Monday, October 14, 2013

ใครคือทรราชย์ ? กันแน่

ใน ”พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ.2525” ระบุว่าถึงความหมายของ ”ทรราช” ว่า เป็นคำนาม หมายถึง “ผู้ปกครองบ้านเมืองที่ใช้อำนาจตามอำเภอใจ ทำความเดือดร้อนทารุณให้แก่ผู้อยู่ใต้การปกครองตน เรียกลัทธิเช่นนั้นว่า ทรราชย์ หรือ ระบบทรราช.
”พจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยา อังกฤษ-ไทย” ฉบับราชบัณฑิตสถาน 2524 หากเปิดไปที่คำว่า tyranny จะแปลว่า ทรราชย์ ระบบทรราช หมายถึง การใช้อำนาจโดยพลการ แบบรวบอำนาจเอาไว้แต่ผู้เดียว และโดยปกติเป็นไปในทางที่โหดร้ายทารุณ ทั้งนี้ไม่ว่าจะได้อำนาจนั้นมาด้วยวิธีใด เป็นการใช้อำนาจโดยไม่ถูกจำกัดด้วยกฎหมาย หรือรัฐธรรมนูญ และไม่คำนึงถึงความรู้สึกของผู้อยู่ใต้อำนาจ

คำว่า “ทรราช” ถูกใช้เป็นคำประณามผู้ปกครองเผด็จการทหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยจอมพลถนอม กิตติขจร-จอมพลประภาส จารุเสถียรและพันเอกณรงค์ กิตติขจรที่ผูกขาดการครองอำนาจทางการเมืองแต่เพียงกลุ่มของตนกลุ่มเดียวตั้งแต่ พ.ศ. 2506 จนถึงเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เป็นเวลาถึง 10 ปีเต็ม แม้ว่าจะมีการเลือกตั้งอยู่บ้าง แต่พรรคการเมืองที่ได้เสียงข้างมากก็เป็นพรรคพวกของสามทรราชถนอม-ประภาส-ณรงค์นั่นเอง วันดีคืนดี จอมพลถนอม กิตติขจรผู้เป็นนายกรัฐมนตรีก็ทำรัฐประหารตัวเองเพื่อหลีกหนีปัญหา และดำเนินการปกครองโดยไม่มีรัฐธรรมนูญไปจนกระทั่งเกิดการเรียกร้องรัฐธรรมนูญในเวลาต่อมาจนบานปลายเป็นเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516

จากนั้นเป็นต้นมา คำว่า “ทรราช” จึงถูกผูกติดอยู่กับภาพของผู้ปกครองหรือนายกรัฐมนตรีที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง แต่ใช้กำลังอำนาจทหารของตนในการได้มาซึ่งอำนาจทางการเมือง และผูกขาดการใช้อำนาจนั้นแต่เพียงผู้เดียวหรือในวงศาคณาญาติพวกพ้องของตน

มีการฆ่าประชาชนอีกครั้ง วันที่ 6 ตุลาคม  2519 ซึ่งในขณะนั้น ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมทย์เป็นายกรัฐมนตรี

ในช่วงพฤษภาทมิฬ  2535 ซึ่ง พล.อ.สุจินดา คราประยูร เป็นนายกรัฐมนตรี ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง มีการปราบปรามประชาชนอีกเช่นกัน

ครั้ง สุดท้าย พฤษภา 2553 มีการใช้กำลังกองทหารพร้อมอาวุธยุทโธปกรณ์ อย่างกับไปรบกับฆ่าศึกเพียงเพื่อล้อมปราบประชาชนที่เห็นต่าง ซึ่งนายอภิสิทธิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี

แม้ว่านายอภิสิทธิ์ เองจะอ้างตลอดว่าเป็นายกมาจากการเลือกตั้ง แต่วิธีการที่ได้มาเป็นนายกนั้นไม่ถูกต้อง

การสั่งทหารออกมาปราบปรามประชาชน จนมีคนตายร่วมร้อย บาดเจ็บเป็นพัน

วิธีการที่ใช้ไม่ต่างอะไรกับรัฐบาล ทรราชย์ ถนอม ประภาส ณรงค์ ในอดีต

การแก้ปัญหาความขัดแย้งในระบอบประชาธิปไตยที่มีความเห็นต่าง ทางออกคือการเลือกตั้ง ให้ประชาชน เป็นผู้ตัดสิน

ไม่ใช่เพียงหวังอยู่ในอำนาจโดยไม่คำนึงถึงชีวิตของประชาชน

ขนาดตัวแทนของ ส.ว. มาเจรจากับแกนนำ น.ป.ช. ถึงการยุติการชุมนุมในคืนวันที่ 18 พ.ค. 53  เพื่อเลี่ยงการฆ่า นำไปเสนอให้นายอภิสิทธิ์ แต่ได้รับการปฏิเสธจากนายอภิสิทธิ์ ให้เหตุผลเพียง ว่า "สายไปเสียแล้ว"

 "ชีวิต" ของประชาชน ไม่มีคำว่าสาย

ถ้าหากคน ๆ นั้นใจไม่อำมหิต

มีสันดานเยี่ยง "ทรราช" อย่างในอดีตที่ผ่าน มา 

อย่างนี้ สมควรบันทึกอยู่ใน "ทำเนียบ" ทรราชย์ ได้หรือไม่

0 comments:

Post a Comment

 
Copyright © . Yak Ratchaprasong - Posts · Comments
Theme Template by BTDesigner · Powered by Blogger