เห็นข่าวที่ทางพรรคประชาธิปัตย์ มีผลการประชุม สส.มีมติเรียกร้องให้ประธานสภาเปิดโอกาสให้ สส.ฝ่ายค้านทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลได้อย่างเต็มที่
จากข่าว ถ้าการเรียกร้องจากความบริสุทธิ์ใจ ปราศจากความอคติ ทำเพื่อประโยชน์ของประชาชน นั่นคือการทำงานของฝ่ายค้าน คือการทำหน้าที่ควรจะเป็น
เพราะแน่นอนที่สุดในสภาจะแบ่งเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตรวจสอบ
ในความเป็นจริง ฝ่ายค้าน จะต้องค้านทุกเรื่องที่รัฐบาลเสนอมาหรือไม่ คำตอบคือไม่ใช่
ถ้าสิ่งใดที่มีประโยชน์ต่อประชาชน ฝ่ายค้านก็ควรจะสนับสนุนและช่วยกันชี้แนะข้อบกพร่องที่จะเกิดขึ้น
พรรคประชาธิปัตย์ได้ชื่อว่า ฝ่ายค้านมืออาชีพ
คำนี้แปลได้ 2 ความหมายด้วยกันคือ
1.ทำหน้าที่ค้านอย่างมีคุณภาพ
2.ทำหน้าที่ค้านเพราะทุก ๆ ครั้งที่ได้รับการเลือกตั้งไม่สามารถเอาชนะอีกฝ่ายหนึงได้ เลยต้องทำหน้าที่ฝ่ายค้าน
สำหรับการทำหน้าที่ค้านอย่างมีคุณภาพนั้นไม่ค่อยได้เห็นมากนักเพราะภาพที่เห็นการเมืองของไทยที่ผ่านมา คือค้านเพราะเรื่องนั้นไม่ใช่ฝ่ายตนเสนอ ค้านไว้ก่อนเผื่อว่าฝ่ายตนเองได้เป็นรัฐบาลจะได้หยิบเรื่องนั้นมาทำ
เพราะถ้าให้ทำในขณะที่ตนเป็นฝ่ายค้าน ตนก็จะไม่ได้ชื่อเสียงและผลงานและอาจจะไม่ได้เงิน
ดูจากการอภิปราย การแปรยัติงบประมาณที่ผ่านมา ถือว่าประธานสภาให้ทำหน้าที่ (เกิน) เต็มที่เพราะได้ตั้งกรอบเวลาจะแล้วเสร็จภายใน 2 วัน ถ้าคิดเป็นเวลา ประมาณ 30 ชั่วโมง แต่ครั้งนี้ ใช้เวลา ถึง 4 วัน 3 คืน ใช้เวลาไป 57 ชั่วโมง กินเวลา เกือบเท่าตัว พิจารณาได้เพียง 17 มาตราเท่านั้นยังได้ไม่ถึงครึ่งทาง เพราะมีทั้งหมด 35 มาตรา
การใช้เวลาอภิปรายกันทั้งวันทั้งคืน ได้ประโยชน์อะไร เนื้อหาสำคัญไม่จำเป็นต้องใช้เวลามากจนเกินไป กระชับแต่พอดี ๆ
ทั้งผู้พูด และผู้ฟังอ่อนล้าไปตาม ๆ กันขนาดผู้ที่ทำหน้าที่ประธานถึงกับอาเจียนออกมา
นั่นคือเกินความพอดี
ยื้อเวลาออกไปเพื่ออะไร....คนที่ตอบได้อย่างชัดเจน ก็คงจะเป็นคนในพรรคประชาธิปัตย์
การยื้อเวลาออกไปไม่ใช่เพราะมุ่งที่พ.ร.บ.งบประมาณเพราะถ้าไม่ผ่าน จะมีผลกระทบต่อการเบิกจ่ายงบประมาณที่กำลังจะมาถึง
แต่เป้าหมายของพรรคประชาธิปัตย์ อยู่ที่การพิจารณากฏหมายฉบับอื่น ๆ ที่รอเข้าพิจารณาเช่น พ.ร.บ.นิรโทษ วาระ 2 -3 การพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท
เพราะเป็นสิ่งที่ทางพรรคประชาธิปัตย์ประกาศอย่างชัดเจนว่าจะต้องขัดขวางให้ได้
แม้ว่าคนส่วนใหญ่จะเห็นว่า หลาย ๆ มาตราในรัฐธรรมนูญฉบับปี 50ไม่เป็นประชาธิปไตย และ ขัดขวางขบวนการทางประชาธิปไตย แต่ประชาธิปัตย์กลับเห็นเป็นตรงกันข้าม
พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับ วรชัย เหมะที่ผ่านวาระแรก ที่กำลังอยู่ในชั้นกรรมาธิการ ประชาธิปัตย์กลับมองเป็น กฏหมายล้างผิด ให้กับคนบางคน ทั้งที่เป้าหมายคือ นิรโทษให้กับผู้ร่วมชุมนุมทุกสีเสื้อ
พ.ร.บ. กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ที่จะมาพัฒนาระบบการขนส่งพื้นฐาน ซึ่งจะเกิดประโชน์กับคนส่วนใหญ่ของประเทศ (ก็คือคนทั้งหมด) ประชาธิปัตย์ไม่ได้มองถึงการที่ประเทศไทยจะได้รับการพัฒนาเพื่อที่จะรองรับกับการเข้าสู่ AEC ที่จะมาถึงใน ปี 58 แต่กลับเห็นว่า ส่อให้เกิดการโกงกันอย่างมโหฬาร
นี่คือการค้านแบบมีนัยแอบแฝงหรือการค้านเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติ
เป็นโจทย์ที่ผู้ทำหน้าที่ฝ่ายค้านจะต้องมีคำตอบให้กับสังคม
เพราะประเทศเป็นของคนทุกคนไม่ใช่ของคนใดคนหนึ่ง ของพรรคใดพรรคหนึ่ง
ทำเพื่อประโยชน์ของประชาชน หรือเพื่อประโยชน์ของตน คำตอบคนส่วนใหญ่ก็เห็น ๆ กันอยู่แล้ว
การออกมาเรียกร้องต่อประธานสภา ที่จะขอทำหน้าที่ให้เต็มที่
ให้มากกว่าครั้งที่ผ่านมา คือไม่ได้หลับนอน
ครั้งนี้จะว่ากันขนาดไหน ถึงขนาด สส.ทุกคนไม่ต้องกลับบ้าน กินนอนขนเสื้อผ้ามาอยู่ที่สภาเลยหรือไม่
หรือจะทำหน้าที่ให้สมกับคำว่า "ฝ่ายค้านมืออาชีพ" จริง ๆ
Home » ให้ปธ.สภา » ประชาธิปัตย์ ฝ่ายค้านมืออาชีพหรืออาชีพฝ่ายค้าน ?
Monday, August 19, 2013
ประชาธิปัตย์ ฝ่ายค้านมืออาชีพหรืออาชีพฝ่ายค้าน ?
Related Posts
- ค้านไปทุกเรื่อง "ประชาธิปัตย์" จะให้อยู่แบบยุคหินหรืออย่างไร ?
- ศาลรธน.มีมติ 8 : 0 เลื่อนเลือกตั้งได้ ให้นายกฯ-กกต.หารือร่วมกัน - ปิยบุตรแนะ "นายก" อย่าเลื่อน "โหวต"
- กุลเดช สส.ปชป อุทัยธานี โวยเว็บ "รัฐสภา" ลงรูปทำให้ตนเสียหาย
- สส.ประชาธิปัตย์ บอกว่าถูกคุกคาม... สส.ปชป คุกคามประธานสภา ก่อนไม่ใช่หรือ ?
- ขุน ค้อนเอาจริง ผมขอลงมติ เป็นไรเป็นกัน
Stay Tuned with our News Letter
Don't miss out on the latest
news, sign up for our Newsletter.
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
0 comments:
Post a Comment