จาก10 เมษา -19 พฤษภา 53 ซึ่งมีการล้อมปราบประชาชนที่มาชุมนุมทางการเมือง จนมีคนบาดเจ็บล้มตาย จากเหตุการณ์นี้ ร่วม 100 ศพ
การสืบสวนสอบสวนเพื่อที่จะหาผู้กระทำผิดในเหตุการณ์ ผ่านไปอย่างเชื่องช้า
ซึ่งต่างจาก ผู้ที่ออกมาชุมนุมทางการเมือง ถูกกล่าวหาว่าเป็น ผู้ก่อการร้าย ถูกจับดำเนินคดี ไปแล้วหลายราย ยังมีอีกหลายคนที่ยังติดอยู่ในคุก
แม้ว่าในปัจจุบันจะมีการชี้จากศาลว่า มีผู้ที่ตายหลายราย มาจากฝั่งทหาร และ 6ศพ ในวัดปทุมฯ ระบุชัดว่า มาจากปืนของทหาร ว่าเป็นรุ่นอะไรบ้าง
หลายคนอาจจะดีใจว่า มีโอกาสที่จะนำผู้สั่งการ และผู้กระทำความผิด มาลงโทษได้ตามกฏหมาย
ในขณะเดียวกัน ผู้ที่หลายคนคิดว่าจะตกเป็นผุ้ต้องหา กลับไม่สะทกสะท้าน กล้าท้าให้ฟ้อง ให้ดำเนิน คดีและพูดในทำนองที่ว่า ตนไม่ได้กระทำความผิด
ย้อนไปในปี 53 รัฐบาลนายอภิสิทธิ โดยนายอภิสิทธิ์ เอง นายสุเทพ เทือกสุบรรณ และผู้ที่เกี่ยวข้อง อ้างถึงสาเหตุการตาย มาจากชายชุดดำ กองกำลังไม่ทราบฝ่ายและผู้ก่อการร้ายทีแฝงตัวอยู่ในกลุ่มผู้ชุมนุม
การกล่าวอ้างเช่นนี้ มีให้เห็นบนเวทีปราศรัย จนกระทั่งปัจจุบัน พูดอย่างชัดเจนว่า ในกลุ่มผู้ชุมนุม มีอาวุธ ร้ายแรงหลายชนิด และเป็นการชุมนุมที่ไม่สงบมีอาวุธ
นี่คือการกล่าวหาว่า คนที่ตายทั้งหมด ไม่ว่า ผุ้ชุมนุม หรือเจ้าหน้าที่ ตายโดยชายชุดดำซึ่งเป็นผู้ก่อการร้าย เป้นกองกำลังไม่ทราบฝ่าย (ถ้าได้ฟังการปราศรัยของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ บนเวทีผ่าความจริง แม้กระทั่ง พูดในสภา วันที่พิจารณาร่าง พ.ร.บ.นิรโทษ 7 - 8 สิงหาคม 56 ที่ผ่านมา) นี่คือ เป้าหมายหนึ่ง ที่ต้องการปัดความผิด ของนายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพ ในฐานะเป็นนายกรัฐมนตรี และรองนายกฝ่ายความมั่นคง ที่ต้องรับผิดชอบโดยตรง
แต่หลังจากที่มีคำสั่งศาลออกมาชัดเจนว่า ผู้ที่ตายเป็นการกระทำจากเจ้าหน้าที่ นายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพ ก็หาทางออกที่จะให้พ้นผิด ถ้าหากว่าสาวมาถึงผู้ที่สั่งการ
จะเริ่มชัดขึ้นเมื่อมี การเสนอ พ.ร.บ.นิรโทษ ฉบับประชาชน (ให้ดูในมาตรา 4) มีหลายคนในพรรคประชาธิปัตย์ รีบออกมาเห็นพ้องด้วย แม้กระทั่งปัจจุบันก็ยังมีความคิดเช่นนั้นอยู่ เพราะฉบับนี้ เอาผิดกับเจ้าหน้าที่ที่ออกมาปฏิบัติหน้าที่ในขณะนั้นด้วย
นี่คือหมากตัวใหม่ ที่ทั้งอภิสิทธิ์ นายสุเทพและพรรคประชาธิปัตย์ต้องการ นั่นคือปัดความผิดให้กับเจ้าหน้าที่
เพราะหลายครั้งที่ทั้งนายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพ แม้กระทั่งพูดในสภา ในการพิจารณา พ.ร.บ.นิรโทษฯ ครั้งที่ผ่านมาคือ
การปปฏิบัติเพื่อควบคุมการชุมนุม ในปี 53 ทางรัฐบาลในขณะนั้นมีคำสั่งชัดเจน ไม่ต้องการให้เกิดความรุนแรง ให้ปฏิบัติโดยวิธี ละมุน ละม่อมอยู่ในกรอบของกฏหมาย ให้ปฏิบัติจากเบาไปหาหนัก ตามหลักสากล
ประเด็นก็อยู่ตรงนี้ การที่เกิดการบาดเจ็บล้มตาย นั่นเกิดจากการที่เจ้าหน้าที่ กระทำนอกเหนือคำสั่ง
การต่อสู้ทางคดี ต้องยึดหลักฐาน วัตถุพยาน ที่ทางนายอภิสิทธิ์มี คือ คำสั่งให้ปฏิบัติหน้าที่ในขณะนั้น
เพราะคำสั่งชอบด้วยกฏหมาย
Home » อภิสิทธิ์ » เบื้องลึก "ต้าน" นิรโทษ หวังให้ตนพ้นผิด
Friday, August 9, 2013
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
0 comments:
Post a Comment