาได้มาเป็นส.ว.หรือไม่ ตัวแทนชาวมุสลิมที่มีอยู่ในประเทศกว่า 10 ล้านคน เลือกส.ว.สรรหามา 20 คน แต่การคัดเลือกไม่มีใครได้เข้ามาเป็นตัวแทนของกลุ่ม

การตั้งข้อสังเกตว่าหากได้บุคคลที่มีความหลากหลายอาชีพจะได้ใช้ความรู้ความสามารถมากลั่นกรองกฎหมายนั้น กฎหมายที่เข้ามาในรอบ 5 ปีนี้ ถ้าดูในส่วนของผู้เสนอแปรญัตติทั้งส.ว.เลือกตั้งและส.ว.สรรหา ถือว่าใกล้เคียงกัน และการเป็นกรรมาธิการก็ไม่ได้มีข้อจำกัดเรื่องอาชีพ

การศึกษาของคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ จาก "สมุดพกส.ว." ผลการตัดสินใจครั้งสุดท้าย หรือการลงมติของส.ว.ที่ได้คะแนนร้อยละ 80-90 ในการผ่านร่างกฎหมาย 10 ฉบับที่ผ่านมานั้น 

มีส.ว.เลือกตั้ง 16 คน ส.ว.สรรหา 7 คน ที่ทำหน้าที่ แสดงว่าอาชีพต่างๆ ไม่ได้มีส่วนในการตัดสินใจออกกฎหมาย ล่าสุด การศึกษาระหว่าง เม.ย.-ส.ค. การผ่านร่างกฎหมาย 5 ฉบับ ก็มีส.ว.เลือกตั้ง ลงมติมากกว่าส.ว.สรรหา 4 ฉบับ ต่อ 1 ฉบับ 

ข้อมูลปัจจุบันนี้เป็นตัวชี้อีกส่วนหนึ่งว่าความหลากหลายของอาชีพมีผลต่อการพิจารณากฎหมายน้อยมาก ขณะที่ส.ว.เลือกตั้ง เป็นตัวแทนประชาชนทั่วประเทศที่มาตัดสินใจว่ากฎหมายฉบับต่างๆ ควรจะผ่านหรือไม่ผ่าน 

จะอธิบายอย่างไรว่า มีส.ว.เลือกตั้งอย่างเดียว ดีกว่ามี ส.ว. 2 ระบบ

1.ได้คืนอำนาจให้ประชาชน 2.ส.ว.สรรหาที่มาจากกระบวนการสรรหาโดยคน 7 คน ยังสร้างความเคลือบแคลงใจ และมีโอกาสเกิดความไม่ยุติธรรมสูง เนื่องจากคนมีสิทธิ์เลือกตั้ง 40 ล้านคน เลือกส.ว. ย่อมมีวิจารณญาณมากกว่า 7 คน 

แม้ท่านเหล่านี้เป็นผู้ใหญ่ของบ้านเมืองมาช่วยคัดเลือก แต่อย่าลืมว่าคณะกรรมการบางคนมาจากคณะปฏิวัติเมื่อปี 2549 และท่านต่างมีภาระหน้าที่ของตัวเอง ไม่ค่อยมีเวลามาศึกษาคุณสมบัติของส.ว.แต่ละคน ได้แต่อ่านจากเอกสารข้อมูล 

บางคนก็บอกว่าเป็นเพื่อนกัน ฝากฝังกันได้บ้าง ซึ่งไม่รู้ว่าจริงหรือเปล่าแต่ผลการสรรหาปี 2551 ที่ผ่านมาผู้สมัครเดิมมี 73 คน ได้กลับเข้ามาใหม่ 34 คน บางคนที่กลับเข้ามาไม่เคยมีผลงานในการแปรญัตติ กลั่นกรองกฎหมาย 

หากเราต้องการจะเป็นประเทศประชาธิปไตย การถ่ายโอนอำนาจให้เป็นการเลือกตั้งของประชาชนทั้งประเทศจึงชอบธรรมกว่า

ส.ว.เลือกตั้งอาจผูกโยงกับการเมืองในพื้นที่ จนถูกครอบงำ แทรกแซงได้

ตลอด 5 ปีที่ผ่านมา ข้อกล่าวหาว่าส.ว.เลือกตั้งเป็นสภาทาส ถูกครอบงำหรือไม่เป็นกลางนั้นไม่มีเลย ผมลงเลือกตั้งในภาคใต้ จ.พัทลุง ก็ไม่ได้ใช้ฐานเสียงพรรคประชาธิปัตย์ 

เท่าที่คุยกับส.ว.เลือกตั้งก็พบว่าเกือบทุกคนไม่ได้อาศัยฐานเสียงของพรรคการเมือง การพูดถึงเรื่องนี้เป็นการใช้ฐานคิดกับสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต แต่ตอนนี้มันไม่มีแล้ว ผมมั่นใจว่าประชาชนรู้จักเลือก การเมืองทุกวันนี้มีการถ่ายทอดสดทั้งวิทยุและโทรทัศน์ ผู้สมัครก็มีสื่อประชาสัมพันธ์ 

และยิ่งส.ว.มีอำนาจในการแต่งตั้ง ถอดถอน ก็ยิ่งจำเป็นที่ส.ว.ต้องมาจากการเลือกตั้ง มีจุดยึดโยงกับประชาชน 

และเป็นไปไม่ได้ที่องค์กรอิสระจะถูกแทรกแซง เช่น ศาลรัฐธรรมนูญที่มีองค์คณะ 9 คน ตามมาตรา 206 กระบวนการสรรหาก็ยังจะเหมือนเดิม ผู้พิพากษาศาลฎีกาเลือกมา 3 คน ตุลาการศาลปกครองเลือกมา 2 คน เท่ากับว่ามี 5 คนแล้วที่ส.ว.ไม่มีส่วนพิจารณา 

ส่วนอีก 4 คน เป็นการสรรหามาแล้ว ให้วุฒิสภาแสดงความเห็นชอบเท่านั้น หากไม่เห็นชอบก็ให้ส่งกลับ แต่หากกรรมการสรรหายืนยันตามเดิมก็แต่งตั้งได้เลย วุฒิสภาเป็นเหมือนตรายางเท่านั้น ไม่มีอำนาจไปกำหนดใครได้ 

ที่บางคนพูดว่า "ไม่ใช่แค่ไว้ใจประชาชน แต่ต้องเรียนรู้จากประวัติศาสตร์" ผมอยากบอกว่าประวัติศาสตร์มี 2 ช่วงให้เรียนรู้ คือช่วงก่อนปี 2549 และช่วงเหตุการณ์ความขัดแย้ง 

ต้องไม่เรียนรู้แค่ช่วงเดียว เพราะช่วงก่อนปี 2549 ส.ว.หรือรุ่นผมก็มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด 200 คน และ เป็นส.ว.ที่มีศักยภาพด้วย ไม่ใช่ส.ว. สภาทาส

ข้ออ้างว่าอังกฤษยังมีสภาขุนนาง 

สภาขุนนางมาจากการแต่งตั้ง แต่อำนาจการตรวจสอบไม่ได้มีมาก ขณะที่วุฒิสภาไทยให้อำนาจทั้งคุณและโทษในการแต่งตั้ง ถอดถอนบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งทาง การเมือง 

ยิ่งมีอำนาจมากๆ ก็ควรมอบอำนาจให้ประชาชน และยิ่งต้อง ให้มีการเลือกตั้ง เพื่อหาตัวแทนประชาชน ฉะนั้นอย่าเพิ่งไปห่วงว่าประชาชนจะแยกเลือก ส.ส. ส.ว.ไม่ออก ใครคิดว่าประชาชนโง่แสดงว่าไม่เชื่อประชาชน 

ที่ผมเป็นห่วงคือเรื่อง วาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปี จะนานเกินไป ผมเสนอแปรญัตติ มาตรา 117 เรื่องวาระของส.ว. มีวาระ 4-5 ปี ในอดีต ก็มีวาระแค่ 5 ปี ในอังกฤษที่จะมีการปฏิรูปสภาขุนนางให้เลือกตั้ง 450 คน มีวาระได้แค่ 5 ปี 

และการดำรงตำแหน่งไม่ควรเกิน 2 วาระ เพื่อสอดรับกับอธิการบดีมหาวิทยาลัยต่างๆ องค์กรอิสระ ที่มีมาตรฐานเดียวกัน

ข้อกังวลต่อร่างแก้ไขที่มาส.ว.

การให้บุคคลที่พ้นจากส.ส.หรือสมาชิกพรรคการเมืองแล้วมาลงสมัครส.ว.ได้ทันที รวมถึงให้คู่สมรสและบุตรลงสมัครได้ด้วย พูดถึงสิทธิ์ก็ย่อมทำได้ แต่ข้อกังวลของฝ่ายค้านก็น่ารับฟังอยู่ 

เพราะประเด็นนี้จะมีผลได้เสียต่อสองสภาเอง ถ้าเป็นส.ส.โหวตไม่ไว้วางใจรัฐบาล เป็นเครือญาติกันก็ปลดไม่ได้อยู่แล้ว พอมาเป็นส.ว.ก็ย่อมมีส่วนยึดโยงกับการเมือง โดยเฉพาะการตรวจสอบเรื่องทุจริตของรัฐบาล 

ขณะเดียวกัน ถ้าสามีเป็นส.ส. ภรรยามาลงส.ว.การตรวจสอบก็จะอ่อนแอด้วย 

สิ่งนี้จึงน่ากังวลเพราะยากที่จะไม่ผูกพันกับการเมือง แม้แต่บางตระกูลที่ลงส.ส. มานาน มีฐานเสียงอยู่อยากให้ลูกเล่นการเมืองโดยให้มาลงส.ว. ก็เท่ากับยึดโยงการเมืองอีก 

ถ้ามีจำนวนบุคคลแบบนี้เข้ามามากๆ การเลือกที่จะตรวจสอบแค่บางเรื่อง หรือตรวจสอบไม่จริง ไม่ส่งเรื่องต่อคณะกรรมการป.ป.ช. สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ย่อมเกิดขึ้น

เชื่อว่าคงมีผู้อภิปรายจุดนี้แน่ เหตุผลของผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับประเด็นนี้ก็ค่อนข้างมีมากและมีน้ำหนัก หากผ่านไปได้โดยความเชื่อใจประชาชนก็ไม่ใช่ว่าไม่มีโอกาส เสี่ยง 

หลังจากนั้นเชื่อว่าระบบการเลือกและตรวจสอบจากภาคประชาชนคงต้องเข้มข้นขึ้นแน่นอน

ที่มา : ข่าวสด
[Continue reading...]
 
Copyright © . Yak Ratchaprasong - Posts · Comments
Theme Template by BTDesigner · Powered by Blogger