Saturday, August 31, 2013

จำเป็นหรือไม่ที่ต้องยกเลิก สว.สรรหา

การแก้รัฐธรรมนูญ ที่มาของสมาชิกวุฒิสภา ได้รับการต่อต้านจากสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ และกลุ่ม สว.สรรหา

ก้าวสู่วันที่ 6 ของการอภิปราย

ฟังข้อมูลจากฝ่ายที่คัดค้าน ว่าการสรรหานั้นชอบด้วยหลักประชาธิปไตย อ้างว่าเป็นการเลือกตั้งทางอ้อม เพราะคำว่าประชาธิปไตยไม่ใช่อยู่แค่ในคูหาเลือกตั้งเท่านั้น ฝ่ายนี้ก็อ้างว่าขบวนการสรรหา มาจากประชาชน คลิกดูองค์ประกอบ ของคณะกรรมการสรรหา

ที่อ้างว่า มาจากประชาชน แต่ไม่ใช่คนส่วนใหญ่ เพราะใช้คนแค่ 7 คนในการพิจารณา มาจากองค์กร ต่าง ๆ ซึ่งองค์กรเหล่านี้ ไม่ได้ยึดโยง กับประชาชน เพราะผู้ที่แต่งตั้งองค์กรเหล่านี้ ก็คือ สว.

ที่สำคัญ องค์กรเหล่านี้มีผลพวงมาจากการรัฐประหาร

องค์กรตามรัฐธรรมนูญปี 50 มีบทบาท มีอำนาจหน้าที่มากมาย จนสามารถก้าวก่ายอำนาจในการบริหาร และนิติบัญญัติ ซึ่งเป็นอำนาจที่ได้รับฉันทานุมัติจากประชาชน

จึงดูเหมือนว่า คนเพียงไม่กี่คน มีอำนาจเหนือประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ

หลายครั้งในการทำงาน องค์กรเหล่านี้ไม่ได้ทำหน้าที่ปกป้องประชาชนอย่างแท้จริง เช่น กรณีปราบปรามประชาชนในปี 53

ดูเหมือนว่าองค์กรเหล่านี้ขัดขวางการพัฒนาประเทศ เพราะสามารถเข้าไปยับยั้งโครงการสำคัญ ๆ ของรัฐบาลได้

ด้วยเหตุนี้ สมาชิกวุฒิสภาจึงมีบทบาทสำคัญ คลิกดูบทบาทและหน้าที่ของสว.

การแก้ที่มาของสมาชิกวุฒิสภาจึงเป็นเรื่องจำเป็น

อันที่จริง รัฐธรรมนูญปี 50 ยังมีหลายประเด็นที่จะต้องแก้ไข

ช่วงที่มีการเสนอให้ประชาชนออกเสียงประชามติรับร่าง ก็มีหลายคนออกมาพูดว่า รับ ๆ ไปก่อน สามารถแก้ทีหลังได้

ซึ่งหนึ่งในนั้นคือนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่เป็นผู้นำการต่อต้านอยู่ในขณะนี้

 
คลิปอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยืนยันเมื่อปี 2550 ให้รับร่างรัฐธรรมนูญไปก่อน แล้วค่อยไปแก้ไขได้ และจะสนับสนุน ยกมือ ร่วมแก้ไข รธน.ฉบับนี้ (นาทีที่ 2.35น.)





0 comments:

Post a Comment

 
Copyright © . Yak Ratchaprasong - Posts · Comments
Theme Template by BTDesigner · Powered by Blogger