เปิดปูมว่าที่รัฐมนตรี'ครม.ปู5'ก่อนคลอด'รัฐมนตรี'ตัวจริง
นายจาตุรนต์ ฉายแสง ว่าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จาตุรนต์ถือเป็นคนที่ทำงานกับพรรคมาตั้งแต่สมัยเป็นพรรคไทยรักไทย จนกระทั่งวันที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ถูกรัฐประหารต้องไปอยู่ต่างประเทศ เขาก็ทำหน้าที่รักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย จนกระทั่งพรรคถูกยุบและเป็นหนึ่งใน 111 กรรมการบริหารพรรคที่ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี อย่างไรก็ตาม ตลอดเวลาที่ถูกตัดสิทธินั้นเขาก็ไม่ได้หายไปไหนแต่ยังคงช่วยงานพรรคอยู่เรื่อยไม่ว่าจะเป็นพรรคพลังประชาชน หรือพรรคเพื่อไทย นอกจากนี้ ยังช่วยงานคนเสื้อแดงในฝ่ายวิชาการ และขึ้นเวทีคนเสื้อแดงในการต่อสู้ทางการเมืองแทบทุกครั้ง
นายจาตุรนต์นั้นถูกมองว่า เป็นรัฐมนตรีน้ำดีคนหนึ่ง และเคยมีประสบการณ์มาแล้วหลายตำแหน่ง ไม่ว่าจะเป็น รองนายกฯ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รมว.ยุติธรรมรัฐมนตรี รมว.ศึกษาธิการ และรมช.กระทรวงการคลัง ซึ่งในครั้งนี้เขาได้กลับเข้ามาทำงานที่ถนัดและเคยได้รับคำชมเชย เนื่องจากที่ผ่านมานั้น นายพงษ์เทพ เทพกาญจนา ไม่ค่อยได้ทำหน้าที่ในตำแหน่ง รมว.ยุติธรรม ซ้ำยังทำให้ถูกโจมตีโดยแนวคิดยุบโรงเรียนขนาดเล็ก
วิเชษฐ์ เกษมทองศรี ว่าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เขาถูกมองว่า เป็นตัวจริงอีกหนึ่งคน โดยทำงานร่วมกันมาตั้งแต่สมัยเป็นพรรคไทยรักไทย และเป็นนายทุนพรรค โดยนายวิเชษฐ์เป็นคนที่ได้รับความไว้วางใจไม่ว่าจะเป็นจากการการทำงานหรือการเก็บความลับ
นายวิเชษฐ์ถูกมองว่า เป็นตัวจริงคนหนึ่งและจ่อคิวรับตำแหน่งรัฐมนตรีตั้งแต่การปรับ ครม.เมื่อครั้งที่ผ่านมา แต่ก็พลาดไปจนได้กลับมาเป็นในครั้งนี้
นางปวีณา หงสกุล เป็นนักการเมืองมานานโดยเริ่มต้นสังกัดพรรคประชากรไทยของ นายสมัคร สุนทรเวช ต่อมาย้ายมาอยู่พรรคชาติพัฒนา จนกระทั่งมาควบรวมกับพรรคไทยรักไทย โดยเธอเคยลงสมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการ กทม. ถึงสองครั้ง ในปี 2543 ซึ่งครั้งนั้น นายสมัคร สุนทรเวช จากพรรคประชากรไทย ได้รับเลือกตั้ง และในปี 2547 ก็พ่ายให้กับนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน จากพรรคประชาธิปัตย์ ไปอีกครั้ง อย่างไรก็ตามเมื่อศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคไทยรักไทยทำให้นางปวีณาต้องถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเป็นเวลา 5 ปี
นางปวีณาเป็นที่รู้จักของสังคมในฐานะนักสังคมสงเคราะห์ และทำงานที่มูลนิธิมูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี (องค์กาสาธารณประโยชน์) คอยช่วยเหลือเด็กและสตรีผู้ด้อยโอกาส และมักจะปรากฏเป็นข่าวตามหน้าสื่อ ทำให้ครั้งนี้เธอกำลังจะได้รับตำแหน่ง รมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
นายพงษ์เทพ เทพกาญจณา รองนายกรัฐมนตรี ร่วมทำงานมาตั้งแต่สมัยพรรคไทยรักไทย และเป็นมือกฎหมายให้พรรคมาตลอดเวลา เนื่องจากเขาเคยเป็นผู้พิพากษา แต่ได้ลาออกมาในช่วงวิกฤตตุลาการ ทั้งนี้ในสมัยรัฐบาลพรรคไทยรักไทยขาเคยดำรงตำแหน่ง รมว.ยุติธรรม มาแล้ว และเมื่อพรรคถึงขาลงโดยการถูกรัฐประหารหรือถูกยุบพรรคถึงสองครั้ง เขาก็ยังคงช่วยงานพรรคอยู่และเป็นหนึ่งในทีมยุทธศาสตร์ของพรรคเพื่อไทย
รวมถึงขึ้นเวทีคนเสื้อแดงในลักษณะให้ความรู้ทางกฎหมาย รวมถึงงานสัมมนาทั่วไป ทำให้ถูกมองว่าเป็นรัฐมนตรีตัวจริงคนหนึ่ง จนได้เข้ามาเป็นรัฐมนตรีศึกษาธิการเมื่อครั้งที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม เมื่อมาเป็น รมว.ศึกษาธิการ กลับมีบทบาทที่ไม่เด่นชัดนัก งานที่มีอยู่มักมอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยทำเสียมากกว่า เพราะมีภาระกิจอื่น นอกจากนี้ยังเป็นสายล่อฟ้าเมื่อนำเสนอนโยบายยุบโรงเรียนขนาดเล็กและจัดซื้อรถตู้รับส่ง 1,000 คันแทนจนถูกสังคมวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก
นายวิสาร เตชะธีราวัฒน์ ว่าที่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
นายวิสาร เคยเป็น สส.เชียงราย พรรคไทยรักไทย โดยอยู่ในกลุ่มของ นายยงยุทธ ติยะไพรัช อดีตประธานรัฐสภา ทั้งนี้ เมื่อนายวิสารถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งจากการยุบพรรคไทยรักไทย จากนั้นนายวิสารก็ไม่ค่อยมีบทบาททางการเมืองและส่ง น.ส.วิสาระดี เตชะธีราวัฒน์ ลงแทน
ทั้งนี้ก่อนหน้านี้นายวิสาร ถูกคาดการณ์ว่าจะมาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แต่ทั้งนี้นายใหญ่กังวลว่า นายวิสารจะเข้ามารื้อระบบในกระทรวงทรัพยฯ เช่นเดียวกับสมัยนายยงยุทธ และเป็นที่มาของการรื้อรีสอร์ทตามอุทยานแห่งชาติต่างๆ
นายพีรพันธ์ พาลุสุข ว่าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปัจจุบันเป็น สส.ยโสธร และทำหน้าที่เป็นทีมกฎหมายของพรรคเพื่อไทย เขาเคยเป็นอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และดำรงตำแหน่งรองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง ต่อมาได้ลงเล่นการเมืองและสังกัดมาหลายพรรค ไม่ว่าจะเป็นพรรคชาติไทย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคประชาชน พรรคความหวังใหม่ ขณะที่ในนามพรรคไทยรักไทยเขายังไม่เคยลงรับสมัครเลือกตั้งแต่ก็เป็นที่ปรึกษาและผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ และต่อมาก็ลงสมัคร สส.ในนามพรรคพลังประชาชนและพรรคเพื่อไทย
นายพีรพันธ์ มีความสัมพันธ์อันดีกับ สส.ในพรรคหลายคนโดยเฉพาะอย่างยิ่ง นายจาตุรนต์ ฉายแสง อีกทั้งทำงานให้พรรคมานานจึงถึงลำดับที่ควรจะขึ้นชั้นเป็นรัฐมนตรี โดยครั้งนี้จะมาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์แทน นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล ซึ่งมีปัญหาภายในกระทรวงจนถูกประท้วงและถูกปรับออกในที่สุด
นายชัยเกษม นิติศิริ ว่าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม อดีตอัยการสูงสุด ระหว่างปี 2550 - 2552 ปัจจุบันดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโส (ที่ปรึกษาอัยการสูงสุด) สำนักงานอัยการสูงสุด เขาได้รับตำแหน่งในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร หลายตำแหน่ง เช่น ประธานสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คณะกรรมการคดีพิเศษ กรมสอบสวนคดีพิเศษ กรรมการตรวจสอบ บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม
อย่างไรก็ตาม นายชัยเกษม ถูกคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ฟ้องร้องคดีจัดซื้อเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด CTX 9000 ในฐานะอดีตกรรมการบริหารการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย (ทอท.)ต่อมาเมื่อ คตส. หมดวาระได้มีการโอนคดีนี้มายังคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ( ปปช. )และ ปปช. ได้มีมติตั้งอนุกรรมการไต่สวนเขาอยู่ในขณะนี้
นายสรวงศ์ เทียนทอง ว่าที่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
นายสรวงศ์เป็นบุตรชายนายเสนาะ เทียนทอง นักการเมืองรุ่นเก๋า โดยครั้งนี้เขาจะเข้ามาแทนในโควตาของกลุ่มนายเสนาะ ทำให้นายฐานิสร์ เทียนทอง หลานนายเสนาะต้องพ้นจากตำแหน่ง รมช.อุตสาหกรรม
นางเบญจา หลุยเจริญ ว่าที่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ถือเป็นการได้รับการโปรโมทตำแหน่งระดับสูงในฝั่งของข้าราชการเมืองจากพรรคเพื่อไทย หลังจากที่ได้รับการโปรโมทตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงจากฝ่ายข้าราชการประจำมาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจาก มีสายสัมพันธ์อันดีตลอดมากับครอบครัวอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร สะท้อนจากการออกมาปกป้องกรณีการซื้อขายหุ้นในบริษัทแอมเพิลริชของพ.ต.ท.ทักษิณว่า เป็นการซื้อขายนอกตลาด ทำให้ไม่มีภาระภาษี ซึ่งระหว่างนั้น นางเบญจามีตำแหน่งเป็นหนึ่งในผู้บริหารระดับสูงของกรมสรรพากร
อย่างไรก็ตามในสมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์ นางเบญจา ได้ถูกโยกย้ายเข้ามานั่งในตำแหน่งผู้ตรวจการกระทรวงการคลัง จากนั้น พรรคเพื่อไทยได้กลับเข้ามาเป็นรัฐบาลอีกครั้ง นางเบญจา ได้ขยับตำแหน่งเป็นรองปลัดกระทรวงการคลัง อธิบดีกรมสรรพสามิต และอธิบดีกรมศุลกากร พร้อมกับตำแหน่งประธานบอร์ดรัฐวิสาหกิจที่สำคัญ เช่น สลากกินแบ่งรัฐบาล หรือธนาคารกรุงไทย ก่อนที่จะลาออกจากราชการก่อนเกษียณอายุไม่ถึง 4 เดือน ขณะที่ อดีตข้าราชการระดับสูงบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องกับคดีซุกหุ้นของ พ.ต.ท.ทักษิณ นั้น ได้ถูกออกจากราชการไปหมดแล้ว อย่างไรก็ดี ด้วยความสามารถในการบริหารงานองค์กรและความเชี่ยวชาญทางด้านภาษี โดยเฉพาะภาษีกรมสรรพากร ทำให้นางเบญจาเป็นที่ยอมรับจากหลายฝ่าย และทำให้การโปรโมทในตำแหน่งสำคัญๆ ไม่ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์มากนัก
นายยรรยง พวงราช ว่าที่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
เติบโตมาจากข้าราชการกระทรวงพาณิชย์ และไต่เต้ามาตามลำดับ จนได้เป็นอธิบดีกรมการค้าภายใน ช่วงปี 2550-2552 และ เป็นปลัดกระทรวงพาณิชย์ ช่วงปี 2552 - 2555 อย่างไรก็ตามในช่วงรัฐบาลพรรคเพื่อไทย นายยรรยงได้ ออกมาตอบโต้และปะทะคารมกับพรรคประชาธิปัตย์หลายครั้ง ทั้งเรื่องสินค้าราคาแพง และเรื่องจำนำข้าว โดยนายยรรยง เรียกร้องให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ปลดนายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ออกจากตำแหน่ง เพราะทำหน้าที่ไม่เป็นธรรม มีบุคลิกภาพไม่เหมาะสมเป็นโฆษกพรรค เพราะหน้าตาเหมือนปลาบู่ชนเขื่อน
ที่มา คมชัดลึกออนไลน์ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2556
นายจาตุรนต์นั้นถูกมองว่า เป็นรัฐมนตรีน้ำดีคนหนึ่ง และเคยมีประสบการณ์มาแล้วหลายตำแหน่ง ไม่ว่าจะเป็น รองนายกฯ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รมว.ยุติธรรมรัฐมนตรี รมว.ศึกษาธิการ และรมช.กระทรวงการคลัง ซึ่งในครั้งนี้เขาได้กลับเข้ามาทำงานที่ถนัดและเคยได้รับคำชมเชย เนื่องจากที่ผ่านมานั้น นายพงษ์เทพ เทพกาญจนา ไม่ค่อยได้ทำหน้าที่ในตำแหน่ง รมว.ยุติธรรม ซ้ำยังทำให้ถูกโจมตีโดยแนวคิดยุบโรงเรียนขนาดเล็ก
วิเชษฐ์ เกษมทองศรี ว่าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เขาถูกมองว่า เป็นตัวจริงอีกหนึ่งคน โดยทำงานร่วมกันมาตั้งแต่สมัยเป็นพรรคไทยรักไทย และเป็นนายทุนพรรค โดยนายวิเชษฐ์เป็นคนที่ได้รับความไว้วางใจไม่ว่าจะเป็นจากการการทำงานหรือการเก็บความลับ
นายวิเชษฐ์ถูกมองว่า เป็นตัวจริงคนหนึ่งและจ่อคิวรับตำแหน่งรัฐมนตรีตั้งแต่การปรับ ครม.เมื่อครั้งที่ผ่านมา แต่ก็พลาดไปจนได้กลับมาเป็นในครั้งนี้
นางปวีณา หงสกุล เป็นนักการเมืองมานานโดยเริ่มต้นสังกัดพรรคประชากรไทยของ นายสมัคร สุนทรเวช ต่อมาย้ายมาอยู่พรรคชาติพัฒนา จนกระทั่งมาควบรวมกับพรรคไทยรักไทย โดยเธอเคยลงสมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการ กทม. ถึงสองครั้ง ในปี 2543 ซึ่งครั้งนั้น นายสมัคร สุนทรเวช จากพรรคประชากรไทย ได้รับเลือกตั้ง และในปี 2547 ก็พ่ายให้กับนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน จากพรรคประชาธิปัตย์ ไปอีกครั้ง อย่างไรก็ตามเมื่อศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคไทยรักไทยทำให้นางปวีณาต้องถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเป็นเวลา 5 ปี
นางปวีณาเป็นที่รู้จักของสังคมในฐานะนักสังคมสงเคราะห์ และทำงานที่มูลนิธิมูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี (องค์กาสาธารณประโยชน์) คอยช่วยเหลือเด็กและสตรีผู้ด้อยโอกาส และมักจะปรากฏเป็นข่าวตามหน้าสื่อ ทำให้ครั้งนี้เธอกำลังจะได้รับตำแหน่ง รมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
นายพงษ์เทพ เทพกาญจณา รองนายกรัฐมนตรี ร่วมทำงานมาตั้งแต่สมัยพรรคไทยรักไทย และเป็นมือกฎหมายให้พรรคมาตลอดเวลา เนื่องจากเขาเคยเป็นผู้พิพากษา แต่ได้ลาออกมาในช่วงวิกฤตตุลาการ ทั้งนี้ในสมัยรัฐบาลพรรคไทยรักไทยขาเคยดำรงตำแหน่ง รมว.ยุติธรรม มาแล้ว และเมื่อพรรคถึงขาลงโดยการถูกรัฐประหารหรือถูกยุบพรรคถึงสองครั้ง เขาก็ยังคงช่วยงานพรรคอยู่และเป็นหนึ่งในทีมยุทธศาสตร์ของพรรคเพื่อไทย
รวมถึงขึ้นเวทีคนเสื้อแดงในลักษณะให้ความรู้ทางกฎหมาย รวมถึงงานสัมมนาทั่วไป ทำให้ถูกมองว่าเป็นรัฐมนตรีตัวจริงคนหนึ่ง จนได้เข้ามาเป็นรัฐมนตรีศึกษาธิการเมื่อครั้งที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม เมื่อมาเป็น รมว.ศึกษาธิการ กลับมีบทบาทที่ไม่เด่นชัดนัก งานที่มีอยู่มักมอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยทำเสียมากกว่า เพราะมีภาระกิจอื่น นอกจากนี้ยังเป็นสายล่อฟ้าเมื่อนำเสนอนโยบายยุบโรงเรียนขนาดเล็กและจัดซื้อรถตู้รับส่ง 1,000 คันแทนจนถูกสังคมวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก
นายวิสาร เตชะธีราวัฒน์ ว่าที่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
นายวิสาร เคยเป็น สส.เชียงราย พรรคไทยรักไทย โดยอยู่ในกลุ่มของ นายยงยุทธ ติยะไพรัช อดีตประธานรัฐสภา ทั้งนี้ เมื่อนายวิสารถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งจากการยุบพรรคไทยรักไทย จากนั้นนายวิสารก็ไม่ค่อยมีบทบาททางการเมืองและส่ง น.ส.วิสาระดี เตชะธีราวัฒน์ ลงแทน
ทั้งนี้ก่อนหน้านี้นายวิสาร ถูกคาดการณ์ว่าจะมาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แต่ทั้งนี้นายใหญ่กังวลว่า นายวิสารจะเข้ามารื้อระบบในกระทรวงทรัพยฯ เช่นเดียวกับสมัยนายยงยุทธ และเป็นที่มาของการรื้อรีสอร์ทตามอุทยานแห่งชาติต่างๆ
นายพีรพันธ์ พาลุสุข ว่าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปัจจุบันเป็น สส.ยโสธร และทำหน้าที่เป็นทีมกฎหมายของพรรคเพื่อไทย เขาเคยเป็นอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และดำรงตำแหน่งรองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง ต่อมาได้ลงเล่นการเมืองและสังกัดมาหลายพรรค ไม่ว่าจะเป็นพรรคชาติไทย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคประชาชน พรรคความหวังใหม่ ขณะที่ในนามพรรคไทยรักไทยเขายังไม่เคยลงรับสมัครเลือกตั้งแต่ก็เป็นที่ปรึกษาและผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ และต่อมาก็ลงสมัคร สส.ในนามพรรคพลังประชาชนและพรรคเพื่อไทย
นายพีรพันธ์ มีความสัมพันธ์อันดีกับ สส.ในพรรคหลายคนโดยเฉพาะอย่างยิ่ง นายจาตุรนต์ ฉายแสง อีกทั้งทำงานให้พรรคมานานจึงถึงลำดับที่ควรจะขึ้นชั้นเป็นรัฐมนตรี โดยครั้งนี้จะมาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์แทน นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล ซึ่งมีปัญหาภายในกระทรวงจนถูกประท้วงและถูกปรับออกในที่สุด
นายชัยเกษม นิติศิริ ว่าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม อดีตอัยการสูงสุด ระหว่างปี 2550 - 2552 ปัจจุบันดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโส (ที่ปรึกษาอัยการสูงสุด) สำนักงานอัยการสูงสุด เขาได้รับตำแหน่งในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร หลายตำแหน่ง เช่น ประธานสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คณะกรรมการคดีพิเศษ กรมสอบสวนคดีพิเศษ กรรมการตรวจสอบ บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม
อย่างไรก็ตาม นายชัยเกษม ถูกคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ฟ้องร้องคดีจัดซื้อเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด CTX 9000 ในฐานะอดีตกรรมการบริหารการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย (ทอท.)ต่อมาเมื่อ คตส. หมดวาระได้มีการโอนคดีนี้มายังคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ( ปปช. )และ ปปช. ได้มีมติตั้งอนุกรรมการไต่สวนเขาอยู่ในขณะนี้
นายสรวงศ์ เทียนทอง ว่าที่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
นายสรวงศ์เป็นบุตรชายนายเสนาะ เทียนทอง นักการเมืองรุ่นเก๋า โดยครั้งนี้เขาจะเข้ามาแทนในโควตาของกลุ่มนายเสนาะ ทำให้นายฐานิสร์ เทียนทอง หลานนายเสนาะต้องพ้นจากตำแหน่ง รมช.อุตสาหกรรม
นางเบญจา หลุยเจริญ ว่าที่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ถือเป็นการได้รับการโปรโมทตำแหน่งระดับสูงในฝั่งของข้าราชการเมืองจากพรรคเพื่อไทย หลังจากที่ได้รับการโปรโมทตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงจากฝ่ายข้าราชการประจำมาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจาก มีสายสัมพันธ์อันดีตลอดมากับครอบครัวอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร สะท้อนจากการออกมาปกป้องกรณีการซื้อขายหุ้นในบริษัทแอมเพิลริชของพ.ต.ท.ทักษิณว่า เป็นการซื้อขายนอกตลาด ทำให้ไม่มีภาระภาษี ซึ่งระหว่างนั้น นางเบญจามีตำแหน่งเป็นหนึ่งในผู้บริหารระดับสูงของกรมสรรพากร
อย่างไรก็ตามในสมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์ นางเบญจา ได้ถูกโยกย้ายเข้ามานั่งในตำแหน่งผู้ตรวจการกระทรวงการคลัง จากนั้น พรรคเพื่อไทยได้กลับเข้ามาเป็นรัฐบาลอีกครั้ง นางเบญจา ได้ขยับตำแหน่งเป็นรองปลัดกระทรวงการคลัง อธิบดีกรมสรรพสามิต และอธิบดีกรมศุลกากร พร้อมกับตำแหน่งประธานบอร์ดรัฐวิสาหกิจที่สำคัญ เช่น สลากกินแบ่งรัฐบาล หรือธนาคารกรุงไทย ก่อนที่จะลาออกจากราชการก่อนเกษียณอายุไม่ถึง 4 เดือน ขณะที่ อดีตข้าราชการระดับสูงบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องกับคดีซุกหุ้นของ พ.ต.ท.ทักษิณ นั้น ได้ถูกออกจากราชการไปหมดแล้ว อย่างไรก็ดี ด้วยความสามารถในการบริหารงานองค์กรและความเชี่ยวชาญทางด้านภาษี โดยเฉพาะภาษีกรมสรรพากร ทำให้นางเบญจาเป็นที่ยอมรับจากหลายฝ่าย และทำให้การโปรโมทในตำแหน่งสำคัญๆ ไม่ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์มากนัก
นายยรรยง พวงราช ว่าที่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
เติบโตมาจากข้าราชการกระทรวงพาณิชย์ และไต่เต้ามาตามลำดับ จนได้เป็นอธิบดีกรมการค้าภายใน ช่วงปี 2550-2552 และ เป็นปลัดกระทรวงพาณิชย์ ช่วงปี 2552 - 2555 อย่างไรก็ตามในช่วงรัฐบาลพรรคเพื่อไทย นายยรรยงได้ ออกมาตอบโต้และปะทะคารมกับพรรคประชาธิปัตย์หลายครั้ง ทั้งเรื่องสินค้าราคาแพง และเรื่องจำนำข้าว โดยนายยรรยง เรียกร้องให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ปลดนายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ออกจากตำแหน่ง เพราะทำหน้าที่ไม่เป็นธรรม มีบุคลิกภาพไม่เหมาะสมเป็นโฆษกพรรค เพราะหน้าตาเหมือนปลาบู่ชนเขื่อน
ที่มา คมชัดลึกออนไลน์ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2556
0 comments:
Post a Comment