Tuesday, July 2, 2013

เมื่อสื่อเลือกข้าง...เสนอข่าวแบบไม่รับผิดชอบ

ปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา มีกระบวนการปล่อยข่าวทางการเมืองอย่างน้อยสองเรื่องที่ไม่ได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลข้อเท็จจริง โดยหวังผลทางด้านการเมือง
กรณีแรก คือการระบุว่าสหรัฐอเมริกาประกาศห้ามนำเข้าข้าวจากประเทศไทย เพราะตรวจสอบพบการส่งข้าวเน่าหรือข้าวไม่ได้คุณภาพเข้าไปขาย

ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ว่ากระทรวงพาณิชย์หรือกระทรวงการต่างประเทศ ต้องนำเอกสารของหน่วยงานสหรัฐมาชี้แจงในภายหลังว่าไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด

แต่ข่าวลือที่ไม่ปรากฏต้นตอที่มานี้ก็ถูกแพร่ออกไป
โดยผู้กระจายข่าวไม่รับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้นตามมา

กรณีต่อมา คือการจัดสัมมนาโดยองค์กรวิชาชีพสื่อและการเผยแพร่ข่าวว่าบริษัทที่ชนะการประมูลการจัดการน้ำจากเกาหลีใต้เป็นบริษัทต้มตุ๋น มีผลขาดทุนและหนี้สินจำนวนมหาศาล ไม่มีความน่าเชื่อถือ
แต่เจ้าหน้าที่ระดับสูงของบริษัทต้องเดินทางมาแถลงข่าวในประเทศไทย และนำเสนอข้อมูลซึ่งเปิดเผยต่อสาธารณะอยู่แล้วว่า บริษัทมีผลการดำเนินงานและกำไรที่เติบโตต่อเนื่องและมั่นคงดี
โดยได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือทางการเงินจากสถาบันจัดอันดับมูดี้ส์ที่ A-1

แต่ก็ไม่ปรากฏว่าสื่อหรือองค์กรวิชาชีพจะแสดงความรับผิดชอบอย่างไรต่อการนำเสนอข้อมูลที่ผิดพลาดไปเช่นนี้

กระบวนการตรวจสอบการใช้อำนาจนั้นเป็นสิ่งที่ควรสนับสนุนให้เกิดขึ้นในทุกสังคม-รวมทั้งสังคมไทย

เพื่อป้องกันมิให้ผู้มีอำนาจใช้อำนาจไปในทางที่ผิด ไม่ว่าจะเป็นการละเมิดสิทธิผู้อื่น หรือแสวงหาประโยชน์ในทางมิชอบใส่ตัว

แต่กระบวนการตรวจสอบนั้นจะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเที่ยงธรรมของหลักการ และเที่ยงตรงในข้อมูลข้อเท็จจริง
การใช้คำว่าตรวจสอบทั้งที่ผู้ตรวจสอบถูกบดบังด้วยอคติ "มีธงในใจอยู่แล้ว" จนกระทั่งไม่สนใจหลักฐานหรือข้อเท็จจริงและความเสียหายที่เกิดขึ้น

เป็นการลดความน่าเชื่อถือของกระบวนการตรวจสอบ

ซึ่งยิ่งจะส่งผลเสียต่อสังคมในระยะยาว


สื่อหรือองค์กรวิชาชีพสื่อจะรับผิดชอบอย่างไร

พอใช้มาตรการที่เข้มงวด ก็หาว่าแทรกแซงสื่อ

หรือสื่อในประเทศนี้เสนอข่าวอะไร ก็ไม่ผิดเช่นกัน

ที่มาข่าวสดออนไลน์




0 comments:

Post a Comment

 
Copyright © . Yak Ratchaprasong - Posts · Comments
Theme Template by BTDesigner · Powered by Blogger