Saturday, September 28, 2013

ส.ว. 149 คน เห็นด้วยกับการแก้ที่มา ส.ว. เพียง 51 คน

- 0 comments
เมื่อวันที่ 28 ก.ย. 56 ภายหลังจากที่ประชุมร่วมรัฐสภาลงมติเห็นชอบร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มาส.ว. ในวาระที่ 3 ด้วยคะแนน358ต่อ2งดออกเสียง 30

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ปัจจุบัน สมาชิกรัฐสภา มีจำนวน 649 คน  แยกเป็น สส. 500 คน  สว.149 คน      โดยผู้ที่ลงคะแนน ไม่เห็นด้วย 2 คน ได้แก่ นายวิเชียร คันฉ่อง สว.ตรัง  นายวิชาญ ศิริชัยเอกวัฒน์ สว.สรรหา ทั้งนี้จากการตรวจสอบผลการนับคะแนน ซึ่งได้เสียงลงมติเห็นชอบ 358 เสียง แยกได้ดังนี้  พรรคเพื่อไทย 261 เสียง  พรรคชาติไทยพัฒนา 18 เสียง พรรคภูมิใจไทย (กลุ่มมัชฌิมา) 9 เสียง  พรรคชาติพัฒนา7เสียง พรรคพลังชล7 เสียง พรรคมาตุภูมิ 2 เสียง  พรรคประชาธิปไตยใหม่ 1 เสียง พรรคมหาชน 1 เสียง  พรรครักประเทศไทย 1เสียง และ สว.51 เสียง

พรรคเพื่อไทยมีผู้ขาดประชุม 3 ราย คือ นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ  และนายกนก ลิ้มตระกูล ส.ส. จ.อุตรดิตถ์ โดยนายสุรพงษ์ได้แจ้ง เรื่องติดภารกิจอยู่ต่างประเทศ ขณะที่นายมิ่งขวัญและนายกนก แจ้งลาป่วยกะทันหัน ถือเป็นเหตุสุดวิสัย เพราะเป็นการป่วย เป็นเรื่องจำเป็นจริงๆ พรรคจึงไม่น่าจะมีบทลงโทษอะไร

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าหลังการลงมติวาระ 3 แล้วเสร็จ กลุ่มสส.พรรคเพื่อไทยได้จับกลุ่มวิพากษ์วิจารณ์ตำหนิ ส.ส.และ ส.ว.เลือกตั้งที่ไม่ร่วมลงคะแนนในครั้งนี้ ซึ่งนอกจากนายมิ่งขวัญ และนายกนกแล้ว ยังตำหนิ พล.ต.อ.วงกต มณีรินทร์ สว.สรรหา สามีนางสิริกร มณีรินทร์ อดีตแกนนำพรรคไทยรักไทยซึ่งปัจจุบันกลับเข้ามาช่วยงานในโครงการด้านสตรีของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย รวมถึงนางสมพร จูมั่น สว.เพชรบูรณ์ น้องสาวนายวันเพ็ญ พร้อมพัฒน์ ส.ส. จ.เพชรบูรณ์ พรรคเพื่อไทยและยังเป็นภรรยานายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ แต่ที่ผ่านไม่เคยออกเสียงสนับสนุนร่างกฎหมายให้ฝ่ายรัฐบาลแม้แต่ครั้งเดียว

สำหรับนายวิชาญ  สว.สรรหา เปิดเผยว่า ตนออกเสียง “ไม่ลงคะแนน” ซึ่งไม่ทราบว่าที่ประชุมนับเสียงคะแนนของตนเป็น “ไม่เห็นชอบ” ได้อย่างไร ตนก็พูดชัดเจนแต่แรก ทั้งนี้ จะได้ทำหนังสือทักท้วงไปยังประธานรัฐสภา ในวันที่ 30 ก.ย. 56 เพื่อให้มีการแก้ไขอย่างถูกต้องต่อไป
[Continue reading...]

กู้ศักดิ์ศรีสภาผ่านร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ 3 ที่มาของ ส.ว. ผ่านฉลุย ด้วยคะแนน 358 ต่อ 2 งดออกเสียง 30

- 0 comments
รัฐสภาโหวตร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เรื่องที่มาของ ส.ว. ในวาระ  3 ผ่านฉลุย ด้วยคะแนน 358 ต่อ 2 งดออกเสียง 30
เมื่อวันที่ 28 ก.ย. 56  ที่รัฐสภา ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ 11 ซึ่งมีนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม เพื่อพิจารณาลงมติร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติมที่มา ของส.ว. ในมาตรา 111 มาตรา 112 มาตรา 115 มาตรา 116 วรรคสอง มาตรา 117 มาตรา118 มาตรา 120 และมาตรา 241 วรรคหนึ่ง และยกเลิกมาตรา113 กับมาตรา 114 เพื่อลงมติในวาระ 3

ก่อนที่จะมีมติ โหวตวาระ 3  จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ส.ส.และประธานวิปฝ่ายค้าน ได้ลุกขึ้นหารือ พยายามโน้มน้าวให้ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภา เลื่อนการลงมติออกไป เนื่องจากกรณีได้มี ส.ว. และ ส.ส. ของพรรคประชาธิปัตย์ ยื่น ศาลรัฐธรรมนูญและได้รับไว้พิจารณากรณี แก้ไขร่างที่มาของ ส.ว. ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่  ขณะที่มีการประท้วง ของ ส.ส.พรรคเพื่อไทย ว่าประธษนทำผิดข้อบังคับ ซึ่งในวาระ 3 จะไม่มีการหารือหรืออภิปราย

ในที่สุด นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์  ให้มีมติโหวตรับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฯ ดังกล่าว ท่ามกลางการส่งเสียงโวยวายของส.ส. ประชาธิปัตย์

อย่างไรก็ตามหลังจากการลงคะแนนด้วยวิธีขานชื่อซึ่งใช้เวลากว่า 1 ชั่วโมง ปรากฎว่า ที่ประชุมร่วมรัฐสภามีมติเห็นชอบวาระ 3 ด้วยคะแนน 358 ต่อ 2 งดออกเสียง 30 จากนั้นนายสมศักดิ์สั่งปิดประชุมเมื่อเวลา 12.07 น. ใช้เวลาการประชุม ไม่ถึง 2 ชั่วโมง ซึ่ง ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ และ ส.ว. บางกลุ่มไม่ได้ร่วมโหวตในครั้งนี้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าขั้นตอนหลังจากนี้นายสมศักดิ์ต้องตรวจสอบความถูกต้องก่อนส่งให้นายกรัฐมนตรีดำเนินการตามรัฐธรรมนูญมาตรา 291 (7) ประกอบมาตรา 150 และ 151 ต่อไป
[Continue reading...]
 
Copyright © . Yak Ratchaprasong - Posts · Comments
Theme Template by BTDesigner · Powered by Blogger