Thursday, July 11, 2013

ค่าของคน..อยู่ที่ไหน ?








เจอเรื่องดี ๆ ท่านอาจจะได้อ่านจากที่อื่นบ้างแล้ว แต่อยากให้ท่านอ่านจนจบครับ....เพราะ จริงแล้ว "ค่าของคน" วัดด้วยอะไร
.
.ร้านซาลาเปาร้านหนึ่ง...กิจการดีมาก มีลูกค้าเข้าร้านตลอดทั้งวัน วันหนึ่ง มีขอทานสวมเสื้อผ้าเก่าๆ ขาดๆ เนื้อตัวสกปรก มาที่ประตูร้าน ทำให้ลูกค้าหลายคนพากันอุดจมูกเดินหนี

ลูกจ้างของร้านก็เข้ามาต่อว่า และเอ่ยปากไล่ไปให้พ้นร้าน แต่ขอทานก็รีบอธิบาย " คุณครับ ผมไม่ได้มาขอทานหรอก แต่จะมาซื้อซาลาเปา " พร้อมกับเอาเหรียญเศษสตางค์ ออกมานับด้วยสองมือ...

ลูกจ้างรู้สึกรำคาญ จึงออกแรงปัด เหรียญทั้งหมด...ต ก พื้ น !!!
ขอทานตกใจ รีบก้มลงเก็บเหรียญบาทบนพื้น แต่หาอย่างไร ก็ขาดไป 1 บาท อยู่ดี
" เหรียญ 1 บาท นี่...คุณทำตกใช่ไหมครับ " ขอทานเงยหน้ามอง ก็เห็นเถ้าแก่ ของร้าน...เขาไม่กล้าแม้แต่จะรับเงินจากเถ้าแก่ และกำลังจะวิ่งหนีด้วยความลุกลี้ลุกลน แต่ก็ถูกเถ้าแก่เรียกให้หยุด พร้อมพูดว่า..." ยินดี ต้อนรับครับ คุณลูกค้า !!! ไม่ทราบว่าคุณต้องการ ซาลาเปาไส้อะไร "

ขอทานตะลึงงัน ผ่านไปสักพัก จึงตอบกลับไปว่า " ผมอยากได้ซาลาเปาไส้หมู 1 ลูก "
" ครับ...กรุณารอสักครู่ " แล้วหันไปคีบซาลาเปาไส้หมู ออกจากซึ้งมา และยื่นให้ขอทานอย่างนอบน้อม

และหันไปถามลูกจ้างว่า... "นี่คือวิธีต้อนรับลูกค้าของเธองั้นหรือ"
" แต่เค้าเป็นแค่ ขอทานคนหนึ่ง " ลูกจ้างอธิบาย
" ต่อให้เค้าเป็นขอทาน ก็เป็นลูกค้าของเรา เธอโดนไล่ออกแล้วล่ะ " เถ้าแก่กล่าว
จากนั้น...เรื่องที่ทำให้คนในร้าน ตกใจยิ่งกว่า ก็คือ...เถ้าแก่ให้ขอทานคนนี้ มาเป็นลูกจ้างในร้าน และเมื่อขอทานคนนี้ ชำระร่างกายจนสะอาด เผยให้เห็นหน้าตาที่หล่อเหลาผิดคาด อีกทั้งยังขยันขันแข็ง กลายเป็นผู้ช่วยของร้านได้อย่างดี...

ภายหลัง...มีคนถามเถ้าแก่ ด้วยความอยากรู้อยากเห็นว่า...เถ้าแก่ดูออกได้อย่างไรว่า แท้จริงแล้วขอทานคนนี้ เป็นทองชั้นดี
เถ้าแก่ตอบกลับมาว่า..." ที่จริงแล้วง่ายมาก เขาไม่ได้มาขอซาลาเปากิน แต่เขารวบรวมเงินอย่างอยากลำบาก มีเงินแล้วค่อยมาซื้อซาลาเปาของเรา แสดงให้เห็นว่า..."
>>> เขาเป็นคนที่...เ ค า ร พ ตั ว เ อ ง <<<

การไม่เคารพผู้อื่น หมายถึงการไม่เคารพตัวเอง
และ มีเพียงคนที่เคารพตัวเองเท่านั้น
จึงจะเคารพ...ง า น ที่ ตั ว เ อ ง ทำ
ที่มา : Facebook ..
          พันธ์ทิพย์
          โพสจัง

0 comments:

Post a Comment

 
Copyright © . Yak Ratchaprasong - Posts · Comments
Theme Template by BTDesigner · Powered by Blogger