Tuesday, August 6, 2013

วาทะกรรม "พาคนไปตาย"

เห็น สส.พรรคประชาธิปัตย์ นำขบวนประชาชนเดินทางไปรัญสภา ทำให้นึกถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ในปี 2535

สมัยนั้นผู้ที่นำการชุมนุม คือนายจำลอง ศรีเมือง คืนวันที่ 17 พฤษภาคม  2535 ขณะที่มีการเคลื่อนขบวนประชาชนจากสนามหลวงไปยังถนนราชดำเนินกลางเพื่อไปยังหน้าทำเนียบรัฐบาลไปยังทำเนียบรัฐบาล เริ่มเกิดการปะทะกันระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในบางจุด และมีการบุกเผาสถานีตำรวจนครบาลนางเลิ้ง จากนั้นเมื่อเข้าสู่วันที่ 18 พฤษภาคม รัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในกรุงเทพมหานครและให้ทหารทำหน้าที่รักษาความสงบ แต่ได้นำไปสู่การปะทะกันกับประชาชน มีการใช้กระสุนจริงยิงใส่ผู้ชุมนุมในบริเวณถนนราชดำเนินจากนั้นจึงเข้าสลายการชุมนุมในเข้ามืดวันเดียวกันนั้น ตามหลักฐานที่ปรากฏมีผู้เสียชีวิตหลายสิบคน

เวลา 15.30 นาฬิกา ของวันที่ 18 พฤษภาคม 2535 ทหารได้ควบคุมตัวพลตรีจำลอง ศรีเมือง จากบริเวณที่ชุมนุมกลางถนนราชดำเนินกลาง และรัฐบาลได้ออกแถลงการณ์หลายฉบับและรายงานข่าวทางโทรทัศน์ของรัฐบาลทุกช่องยืนยันว่าไม่มีการเสียชีวิตของประชาชน แต่การชุมนุมต่อต้านของประชาชนยังไม่สิ้นสุด (จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี)

ที่ยกเหตุการณ์นี้ ไม่ใช่ว่า จะมีเหตุการณ์อะไรที่ร้ายแรง แต่ การใช้มวลชน เป็นเกราะคุ้มกัน เป็นเรื่องที่น่าคิด

และเป้าหมาที่ชัดเจน ถ้าฟังจากการพูดของคนระดับแกนนำ เช่นนายนิพิฏฐ์ จะล้มรัฐบาลให้ได้ แต่ไม่สามารถ บอกวิธีการได้ เพราะถ้าพูด ตำรวจจะจับ  คือต้องการให้เกิดเหตุการวุ่นวายในบ้านเมือง ทั้งในและนอกสภา

นี่คือ วิธีการที่ ประชาธิปัตย์ ต้องการให้เกิด หากมีการกระทบกระทั่งกันระหว่าง มวลชน กับเจ้าหน้าที่ ไปสู่สิ่งที่ประชาธิปัตย์ ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยวิธีพิเศษ

และและเกิดเหตุการณ์เช่นนั้นจริง ๆ ประชาธิปัตย์ จะทำตัวอย่าง พลตรีจำลองหรือไม่ คือให้เด็ก และผู้หญิงเป็นเกราะกำบัง หรือไม่

ถ้าเกิดประชาชนทำผิด กฏหมาย พ.ร.บ. ความมั่นคงจริง ๆ  ประชาธิปัตย์ จะช่วยเหลือประชาชนอย่างไร เมื่อไม่ต้องการ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ตัว สส. รอดเพราะมีเอกสิทธิ์ คุ้มครอง แต่ประชาชนไม่มี ถึงเวลา จะถีบหัวส่ง อย่างที่เคยกระทำอย่าง กลุ่มพันธมิตร

กล่าวโจมตี ว่ารัฐบาลเสนอ พ.ร.บ. นิรโทษ เหมือนว่า จะให้ปรองดอง แต่ทำไมต้องประกาศ พ.ร.บ. ความมั่นคง  และ นายสุเทพ ประกาศว่า ถ้ามีประชาชน เสียชีวิต แม้เพียง 1 คน รัฐบาลต้องรับผิดชอบ ทั้ง ๆ ที่สมัย นายอภิสิทธิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศใช้ พ.ร.บ.นี้ ถึง 18 ครั้ง ทั้ง ๆ ที่ไม่มีเหตุการอะไรเกิดขึ้น เช่น ที่หัวหิน ภูเก็ต  ในขณะเดียวกัน ถึงขั้นประกาศ พ.ร.บ.ฉุกเฉินในสถานการณ์ร้ายแรง จนมีคนบาดเจ็บล้มตาย แต่ไม่เห็น นายอภิสิทธิ์ และพรรคประชาธิปัตย์ ยืดคออกมารับผิดชอบ ซักคนเดียว

ประชาธิปัตย์ อ้างว่าปัญหา เกิดจาก พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ว่าจะนิรโทษให้กับ พ.ต.ท. ทักษิณ ทั้ง ๆ ที่ดูในเนื้อหา กลับไม่ได้ระบุเช่นนั้น แม้กระทั่ง ผู้เสนอร่าง และแกนนำ พรรคเพื่อไทย ก็ยืนยันชัดเจน ว่าไม่มี นิโทษเพียง ประชาชนที่ร่วม ชุมนุม เท่านั้น

แต่คำถาม คือ เพราะอะไร และเหตุใด ที่ประชาธิปัตย์ ดูเป็นเดือดเป็นแค้น กับการเสนอ พ.ร.บ. ฉบับนี้ ถึงขนาดที่ต้องทุ่มเทสรรพกำลัง กันทั้งพรรค

ถึงขั้นพูดจา สร้างความเท็จ ใส่ร้ายป้ายสี จุดมุ่งหมายก็เพื่อสร้างความชอบธรรม ในการเคลื่อนไหว ของ ตัวเอง พูด กันอย่างหน้าตาเฉย แบบไม่อาย

การเอาชนะ กันโดยไม่เลือกวิธี เป็นสิ่งที่ พรรคประชาธิปัตย์ ใช้มาตลอด

ทำกันจนไม่นึกถึงภาพรวมของประเทศ ว่าจะเป็นอย่างไร

การโหมกระหน่ำสร้างเรื่อง และกล่าวหา โจมตี ฝ่ายรัฐบาล มีผลกระทบต่อเศษรฐกิจโดยรวม เกิด ภาวะเศรษฐกิจชะงักงัน ภาวะเงินฝืด ประชาชนไม่จับจ่ายใช้สอยอย่างที่เคยเป็น

ประชาธิปัตย์ เคยบอกว่า "ประชาชน" ต้องมาก่อน  ก็เป็น วาทะกรรม ดีแต่พูด อีกเช่นเคย

วาทะกรรม "พาคนไปตาย" เป็นคำพูดออกจากพรรคประชาธิปัตย์  กล่าวหา พลตรี จำลองในขณะนั้น

แต่วันนี้ ประชาธิปัตย์ "พาประชาชน" ไปทำอะไร ?

0 comments:

Post a Comment

 
Copyright © . Yak Ratchaprasong - Posts · Comments
Theme Template by BTDesigner · Powered by Blogger