Monday, July 22, 2013

โครงการลงทุน 2 ล้านล้าน พลิกโฉมไทยแลนด์ 2020 ละเอียดทุกโครงการ ที่นี่ !!!

ภาพจากเฟสคนละดอก ตอกประเด็น
ที่มาประชาชาติธุรกิจออนไลน์
7 ปีนับจากนี้ (2556-2563) ประเทศไทยจะมีการลงทุนครั้งประวัติศาสตร์ด้านระบบโครงสร้างพื้นฐานภายใต้ พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ที่ "รัฐบาลเพื่อไทย" กำลังเร่งผลักดันให้ผ่านสภาผู้แทนราษฎร
โจทย์ใหญ่ไม่ใช่เพียงแค่ต้องการต่อยอดนโยบายหาเสียงของรัฐบาลเพื่อไทยให้กลายเป็นจริงโดยเร็วทั้งรถไฟฟ้า10สายรถไฟความเร็วสูง รถไฟทางคู่ ฯลฯ หากแต่เพื่อควบคุมต้นทุน "โลจิสติกส์" ที่นับวันยิ่งสูงขึ้น ตัวที่สูงสุดคือถนน มีต้นทุนอยู่ที่ 1.72 บาท/ตัน/กิโลเมตร สูงกว่ารถไฟ 0.93 บาท/ตัน/กิโลเมตร และขนส่งทางน้ำ 0.64 บาท/ตัน/กิโลเมตร 

ไม่นับรวมต้นทุนด้านพลังงานที่สูญเสียไปถึง 700,000 ล้านบาทต่อปี จากราคาน้ำมันแพงขึ้นทุกวัน ทั้งยังเป็นการสร้างโอกาสและความเจริญสู่ท้องถิ่นทุ่มลงทุนระบบราง 1.65 ล้านล้าน

ไฮไลต์แผนลงทุนที่จะพลิกโฉมประเทศไทย รัฐบาลทุ่มเม็ดเงินไปกับ "ระบบราง" มากที่สุดถึง 82.94% หรือกว่า 1.658 ล้านล้านบาท รองลงมา "ด้านถนน" 14.47% กว่า 289,482 ล้านบาท ตามด้วย "ทางน้ำ" 29,819 ล้านบาท เมื่อจำแนกรายสาขาจะพบว่า "ระบบราง" ดังกล่าวเป็นโครงการรับผิดชอบของ 2 หน่วยงานหลัก "การรถไฟแห่งประเทศไทย" (ร.ฟ.ท.) และ "การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย" (รฟม.)

สำหรับ ร.ฟ.ท.ได้รับจัดสรรเงินลงทุนมากสุด 63.63% หรือประมาณ 1,272,669 ล้านบาท เริ่มจากงาน "แผนระยะเร่งด่วน" เงินลงทุนรวม 134,176 ล้านบาท ได้แก่ เสริมความมั่นคงโครงสร้าง 406 ล้านบาท เปลี่ยนหรือเสริมความมั่นคงสะพานชำรุด 11,388 ล้านบาท ติดตั้งรั้วสองข้างทางแนวรถไฟ 3,430 ล้านบาท ติดตั้งเครื่องกั้นถนนเสมอระดับ-ปรับปรุงเครื่องกั้น 4,368 ล้านบาท ปรับปรุงระบบอาณัติสัญญาณไฟสีทั่วประเทศ 7,281 ล้านบาท ติดตั้งระบบโครงข่ายโทรคมนาคม 2,152 ล้านบาท

ผุดรถไฟทางคู่ เฟสแรก 5 สาย

โครงการรถไฟ "ทางคู่" 5 สาย ได้แก่ สายลพบุรี-ปากน้ำโพ 148 กิโลเมตร วงเงิน 16,215 ล้านบาท สายมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ 132 กิโลเมตร 21,196 ล้านบาท สายถนนจิระ-ขอนแก่น 185 กิโลเมตร 29,221 ล้านบาท สายนครปฐม-หัวหิน 165 กิโลเมตร 20,833 ล้านบาท และสายประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร 167 กิโลเมตร 17,683 ล้านบาท

ต่อมาเป็นโครงการ "ทางรถไฟสายใหม่" 3 สาย วงเงินรวม 123,927 ล้านบาท คือ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 326 กิโลเมตร วงเงิน 77,275 ล้านบาท สายบ้านไผ่-นครพนม ระยะทาง 347 กิโลเมตร วงเงิน 42,106 ล้านบาท และสายบ้านภาชี-อ.นครหลวง ระยะทาง 23 กิโลเมตร วงเงิน 4,546 ล้านบาท

นอกจากนี้มีรถไฟทางคู่ระยะที่ 2 มี 6 สาย วงเงินรวม 144,110 ล้านบาท ได้แก่ สายหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ 90 กิโลเมตร วงเงิน 9,555 ล้านบาท สายชุมพร-สุราษฎร์ธานี 167 กิโลเมตร 17,640 ล้านบาท สายสุราษฎร์ธานี-ปาดังเบซาร์ 339 กิโลเมตร 35,700 ล้านบาทสายปากน้ำโพ-เด่นชัย ระยะทาง 285 กิโลเมตร วงเงิน 30,070 ล้านบาท สายขอนแก่น-หนองคาย 174 กิโลเมตร วงเงิน 18,585 ล้านบาท และสายจิระ-อุบลราชธานี 309 กิโลเมตร วงเงิน 32,560 ล้านบาท ไฮสปีดเทรน 7.8 แสนล้าน

ถัดมาเป็นโครงการ "รถไฟความเร็วสูง" 4 สายทาง วงเงินลงทุนรวม 783,229 ล้านบาท ประกอบด้วย 1.สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะทาง 745 กิโลเมตร วงเงิน 387,821 ล้านบาท เฟสแรกช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก 382 กิโลเมตร วงเงิน 204,221 ล้านบาท และช่วงพิษณุโลก-เชียงใหม่ 363 กิโลเมตร 183,600 ล้านบาท 2.สายกรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะทาง 615 กิโลเมตร ลงทุน 170,450 ล้านบาท เฟสแรกกรุงเทพฯ-นครราชสีมา 256 กิโลเมตร 140,855 ล้านบาท 

3.สายกรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์ 982 กิโลเมตร 124,327 ล้านบาท เฟสแรกหัวหิน ระยะทาง 225 กิโลเมตร 123,798 ล้านบาท วงเงินที่เหลือเป็นค่าศึกษาโครงการต่อขยายจากหัวหิน-ปาดังเบซาร์ และ 4.สายต่อขยายจากสนามบินสุวรรณภูมิ (แอร์พอร์ตลิงก์) ไปชลบุรี-พัทยา-ระยอง ระยะทาง 221 กิโลเมตร วงเงิน 100,631 ล้านบาทต่อสายสีแดง-เชื่อม 2 สนามบิน

ขณะที่โครงการรถไฟฟ้าในส่วนของ ร.ฟ.ท. ได้แก่ สายสีแดงอ่อน ช่วง "บางซื่อ-มักกะสัน-หัวหมากและช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง" วงเงิน 38,469 ล้านบาท สายสีแดงเข้ม ช่วง "รังสิต-ธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต" วงเงิน 5,412 ล้านบาท

ส่วนต่อสายแอร์พอร์ตลิงก์จากพญาไท-บางซื่อ-ดอนเมือง 28,574 ล้านบาท สายสีแดงอ่อนช่วง "ตลิ่งชัน-ศิริราช" 7,527 ล้านบาท และจัดหาระบบรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อนช่วง "บางซื่อ-ตลิ่งชัน" 6,243 ล้านบาท แถมด้วย "งานก่อสร้างโรงรถจักรแห่งใหม่ อ.แก่งคอย" วงเงิน 1,000 ล้านบาท
สานต่อรถไฟฟ้า 3.8 แสนล้าน

ด้าน "รฟม." มีโครงการสานต่อรถไฟฟ้าสายเก่าให้จบโครงการ ควบคู่เริ่มต้นเปิดประมูลสายใหม่ 8 สายทาง วงเงิน 386,222 ล้านบาท ประกอบด้วย 

สายสีน้ำเงิน (บางซื่อ-ท่าพระและหัวลำโพง-บางแค) วงเงิน 50,620 ล้านบาท สายสีเขียวเข้ม (แบริ่ง-สมุทรปราการ) 20,458 ล้านบาท สายสีเขียวเข้ม (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) 58,590 ล้านบาท

สายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) วงเงิน 58,624 ล้านบาท สายสีเขียวเข้ม (สมุทรปราการ-บางปู) วงเงิน 13,344 ล้านบาท สายสีส้ม (ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-บางกะปิ-มีนบุรี) วงเงิน 115,054 ล้านบาท สายสีม่วง (บางใหญ่-บางซื่อ) 12,224 ล้านบาท และสายสีเหลือง (ช่วงลาดพร้าว-สำโรง) 57,306 ล้านบาทถนนใหม่ 2.8 แสนล.เชื่อมเออีซี

แผนลงทุน "ด้านถนน" มีวงเงินลงทุนรวม 289,482 ล้านบาท แยกเป็นงบประมาณลงทุนของ "ทล.-กรมทางหลวง" 241,080 ล้านบาท หรือ 12.05% ได้แก่ งานสะพานข้ามทางรถไฟ 83 แห่ง ควบงานรื้อย้ายสิ่งปลูกสร้าง 23,280 ล้านบาทค่าเวนคืนและก่อสร้างมอเตอร์เวย์ 3 สายทาง ได้แก่ สายบางปะอิน-นครราชสีมา ระยะทาง 196 กิโลเมตร มีค่าเวนคืน + ก่อสร้าง 84,600 ล้านบาท ส่วนสายบางใหญ่-บ้านโป่ง-กาญจนบุรี ได้เฉพาะค่าเวนคืน 5,420 ล้านบาท เช่นเดียวกับสายพัทยา-มาบตาพุด 1,800 ล้านบาท

นอกจากนี้ยังมีโครงการ "ทางหลวงเชื่อมโยงระหว่างประเทศ" 11 โครงการ วงเงิน 13,770 ล้านบาท ได้แก่ ทางหลวงหมายเลข 212 (อ.โพนพิสัย-บึงกาฬ) ตอน 1 ทางหลวงหมายเลข 4113 (อ.นาทวี-บ.ประกอบ) ทางหลวงหมายเลข 212 
(อ.หว้านใหญ่-อ.ธาตุพนม) ทางหลวงหมายเลข 12 (เลี่ยงเมืองแม่สอดรวมสะพานข้ามแม่น้ำเมยแห่งที่ 2)ทางหลวงหมายเลข 214 (อ.ปราสาท-ช่องจอม) ตอนที่ 1 ทางหลวงหมายเลข 212 (อ.โพนพิสัย-บึงกาฬ) ตอน 2 ทางหลวงหมายเลข 221 (อ.กันทรลักษ์-เขาพระวิหาร) ตอน 1-2 ทางหลวงหมายเลข 214 (อ.ปราสาท-ช่องจอม) ตอนที่ 2 ทางหลวงหมายเลข 1021 (ดอกคำใต้-เทิง) ตอน 1-2 ทางหลวงหมายเลข 1020 (เชียงราย-เชียงของ) ตอน 4 
เร่งรัดขยายถนน 4 ช่องจราจร (ระยะที่ 2) กับเพิ่มประสิทธิภาพทางหลวง มี 45 โครงการด้วยกัน รวมวงเงิน 80,610 ล้านบาท อาทิ สายหล่มสัก-น้ำหนาว ตอน 2, สายกาฬสินธุ์-อ.สมเด็จ ตอน 2, สายกาฬสินธุ์-นาไคร้-อ.คำชะอี, สาย อ.ร้องกวาง-อ.งาว จ.แพร่, สายกำแพงเพชร-สุโขทัย, สายกำแพงเพชร-พิจิตร, สายตาก-แม่สอด, สายยะลา-เบตง, สายมีนบุรี-ฉะเชิงเทรา ตอน 2, สายกบินทร์บุรี-ปักธงชัย จ.ปราจีนบุรี เป็นต้น

โครงการบูรณะทางหลวงสายหลักระหว่างภาครองรับเออีซี จำนวน 235 โครงการ วงเงินรวม 31,600 ล้านบาท ได้แก่ ทางหลวงหมายเลข 1, ทางหลวงหมายเลข 2, ทางหลวงหมายเลข 3, ทางหลวงหมายเลข 4, ทางหลวงหมายเลข 11, ทางหลวงหมายเลข 32, 

ทางหลวงหมายเลข 35, ทางหลวงหมายเลข 41, ทางหลวงหมายเลข 43, ทางหลวงหมายเลข 117, ทางหลวงหมายเลข 331 และทางหลวงหมายเลข 1095

เสริมโครงข่ายการค้า-ท่องเที่ยว

ส่วน "กรมทางหลวงชนบท" (ทช.) ได้เงินลงทุนรวม 34,309 ล้านบาท หรือ 1.72% แยกเป็นโครงการพัฒนาโครงข่ายถนน
เชื่อมต่อด้านการค้า การลงทุนและการขนส่ง วงเงิน 30,116 ล้านบาท ได้แก่ โครงการถนนสนับสนุนท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 3 โครงการ วงเงิน 13,660 ล้านบาท

โครงการสนับสนุนนิคมอุตสาหกรรมและท่าเรือแหลมฉบัง 2 โครงการ 2,960 ล้านบาท โครงการสนับสนุนท่าเรือเชียงแสน จ.เชียงราย 3 โครงการ 2,773 ล้านบาท โครงการแก้ไขปัญหาการจราจรในพื้นที่ปริมณฑลและเมืองใหญ่ในภูมิภาค 3 โครงการ 4,951 ล้านบาท อาทิ ถนนต่อเชื่อมถนนราชพฤกษ์-ถนนกาญจนาภิเษกแนวเหนือ-ใต้ สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา จ.พระนครศรีอยุธยา ฯลฯ
รวมถึงโครงการแก้ไขและป้องกันปัญหาอุบัติเหตุจราจร โดยก่อสร้างสะพานและอุโมงค์ข้ามทางรถไฟ 25 โครงการ รวมวงเงิน 5,771 ล้านบาท และโครงการพัฒนาถนนเลียบอ่าวไทย (รอยัลโคสต์) ไล่ตั้งแต่ จ.สมุทรสงคราม เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร รวม 22 โครงการ 4,192 ล้านบาท

และเพื่อเป็นการเตรียมพร้อมรองรับเออีซี รัฐบาลได้จัดสรรวงเงินกว่า 14,093 ล้านบาท ให้ "ขบ.-กรมการขนส่งทางบก" ก่อสร้างศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้า อ.เชียงของ วงเงิน 2,236 ล้านบาท และสถานีขนส่งสินค้า 15 แห่ง วงเงินรวม 11,856 ล้านบาท

ทั้งนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งทางถนนที่เมืองชายแดน 7 แห่ง คือ เชียงราย ตาก หนองคาย มุกดาหาร สระแก้ว สงขลา และนราธิวาส บวกกับหัวเมืองหลัก 8 แห่ง ได้แก่ เชียงใหม่ พิษณุโลก นครสวรรค์ ขอนแก่น นครราชสีมา อุบลราชธานี ปราจีนบุรี สุราษฎร์ธานี
 
สำหรับ "การขนส่งทางน้ำ" ได้จัดสรรเงินลงทุนประมาณ 29,819 ล้านบาท ให้ "กรมเจ้าท่า" (จท.) ไปดำเนินการ 5 โครงการ ประกอบด้วย สร้างท่าเรือ จ.ชุมพร วงเงิน 1,713 ล้านบาท ท่าเรือน้ำลึกสงขลาแห่งที่ 2 วงเงิน 3,613 ล้านบาท 
เพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าทางน้ำในแม่น้ำป่าสัก 11,380 ล้านบาท ก่อสร้างสถานีขนส่งสินค้าทางน้ำเพื่อการประหยัดพลังงาน จ.อ่างทอง 1,325 ล้านบาท และท่าเทียบเรือน้ำลึกปากบารา จ.สตูล (ระยะที่ 1) วงเงิน 11,786 ล้านบาท 

ส่วนที่เหลือเป็นการลงทุนระบบโครงสร้างพื้นฐานด่านศุลกากร 41 แห่งทั่วประเทศของกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง ในสัดส่วน 0.63% หรือวงเงินประมาณ 12,545 ล้านบาท 

นอกจากนี้ยังได้จัดสรรค่าเผื่อเหลือเผื่อขาดไว้สำรองจ่ายให้กับโครงการต่าง ๆ อีก 9,261 ล้านบาท หรือประมาณ 0.46%
คิกออฟปีུ กว่า 4 แสนล้าน

หลังจาก พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทมีผลทางกฎหมายแล้ว ทาง "กระทรวงคมนาคม" เจ้าภาพหลักจะเริ่มประมูลโครงการที่พร้อมดำเนินการทันที โดยกระจายประมูลให้เสร็จ 4 ปี

เริ่มตั้งแต่ปี 2556 มีโครงการพร้อมดำเนินการเงินลงทุนรวมประมาณ 422,342 ล้านบาท ได้แก่ 1.รถไฟฟ้า 4 สายทาง เงินลงทุนรวม 130,153 ล้านบาท ได้แก่ สายสีเขียวเข้ม (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) สีชมพู (แคราย-แจ้งวัฒนะ-มีนบุรี) สีแดง (รังสิต-ม.ธรรมศาสตร์) และสีแดง (ตลิ่งชัน-ศาลายา) 

2.รถไฟทางคู่ 2 สายทาง เงินลงทุนรวม 46,904 ล้านบาท ได้แก่ สายจิระ-ขอนแก่น สายประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร 3.คัดเลือกระบบรถไฟความเร็วสูง 3 สายทาง มีสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ สายกรุงเทพฯ-หนองคาย และสายกรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์ วงเงินประมาณ 129,085 ล้านบาท ก่อนที่จะเริ่มกระบวนการเปิดประมูลก่อสร้างต่อไป คาดว่าจะเริ่มได้ในปี 2557 นี้

4.งานถนน เงินลงทุนรวม 116,200 ล้านบาท มีก่อสร้างมอเตอร์เวย์สายบางปะอิน-นครราชสีมา ระยะทาง 196 กิโลเมตร งานบูรณะทางหลวงสายหลัก 12 เส้นทาง 235 โครงการ ระยะทาง 2,162 กิโลเมตร

ส่วนที่เหลือจะทยอยดำเนินการต่อไปในปี 2557 เม็ดเงินลงทุนรวมกว่า 8 แสนล้านบาท ปี 2558 เงินลงทุนรวมกว่า 280,082 ล้านบาท และสุดท้ายในปี 2559 เงินลงทุนรวม 153,852 ล้านบาท 

0 comments:

Post a Comment

 
Copyright © . Yak Ratchaprasong - Posts · Comments
Theme Template by BTDesigner · Powered by Blogger