Sunday, July 28, 2013

75 ปี “นายชวน หลีกภัย” ประเทศไทยได้อะไร

ชวน หลีกภัย เกิดเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 ที่ตำบลท้ายพรุ [1]อำเภอเมือง จังหวัดตรัง เป็นบุตรคนที่ 3 ในจำนวน 9 คน ของนายนิยม หลีกภัย และนางถ้วน หลีกภัย เมื่อยังเด็ก นายชวนมีชื่อเรียกในครอบครัวว่า "เอียด" หมายถึง เล็ก เนื่องจากเป็นคนรูปร่างเล็ก

มีบุตรชายกับนางภักดิพร สุจริตกุล หนึ่งคน คือ นายสุรบถ หลีกภัย[2]
ชวน หลีกภัย เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสองสมัย สมัยแรกระหว่างปี พ.ศ. 2535-2538 (ครม.คณะที่ 50) สมัยที่สองระหว่างปี พ.ศ. 2540-2544 (ครม.คณะที่ 53) และเคยดำรงตำแหน่งเป็น หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ติดต่อกัน 3 สมัย ระหว่างปี พ.ศ. 2534-2546 เป็นเวลารวม 12 ปี

ชวน หลีกภัยได้เริ่มต้นชีวิตการทำงานโดยการเป็นทนายความ และต่อมาได้เป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดตรัง ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ในปี พ.ศ. 2534 ชวน หลีกภัย เคยดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการมาหลายกระทรวง ได้แก่ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงสาธารณสุข รวมถึง รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร และผู้นำฝ่ายค้าน ในปี พ.ศ. 2533 ชวน หลีกภัย ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นรองนายกรัฐมนตรี และต่อมาในปี พ.ศ. 2535 ได้ขึ้นดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี สมัยที่ 1 และวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่ 2 พร้อมควบตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ทั้งนี้นับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา นายชวนเป็นพลเรือนคนที่สอง นับจาก ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช ที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงนี้ (ไม่นับ นายก ปู) 
 
ก่อนหน้า นายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี ความชอบ "คนใต้" ยังไม่นิยมชมชอบ อย่างเช่นในปัจจุบัน

ความเป็นคนสมถะ นายกที่มาจาก "คนจน" มาจาก "ลูกแม่ค้า" ทำให้หลายคนคาดหวัง ว่า น่าจะเป้นคนหนึ่ง ที่ประเทศ พึ่งพาได้

เนื่องจากเป็นนักกฏหมาย ทำอะไร ต้องยึดตัวบทกฏหมายเป็นหลัก  กว่าจะตัดสินใจอะไรได้ ก็ต้องใช้เวลา  เลยเป้นที่มา ของ "ชวนเชื่องช้า"

และคำฮิตติดปากที่นายชวนมักจะพูดบ่อย ๆ เวลานักข่าวถามคือ "ยังไม่ได้รับรายงาน"

ชวน หลีกภัย ได้ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีในสมัยที่สอง โดยรับช่วงต่อหลังจาก พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ลาออกจากตำแหน่งเนื่องจากเกิดปัญหาเศรษฐกิจอย่างหนักจนต้องลอยตัวค่าเงินบาท กองทัพไม่ได้ต่อต้านการคืนสู่ตำแหน่งของเขา ชวนได้แต่งตั้งคณะทำงานด้านเศรษฐกิจที่น่าเชื่อถือจนได้รับความเชื่อถือและเห็นชอบจากสถาบันการเงินนานาชาติและสหรัฐอเมริกา มุ่งไปสู่การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ อีกทั้งรัฐบาลผสมก็เอาชนะความพยายามของฝ่ายค้านในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ แม้ชวนจะไม่ใช่นักการเมืองที่น่าดึงดูดใจ แต่ก็ได้รับการสนับสนุนและไว้วางใจ เพราะถูกมองว่าซื่อสัตย์ มุ่งปฏิรูประบอบประชาธิปไตยและขจัดการฉ้อราษฎร์บังหลวง [3]
การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในสมัยที่สอง ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่เคารพกติกาประชาธิปไตย เนื่องจากรัฐบาลจัดตั้งขึ้น โดยกลุ่มของพรรคการเมืองฝ่ายค้าน ขณะที่ฝ่ายรัฐบาลเดิมสนับสนุนให้ พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ หัวหน้าพรรคชาติพัฒนาขึ้นดำรงตำแหน่งแทน โดยการสนับสนุนของพรรคความหวังใหม่ (125 คน) พรรคชาติพัฒนา (52 คน) พรรคประชากรไทย (18 คน) และ พรรคมวลชน (2 คน) รวม 197 เสียง ส่วนฝ่ายค้านเดิมนำโดยพรรคประชาธิปัตย์ (123 คน) ร่วมกับพรรคชาติไทย (39 คน) พรรคเอกภาพ (8 คน) พรรคพลังธรรม (1 คน) พรรคไท (1 คน) และพรรคร่วมรัฐบาลเดิมได้แก่พรรคกิจสังคม (20 คน) และพรรคเสรีธรรม (4 คน) สนับสนุนนายชวน หลีกภัย ด้วยเสียงทั้งสิ้นรวม 196 เสียง ซึ่งน้อยกว่าฝ่ายรัฐบาล 1 เสียง[4]
 
การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของนายชวน หลีกภัย ก่อให้เกิดกลุ่มการเมือง ที่ถูกตั้งชื่อว่า กลุ่มงูเห่า ซึ่งเป็นสมาชิกพรรคประชากรไทยจำนวน 12 คนที่เข้าร่วมสนับสนุนรัฐบาล โดยคำชวนของ พล.ต. สนั่น ขจรประศาสน์ จนกระทั่งถูกพรรคประชากรไทยมีมติขับไล่ ทั้ง 12 ออกจากการเป็นสมาชิกพรรค และส่งผลให้สิ้นสุดสถานภาพ ส.ส.ตามกฎหมาย กลุ่มงูเห่าทั้ง 12 คน ได้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่ามติดังกล่าวเป็นมติที่ไม่ชอบ ขัดต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ ส.ส.ตามรัฐธรรมนูญ ส่งผลให้ ส.ส.ทั้ง 12 คน ยังคงสถานภาพ และหาพรรคใหม่สังกัด
นอกจากกรณีกลุ่มงูเห่าแล้ว ยังมีกรณีรัฐมนตรีร่วมรัฐบาลที่ได้รับการตัดสินว่ามีความผิดทางการเมืองอีก 2 ท่าน ได้แก่ นายรักเกียรติ สุขธนะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและ พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยนายรักเกียรติ สุขธนะ (พรรคชาติไทย) ได้รับคำพิพากษาตัดสินจาก ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ให้จำคุกเป็นเวลา 5 ปี ฐานเรียกรับสินบนบริษัทยา ทีเอ็น พี เฮลท์ แคร์ จำกัด ซึ่งนับว่าเป็นรัฐบาลชุดแรกที่รัฐมนตรีร่วมรัฐบาล ได้รับโทษถึงที่สุดให้จำคุกจากการทุจริตในระหว่างการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีในคณะร้ฐบาล
นอกจากนี้ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ของรัฐบาลนายชวน หลีกภัยและเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ก็ได้รับคำพิพากษาจากศาลรัฐธรรมนูญ ห้ามยุ่งเกี่ยวกับการเมืองเป็นเวลา 5 ปี จากการรายงานบัญชีทรัพย์สินตกหล่น
การจัดตั้งรัฐบาลสมัยที่สองของนายชวนนี้ ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะชนชั้นกลางใน กทม. เนื่องจากคาดว่ารัฐบาลนายชวน หลีกภัย จะสามารถฉุดประเทศไทยออกจากวิกฤตเศรษฐกิจที่เริ่มขึ้นในรัฐบาลของ พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ แต่การแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจของรัฐบาลนายชวน หลีกภัยไม่บรรลุผลไม่สามารถดึงเศรษฐกิจให้หลุดพ้นจากภาวะการตกต่ำได้ทันใจ ความต้องการของประชาชน ทำได้แค่นำคนไข้ออกจากห้องฉุกเฉิน เข้าพักฟื้นในห้องคนป่วยปกติ แม้ว่าจะได้ดำเนินการมากว่า 3 ปี นอกจากนี้ นโยบายพรรคไทยรักไทย ยังเป็นที่ดึงดูดใจของประชาชน เช่น ปลดหนึ้เกษตรกร หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ และ สามสิบบาทรักษาทุกโรค ในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งถัดมาในปี พ.ศ. 2544 ทำให้การเลือกตั้งครั้งนี้พรรคประชาธิปัตย์การพ่ายแพ้ต่อพรรคไทยรักไทย และนายชวน ต้องกลับมาเป็นฝ่ายค้าน

คำยกย่องและคำวิจารณ์

คำยกย่อง

  • ยึดมั่นในหลักการประชาธิปไตย (ประกาศชัดเจนว่าจะยึดมั่นในระบบรัฐสภา) และยึดถือในเรื่องของหลักการเป็นอย่างมาก 
  • เป็นนักการเมืองที่มือสะอาด จนได้รับฉายา Mr. Clean (นายสะอาด) [5] นอกจากนี้ภาพที่พบจากสื่อมักแสดงให้เห็นว่าใช้ชีวิตอย่างสมถะ
  • เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกที่กล้าประกาศว่า รมต. ว่าการกระทรวงกลาโหม ไม่จำเป็นต้องเป็นทหาร แสดงให้เห็นถึงบุคลิกผู้นำและบริหารปราศจากอำนาจของทหารได้เป็นอย่างดี

คำวิจารณ์

บทบาททางการเมืองภายหลังพ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

หลังจากการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 ชวน หลีกภัย กลับมาเป็นผู้นำฝ่ายค้านอีกครั้ง เมื่อ 14 มีนาคม พ.ศ. 2544 และต้องการ ก้าวลงจากตำแหน่ง หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งจากการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งหัวหน้าพรรคใน 2 ปีถัดมาเมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2546 นายบัญญัติ บรรทัดฐาน ได้รับเลือก เป็นหัวหน้าพรรค ทำให้รวมแล้ว ชวน หลีกภัย ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค 3 สมัยเป็นเวลาทั้งสิ้น 12 ปี
ในการเลือกตั้งครั้งถัดมาเมื่อปี พ.ศ. 2548 หลังจากที่พรรคประชาธิปัตย์ ไม่สามารถได้รับคะแนนเสียงเพียงพอ ต่อการจัดตั้งรัฐบาล แข่งกับพรรคไทยรักไทย บัญญัติ บรรทัดฐาน ลาออกจากตำแหน่งตัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ชวน หลีกภัย มีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เข้ามาดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคแทน
ปัจจุบัน ชวน หลีกภัย ดำรงตำแหน่ง ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์

สิ่งที่ได้ จากการเป็นนายก ของนาย  ที่เด่น ๆ ก็คงจะมีเรื่อง  โฮปเวลล์  สปก. 4-01  และ ปรส.  ที่เป็นชนัก ปักหลังของนายชวน หลีกภัย และพรรคประชาธิปัตย์ ที่ลบอย่างไร ก็ไม่หาย เหมือนเงาที่คอยตามตัว ตกลง  "นักการเมืองที่มือสะอาด หรือ Mr. Clean " หรือไม่ แม้ว่า นายชวนเองจะ แสดงสถานะของความจนให้เห็น แต่ "ลูก" นายชวน ขับรถสปร์ต ราคา ร่วม 10 ล้าน จึงเป็นเรื่องที่น่าคิด

0 comments:

Post a Comment

 
Copyright © . Yak Ratchaprasong - Posts · Comments
Theme Template by BTDesigner · Powered by Blogger