Saturday, November 9, 2013

ระหว่าง MOU 2543 และแถลงการณ์ร่วม 51 ฉบับไหนที่ทำให้ไทยเสียประโยชน์

ก่อนที่จะถึงวันตัดสินคดีของศาลโลกที่พรรคประชาธิปัตย์และกลุ่มพันธมิตรจุดประเด็น ทำให้เกิดการสู้รบระหว่างชายแดนและเป็นเหตุให้เขาเขมรนำเรื่องนี้ขึ้นสู่ศาลโลกอีกครั้งหนึ่ง

มาดูสาระสำคัญ ใน MOU 43 และ การแถลงการร่วม 51

MOU 43  ได้ลงนาม ใน บันทึกความเข้าใจ  MOU  (Memorandum  of  understanding )  โดย ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์  บริพัตร รมต.ช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (รัฐบาลนายชวน หลีกภัย) แห่งราชอาณาจักรไทย กับนาย วาร์ คิม ฮง ที่ปรึกษารัฐบาลผู้รับผิดชอบกิจการชายแดนแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2543
 MOU 2543 คือหลักฐานการขายชาติที่ชัดเจนที่สุด และเป็นโมฆะกรรมที่คนไทยทุกคนจะต้องปฏิเสธไม่ยอมรับนับถือ ไม่ยอมรับผลและความผูกพันใดๆที่เกิดขึ้นและต่อเนื่องจาก MOU 2543 นี้

เบื้องต้น ต้องประจานว่า MOU 2543 คือสนธิสัญญาเพื่อยกดินแดนประเทศไทยประมาณ 19 ล้านไร่ ในสามพื้นที่คือ รอบปราสาทพระวิหารประมาณ 3,000 ไร่ ตลอดแนวชายแดนไทย-เขมร 7 จังหวัดประมาณ 1.8 ล้านไร่ และในอ่าวไทยอีกประมาณ 17 ล้านไร่ โดยรวมเอาแหล่งทรัพยากรอันล้ำค่าของชาติให้แก่เขมรไปด้วย

เบื้องกลาง MOU ฉบับนี้ได้กระทำขึ้นโดยฝ่าฝืนต่อรัฐธรรมนูญ 2540 และผิดกฎหมาย เพราะปกปิดซ่อนเร้นไม่แจ้งให้ประชาชนทราบ และไม่ขอความเห็นชอบต่อรัฐสภาตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติ จึงเป็น MOU เถื่อน

เบื้องปลาย MOU ฉบับนี้ทำขึ้นด้วยเล่ห์กลอุบายเพื่อปล้นแผ่นดินประเทศไทยให้กับเขมร และปกปิดซับซ้อนซ่อนเงื่อนผิดวิสัยของการทำข้อตกลงระหว่างประเทศ โดย MOU ฉบับนี้มีเนื้อหาสองส่วน คือส่วนที่เป็น MOU และส่วนที่เป็นภาคผนวก โดยได้ซ่อนแผนที่อัตราส่วน 1:200,000 ที่ระบุว่าดินแดนประเทศไทยประมาณ 19 ล้านไร่ เป็นดินแดนเขมร และไม่มีการอ้างถึงเชื่อมโยงกันว่า มีภาคผนวก ดังนั้นถ้าดูแต่เพียงตัว MOU ก็จะไม่เห็นข้อตกลงอุบาทว์ขายชาตินี้

สาระสำคัญอันเป็นเนื้อใหญ่ใจความของการทำ MOU 2543 มี 3 ประการคือ

ประการแรก รัฐบาลไทยกับรัฐบาลเขมร ตกลงให้มีการสำรวจปักปันเขตแดนไทย-เขมรกันใหม่

หมายความว่าตกลงกันยกเลิกการสำรวจปักปันเขตแดนไทย-เขมร ที่ทำในสมัยพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 และได้ใช้ปฏิบัติต่อเนื่องกันมากว่าร้อยปีแล้ว โดยไร้เหตุผลที่จะต้องทำเช่นนั้น นอกจากเหตุผลในการขายชาติ กบฏ และทรยศชาติอย่างเดียวเท่านั้น

ประการที่สอง ในการสำรวจปักปันเขตแดนไทย-เขมรกันใหม่ตาม MOU ฉบับนี้ ให้ถือตามสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ปี ค.ศ. 1904 และ 1907 ซึ่งได้มีการปฏิบัติเสร็จสิ้นไปตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แล้ว แต่เป้าหมายที่แท้จริงก็คือการระบุว่าให้เป็นไปตามแผนที่อัตราส่วน 1:200,000 ด้วย

แผนที่อัตราส่วน 1:200,000 นี้คือแผนที่ที่คณะกรรมาธิการปักปันเขตแดนฝ่ายฝรั่งเศสจัดทำขึ้น แล้วส่งมาให้คณะกรรมาธิการฝ่ายสยามพิจารณาว่าถูกต้องตรงกับการสำรวจปักปันเขตแดนจริงในพื้นที่ภูมิประเทศหรือไม่

เมื่อคณะกรรมาธิการฝ่ายสยามได้รับแผนที่แล้ว ไม่พอใจและไม่รับรอง ทั้งแจ้งให้กรรมาธิการฝ่ายฝรั่งเศสส่งข้อมูลเพิ่มเติม หลังจากนั้นก็ไม่ได้มีการลงนามรับรองหรือตกลงว่าเป็นแผนที่ที่ได้จัดทำขึ้นถูกต้องตรงกับการปักปันเขตแดนที่เสร็จสิ้นไปแล้วนั้นหรือไม่ คณะกรรมาธิการดังกล่าวก็ได้สลายตัวไป เพราะเหตุผลทางสากล

จึงเป็นอันว่าแผนที่อัตราส่วน 1:200,000 นี้ ประเทศไทยไม่เคยรับรองและไม่เคยยอมรับ และเป็นแผนที่ที่แสดงถึงดินแดนเขมรว่ารุกลึกเข้ามาในดินแดนของประเทศไทยถึง 19 ล้านไร่ โดยไม่ตรงกับการปักปันเขตแดนที่ได้เสร็จสิ้นไปแล้ว

การที่ตกลงกันให้ถือเอาแผนที่อัตราส่วน 1:200,000 มาใช้ในการสำรวจปักปันเขตแดนตาม MOU ฉบับนี้จึงเป็นการขายชาติเพราะเป็นที่ตั้งแห่งการเสียดินแดน 19 ล้านไร่แก่เขมร และโดยรู้ดีอยู่แล้วว่าอย่างน้อยที่สุดจะทำให้ดินแดนรอบปราสาทพระวิหารอันเป็นส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติพระวิหารตามพระราชกฤษฎีกา 2541 เป็นของเขมรไปด้วย

ประการที่สาม ตกลงกันว่าทั้งสองฝ่ายจะไม่เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิประเทศที่เป็นอยู่ จนกว่าการปักปันเขตแดนจะแล้วเสร็จ

ดูเหมือนว่าเข้าท่า แต่แท้จริงก็คือการรับรองให้เขมรยึดครองรอบปราสาทพระวิหาร เพราะหลังจากมีการประกาศพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตอุทยานแห่งชาติพระวิหาร 2541 แล้ว รัฐบาลก็ได้ขับไล่ประชาชนไทยออกนอกพื้นที่อุทยาน

แต่กลับปล่อยให้ชาวเขมรเข้ามายึดครองและตั้งวัดแก้วสิกขาคีรีศวรในพื้นที่อุทยานนั้นจนกระทั่งบัดนี้
ดังนั้นใครที่ไม่กบฏ ทรยศชาติ และไม่ขายชาติ ก็ต้องร่วมกันประกาศความเป็นโมฆะกรรมและไม่ยอมรับ MOU 2543 เป็นอันขาด!
ที่มา : แนวหน้า

ในขณะที่แถลงการณ์ร่วม ระหว่างไทยกับเขมร ของนายนพดลปัทมะ นั้น เป็นครั้งแรกที่เขมรยอมรับพื้นที่ ซับซ้อน 4.6 ตารางก.ม.

รายละเอียดสำคัญคือ

การที่กัมพูชาจะขึ้นทะเบียนทั้งตัวปราสาทพระวิหารและพื้นที่ทับซ้อน เป็นมรดกโลก รัฐบาลนายสมัครจึงต้องเจรจาเพื่อขอให้ตัดพื้นที่ทับซ้อนออก ซึ่งแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลนายสมัคร เป็นผู้ปกป้องดินแดนพื้นที่ทับซ้อนเอาไว้ ไม่ให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนมรดกโลกสำเร็จ กัมพูชาจึงขึ้นทะเบียนมรดกโลกได้เฉพาะตัวปราสาท เพราะตัวปราสาทเป็นของกัมพูชาตามคำตัดสินของศาลโลก ตั้งแต่เมื่อ 50 ปีที่แล้ว ไม่ใช่ว่านายสมัครหรือนายนพดล ยกตัวปราสาทให้กัมพูชา ตามที่พรรคประชาธิปัตย์บิดเบือน

ดังนั้นกัมพูชาก็สามารถขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีคำแถลงการณ์ร่วมอยู่แล้ว แต่ปัญหาที่รัฐบาลนายสมัครต้องแก้ไขในขณะนั้น คือ ต้องเจรจาให้กัมพูชาตัดพื้นที่ทับซ้อนออกไป ไม่ให้เอาไปขึ้นทะเบียนมรดกโลกด้วย ดังนั้นแถลงการณ์ร่วมจึงทำขึ้นเพื่อปกป้องดินแดน ไม่ใช่เพื่อช่วยกัมพูชาให้นำตัวปราสาทไปขึ้นทะเบียนมรดกโลก

ซึ่งเขมรก็ยินยอมตามข้อตกลงนี้โดยจะยื่นขึ้นทะเบียนมรดกโลกโดยเฉพาะตัวปราสาทเท่านั้น

คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม


ข้ามูลเพิ่มเติม ลองทำความเข้าใจ
 
1. เริ่มที่รูปแรก จะมีเขตแดน2 แนว คือ แผนที่ 1:200000 และ แผนที่ L7017

1:200000 เป็นแผนที่ ที่ฝรั่งเศสจัดทำในปี 1904 และ 1907 คือเส้นแดงๆ 1:200000 ทุกๆคนได้ยินกันบ่อย ซึ่ง MOU43 ก็ยึดถือตามนี้




"(ค) แผนที่ที่จัดทำขึ้นตามผลงานการปักปันเขตแดนของคณะกรรมการปักปันเขตแดน
ระหว่างสยามกับอินโดจีน ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามอนุสัญญาฉบับปี ค.ศ.1904 และสนธิสัญญา
ฉบับปี ค.ศ.1907 กับเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้อนุสัญญาฉบับปี ค.ศ.1904
และสนธิสัญญาฉบับปี ค.ศ.1907 ระหว่างสยามกับฝรั่งเศส"
 

กับ L7017 คือ เส้นดำๆ ที่อยู่ต่ำลงมาตามรูป ซึ่งแผนที่นี้ ใช้สันปันน้ำกำหนด แต่ยกเว้นปริเวณปราสาทพระวิหารที่ขีดเส้นและยกให้กัมพูชาตามคำตัดสินศาลโลก
แผนที่นี้นพดลใช้อ้างอิง เป็นแผนที่ที่ไทยใช้ยึดถือเป็นหลัก ทหารไทยก็ใช้แผนที่นี้ รวมถึงกระทรวงต่างประเทศก็ใช้ระวางนี้เช่นกัน อันนี้ปัจจุบันไม่ค่อยพูดถึงในหน้าข่าวแล้ว

จากรูปจะเห็นว่า L7017 หากเรายึดตามเส้นนี้ จะไม่ได้ทำให้เราเสียพื้นที่รอบเขาพระวิหารแต่อย่างใด และไม่เสียพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตร.กม.

แล้วพื้นที่ทับซ้อนคือตรงไหน ให้ดูรูปที่ 2

[ภาพ: q113resize.jpg]



2. แสดงให้เห็นพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตร.กม. คือ ส่วนที่คาบเกี่ยวระหว่างแผนที่ 1:200000 กับ L7017 ตามรูป
และในความเป็นจริงพื้นที่ทับซ้อนไม่ได้มีเพียงแค่นี้เท่านั้น ยังมียาวต่อเนื่องไปตามแนวจะเข็บชายแดน ไทย-กัมพูชา
แม้ไทยเราจะยึดถือแผนที่ตาม L7017 แต่การยึดถือตามแผนที่ไม่ใช่สิ่งที่ผูกมัดเราซะทั้งหมด จะเห็นว่าตาม L7017 ก็ยังมีบางส่วนที่ทำให้เราเสียเปรียบ

แต่... MOU43 นั้นผูกมัดเราชัดเจน เพราะ เป็นข้อตกลงร่วม แถมอ้างอิงแผนที่ 1:200000 เท่านั้น
ซึ่งหากมีการปักปันเขตแดนจริง ก็ต้องมีการยึดถือตาม MOU43 แม้จะไม่ใช่สนธิสัญญา แต่ก็ถือเป็นข้อตกลงร่วมกันแล้ว
ซึ่งตาม MOU43 และ แผนที่ 1:200000 จะทำให้ไทยเสียดินแดนไม่เพียงแค่ บริเวณโดยรอบเขาพระวิหาร
แต่ยังอาจจะมีพื้นที่อื่นๆตามแนวตะเข็บชายแดน ไทย-กัมพูชา

[ภาพ: 76586770.jpg]


3. อันนี้แสดงให้เห็นในการอภิปรายไม่ไว้วางใจปี 51 ที่อภิสิทธิ์บอกว่าพื้นที่ใต้ปราสาทเป็นของเรา
แล้วก็สุดท้ายอภิปรายกันไปกันมา กลายจาก 4.6 ตร.กม. และใต้ปราสาท ก็ไม่ใช่ กลับกลายเป็นจะทวงพื้นที่ทางด้านขวาของปราสาท ที่เป็นเหลืองๆ
แต่ปัจจุบันไม่ใช่ทั้งหมดนี้แล้ว 4.6 ตร.กม. ก็ไม่สนใจ L7017 ก็ไม่ยึดถือ แต่จะไปเอา 1:200000 ตามเส้นสีชมพู

ซึ่งการที่อภิสิทธิ์และพรรคประชาธิปัตย์อภิปรายในครั้งน้ัน เหมือนไปทำให้กัมพูชารู้ตัวว่าเค้ามี MOU43 และMOUนี้ได้เปรียบเรายังไง
จึงทำให้เค้าคลืบคลานเข้าจับจองพื้นที่อย่างหนัก ใน 2 ปีที่ผ่านมา ทั้งกำลังทหาร สร้างบ้าน สร้างวัด สถานีอนามัย ในสมัยอภิสิทธิ์ แต่กลับไม่ทำอะไรสักนิดเดียว


สุดท้าย เรื่องนี้ถ้า พันธมิตรกับปชป. ไม่เอามาเล่นจนเละ ก็คงไม่เลยเถิดมาจนขนาดนี้ เอาแต่โจมตีกันจนไม่ลืมไปว่าหากนำเรื่องนี้มาจะเป็นอย่างไร กระทบต่อประเทศชาติเพียงไหน
เมื่อฝ่ายหนึ่งโจมตี ฝ่ายที่โดนโจมตีก็ต้องออกมาแถลงแก้ไข จนสุดท้ายกลายเป็นการทำให้เพื่อนบ้านเห็นช่องโหว่ของประเทศเรา ซึ่งก็คือ MOU43 เค้าก็เลยรีบฉวยไปทันที
ดังนั้นถ้า MOU43 ยกเลิกไม่ได้ เราก็ยังต้องเสียเปรียบอย่างนี้เรื่อยไป และจะไม่เสียแค่เพียงแค่ 4.6 ตร. กม. แต่ยังต้องเสียเพิ่มอีกเพียบแน่นอน รวมไปถึงพื้นที่ทางทะเลอีก

ส่วนสัมปทานแลกพื้นที่ ตามที่กล่าวหากันทั้งปชป และพันธมิตร ไม่เคยเห็นใครเอาหลักฐานอะไรมาชี้แจงว่ามีจริงสักคน ซึ่งแม้ไม่มีหลักฐาน แต่คนที่เชียร์ปชป. และ สาวกพันธมิตรก็ยังเชื่อว่ามีกัน


[ภาพ: p681966059.jpg]


ประเทศล่มจมเพราะพรรคประชาธิปัตย์

ที่มา : บ้านราชดำเนิน

0 comments:

Post a Comment

 
Copyright © . Yak Ratchaprasong - Posts · Comments
Theme Template by BTDesigner · Powered by Blogger