คอลัมน์ หัวทิ้งหมัดเข้ามุม
สมิงสามผลัด
ข่าวสด
สภาผ่านวาระแรกไปแล้ว สำหรับพ.ร.บ.นิรโทษ กรรมฉบับวรชัย เหมะ
แม้จะเกิดความปั่นป่วนกันไปบ้าง
ส่วนม็อบที่พรรคประชาธิปัตย์ชุมนุมกันมาตั้งแต่ วันที่ 4 ส.ค.ที่ผ่านมา
ต้องบอกว่าไม่คึกคักเท่าที่ควร
ดูได้จากเมื่อวันที่ 7 ส.ค.ที่ผ่านมา ส.ส.ปชป.เดินนำม็อบประมาณ 2 พันคนเดินจากเวทีใต้ทางด่วน อุรุพงษ์ไปถึงแยกราชวิถี
ก่อนปล่อยให้ม็อบเคว้ง สลายตัวไปเอง
เพราะผ่านด่านตำรวจไม่ได้
ตรงนี้ถือว่าพรรคประชาธิปัตย์ไม่บรรลุเป้าหมาย
อาจเป็นเพราะ "เหตุผล-เงื่อนไข" ของการปลุกระดมไม่แรงพอ มวลชนก็เลยออกมากันไม่เยอะ
ม็อบคู่ขนานอย่างม็อบแช่แข็ง 2 ก็ไม่คึกคักเช่นกัน
สุดท้ายก็ไม่มีเหตุรุนแรง ไม่มีการปะทะ ไม่มีการปฏิวัติรัฐประหาร
จะว่าไปแล้วการปลุกระดมให้มวลชนออกมาชุมนุมข้างถนนต่อต้านพ.ร.บ.นิรโทษฯ
ได้ทำให้ปชป.เสียภาพพจน์ตั้งแต่แรก
เพราะโดนวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่ยึดมั่นในระบบรัฐสภา
พอเข้าไปคัดค้านในระบบ ในสภา
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านก็พูดไม่หมด พูดไม่ครบ
ให้เหตุผลว่าต้องเลื่อนพ.ร.บ.นี้ไปก่อน เพราะจะเกิดความแตกแยกในบ้านเมือง
อ้างคนส่วนใหญ่ไม่ต้องการให้รัฐบาลนิรโทษกรรมให้พวกพ้อง
นิรโทษกรรมให้ผู้กระทำผิดมาตรา 112
นอกจากนี้นายอภิสิทธิ์ยังอ้างว่าสำนักงานข้าหลวง ใหญ่แห่งคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน ของยูเอ็นก็ต่อต้านพ.ร.บ.นิรโทษฯ ฉบับนี้เช่นกัน
ทั้งที่ข้อเท็จจริงในร่างพ.ร.บ. ฉบับนี้ นิรโทษฯ ให้เฉพาะผู้ชุมนุมทุกสีเท่านั้น
ไม่นิรโทษให้ผู้ที่กระทำผิดมาตรา 112
ไม่นิรโทษให้ผู้สั่งการ หรือแกนนำม็อบ
ส่วนเรื่องยูเอ็นก็พูดไม่หมด
เพราะยูเอ็นขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยให้หลักประกันว่า การนิรโทษกรรมใดๆ จะไม่ครอบ คลุมถึงผู้ละเมิดสิทธิมนุษยชน และดำเนินการลงโทษผู้กระทำความผิดในเหตุละเมิดเช่นนี้
ไม่ได้ขัดกับแนวทางพ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับวรชัย เหมะ โดยเฉพาะการไม่นิรโทษฯ ให้กับผู้สั่งการ
ผู้สั่งการจะต้องรับผิดชอบ!
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
0 comments:
Post a Comment